เมื่อสองวันก่อน ดิฉันได้โพสต์บทความในหัวข้อที่ว่า ประชาชนในเอเซียสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากประเทศฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการศึกษาภาษาอังกฤษ
วันนี้ ก็เลยขอต่อให้ท่านได้อ่านกัน ในซีรี่ย์ค่ะ
------------------------------------
ตอนที่คิดถึงเรื่อง การสื่อสารภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความเคยชิน จำได้ว่า เคยเห็นบทความก่อนหน้ามานานพอสมควร ดิฉันขอแชร์ประสบการณ์ของตนเอง เมื่อประมาณ 9 ปีที่แล้วให้ฟัง
เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2006 (พ.ศ. 2549) ดิฉันได้มีโอกาสไปอยู่ที่ประเทศฟิลิปินส์เป็นเวลาสามเดือน และพักอยู่กับเพื่อน ซึ่งฝึกงานอยู่ในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนและปิดภาคการศึกษาใน US ก็เลยเห็นสภาพของพื้นที่ใน Manila, Quezon City, Makati, Cubao และอื่นๆ อีกหลายแห่งที่นั่น
ผู้คนต่างพยายามสื่อสารกับเราเป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าสำเนียง (Accent) จะไม่ใช่อเมริกันก็ตาม แต่เราก็เข้าใจถึงความหมายว่า เขาพยายามสื่อถึงอะไร
------------------------------------
ส่วนเรื่องการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษของคนฟิลิปปินส์เองนั้น ดิฉันขอนำเอา Graphics ของการทดสอบ TOEFL (Test of English as a Foreign Language) ซึ่งจัดทำโดย Education Testing Service (ETS ซึ่งอยู่ในรัฐ New Jersey) มาประกอบให้ท่านได้เห็นกันเป็นเวลาสองปีซ้อน คือ ปี 2013 และปีที่และ คือ 2014 (ภาพประกอบภาพที่ 1)
เราจะเห็นได้ว่า ประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ในระดับสูงทีเดียวในคะแนนการทดสอบ (เกือบถึง 90) ซึ่งติดตามประเทศสิงค์โปร์ และเทียบเท่ากับมาเลเซีย ในเขตภูมิภาคอาเซียน
(สถิติที่น่าสนใจของ TOEFL คือ ของ ประเทศเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ ต่างก็ทำคะแนนทดสอบกันได้ดีมาก)
-----------------------------------------------
ถ้าจะจัดลำดับ การทดสอบภาษาอังกฤษ หลังจากสามประเทศนี้แล้ว ก็คงจะเป็น อินโดนีเซีย, เวียตนาม, เมียนม่าร์, ไทย, กัมพูชา และ ลาว ตามลำดับ (ไม่มีสถิติของ บรูไน)
แต่ที่แปลกมากๆ คือ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเราก็คงจะทราบดีว่า ประชาชนไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษกันได้อย่างคล่องแคล่วเท่าไรนัก และเมื่อมาดูผลสอบ TOEFL ก็อยู่ในอันด้บที่พอๆ กับกัมพูชา หรืออัฟกานิสถานกัน
ส่วนประเทศจีน (แผ่นดินใหญ่) และ จีน (ไต้หวัน) ต่างทำคะแนนสอบทางภาษาอังกฤษกันได้ดีพอสมควร
-----------------------------------------------
ประเทศไทยกำลังเข้าสู๋ ASEAN ECONOMIC COMMUNITIES (AEC) เพียงอีกประมาณ 1 เดือนเศษๆ เท่านั้น (57 วัน) คำถามที่มีอยู่คือ ทางประเทศไทยพร้อมจริงๆ หรือ ที่จะพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน (Thailand Education Hub) เมื่อเทียบกับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างคล่องแคล่วในการสื่อสารทั่วทุกมุมโลก?
เมื่อเหลือเวลาเพียงอีกนิดหน่อย ก่อนที่จะเริ่มการเปิดตัวเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC อย่างเป็นทางการ ผลก็คือ จะมีอาชีพ 8 อย่างที่จะกระทบกับการประกอบอาชีพกับประชาชนของไทย เนื่องจากวิชาชีพเหล่านี้ มีการตกลงให้เคลื่อนย้ายหรือแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกได้:
1. บริการวิชาชีพวิศวกรรม
2. บริการวิชาชีพพยาบาล
3. บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม
4. บริการวิชาชีพสำรวจ
5. บริการวิชาชีพแพทย์
6. บริการวิชาชีพทันตแพทย์
7. บริการวิชาชีพบัญชี
8. บริการวิชาชีพการท่องเที่ยว
2. บริการวิชาชีพพยาบาล
3. บริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม
4. บริการวิชาชีพสำรวจ
5. บริการวิชาชีพแพทย์
6. บริการวิชาชีพทันตแพทย์
7. บริการวิชาชีพบัญชี
8. บริการวิชาชีพการท่องเที่ยว
-----------------------------------------------
และถ้าวิเคราะห์ตาม Future Trends แล้ว เราจะเห็นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก และที่สำคัญที่สุดคือ นายจ้างของแต่ละประเทศ ก็ต้องการลูกจ้างระดับเกรด A ซึ่งจะเป็นผู้สร้างผลกำไรและความก้าวหน้าให้กับองค์กรของตนเอง คุณภาพของบุคลากรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และการว่าจ้าง ก็ต้องการบุคลากรที่มีการสื่อสารได้อย่างยอดเยี่ยม ภาษาอังกฤษถึงต้องเข้ามาอยู่ตรงนี้
ดิฉันเคยอ่านบทความ เกี่ยวกับเรื่องบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย มีโครงการที่จะให้ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาทางการของการสื่อสารภายในบริษัทภายในปี 2018 ก็นับว่า เป็นโอกาสที่ดีมากในการริเริ่มเรื่องราวแบบนี้ และบุคลากรในวิชาชีพที่กล่าวไว้นั้น (ไม่ว่าจะเป็นชนชาติประเทศใด) ก็มีโอกาสมาก ที่จะสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรนั้นๆ อีกด้วย (แต่ไม่ทราบว่าช้าเกินไปสำหรับ AEC หรือเปล่า)
-----------------------------------------------
ส่วนภาพประกอบ ภาพที่สอง:
จะเห็นได้ว่า ตัวรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเอง ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะให้คนไทยสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ทั้งประเทศ
อันนี้ ขอบอกตรงๆ นะคะว่า มันอาจจะเป็นไปได้ แต่คำถามคือว่า เมื่อไรที่มันจะเกิดขึ้น?
เพราะเมื่อเราตั้งเป้าหมายไว้ เป้าหมายจริงๆ มันมีองค์ประกอบทั้งหมด 5 อย่าง
ภาษาอังกฤษ เรียกว่า S.M.A.R.T. Goals ซึ่งเป็นตัวย่อดังนี้:
S - Specific หรือ ตรงตัวโดยเฉพาะ
M - Measurable หรือ วัดผลได้
A - Attainable หรือ สามารถทำให้บรรลุถึงเป้าหมายได้
R - Realistic หรือ เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ความเพ้อฝัน
T - Time-Related หรือ ระยะเวลาว่า จะต้องใช้เท่าไร
ดังนั้น - เมื่อวิเคราะห์ถึง S.M.A.R.T. goals ที่ตัว รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้ออกมากล่าวไว้ ดิฉันถือว่า ไม่ผ่าน ค่ะ
เพราะมีแต่ S คือ ต้องการทำอะไร แต่ไม่มีการวัดผล (M) รวมไปถึงการบรรลุถึงเป้าหมาย (A) รวมทั้งโอกาสเป็นเรื่องจริง (R) ก็ไม่เห็น และที่สำคัญที่สุดคือ ระยะเวลา (T) จะต้องใช้กันกี่ปี ที่ทำให้ทุกๆ คนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้
---------------------------------------------
ประการสำคัญที่สุดคือ คนไทยทุกๆ คนที่ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการกล่าวไว้นั้น รวมไปถึงตัว รัฐมนตรีกระทรวงเอง และ ท่านผู้นำคนปัจจุบันด้วยหรือเปล่า?
น่าจะสัมภาษณ์ตัวรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เป็นภาษาอังกฤษมันให้รู้แล้วรู้รอดไป เพราะการพูดแบบนี้ ถ้าตนเองยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ มันก็เปรียบเสมือนกับ นิทานเรื่อง แม่ปูกับลูกปูไม่ผิด
---------------------------------------------
และในโครงการของท่านนั้น มันจะสามารถช่วยประชาชนให้เกิดประสบการณ์โดยตรง (นอกห้องเรียน) กันได้อย่างไร? เพราะการเรียนภาษาใหม่นั้น มันใช้เวลานานมากๆ เป็นชั่วรุ่นผู้คนกัน เหมือนกับที่ ผู้คนรุ่นแรกๆ ของคนฟิลิปปินส์ ที่ต้องเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ จากภาษาสเปน มาเป็นภาษาอังกฤษ
เรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่โครงการ 10 ปี แต่จะต้องเป็นอย่างน้อยครึ่งศตวรรษหรือ 50 ปี ที่สามารถทำให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ลองดูการพัฒนาภาษาอังกฤษของประเทศฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่าง เพราะท่านอาจจะได้ข้อคิดดีๆ ในการปรับปรุง และที่สำคัญคือ คนอย่างตัวรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเอง ควรจะนำให้เห็นเป็นตัวอย่าง (Leading by Example) มันก็จะดีไม่น้อย
---------------------------------------------
แต่เรื่องที่ ทาง รมต ศึกษาธิการของไทยกล่าวไว้ ยังคง "โฟกัส"อยู่ "ในชั้นเรียน" หรือเทียบเท่ากับ "ทฤษฎี" ไม่มีการเน้น "ภาคปฎิบัติ" กัน ดังนั้น ความรู้ต่างๆ ที่มี ก็คงอยู่ในห้องเรียน และเมื่อไม่ได้ใช้มันอย่างทุกชั่วโมง (หรือทุกลมหายใจ) โอกาสทีเราจะก้าวหน้าทันประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นเรื่องที่ยากมากๆ เมื่อถูกต่อว่าแบบนี้ ก็จะเกิดวาทะกรรม ประเภทปฎิเสธอย่างบ่ายเบี่ยง เช่น "นี่มันไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่" หรือ "เราจงภูมิใจในภาษาไทยเท่านั้น" ฯลฯ
เมื่อโฟกัสกันอยู่แค่ชั้นเรียน นักเรียนก็จะยังคง "โฟกัส" อยู่ที่ "คะแนนเก็บ" หรือ "คะแนนสอบ" ในวิชาภาษาอังกฤษกันอยู่อย่างต่อเนื่อง
และการพูดภาษาอังกฤษได้นั้น ไม่ได้อยู่ว่า จะได้ "คะแนนสอบ" เท่าไร เพราะการอยู่ใน "ห้องเรียน" มันต่างกันมากกับการ "อยู่เอาชีวิตรอด" นอกสถานการศึกษาค่ะ ทุกๆ คนจะต้องมีโอกาสที่จะประสบพบเห็นกับภาษาอังกฤษโดยตนเอง (Exposure to the English Language) เหมือนกับประชาชนของประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบันได้ประสบกันอยู่ทุกๆ นาที
---------------------------------------------
และการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่ง และเราต้องหาโอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนได้ เหมือนกับที่ประเทศฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้มาแล้ว (ลองคิดกันดูว่า First Generation ของช่วงที่ภาษาอังกฤษเข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์นั้น มันก็ "ไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่" ของพวกเขาเช่นกัน)
นี่คือการเรียนรู้ภาษาอย่างถูกต้อง และการใช้ภาษาอังกฤษให้ดีนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความพยายามล้างสมองคนว่า ด้วยการอ้างว่า ประเทศตนเองไม่เก่งภาษาอังกฤษ เพราะไม่เคย “เมืองขึ้น” เรื่องนี้ก็คือ “การแก้ผ้า เอาหน้ารอด” มากกว่าอย่างอื่น เพราะมันไม่เกี่ยวกับการเป็นเมืองขึ้นแต่อย่างใด และคนที่ชอบพูดแบบนี้ ก็คงจะจมอยู่กับอดีตมากกว่า
ประเทศอย่างประเทศเวียตนาม ก็สามารถพัฒนาภาษาอังกฤษจนล้ำหน้ากว่าประเทศไทยได้ ทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็น “เมืองขึ้น” กับประเทศอังกฤษแต่อย่างใด
-----------------------------------------------
และเมื่อพูดถึงเรื่อง "เมืองขึ้น" นั้น ถ้าเราไม่ได้ ภาษาอังกฤษ มาช่วย ป่านนี้ ประเทศไทยคงจะกลายเป็น “เมืองขึ้น” ของประเทศทางตะวันตกอย่างแน่นอน เพราะบุคคลที่ทำงานใต้ดินเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใน US นั้น ท่านก็ควรจะคิดกันว่า พวกเสรีไทย เขาใช้ภาษาอะไรในการสื่อสาร เพื่อให้ประเทศไทยอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้ได้ ถ้าไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในการเจรจากันเป็นภาษาหลัก?
ส่วนข้ออ้างว่า "ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นใคร" และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ ท่านก็ลองดูกันเองว่า ความก้าวหน้าของบุคลากรอีกสัก 5-10 ปีในอนาคตนั้น มันจะเกี่ยวข้องอะไรมากในเรื่องอาณานิคม ในยุคของโลกที่ไร้พรมแดน??
หรือถ้าอยากจะ "ปิดประเทศ" ก็คงจะไม่รู้เลยว่า จะหาความก้าวหน้าในขึวิตข้างนอกกันอย่างไรบ้าง?
-----------------------------------------------
ดิฉันประเมินว่า ภายในระยะเวลาเพียง 1-2 ปี หลังจากที่ AEC เปิดตัว เราจะเห็น "มันสมองไหล" กันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะบุคคลที่มีความชำนาญในด้านภาษาอังกฤษ อย่างเช่น ที่สิงคโปร์, มาเลเซีย และที่ ฟิลิปปินส์ เข้ามาแทนที่อาชีพต่างๆ ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญากันมากขึ้น
-----------------------------------------------
เรื่องของประเทศฟิลิปปินส์ในซีรี่ย์ ก็คงจะขอจบแต่เพียงเท่านี้ ส่วนประสบการณ์ของตนเอง ก็ขอบอกให้ทราบสั้นๆ ว่า เมื่อตอนที่ไปอยู่กับ Roommate ที่ Manila เมื่อ ปี 2006 ดิฉันได้มีโอกาสได้พบและพูดคุยกับเอกอัครราชทูตหญิงคนแรกของ U.S.A. ซึ่งประจำอยู่ประเทศฟิลิปปินส์ในเวลานั่้น เธอชื่อว่า คริสตี้ เคนนีย์ นะคะ.....