วันจันทร์, พฤศจิกายน 30, 2558

เศรษฐกิจไทยจมปลัก กระทั่ง loan sharks ยังบ่น : The New York Times รายงาน

“อย่าได้ดีใจว่านักท่องเที่ยวจีนปีนี้มาเที่ยวไทยกันเยอะแล้วล่ะ ประเทศไทยยังติดอยู่ในปลัก” ขึ้นไม่ไหว

บทความในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายนนี้ ขึ้นต้นถึงภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ว่า “กำลังใกล้จะตาย และรายได้ในครัวเรือนก็ตกต่ำติดลบหนักที่สุดในเอเซีย”

“อาชญากรกชิงวิ่งราวในปีนี้เพิ่มขึ้น ๖๐ เปอร์เซ็นต์” นายธอมัส ฟุลเลอร์ รายงาน

“ไม่มีใครอยากยิ้มอีกแล้วละ” สมเพชร พิมศรี พ่อค้าผลไม้ในตลาดหลังวัดอรุณฯ ตอบนักข่าวต่างประเทศ “ชีวิตทุกวันนี้เครียดมาก ผมไม่รู้จะอธิบายยังไง มันรู้สึกเหมือนว่าจะทำอะไรๆ ก็ไม่ได้ผลสักอย่างอีกต่อไป”
 
แม่ค้าผักแถวฝั่งธนฯ
“ประเทศไทยเคยถือคบเพลิงนำหน้าเพื่อนบ้านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านเสรีภาพและความรุ่งเรือง” บทความกล่าว “แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยมองดูเพื่อนบ้านด้วยความชื่นชม ไม่อาจดูแคลนอีกต่อไป”

“ทางตะวันตกมองเห็นสัญญานของประชาธิปไตยเบ่งบานในพม่า จากชัยชนะของนางอองซาน ซูจี ต่อคณะทหารที่กดขี่เธอมาหลายต่อหลายปี ทางตะวันออกเศรษฐกิจของลาว กัมพูชาและเวียตนาม แสดงความแกร่งกล้า และดึงดูดการลงทุนของต่างชาติไปจากไทย”

“เราเองถอยหลังเข้าคลอง แต่พวกเขาก้าวไปข้างหน้า” เป็นความเห็นของสมร ธุรพันธุ์ พ่อค้าวัย ๕๑ ปี คนขายก๋วยเตี๋ยวรถเข็นที่ใช้มอเตอร์ไซค์ลากไปตามท้องถนน

“วีระ ธีรภัทร นักจัดรายการวิทยุที่ได้รับความนิยมสูงคนหนึ่งบ่นว่า ทางเดียวที่จะให้ไม่สลดหดหู่ได้ ต้องไปเสียจากที่นี่ ไปเที่ยวต่างประเทศสักพัก ผมไม่รู้ว่าจะทนไปได้นานแค่ไหน สงสัยต้องย้ายหนีเร็วๆ นี้” เป็นอีกข้อมูลดิบที่นักข่าวนิวยอร์คไทม์ได้มา แต่อาจหาได้ยากจากศื่อในประเทศ

แม้ว่าในภาคส่วนของผู้มีอันจะกินไม่ได้แห้งเหี่ยวไปเสียทั้งหมด ตามมอลและย่านธุรกิจหรูยังมีคนไปเดินเที่ยว ซื้อหา และรับประทานอาหารกันเนืองแน่น แต่นายฟุลเลอร์ชี้ว่า ฉายาประเทศไทยเคยเป็นเศรษฐกิจ เท็ปลอนนั้นอ้างอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว
แถวคลองสาน แผงร้านค้าปิดกันระนาว

แม้แต่นายสมคิด จาตุรศรีพิทักษ์ อดีตรัฐมนตรีที่ คสช. นำเข้ามาเป็นกูรูเศรษฐกิจคนใหม่ ก็ยังเคยพูดไว้ในปาฐกถาแห่งหนึ่งว่า “ประชาชนรู้สึกเศร้าหมองเก็บกด เขาเปรียบเปรยประเทศไทยว่าเป็น ผู้ป่วยที่ต้องยืนสู้กับลมหนาว”

“แต่การยึดครองของคณะทหารดูจะไม่มีการสิ้นสุด และกองทัพก็ดีแต่คอยโต้เสียงวิพากษ์ ควบคุมตัวพวกโปรเฟสเซอร์ นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ และนักศึกษา แล้วจัดการคนเหล่านี้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า ปรับทัศนคติ”

บทความกล่าวถึงการเสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังของผู้ต้องหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์ ๓ คนเมื่อเร็วๆนี้ มีเสียงระบายความอึดอัดตามโซเชียลมีเดียว่าขณะนี้ประเทศชาติปราศจากแนวนำทาง

การปกครองโดยทหารกลับย้อนแย้งให้สาธารณะเกิดความหวาดกลัว ตามข้อมูลของทางการตำรวจ จำนวนอาชญากรรมลักขโมยและช่วงชิงทรัพย์ในปีงบประมาณนี้มีถึง ๗๕,๕๕๗ รายการ สูงกว่าปีก่อน ๖๓ เปอร์เซ็นต์

จำนวนเพิ่มของอาชญากรรมร้ายแรงมีถึง ๑๗ เปอร์เซ็นต์

ปัญหาเศรษฐกิจกลายเป็นเรื่องปวดหัวประจำวัน โดยเฉพาะในหมู่ผู้ค้าและแรงงานใต้ดิน ธุรกิจสีเทาเหล่านี้ครอบงำถึงสองในสามของแรงงานในแวดวงการค้าของประเทศ

“ทุกๆ เช้าเราต้องบ่นกันเรื่องการทำมาหากินฝืดเคือง” นางรัศมี สีดามัตย์ แม่ค้าขายส้มตำไก่ย่างคนหนึ่งเล่า “แย่ลง แย่ลง แย่งทุกที”

แม้กระทั่งนายหน้าเงินกู้นอกระบบ หรือ loan sharks ที่คิดค่าดอกร้อยละ ๒๐ ต่อพ่อค้าแม่ขายตามตลาดก็ยังบ่น

นายเค. ซิงห์ ฉลามเงินกู้ คนหนึ่งยอมรับกับคุณธอมัสว่าเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้หมายถึง คนกู้ไปแล้วไม่มีปัญญาใช้คืน
เสื้อ Bike for Dad ขายตามแผงราคาตัวละ ๑๖๐ บาท

ในย่านเสื้อผ้าของกรุงเทพฯ ร้านรวงพากันปิดตัวเองลงเป็นแถว ทองย้อย แพสุวรรณ วัย ๒๙ ปี เจ้าของร้านเครื่องแต่งกายแห่งหนึ่งระบายความรู้สึกว่า ลูกค้าเดี๋ยวนี้จ่ายยาก คิดแล้วคิดอีกก่อนจะตกลงใจซื้อ

“มันเหมือนกับว่าผู้คนแย่งกันแทะกระดูกปลา” แม่ค้าเสื้อพูดถึงเศรษฐกิจไทย “มันเคยเป็นปลาตัวใหญ่นะ เดี๋ยวนี้เหลืออยู่แต่เนื้อติดก้างนิดหน่อย”

ทองย้อยไม่หวั่นที่จะบริภาษณ์คณะฮุนต้า “หนูไม่ฝันที่จะมีรัฐบาลสุดยอดอุดมการณ์อีกแล้วละ พวกเราแค่ต้องการเอาตัวรอดไปวันๆ”


(ถอดเนื้อเรียงถ้อยเป็นไทย จากบทความของนายธอมัส ฟุลเลอร์ ในหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์ค ไทมส์ เรื่อง ‘Thai Economy and Spirits are Sagging’. http://www.nytimes.com/2015/11/30/world/asia/thailand-economy-tourism.html?smid=tw-share&_r=0)