ถ้าคุณทำร้ายเยาวชน ที่มีความคิด อย่างนี้ อนาคตของลูกหลานพวกคุณ และประเทศไทย ไม่ดีหรอก คุณจะมีแต่เด็กที่ไม่รู้จักคิด และตั้งคำถาม ขณะที่คนจริง คุณก็ไม่กล้า คุณก็รู้ว่าคุณคิดผิดจากโลกเค้า ไม่งั้นคุณไม่ฟ้องบีบีซีล่ะ
มิตรสหายท่านหนึ่ง
.....
ศาลตัดสินจำคุกไผ่ ดาวดิน 5 ปี แต่ลดโทษกึ่งหนึ่ง
ที่มา BBC Thai
ทวิตเตอร์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเผยแพร่ข้อความระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลจังหวัดขอนแก่นได้อ่านคำพิพากษาลับตัดสินจำคุกนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย เป็นเวลา 5 ปี แต่ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน เนื่องจากให้การรับสารภาพ
นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะทนายความของ นายจตุภัทร์ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า นายจตุภัทรมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ซึ่งผลการตัดสิน ไม่ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะถูกจำคุก 5 ปี และการรับสารภาพเป็นประโยชน์ต่อคดี ศาลจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่ง
ทนายความระบุด้วยว่าในระหว่างนี้นายจตุภัทร์มีสิทธิ์ที่จะขอประกันตัวได้ตามกฎหมาย แต่ทนายความยังไม่ได้หารือเรื่องนี้กับครอบครัว
เมื่อสายวันนี้ (15 ส.ค.) ไผ่ ดาวดิน ได้ให้การรับสารภาพ ในคดีที่ถูกอัยการจังหวัดขอนแก่น ยื่นฟ้องในความผิดตาม ประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112 ซึ่งมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปี และผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จากการแชร์บทความเรื่อง "พระราชประวัติกษัตริย์ พระองค์ใหม่ของไทย" ของเว็บไซต์บีบีซีไทย ไว้บนเฟซบุ๊กส่วนตัว
โดยหลังจากนายจตุภัทร์รับสารภาพ ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้งดการสืบพยานโจทก์ในวันนี้ ซึ่งกำหนดไว้ 3-4 ปาก
นายจตุภัทร์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2559 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และละเมิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์บทความ พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ของบีบีซีไทย ไว้บนเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559
ในช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้แชร์บทความเดียวกันราว 2,600 รายWASAWAT LUKHARANG / BBC THAI
ด้านสำนักงานใหญ่ ของบีบีซี ในลอนดอน กล่าวยืนยันในความถูกต้องของข่าว
"บีบีซีไทยก่อตั้งขึ้นเพื่อนำเสนอข่าวสารที่เป็นอิสระ ไม่เลือกข้าง และถูกถ้วน ในประเทศที่ สื่อมวลชนต้องเผชิญกับข้อจำกัด เรามั่นใจว่าเนื้อหาของบทความชิ้นนี้ดำเนินไปตาม หลักปฏิบัติของกองบรรณาธิการบีบีซีครบถ้วน"
นายกฤษฎางค์ กล่าวกับบีบีซีไทยอีกว่า ได้รับแจ้งจากนายจุตภัทร์ ว่าตัดสินใจรับสารภาพในคดีนี้ ในช่วงเช้าวันนี้ ซึ่งเป็นวันที่มีการนัดสืบพยานโจทก์ หลังนายจตุภัทร์และครอบครัวได้ปรึกษากัน ในช่วงเช้า
"นายจตุภัทร์คิดในแง่ว่า ยอมรับว่าข้อความบางส่วนจากบทความบีบีซีไทย มีเนื้อหาตามที่ถูก ตั้งข้อกล่าวหา แต่การแชร์บทความนั้นออกไป เพียงแสดงให้เห็นว่าต่างชาติคิดอย่างไร ไม่ได้ชี้ถูก หรือผิด หรือเห็นด้วยกับบทความนั้น ซึ่งหากเนื้อหาไม่เป็นความจริง รัฐบาลก็ชี้แจงไป" นายกฤษฎางค์ กล่าวกับบีบีซีไทย
ทนายความเปิดเผยว่า นายจตุภัทร์ตัดสินใจรับสารภาพ "โดยสมัครใจ และไม่มีแรงบีบคั้น" โดยให้เหตุผลว่า "หากสืบพยานต่อไป อาจมีผลสะเทือนในหลายเรื่อง" ซึ่งทนายมองว่าอาจสืบเนื่อง จากเนื้อหาในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีโดยลับ ส่วนเรื่องการตัดสินถูกผิด เป็นเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของศาล
เมื่อถามว่า การตัดสินใจรับสารภาพมีการหารือกันมาก่อนหน้านี้หรือไม่ นายกฤษฎางค์ กล่าวว่า ทีมทนายไม่ได้เข้าไปร่วมตัดสินใจ แต่ขึ้นอยู่กับลูกความเท่านั้น เพียงแต่ก่อนหน้านี้มีหลายคนเสนอ ความเห็นมาหลายด้านเกี่ยวกับแนวทางของคดี
"โดยจรรยาบรรณของทนาย ไม่ได้มีการสอบถามว่าจะรับสารภาพหรือไม่"
ภายหลังมีคำพิพากษา นายวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของนายจตุภัทร์ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า นายจตุภัทร์รู้สึกเสียใจกับการตัดสินใจในวันนี้ เนื่องจากลูกของตนเป็นนักต่อสู้ และยังทำใจยอมรับไม่ได้
"ไผ่ร้องไห้ที่จำเป็นต้องรับ เขาร้องไห้เป็นชั่วโมง เกิดมาไม่เคยร้องไห้ขนาดนี้ พักเที่ยงไม่กินข้าว คิดว่าใช้เวลานึกคิดอะไรบางอย่าง" นายวิบูลย์ กล่าวกับบีบีซีไทย
นายจตุภัทร์ ถูกฝากขังในเรือนจำจังหวัดขอนแก่น มาแล้ว 237 วัน หรือราว 8 เดือน นับตั้งแต่ถูกเพิกถอนประกันตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2559 หลังศาลมีคำพิพากษาในวันนี้ ทำให้เหลือเวลาที่ต้องรับโทษอีก 1 ปี 10 เดือน
ที่ผ่านมาองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งและเครือข่ายนักวิชาการได้เรียกร้องให้ปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนายจตุภัทร์
อัยการยื่นฟ้อง "ไผ่ ดาวดิน" คดีแชร์พระราชประวัติ ร.10 แล้ว
ศาลไม่อนุญาตประกันตัว "ไผ่ ดาวดิน" แม้ "ส.ศิวรักษ์" ร่วมรับประกัน
ooo
Tue, 2017-08-15
ที่มา ประชาไท
ศาลพิพากษาคดี ไผ่ ดาวดิน แชร์รายงานจาก BBC Thai ผิด ม.112 สั่งจำคุก 5 ปี แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ทนายฯเผยเหตุที่รับสารภาพเพราะ ไผ่ หวังจะสู้คดีในศาลอย่างเปิดเผย เพื่อให้สังคมได้รับรู้ แต่ศาลสั่งพิจารณาคดีลับ
15 ส.ค. 2560 เวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานว่า ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้อ่านคำพิพากษาคดีของ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักศึกษาคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักกิจกรรมทางสังคมการเมือง กรณีการแชร์รายงานพิเศษจากเว็บไซต์ BBC Thai เรื่อง “พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย" พร้อมกับคัดลอกเนื้อหาตอนหนึ่งในรายงานลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาสั่งจำคุก 5 ปี ตามฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี 6 เดือน
สำหรับการรับสารภาพ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าได้มีการปรึกษากับไผ่ และครอบครัวมาก่อนหน้านี้ โดยคณะทนายความให้ความเคารพต่อตัวลูกความไม่เข้าไปแทรกแซงการตัดสินใจใดๆ จากที่ได้ปรึกษาพูดคุยล่าสุด ไผ่มีความเห็นว่า คดีดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นความไม่เป็นธรรมในสังคมจึงเลือกที่จะต่อสู้อย่างเปิดเผยในศาลเพื่อที่จะให้สังคมได้รับรู้ แต่เมื่อศาลใช้อำนาจสั่งให้เป็นการพิจารณาคดีลับ ไผ่จึงเห็นว่ากระบวนการพิจารณาคดีดังกล่าวไม่บรรลุผลในการชี้ให้สังคมได้เห็นถึงกระบวนการทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมได้ และในอีกส่วนหนึ่งก็คือไผ่ต้องการให้ประเด็นความขัดแย้งในกรณีดังกล่าวสิ้นสุดลง
สำหรับกระบวนการในวันนี้ศาลจังหวัดขอนแก่นได้เบิกตัวไผ่ มายังศาลเพื่อเข้าสู่กระบวนการสืบพยานฝ่ายโจทก์เป็นวันที่ 3 ต่อจากวันที่ 3 และ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา แต่ในช่วงสายวันนี้ไผ่ได้ตัดสินใจรับสารภาพก่อน ศาลจึงได้อ่านคำพิพากษาทันทีในช่วงบ่าย ทั้งนี้ไผ่ถูกควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถานบำบัดจังหวัดขอนแก่นตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2559 จนกระทั่งวันนี้นับเป็นระยะเวลา 237 วัน
เกี่ยวกับ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน
‘ไผ่ ดาวดิน’ หรือนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักศึกษาและนักกิจกรรมที่เริ่มเป็นที่รู้จักจากการต่อสู้ร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการโครงการพัฒนาต่าง ๆ ในภาคอีสาน ในช่วงหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ไผ่และเพื่อนเคยชู 3 นิ้วพร้อมใส่เสื้อที่เรียงกันเป็นข้อความว่า “ไม่เอารัฐประหาร” ต่อหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช.ที่สนามหน้าศาลากลาง จ.ขอนแก่น
ในปีต่อมาไผ่และกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาดาวดินก็ได้จัดกิจกรรมรำลึก 1 ปี รัฐประหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จ.ขอนแก่น ก่อนที่จะลงมาร่วมกับกลุ่มนักศึกษาและนักกิจกรรมในนามขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ชุมนุมต่อต้าน คสช. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กรุงเทพฯ จนเป็นเหตุให้ถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีและถูกจับขังอยู่ในเรือนจำ
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ไผ่ และกลุ่มกิจกรรมใน ม.ขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมพูดเพื่อเสรีภาพฯ เพื่อรณรงค์เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นประชามติ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง หน.คสช. หลังจากนั้นไผ่และเพื่อนอีก 1 คนยังได้ไปแจกเอกสารรณรงค์ประชามติ ที่ จ.ชัยภูมิ จนเป็นเหตุให้ถูกแจ้งข้อหากระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประชามติ ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 10 ปี
เหล่านี้คือเหตุการณ์ที่ทำให้ไผ่ถูกจับกุมและดำเนินคดีช่วงหลังรัฐประหาร ซึ่งนับรวมการจับกุมและดำเนินคดีในครั้งนี้ถือได้ว่าไผ่ถูกจับกุมทั้งหมด 5 ครั้ง และถูกดำเนินคดี 5 คดี
ในส่วนคดีของนายจตุภัทร์ หรือไผ่ ดาวดิน เกิดจากการเข้าแจ้งความดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 โดย พ.ท. พิทักษ์พล ชูศรี หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ มณฑลทหารบกที่ 23 จากการที่จตุภัทร์ ได้แชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559 ซึ่งมีผู้แชร์บทความดังกล่าวประมาณ 2,800 ครั้ง แต่มีจตุภัทร์เพียงคนเดียวที่ถูกจับกุมดำเนินคดี โดยในวันที่ 3 ธ.ค. 2559 จตุภัทร์ ถูกจับกุมตัวที่จังหวัดชัยภูมิ ขณะกำลังร่วมขบวนธรรมยาตรา กับพระไพศาล วิสาโล โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แสดงหมายจับที่ออกโดยศาลจังหวัดขอนแก่น
ต่อมาในวันที่ 4 ธ.ค. 2559 ศาลได้พิจารณาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ โดยทนาย พร้อมนายประกันได้ยื่นหลักทรัพย์ 4 แสนบาท และให้เหตุผลไว้ในคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวว่า จตุภัทร์ เป็นผู้ต่องหาคดีการเมืองอยู่ 4 คดี แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี อีกทั้งในวันที่ 8 ธ.ค. ผู้ต้องหามีสอบเป็นวิชาสุดท้าย หากไม่ได้เข้าสอบวิชาดังกล่าวจะส่งผลให้เขาเรียนไม่จบตามหลักสูตร ศาลจึงพิจารณาให้ประกันตัว
ต่อมาในวันที่ 22 ธ.ค. 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้นัดพิจารณาคำร้องของพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น ที่ขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จตุภัทร์ โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหา ได้ทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว จึงสั่งให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ทั้งยังเห็นว่านายประกัน ซึ่งเป็นบิดา ไม่ได้ทำการห้ามปราบการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ศาลได้มีคำสั่งกำชับให้นายประกัน, ผู้ต้องหาให้มาศาลตามนัด ห้ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ พยานหลักฐานในคดี หรือก่อความเสียหายใดๆ หลังปล่อยตัวชั่วคราว หากผิดนัด ผิดเงื่อนไข ศาลอาจถอนประกันและอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวอีก และภายหลังปล่อยตัวชั่วคราว ได้ความจากทางไต่สวนว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊กของผู้ต้องหา กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มจะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก ผู้ต้องหาเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มีอายุ 25 ปี ย่อมรู้ดีว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวข้างต้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาล จึงฟังได้ความตามคำร้องว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบกับนายประกันผู้ต้องหาไม่ได้กำชับหรือดูแลให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตามเงื่อนไขศาลที่มีคำสั่ง จนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว จึงให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา หมายขังผู้ต้องหา ตรวจคืนหลักประกันให้นายประกัน
ต่อมาวันที่ 10 ก.พ. 2560 ศาลได้รับฟ้องคดีดังกล่าว พร้อมไต่สวนคำให้การของจตุภัทร์ โดยเขาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และพร้อมที่จะสู้คดี โดยในวันนั้นศาลได้ใช้อำนาจสั่งขังเขาต่อไประหว่างการพิจารณาคดี และได้นัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 21 มี.ค. 2560 ทั้งนี้อัยการโจทก์ได้ระบุในคำฟ้องด้วยว่า
"อนึ่ง หากจำเลยขอปล่อยตัวชั่วคราว โจทก์ขอคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เป็นการกระทำต่อพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งและเทิดทูนของประชาชน และเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง เกรงว่าจำเลยจะหลบหนี"
ทั้งนี้จตุภัทร์ ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2559 โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว ‘ไผ่’ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หลังจากเมื่อวันที่ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา ทนายความเข้ายื่นอุทธรณ์ เพื่อคัดค้านคำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นลงวันที่ 21 มี.ค. 2560 ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัวจตุภัทร์ และล่าสุดได้มีการยื่นประกันตัวอีกครั้งเพื่อวันที่ 8 พ.ค. 2560 แต่ศาลยังคงยืนยันคำสั่งเดิม
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รายงานว่า ในคดีนี้ อัยการจังหวัดขอนแก่นเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจตุภัทร์ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น เป็นคดีหมายเลขดำที่ 301/2560 ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และ 14 (3) โดยจตุภัทร์ให้การปฏิเสธ และศาลนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 3-4, 15-17 ส.ค. 2560 สืบพยานจำเลยในวันที่ 30-31 ส.ค. และ 5-7 ก.ย. 2560 ในชั้นสอบสวน จตุภัทร์เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเวลา 18 วัน แต่ถูกถอนประกันจากการที่ยังโพสต์แสดงความเห็นในโซเชียลมีเดีย หลังถูกถอนประกัน ทนายความได้ยื่นประกันจตุภัทร์ รวม 9 ครั้ง และอุทธรณ์รวม 2 ครั้ง แต่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวอีกเลย
ooo
Thai Activist Sentenced 2.5 Years in Prison for Sharing an Article on Facebook
People stand behind makeshift bars wearing masks of Thai human rights activist Jatupat Pai Boonpattararaksa in Bangkok on June 22, 2017. Lillian Suwanrumpha—AFP/Getty Images
Source: TIME
By Feliz Solomon
An activist in Thailand has been sentenced to two-and-a-half years in prison after confessing to posting a BBC article on his Facebook account that has been deemed insulting to the nation's monarchy, a rights group said Tuesday.
Jatupat Booyapatraksa, 26, was found guilty Tuesday of violating the country's strict lèse-majesté law, which criminalizes all perceived insults to royal family, a representative of Thai legal monitoring group iLaw tells TIME.
Jatupat is more commonly known by his nickname Pai Dao Din.
Pai initially faced a five year sentence, but his term was reduced by half because he confessed. He has already served more than six months in jail in Khon Khaen, a city in northeastern Thailand, which will further reduce his sentence, according to iLaw.
Four additional charges are pending against him, iLaw added.
Thailand's lèse-majesté law is among the strictest of its kind; the legislation is ostensibly meant to protect the royal family from being defamed, but in practice is often used to suppress dissent.
Violators can be sentenced to up to 15 years in prison, and complaints can be made by anyone, against anyone, at any time.
In June, a 34-year-old man was sentenced to 35 years in prison on 10 counts of lèse-majesté, the harshest punishment handed out to date.
Human rights groups and legal professionals say they have seen an uptick in enforcement of defamation laws since the country's military seized power in a 2014 coup. The number of lèse-majesté cases has exceeded 100 since the putsch.
Read More: The Draconian Legal Weapon Being Used to Silence Thai Dissent
ooo
เรื่องเกี่ยวข้อง...
แอมเนสตี้ฯ แถลงชี้คำพิพากษาคดีไผ่ ดาวดิน ทำให้เห็นแนวทางสุดโต่งของรัฐไทย
(https://prachatai.com/journal/2017/08/72825)
ooo
ooo