เรียกว่าเป็น “dream cabinet” หรือ “ครม.ฮิปสเตอร์” แล้วกัน ครม.30 คนที่เข้ารับตำแหน่งพร้อมนาย Justin Trudeau 43 ปี เรียกว่า “เล็กลง” “หลากหลาย” “เท่าเทียมทางเพศ” มีทั้งคนรุ่นเก่าและใหม่คละกันไป ครม.เขาเล็กลงจาก 38 คนเมื่อรบ.ที่แล้ว ประกอบด้วยหญิง-ชายอย่างละครึ่งพอดีเป๊ะ 15:15 (ไม่นับเขาในฐานะนายกฯ) และไม่ใช่ตั้งผู้หญิงเป็นรมว.แค่ “ไม้ประดับ” แบบที่ทำในบางประเทศ อายุครม.ส่วนใหญ่ไม่เกิน 50 ปี แถมยังประกอบด้วยความหลากหลายทั้งผู้บกพร่องทางร่างกาย, refugee และชนพื้นเมือง
ผู้สื่อข่าว (หญิง) ถามเขาว่าทำไมเลือกครม.ที่ใส่ใจความเท่าเทียมทางเพศ คำตอบเขาเก๋มาก "Because it's 2015" นั่นสิ มันยุคไหนแล้ว (ความจริงครม.ชุดก่อนก็มีผู้หญิงมากนะ ตั้ง 12 คน) ตัวอย่างทีมหญิงของเขา ได้แก่ Chrystia Freeland รมว.กระทรวงการค้าระหว่างประเทศ Jane Philpott (หมอประจำบ้าน) รมว.สาธารณสุข Jody Wilson-Raybould (ชนพื้นเมือง We Wai Kai Nation) เป็นรมว.ยุติธรรมและอัยการสูงสุด, Catherine McKenna (นักกม.ระหว่างประเทศ)เป็นรมว.สิ่งแวดล้อมและ Climate Change และ Maryam Monsef (ลี้ภัยจากอัฟกานิสถาน 20 ปีที่แล้ว) รมว. Democratic Institutions
โดยรวมครม.ของนายทรูดอประกอบด้วยชนพื้นเมือง 2 คน ผู้บกพร่องทางกาย 2 คน เกย์แบบเปิดเผย 1 คน ผู้ลี้ภัย 1 คน (เขาเปลี่ยนชื่อกระทรวงจาก Ministry of Citizenship and Immigration เป็น Ministry of Immigration, Refugees, and Citizenship และสัญญาจะรับผู้ลี้ภัยเพิ่ม) และซิกข์ 4 คน (หนึ่งในนั้นเคยตกเป็นผู้ต้องสงสัยคดีก่อการร้าย ถูกทรมาน และควบคุมตัวโดยไม่ได้รับการไต่สวนจากศาลถึงสองปีในอินเดีย)
แถมกว่าครึ่งของครม.หรือ 18 คนเป็นนักการเมือง “หน้าใหม่” เพิ่งชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก แต่นอกจากบรรดารมต.หน้าใหม่ที่เป็นคนรุ่นใหม่ (rookies) ครม.ของเขายังมีนักการเมืองมากประสบการณ์ช่วยหนุนหลังด้วยหลายคน พวกกระทรวงความมั่นคง ต่างประเทศ บริการสาธารณะ เกษตร คลัง พวกนี้จะเป็นนักการเมืองอาวุโสหน่อยดูแล ส่วนพวกรุ่นหนุ่ม ๆ สาว ๆ จะเป็นกระทรวงก้าวหน้าหรือด้านสังคมอย่างสิ่งแวดล้อม ครอบครัว เด็กและการพัฒนาสังคม แรงงาน เศรษฐกิจ เป็นต้น
ทรูดอบอกว่า "Openness and transparency" เป็นเสาหลักสำคัญของรัฐบาลนี้ เขาบอกกับสื่อหลายสิบคนที่รอสัมภาษณ์เลยว่า เขาจะเป็นรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และยินดีให้นักข่าวทำงานของตัวเองอย่างเต็มที่ ลองฟังที่เขาตอบคำถามผู้สื่อข่าวหลังพิธีรับตำแหน่ง (ซึ่งมีคนพื้นเมืองแสดงประกอบด้วย) น่าฟังมาก ไม่มีตะคอก ไม่มี “เดี๋ยวต่อย” ไม่มีพูดแล้วกลืนน้ำลาย โทษผู้สื่อข่าวว่าเอาไปลงผิด ไม่แสดงความกักขฬะหยาบช้า ไม่อวดโง่เป็นตัวตลกหน้าจอทุกวัน ไม่ชอบจ้อ เหมือนผู้นำครม.บางประเทศ ดูแล้วสุขภาพจิตดีมาก ไม่นับ “ความหล่อ” ของนายทรูดออีก เฮ้อ......
อันนี้เขียนละเอียดดี http://www.lfpress.com/…/live-coverage-justin-trudeau-and-h…
https://youtu.be/5Jfgsfp0ZdM
ที่มา FB
Pipob Udomittipong
ooo
นายกไทย-สื่อไทย
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446711752
มติชนออนไลน์
05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดสื่อสารคดีในโครงการจัดนิทรรศการและสื่อสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถึงการติดตามร่างรัฐธรรมนูญว่า ได้ติดตามอยู่เพราะตนก็เป็นผู้ที่ตีกรอบไปเอง ส่วนข้อเสนอในวิธีการการเลือกตั้งแบบใหม่นั้นตนเคยบอกแล้วว่าถ้ามองว่าประชาธิปไตยและการเลือกตั้งเป็นไฮไลต์ของทั้งหมดประเทศไทยก็กลับไปที่เดิมเท่านั้นเองมันไปอย่างอื่นไม่ได้ อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องคุยกันว่าทำอย่างไรประเทศชาติจะปลอดภัยและเป็นประชาธิปไตยที่ต่างชาติยอมรับได้ด้วย ทุกวันนี้เขาก็คิดกันหัวจะผุอยู่แล้ว
"คนที่จะไม่รับกติกาใหม่ๆ อะไร ส่วนใหญ่ก็เป็นนักการเมืองทั้งสิ้น ยอมรับไม่ได้เพราะทุกอย่างจะทำให้ยากในการเข้าสู่กระบวนการ สู่การมีอำนาจ หรือการใช้จ่ายงบประมาณทุกอย่างเขาเลยต้องการเหมือนเดิมเพราะต้องการที่จะได้คะแนนนิยมจำนวนมากๆ เท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม ผมบอกมาหลายครั้งแล้วว่าสังคมและประเทศมันเกิดอะไรขึ้น วันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ซึ่งทั้งหมดมันคงไม่ได้แก้ด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย นักการเมือง ผม หรือการรัฐประหารเพียงอย่างเดียว มันไม่ได้หรอก ทุกอย่างมันต้องแก้ด้วยจิตสำนึกของทุกคนว่าจะช่วยให้ประเทศชาติปลอดภัยอย่างไร ผมบอกมาไม่รู้กี่ครั้งแล้วว่าความจริงไม่ต้องไปเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มาให้ยากหรอก ถ้าทุกคนยอมรับกติกาว่าจะให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ง่ายที่สุดคือรัฐธรรมนูญเก่าเลยก็ได้ อันนี้ผมสมมตินะ แต่จะต้องมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 4 ปีแล้วจะเป็นอย่างไร ไม่เช่นนั้นถ้าไม่คิด 4 ปีข้างหน้าก็จะกลับมาเหมือนเดิมหมด ไม่อย่างงั้นไม่ต้องรอถึง 4 ปี ปีเดียวก็กลับมาหมดแล้ว ใช่หรือไม่
"สื่อเองก็ไม่มีคำตอบตรงนี้เพราะอ้างแต่ว่าจะเสนอข่าวตรงกลางเพียงอย่างเดียว ใครมันจะเสนอซ้ายเสนอขวาก็ไม่สนใจ จะเสนอแต่ตรงกลางอย่างเดียว แล้วมันก็กัดกันเป็นหมาอยู่ทุกวันนี้ ชอบให้ผมพูดแบบนี้ใช่หรือไม่แล้วเดี๋ยวถ้าใครเอาคำของผมไปพาดหัว ไม่ต้องมาพูดกับผมแล้วนะ ชอบแบบนี้ ชอบสร้างความขัดแย้งให้กับผม ทำอย่างไรสังคมมันจะสงบ ไม่ใช่อะไรก็จะทำให้ผมอารมณ์เสีย แล้วก็มาบอกว่าเป็นนายกฯ ต้องอดทนแล้วผมจะอดทนไปทำไมเล่า จะอดทนไปทำไม อดทนแล้วให้ทุกคนขัดแย้งกันแบบนี้หรือ ผมไม่อดทนหรอก ทุกวันนี้ทำแทบตายไม่ต้องมาบอกผมก็ทำให้อยู่แล้ว แต่ยังมาทำกับผมเหมือนกับคนอื่นทั่วๆไป มันไม่ใช่ ผมไม่ใช่คนแบบนั้น คิดทุกวันทำทุกนาทียังไม่ช่วยกันเลย" นายกฯ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญจะออกอะไรออกมาถามว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเอาอย่างไร เมื่อเดินไปตามขั้นตอนอีกสักพักก็จะมีการทำประชามติ แต่ถ้าประชาชนออกมาประชามติแล้วเสียงส่วนใหญ่บอกว่าไม่เอา แล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป จะเลือกตั้งกันให้ได้อย่างนั้นหรือ วันนี้ก็ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจว่าทำไมถึงต้องเป็นเช่นนี้ เหตุผลของการคัดสรรในเรื่องต่างๆ เข้ามาเพราะอะไรถ้าชี้แจงแบบนี้ประชาชนก็น่าจะเข้าใจ แต่ถ้ามัวไปชี้แจงว่าคัดสรรเข้ามาเพื่อการมีอำนาจ พูดแต่เรื่องของอำนาจเพียงอย่างเดียว ไม่เห็นพูดกันว่าจะทำอย่างไรกันบ้าง ที่เถียงกันอยู่ทั้งหมดสื่อก็ขยายความออกไปเรื่อยๆ ประเทศไทยก็กลับที่เดิมคือการเลือกตั้งส่วนจะได้ใครกลับมาก็ไม่รู้ ประเทศชาติจะเดินไปข้างหน้าได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ สื่อทำกันแบบนี้แล้วก็มากล่าวหาว่าตนโทษแต่สื่อ
"สื่อรู้กันทั้งหมดแต่ไม่ยอมเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองถ้าเผื่อประเทศต้องมีปัญหาต้องล่มลงไปเศรษฐกิจเดินหน้าไม่ได้เกิดความขัดแย้งเกิดการจราจลกันทั้งเมือง ใครจะมารับผิดชอบร่วมกับผม แต่ก็ยังเขียนทุกเรื่องที่มีปัญหา ผู้สื่อข่าวในสนามผมถือว่าโอเค ผมรู้เพราะอยู่ด้วยกันมานานแล้ว แต่ผมรังเกียจไอ้เจ้าของสำนักพิมพ์บางสำนักพิมพ์จะว่าผมแรงก็ต้องแรงนะจะบอกให้ ไม่มีเลิกตอนที่มีเรื่องมันอยู่ไหน เขียนเชียร์เขาอยู่นั้นแหละทุกวันนี้ก็ยังเชียร์อยู่ คนบังคับใช้กฎหมาย คนทำงานเดือดร้อน รู้อยู่แล้วนะว่าใครไม่ต้องเอ่ยชื่อ ไม่ได้ขู่ด้วย ผมสามารถชี้แจงกับคนอื่นได้ว่าทำไมผมถึงทำแบบนี้ ถ้าผมจะต้องทำกับไอ้บางคนซึ่งจะทำตามกฎหมาย อย่าหาว่าผมไปรังแกสื่ออะไรทั้งสิ้น แบบนี้เขาไม่ได้เรียกว่าสื่อ สร้างความแตกแยก" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่าแสดงว่านายกฯ กำลังคิดจะทำอะไรอยู่ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "ผมพูดให้ฟังทำไมหรือจะไปเขียนกันว่า นายกฯ จะเริ่มควบคุมสื่อละเมิดจรรยาบรรณสื่อ โถ่ ไอ้ห่วยแบบนี้เขาไม่เรียกสื่อหรอก พวกท่านก็ค้านเขาไม่ได้เพราะทุกคนทุกสำนักพิมพ์ต้องการรายได้ ไม่สนใจว่าประเทศมันจะเสียหายตรงไหน ไม่สนใจเลย แข่งกันสิ แข่งกันขายกันเท่านั้นเล่มเท่านี้เล่ม เอาเงินที่ขายเอามากิน ก็ใช่มันเป็นความจำเป็น แต่มันทำลายประเทศไปด้วย ผมอยากจะบอกคำนี้ บางคอลัมน์ใช้ไม่ได้ทั้งนั้น พอผมถามกลับไปก็ตอบกลับมาว่าคุมไม่ได้ครับ พอเรียกมาก็เป็นอย่างนี้หมด เชิญมาพบไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิ เรียกมาคุยตั้งโต๊ะคุยดีๆ ในห้องแอร์ถามว่าเขียนอย่างนี้หมายความว่าอย่างไรก็บอกว่า อ๋อ เดี๋ยวผมจะแก้ไข ผมจะปรับปรุงครั้งหน้า รับรองไม่มีครับ มันก็มีอีก เรียกมาครั้งที่ 2 ก็ขอโทษครับมันเป็นแบบนี้ครับ ผมยังคุมคนเหล่านี้ไม่ได้ เดี๋ยววันหน้าผมจะแก้ไขพูดอย่างนี้มา 7-8 ครั้งแล้ว ไอ้คนแบบนี้ถ้าประเทศนี้มันล่มสลายจะขึ้นชื่อให้ดูทั้งหมดว่าใครบ้าง ไม่รู้จักอับอายคนเขาบ้าง หากินบนความเดือดร้อน บนความสูญเสียของคนอื่นบ่อนทำลายชาติ ความจริงตั้งใจจะพูดแต่สิ่งดีๆ ไปซะแล้ว"