วันอังคาร, พฤศจิกายน 24, 2558

นักวิชาการไทย-เทศกว่า 300 ลงชื่อร้องคสช. หยุดคุกคามคณาจารย์-นักศึกษา-การสอน





https://www.youtube.com/watch?v=ijab-_bYXAA

เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขังยื่นหนังสือ

N Store
Published on Nov 22, 2015

เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุม­ขัง นำโดย นายอนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องกับนายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สนง.กพร. ขอให้หยุดคุกคามคณาจารย์ที่แสดงความคิดเห็­นทางการเมือง หยุดสั่งห้ามและคุกคามนักศึกษารวมทั้งประช­าชนที่จัดกิจกรรมทางการเมือง และหยุดแทรกแซงการเรียนการสอนในมหาวิทยาลั­ยให้มีแนวทางหรือเนื้อหาวิชาที่คณะรักษาคว­ามสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องการ
/ภาพ ‎วรวิทย์ พุ่มพวง

...

นักวิชาการไทย-เทศกว่า 300 ลงชื่อร้องคสช. หยุดคุกคามคณาจารย์-นักศึกษา-การสอน




ภาพจากเพจ กลุ่มเสรีนนทรี ม.เกษตรศาสตร์

ที่มา ประชาไท
Mon, 2015-11-23

23 พ.ย. 2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ที่ผ่านมา ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล บริเวณสำนักงาน ก.พ. ตรงข้ามทำเนียบ ตัวแทนนักวิชาการไทยและต่างประเทศ จากทั้งหมดที่กว่า 300 รายชื่อ ที่ร่วมเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยุติการคุกคามนักวิชาการ โดยมีนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ศูนย์บริการประชาชน ออกรับจดหมายจาก เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง และเครือข่ายพลเมืองภาคใต้ ที่ยื่นต่อนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

โดยจดหมายดังกล่าวระบุถึงกรณีที่ “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย” ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ที่ผ่านมา เรื่อง มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ยืนยันในเสรีภาพที่จะแสวงหาความรู้ในการเรียนการสอน แต่คณาจารย์ที่ร่วมกันแถลงกลับถูกออกหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในข้อหา “ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (รายละเอียดเพิ่มเติม)

ผู้ร่วมลงชื่อจึงเรียกร้องให้ คสช. หยุดข่มขู่คุกคามคณาจารย์ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ใจ หยุดสั่งห้ามและคุกคามนักศึกษารวมทั้งประชาชนที่จัดกิจกรรมทางการเมือง และ หยุดแทรกแซงการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยให้มีแนวทางหรือเนื้อหาวิชาที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องการ

แถลงการณ์เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง

ฉบับที่ 6 เรื่องมหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน
จากกรณีที่ “เครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย” ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558 เรื่อง มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร ยืนยันในเสรีภาพที่จะแสวงหาความรู้ในการเรียนการสอน แต่คณาจารย์ที่ร่วมกันแถลงกลับถูกออกหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในข้อหา “ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง เห็นว่าการตั้งข้อหาจำคุกกับคณาจารย์กลุ่มดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เป็นการคุกคามให้ยุติการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ทั้งที่การแสดงความคิดเห็นของคณาจารย์เหล่านั้นเป็นไปโดยบริสุทธิ์ใจ ปรารถนาดี และเปิดเผย และถือเป็นหน้าที่อันพึงกระทำของคณาจารย์ที่ต้องแบ่งปันความคิดและความรู้กับสังคม ขณะเดียวกันคณาจารย์ที่เรียกร้องการปล่อยตัวนักศึกษาและแสดงความเห็นทางการเมืองที่ผ่านมาที่ยังถูกข่มขู่คุกคามอย่างต่อเนื่อง นิสิตนักศึกษายังคงถูกสั่งห้ามและตามกดดันในการจัดกิจกรรมทางการเมือง ขณะที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้สั่งให้บรรจุวิชายกย่องเชิดชูทหารในมหาวิทยาลัย ซึ่งขัดกับหลักสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาอย่างสิ้นเชิง

เรายืนยันว่า “มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร” หากแต่เป็นสถานที่แสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนถกเถียงกันบนพื้นฐานของการใช้เหตุผลและข้อเท็จจริง นำมาซึ่งความรู้ใหม่ เพิ่มพูนสติปัญญาไปรับรู้โลกที่เปลี่ยนแปลงไปและแก้ไขปัญหาของประเทศ เสรีภาพในการแสวงหาความรู้และแสดงความคิดเห็นจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานของมหาวิทยาลัยและสังคม

เรายืนยันว่า “ประเทศไทยไม่ใช่ค่ายกักกัน” ประชาชนไทยมีความหลากหลายทางความเชื่อและความคิดทางการเมือง หนทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้คือเสรีภาพในความเชื่อและการแสดงความคิดเห็นด้วยหลักเหตุผลและข้อเท็จจริง การปฏิบัติต่อประชาชนไทยประดุจผู้ถูกกักกันด้วยการปลูกฝังอุดมการณ์หรือความเชื่อหนึ่งๆ เพื่อครอบงำสังคมทั้งหมดภายใต้โครงสร้างอำนาจของคนบางกลุ่ม ด้วยวิธีการปิดหูปิดตา บังคับข่มขู่ คุกคามด้วยอำนาจกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมให้ผู้เห็นต่างยุติการแสดงความคิดเห็นมีแต่จะนำมาซึ่งความขัดแย้งมากขึ้น และไม่สามารถนำสังคมไทยไปสู่ความเสมอภาค เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรม และสันติสุขได้

เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขังดังมีรายชื่อแนบท้ายจึงขอให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
1. หยุดข่มขู่คุกคามคณาจารย์ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ใจ
2. หยุดสั่งห้ามและคุกคามนักศึกษารวมทั้งประชาชนที่จัดกิจกรรมทางการเมือง และ
3. หยุดแทรกแซงการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยให้มีแนวทางหรือเนื้อหาวิชาที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติต้องการ

ทั้งนี้ หากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว เครือข่ายคณาจารย์จะพิจารณาการเคลื่อนไหวในระดับที่เข้มข้นขึ้นต่อไป

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และเสมอภาค
เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง
23 พฤศจิกายน 2558

รายชื่อแนบท้าย
1. กรรณิกา วิทย์สุภากร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กษมาพร แสงสุระธรรม
3. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
5. กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ
6. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
8. กิตติ วิสารกาญจน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
9. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. กุสุมา กูใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
11. กฤษณ์พชร โสมณวัตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. กัญญา หิรัณย์วัฒนพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
14. กัลย์วดี เรืองเดช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
15. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
16. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
19. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20. โกสุมภ์ สายจันทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21. กำพล จำปาพันธ์
22. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก The University of Manchester
23. ขนิษฐา บุญสนอง
24. คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
25. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
26. คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
27. คอลิด มิดำ มหาวิทยาลัยบูรพา
28. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. เคท ครั้งพิบูลย์
30. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
31. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
32. จันจิรา สมบัติพูนศิริ
33. จันจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
35. จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
36. จารุณี คงกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
37. จิระสิริ เกษมสินธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
38. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. จิราภรณ์ สมิธ
40. จุฑามณี สามัคคีนิตย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
41. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ นักวิชาการอิสระ
42. เฉลิมชัย ทองสุข นักวิจัยอิสระ
43. ฆัสรา มุกดาวิจิตร
44. ชล บุนนาค คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
45. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
46. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
47. ชวาลิน เศวตนันท์ มหาวิทยาลัย Mcquarie ประเทศออสเตรเลีย
48. ชาตรี ประกิตนนทการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
49. ชานันท์ ยอดหงษ์
50. ชาญชัย สุขโกศล
51. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ชิงชัย เมธพัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
53. ชินทาโร ฮารา นักวิชาการอิสระ
54. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
55. ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
56. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
57. ชุลีพร ทวีศรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
58. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
59. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60. โชคชัย สุธาเวศ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
61. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
62. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
63. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
64. ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
65. ณรงค์ อาจสมิติ มหาวิทยาลัยมหิดล
66. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
67. ณัฐกร วิทิตานนท์
68. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
69. ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
70. ณีรนุช แมลงภู่
71. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
72. ดามร คำไตรย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
73. ดำรงพล อินทร์จันทร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
74. เดชรัต สุขกำเนิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
75. เดโชพล เหมนาไลย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
76. เดือนฉาย อรุณกิจ
77. ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
78. เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน มหาวิทยาลัยมหิดล
79. ทองธัช เทพารักษ์ เครือข่ายเดือนตุลาคม
80. ทนุวงศ์ จักษุพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
81. ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
82. ทับทิม ทับทิม
83. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
84. ธนพร ศรียากูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
85. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
86. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
87. ธนศักดิ์ สายจำปา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
88. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
89. ธนิต โตอดิเทพย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
90. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
91. ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ
92. ธวัชชัย ป้องศรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
93. ธิกานต์ ศรีนารา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
94. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
96. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
97. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
98. นพพร ขุนค้า มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
99. นวลน้อย ตรีรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
100. นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
101. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102. นราสิทธิ์ เสนาจันทร์ นักวิชาการอิสระ
103. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
104. นาราวิทย์ ดาวเรือง นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
105. นรุตม์ เจริญศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
106. นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
107. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
108. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
109. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
110. เนตรดาว เถาถวิล
111. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ นักวิจัยอาคันตุกะ Tokyo University of Foreign Studies
112. บัณฑิต ไกรวิจิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
113. บารมี ชัยรัตน์ ผู้ประสานงานสมัชชาคนจน
114. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
115. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116. บุญส่ง ชัยสิงกานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
117. บุษรินทร์ เลิศชวลิตสกุล PhD candidate, University of Amsterdam
118. เบญจมาศ บุญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen
119. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มหาวิทยาลัยมหิดล
120. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
121. ปฐม ตาคะนานันท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
122. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
123. ปวลักขิ์ สุรัสวดี มหาวิทยาลัยมหิดล
124. ปิง วิชัยดิษฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
125. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
126. ปิยชาติ สึงตี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
127. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
128. ปรเมวร์ กาแก้ว มหาวิทยาลัยทักษิณ
129. ประกาศ สว่างโชติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
130. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
131. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
132. ประภัสสร ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
133. ประวิตร โรจนพฤกษ์
134. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
135. ปราโมทย์ ระวิน
136. ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. ผาสุข แก้วตาเจริญ นักวิชาการอิสระ
138. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. พจนก กาญจนจันทร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
140. พรชัย นาคศรีทอง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
141. พรใจ ลี่ทองอิน
142. พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
143. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
144. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
145. พกุล แองเกอร์
146. พนิดา วสุธาพิทักษ์
147. พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
148. พศุตม์ ลาศุขะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
149. พฤหัส พหลกลบุตร นักวิชาการอิสระ
150. พัชร์ นิยมศิลป์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
151. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
152. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
153. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
154. พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
155. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
156. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
157. ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา
158. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
159. ภมรี สุรเกียรติ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
160. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยมหิดล
161. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน/นักแปล
162. ภัทรนันท์ ทักขนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
163. ภัทรมน กาเหย็ม มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
164. มนฐิตา เฉื่อยทอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
165. มนตรา พงษ์นิล
166. มรกตวงศ์ ภูมิพลับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
167. มาตยา อิงคนารถ ข้าราชการบำนาญ
168. มานะ ขุนวีช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
169. มิเชล ตัน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
170. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
171. เมธีพัชญ์ จงวโรทัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
172. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
173. ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
174. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
175. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
176. รชฏ นุเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
177. รชฏ สาตราวุธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
178. รพีพรรณ เจริญวงศ์ ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
179. รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
180. รัฐพงศ์ ภิญโญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
181. รัตนา โตสกุล
182. ลลิดา ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
183. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184. วรยุทธ ศรีวรกุล
185. วโรดม ตู้จินดา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
186. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
188. วัณณสาส์น นุ่นสุข มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
189. วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
190. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
191. วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระ
192. วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ
193. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
194. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
195. วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
196. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
197. วีรชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
198. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
199. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
200. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
201. ศราวุฒิ ปทุมราช
202. ศรันย์ สมันตรัฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
203. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
204. ศาสตรินทร์ ตันสุน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
205. ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
206. ศักรินทร์ ณ น่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
207. ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
208. ศิวนนท์ ไชยช่อฟ้า นักวิชาการอิสระ
209. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
210. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
211. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
212. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
213. โศภิต ชีวะพานิชย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
214. สมนึก จงมีวศิน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
215. สมฤทธิ์ ลือชัย
216. สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
217. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
218. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
219. สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
220. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
221. สายชล ปัญญชิต
222. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
223. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
224. สาวิตร ประเสริฐพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
225. สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
226. สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ นักวิชาการอิสระ
227. สิรีธร ถาวรวงศา นักศึกษาปริญญาเอก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
228. สิทธารถ ศรีโคตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
229. สิทธิพร บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
230. สิทธิพร ศรีผ่อง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
231. สุเจน กรรพฤทธิ์
232. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
233. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
234. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
235. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ
236. สุภัทรา ณ วรรณพิณ อดีตอาจารย์และอาจารย์พิเศษ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
237. สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน
238. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
239. สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
240. สุวิมล รุ่งเจริญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
241. เสกสรรค์ ทานะ นักวิชาการอิสระ
242. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
243. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
244. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
245. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
246. อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
247. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
248. อรอนงค์ ทิพย์พิมล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
249. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
250. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
251. อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่
252. อภิชญา โออินทร์ นักศึกษา London School of Economics and Political Science
253. อภิญญา เวชยชัย
254. อรุณี สัณฐิติวณิชย์
255. อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
256. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
257. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ภาควิชาสื่อศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
258. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
259. อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
260. อนิวรรณ อุปมัย
261. อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
262. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
263. อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
264. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
265. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
266. อานันท์ กาญจนพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
267. อาทิตย์ ศรีจันทร์
268. อังกูร หงส์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
269. อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
270. อัมพร จิรัฐติกร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
271. อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
272. อิทธิพล จึงวัฒนาวงค์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
273. อิสระ ชูศรี มหาวิทยาลัยมหิดล
274. อิสราภรณ์ พิศสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
275. อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
276. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล
277. อุเชนทร์ เชียงเสน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
278. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ
279. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธ์นันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
280. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
281. เอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
282. Aim Sinpeng, Department of Political Science, University of Sydney
283. Alessio Fratticcioli, PhD student, Monash University
284. Andrew Alan John, Yale-NUS College
285. Andrew MacGregor Marshall, Edinburgh Napier University
286. Andrew Walker, The Australian National University
287. Anne M. Blackburn, Department of Asian Studies, Cornell University
288. Art Mitchells-Urwin, PhD candidate, SOAS, University of London
289. Bridget Welsh, Ipek University
290. Carlo Bonura, Department of Politics and International Studies, SOAS, University of London
291. Charles Keyes, Professor Emeritus, University of Washington
292. Chris Baker, independent scholar
293. Craig J. Reynolds, The Australian National University
294. Daungyewa Utarasint, PhD candidate, The Australian National University
295. David Brown
296. Donald A. Johnson, Webster University of Thailand
297. Duncan McCargo, University of Leeds, United Kingdom
298. Eric White, visiting fellow, Southeast Asia Program, Cornell University
299. Erin Niehoff, Hatfield resident fellow, Portland State University and the University of Minnesota
300. Hjorleifur Jonsson, School of Human Evolution and Social Change, Arizona State University
301. Ingrid Wijeyewardene, University of New England
302. Janina Straif, MA student at RCSD
303. John Hartmann, Professor Emeritus, Northern Illinois University
304. Jon Fernquest, Learning Section of Online Bangkok Post
305. James Giggacher, The Australian National University
306. Kalpalata Dutta, PhD candidate, Institute of Human Rights and Peace, Mahidol University
307. Kanishka Jayasuriya, Department of Politics and International Studies, The University of Adelaide
308. Keith D. Barney, College of Asia and the Pacific, The Australian National University
309. Kevin Hewison, Asia Research Center, Murdoch University, Australia
310. Kullada Kesboonchoo Mead, former professor at Faculty of Political Science, Chulalongkorn University
311. Lia Genovese, independent scholar
312. Marja Schilstra, Rijks Universiteit Groningen, the Netherlands
313. Marlo Belschner, Monmouth College
314. Marta Monti, academic researcher, The University of Minnesota
315. Mary Beth Mills, Colby College, USA
316. Michael Connors, The University of Nottingham (Malaysia Campus)
317. Michael Montesano, ISEAS-Yosof Ishak Institute, National University of Singapore
318. Nancy Eberhardt, Department of Anthropology and Sociology, Knox College, USA
319. Nanchanok Wongsamuth, Bangkok Post
320. Nerida M Cook, retired lecturer in sociology
321. Nicholas Farrelly, fellow, the Australian National University
322. Oscar Salemink, Faculty of Social Sciences, University of Copenhagen
323. Pavin Chachavalpongpun, Kyoto University
324. Peter J. Bolan, Department of English, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University
325. Peter Vandergeest, York University
326. Ployjai Pintobtang
327. Praphakorm Lippert
328. Pruksapan Bantawtook, Ubon Ratchathani University
329. Ram Prasansak, Ubon Ratchathani University
330. Robert Dayley, Department of Political Economy, The College of Idaho
331. Ryan Wolfson-Ford, Western Connecticut State University
332. Snea Thinsan Thai Alliance for Human Rights
333. Sorawit Siangjaeo, student, The Humphrey School of Public Affairs, University of Minnesota
334. Sustarum Thammaboosadee, College of Interdisciplinary, Thammasat University
335. Tim Rackett, HELP University Kuala Lumpur
336. Thomas Hoy, Department of English, Faculty of Liberal Arts, Thammasat University
337. Tyrell Haberkorn, The Australian National University
338. Verapat Pariyawong, visiting scholar, SOAS, University of London
339. Vikash Yadav, Hobart & William Smith Colleges
340. Wolfram Schaffer, Department of Development Studies, University of Vienna
341. Zachary Abuza, National War College (USA)

เรื่องเกี่ยวข้อง...

4 องค์กรกฎหมายสิทธิ ร้องยุติดำเนินคดีนักวิชาการข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช



ที่มา ประชาไท
Mon, 2015-11-23

จากกรณีเมื่อวันที่ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา สถานีตำรวจภูธรช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกหมายเรียกกลุ่มนักวิชาการ 6 คน ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย โดยในหมายเรียกดังกล่าวได้ตั้งข้อหาว่ากลุ่มนักวิชาการได้ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เนื่องจากนักวิชาการดังกล่าวจัดกิจกรรมแถลงความเห็นทางวิชาการต่อสาธารณะ เรื่อง เสรีภาพทางปัญญาของระบบการศึกษา ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา นั้น

ล่าสุด(23 พ.ย. 58) 4 องค์กรด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ โดยเรียกร้องให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล กองทัพ และตำรวจ ยุติการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ คุกคามนักวิชาการ โดยการยุติการดำเนินคดีต่อกลุ่มนักวิชาการที่ได้เสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ของพวกท่านอย่างสุจริตและกล้าหาญ

ขอเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันเรียกร้อง ให้ คสช. รัฐบาล กองทัพและตำรวจ เคารพในสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ โดยยุติการคุกคาม ข่มขู่นักวิชาการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปัญญาของสังคมอย่างสุจริต พร้อมทั้งให้กำลังใจกลุ่มนักวิชาการที่ถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีในครั้งนี้


แถลงการณ์

เรื่อง การออกหมายเรียกนักวิชาการข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 สถานีตำรวจภูธรช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกหมายเรียกกลุ่มนักวิชาการจำนวนหกคน ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย โดยในหมายเรียกดังกล่าวได้ตั้งข้อหาว่ากลุ่มนักวิชาการได้ร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เนื่องจากนักวิชาการดังกล่าวจัดกิจกรรมแถลงความเห็นทางวิชาการต่อสาธารณะ เรื่อง เสรีภาพทางปัญญาของระบบการศึกษา ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558 นั้น

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) และองค์กรสิทธิมนุษยชน มีความเห็นว่าการแถลงความเห็นทางวิชาการเป็นการใช้เสรีภาพทางวิชาการอันชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชนและชอบด้วยกฎหมายดังต่อไปนี้

1. การจัดแถลงความคิดเห็นต่อสาธารณะของกลุ่มนักวิชาการ เรื่อง เสรีภาพทางปัญญาของระบบการศึกษา เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นประเด็นสาธารณะและเป็นภารกิจโดยตรงของนักวิชาการมหาวิทยาลัย ถือเป็นการใช้เสรีภาพในทางวิชาการซึ่งได้มีการบัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทยหลายฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 มาตรา 42 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 42 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 50 และแม้แต่รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ออกมาหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 เอง ก็ได้รับรองเสรีภาพนี้ไว้โดยปริยายในมาตรา 4 และมาตรา 5 ดังนั้น กระทำของกลุ่มนักวิชาการจึงเป็นการใช้เสรีภาพทางวิชาการที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญให้กระทำได้

2. ข้อหาที่ปรากฏในหมายเรียก ตรงกับความผิดตามคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการชุมนุมที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย” ซึ่งตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 กำหนดให้เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทหารนั้น ไม่อาจปรับใช้กับการจัดแถลงความคิดเห็นต่อสาธารณะของกลุ่มนักวิชาการในครั้งนี้ได้ เนื่องจากการกระทำนี้ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามข้อหาดังกล่าว เพราะกิจกรรมการแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ ไม่ใช่การมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง แต่เป็นกิจกรรมทางวิชาการทั่ว ๆ ไป ที่ถือเป็นธรรมเนียมและเป็นภารกิจที่สำคัญของนักวิชาการในสังคมไทย หากกิจกรรมเช่นนี้ถูกตีความตามอำเภอใจได้ว่าเป็นการมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองที่ผิดกฎหมาย ก็ย่อมส่งผลให้กิจกรรมทางวิชาการจำนวนมากที่มีขึ้นเพื่อความงอกงามทางปัญญาและเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคม เช่น การเสวนาวิชาการ การประชุมวิชาการ การปาฐกถาทางวิชาการ การนำเสนองานวิจัย การอบรมให้ความรู้ต่อชุมชนในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและไม่อาจดำเนินการได้ด้วยเช่นกัน หากเป็นเช่นนั้นย่อมสร้างความเสียหายต่อสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างไม่อาจประเมินค่าได้ จึงไม่มีกฎหมายที่ชอบธรรมใดประสงค์ให้เกิดผลเลวร้ายดังกล่าวขึ้น ประกอบกับการรับรองและคุ้มครองเสรีภาพในทางวิชาการไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งในอดีตและปัจจุบันยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการกระทำของกลุ่มนักวิชาการในการแสดงออกต่อสาธารณะครั้งนี้เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดฐานมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตามคำสั่ง คสช.แต่อย่างใด

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) และองค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อแนบท้าย มีข้อเสนอและเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ขอเป็นกำลังใจให้กลุ่มนักวิชาการที่ถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีในครั้งนี้และนักวิชาการทุกท่าน ให้ยืนหยัดใช้เสรีภาพทางวิชาการทำหน้าที่ที่มีเกียรติในฐานะปัญญาชนสาธารณะด้วยความกล้าหาญต่อไป

2. ขอเรียกร้องให้ คสช. รัฐบาล กองทัพ และตำรวจ ยุติการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการข่มขู่ คุกคามนักวิชาการ โดยการยุติการดำเนินคดีต่อกลุ่มนักวิชาการที่ได้เสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ของพวกท่านอย่างสุจริตและกล้าหาญ

3. ขอเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันเรียกร้อง ให้ คสช. รัฐบาล กองทัพและตำรวจ เคารพในสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ โดยยุติการคุกคาม ข่มขู่นักวิชาการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะปัญญาของสังคมอย่างสุจริต

ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน


เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
นักวิชาการไทย-เทศกว่า 300 ลงชื่อร้องคสช. หยุดคุกคามคณาจารย์-นักศึกษา-การสอน
คณาจารย์วลัยลักษณ์เสรี แถลงค้านดำเนินการทางกฎหมายต่อกลุ่มเครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย
เครือข่ายพลเมืองสงขลาจี้ คสช. หยุดคุกคามนักวิชาการ
เขียนถึงสังคม: อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
‘อรรถจักร์’ เผยยังไม่ได้รับหมายเรียก ‘ขัดคำสั่ง คสช.’ ยันมหาวิทยาลัยต้องมีเสรีภาพ
'เครือข่ายอาจารย์มหาวิทยาลัย' ออกแถลงการณ์ 'มหาวิทยาลัยไม่ใช่ค่ายทหาร'