เรื่องยากอีกไหมเนี่ย ให้ดี หรือไม่ให้ดี อิปูว์ไปบรัสเซลล์
เห็นว่าฝ่ายสลิ่มอยากให้ไป ‘ใบตองแห้ง’ โพสต์ไว้
“Atukkit Sawangsuk :ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ สลิ่มเชียร์ คสช.ไฟเขียวยิ่งลักษณ์บินไปร่วมประชุมรัฐสภายุโรปที่กรุงบรัสเซลล์”
นัยว่า “เผื่ออีปูจะโดนระเบิด ISIS”
เนื่องมาแต่ “รัฐสภายุโรปได้ส่งหนังสือเชิญถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อขอให้ไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ หรือเมืองสตราสบูร์ก” ทั้งนี้เพราะ
“รัฐสภายุโรปได้มีการติดตามพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยด้วยความกังวลอย่างใกล้ชิด...เราเห็นว่ากระบวนการการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่ทุกๆ ภาคส่วนจะได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ เรายังมีความกังวลต่อกรณีที่ท่านได้ถูกถอดถอนออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีย้อนหลัง และการที่ท่านถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาด้วย”
คนใกล้ชิดของอดีตนายกฯ หญิง บอกแหล่งข่าวว่า “หากคสช.อนุญาตก็คงจะมีการตอบรับเพื่อนัดวันเวลาที่ชัดเจนกันอีกครั้ง”
(http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/675589)
ก็เลยทำให้ชาวบ้านร้านช่องคิดกันไปหลายแง่มุม มีบางคนเห็นว่าครานี้แหละเป็นช่องเปิดให้หนีตะเลิดอย่างพี่
แต่คนที่เป็นแฟนขลับพันธุ์แท้อย่าง Taona Sonakul กลับ “หวังอย่างยิ่งว่าพวกท่านจะไม่ให้ไป”
เอ้า ไหงคิดหยั่งงั้น ‘หม่อมเต่า’ มีคำตอบ “กูอยากเห็นตำนานระดับโลก” เธอว่า
“มันก็จะคือการกดปุ่มอย่างเป็นทางการของการเริ่มต้นของ Legacy ในระดับโลก แบบนางอองซานซูจี” นี่คือเหตุผลของหม่อม
แต่เหตุผลแบบตะหาน ใครเล่าจะเดาได้ บอกไม่มีแล้วปฏิวัติก็ยังฟัดอำนาจ บอกไม่มีหรอกฉ้อราษฎร์ก็ยังมีแถมส่วนต่างและระบาดหัวคิว บอกไม่เอาแล้วทักกี้ทุนสามานย์ก็ยังใช้วิธีการทักษิโณมิกส์ บอกไม่ใช่นายกคนกลางแต่ก็ยังไม่ต้องสังกัดพรรค โอ๊ย สารพัดจะตระบัด
นี่ไง เลยกลายเป็น dilemma ถ้ายอมให้ไปก็อาจแฝงด้วยประสงค์ร้าย (ไสส่งออกนอกประเทศ) ถ้าปฏิเสธอาจกลับเป็นผลดีอย่างที่หม่อมเต่าว่า
ถึงว่ามัน ‘ยาก’ อีกละขณะนี้ สภาอียู “ยืนหยัดอย่างหนักแน่นในระบอบประชาธิปไตยและการส่งเสริมคุณค่าของประชาธิปไตย” ตามจิกไม่เลิก
แล้วถ้าสหรัฐอีกราย ก็ตายห่สิ
เมื่อวันก่อนทูตกลินเข้าพบพี่ป้อม ป้อนคำหวาน ปีหน้ามีแน่ ‘โคบร้าโกลด์’ เต็มรูปแบบ นั่นหมายถึง เฮ้อ โล่งใจ ความช่วยเหลือทางทหารอาจกลับมาใหม่ อดได้มาปีครึ่ง
ข่าว ‘U.S. Embassy Bangkok’ บอกว่า “เอกอัครราชทูตเดวีส์กล่าวต่อรองนายกรัฐมนตรีประวิตรว่า ท่านรอคอยที่จะได้ร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ครั้งแรกของท่านในปี ๒๕๕๙ และแสดงความหวังให้ประเทศไทยมีสเถียรภาพ เป็นประชาธิปไตยและเจริญรุ่งเรือง พร้อมดำรงบทบาทผู้นำในเวทีโลก”
แต่ว่าก่อนหน้านี้ท่านทูตไปพูดที่เชียงใหม่ รายการ ‘global entrepreneurship week’ ยกเอาประสบการณ์อเมริกันมาบรรยายหลักรัฐศาสตร์พื้นฐาน
“เราคิดว่าเราเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จก็เพราะว่ามีประชาธิปไตย ที่ผู้คนสามารถตัดสินใจได้ว่าใครจะเป็นรัฐบาล ทุกคนเป็นคนเลือกไม่ว่าจะในระดับไหน ระดับล่างมาจนถึงระดับบน เมือง จังหวัด นี่เป็นสิ่งที่อเมริกาเชื่อมั่น และเชื่อว่าสิ่งนี้จะทำให้ประเทศไทยเข้มแข็ง”
ทูตสหรัฐคนใหม่ยังได้ลงลึก เน้นชัด อะไรเป็นอะไร
“การเคารพเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งเป็นสิทธิที่รัฐบาลไทยได้เซ็นให้การรับรองไว้กับยูเอ็น
เหตุการณ์ที่ออกหมายเรียกนักวิชาการสร้างความกังวลใจให้กับเราอย่างมาก
สิทธิในการพูดหรือแสดงออก รวมถึงเสรีภาพในการชุมนุม จะทำให้เมืองไทยเข้มแข็ง เมื่อผู้คนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันและเก็บเกี่ยวจากมัน จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศ”
(http://prachatham.com/article_detail.php?id=375)
อ๊ะ ทูตสหรัฐนี่ไหนว่าไม่รู้มาก แต่รู้เยอะนะ ตำรวจช้างเผือก (เชียงใหม่) เพิ่งออกหมายมั่วๆ เรียกนักวิชาการไปรายงานตัวหมาดๆ จากเหตุแค่แถลงข่าว ‘มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร’
“๕ นักวิชาการเตรียมเข้าพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก พรุ่งนี้ ๑๕.๐๐ น.”
ข่าวว่าจากการที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งนำโดยนายอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านวิธีการของคณะทหาร คสช. ที่เข้าไปบงการสถานศึกษา มหาวิทยาลัย รวมไปถึงการห้ามเสวนา ห้ามการบรรยายที่ไม่เป็นที่พอใจของทหาร ขัดขวาง บีบคั้น กลั่นแกล้ง รวมไปถึงบังคับให้ทางมหาวิทยาลัยปิดไฟการสัมมนาของนักศึกษานักวิชการ (ทั้งที่ ม.เกษตร และ มธ.)
ได้มีนายทหารที่รับมอบอำนาจไปยื่นฟ้องกลุ่มนักวิชาการดังกล่าว “ในข้อหาร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้า คสช.” ระวางโทษจำคุก ๑ ปี ปรับ ๒ หมื่นบาท
(https://tlhr2014.wordpress.com/…/11/23/chiangmai_academics2/)
แต่ว่าทหารมั่วเอง ระบุรายชื่อนักวิชาการผู้ต้องหา ๖ ราย ทั้งที่มีท่านหนึ่งไม่ได้ร่วมแถลงข่าวดังข้อกล่าวหา ก็เลย fumbled แก้ไข แต่ไม่แก้เวลา หมายเรียกยังไปไม่ถึงตัวผู้ต้องหาในกำหนดเวลาสั่ง มีเพียงนักวิชาการสามคนได้รับหมาย
จึงต้องกลายเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องตามครรลองเผด็จการ ต้องกุลีกุจอติดต่อขอเข้าพบตำรวจในเวลาที่เหมาะสม
เห็นหรือยัง ระบบยุติธรรมแบบไทยๆ ผู้เสียหายขวนขวายเอง
เช่นนี้จึงมีบรรดานักวิชาการ และประชาชนจำนวนกว่า ๓๐๐ คน ลงชื่อร่วมกับเครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย เรียกร้องให้ คสช. ยุติการคุกคามนักวิชาการ และยืนยันว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร
“ประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน”
(http://www.prachatai.com/journal/2015/11/62583)