Pipob Udomittipong
16 hours ago ·
Mazen Al-Hamada ถูกพบว่าตายในวัย 47 ปี เมื่อวานมีขบวนแห่ศพเขาที่ดามัสกัส ผสข.รายงานว่าจากที่มีคนมาร่วมแห่หลักร้อย หลังเดินไปสักพักหนึ่งก็เพิ่มจำนวนเป็นหลักแสน นับเป็นครั้งแรกที่มีการเดินขบวนของประชาชนอย่างเสรีใน #ซีเรีย ในรอบสิบ ๆ ปี แต่มาเซ็น เจ้าของนัยน์ตาที่เศร้าสร้อย ไม่มีโอกาสอยู่รอดถึงวันนั้น
ศพของมาเซน อดีตพนักงานบริษัทน้ำมันถูกพบในห้องเย็นในเรือนจำเซดนายา ไม่กี่วันก่อน มีร่องรอยการทรมานอย่างชัดเจน นักโทษการเมืองหลายคนในซีเรีย ไม่ได้ตายเพราะถูกแขวนคอ แต่ตายอย่างทรมาน เพราะถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย มาเซนเป็นหนึ่งในนักโทษ 1.3 แสนคน ที่หายตัวไปในซอกหลืบสักแห่งของเรือนจำ หรืออาจตายไปอย่างทารุณแบบเขา
แต่ชะตากรรมของมาเซนต่างจากคนที่เคยถูกจับไปทรมานคนอื่นในซีเรีย เพราะเขารอดมาได้ แม้จะเคยถูกขังคุกเพราะเป็นแกนนำเคลื่อนไหวต่อต้านบาชาร์ อัล อัสซาด ยุคอาหรับสปริงในปี 2011 หลังได้รับการปล่อยตัวในปี 2013 เช่นเดียวกับชาวซีเรียอีกหลายแสนคน มาเซนดิ้นรน ข้ามน้ำข้ามทะเลบนเรือลำเล็กไปยังยุโรปได้
มาเซนได้สิทธิลี้ภัยในเนเธอร์แลนด์ แต่เขาไม่พอใจแค่นั้น เขายังเดินหน้าให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตกอย่างกว้างขวางตลอดช่วง 6-7 ปีที่มีเสรีภาพในยุโรป ในคลิปที่เผยแพร่อย่างกว้างขวาง เขาเล่าให้ฟังด้วยสีหน้าเศร้าสร้อยถึงการทรมานที่เกิดขึ้นในคุก ถูกถอนเล็บด้วยคีม ถูกขังคุกมืดเป็นเดือน ๆ ถูกจับแขวนห้อยจากเพดาน ทั้งที่คนเหล่านี้ไม่มีความผิดอะไรเลย นอกจากการแสดงท่าทีต่อต้านรบ.
มาเซนเพียรพยายามให้สัมภาษณ์สื่ออย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เราจึงเห็นคลิปสัมภาษณ์เขา น่าจะมากกว่าอดีตนักโทษการเมืองจากซีเรียคนอื่น เพราะเขาหวังว่าประชาคมโลกจะเชื่อเขา สงสารเขา และดำเนินการช่วยเหลือเขาและชาวซีเรีย แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ความสนใจต่อชะตากรรมที่โหดร้ายของชาวซีเรียเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ และหายไป เช่นเดียวกับกรณี Alan Kurdi เด็กชายชาวซีเรียวัยสองขวบ เป็นพาดหัวข่าวหลายวัน ผู้คนร้องไห้เสียใจต่อการจากไปของเด็ก ที่พยายามหลบหนีพร้อมครอบครัวไปยุโรป สักพักหนึ่งความสนใจของโลกก็จางหายไป
ความคับแค้นใจที่โลกไม่สนใจพวกเขาอย่างจริงจัง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มาเซนตัดสินใจเดินทางกลับไปเผชิญกับความตายในซีเรียอีกครั้งในปี 2020 ตอนนั้นเพื่อนผู้ลี้ภัยทุกคนงุนงงมากที่เขาตัดสินใจเดินทางกลับไป ไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริง บางคนเชื่อว่าเพราะมาเซนรู้สึกสิ้นหวังที่พี่น้องร่วมชาติของเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือแบบที่โลกให้สัญญาเอาไว้
ไม่มีใครทราบข่าวของมาเซนอีกเลย หลังเขาเดินทางกลับไปซีเรียในปี 2020 จนกระทั่งมีการเปิดคุกและพบศพเขาในนั้น ในสภาพที่เพิ่งตายได้ไม่นาน ญาติเขาให้สัมภาษณ์เมื่อวานว่า เขาถูกจับทันทีหลังเดินทางกลับไป เหมือนนักโทษคนอื่นอีกหลายหมื่นคน ครอบครัวไม่ทราบชะตากรรมของเขาเลยหลังจากนั้น
ครอบครัวเขาบอกว่า การที่มาเซนตัดสินใจเดินทางกลับมาเผชิญหน้ากับความตายเมื่อปี 2020 เพราะรบ.ซีเรียขู่ว่า ถ้าเขาไม่กลับมา จะจัดการกับครอบครัวของเขาทั้งหมด ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามที่ทำให้มาเซนกลับไปหาความตาย แต่ชะตามกรรมของเขาสะท้อนให้เห็นความโหดร้ายของระบอบเผด็จการอัล อัสซาดที่ปกครองปท.ด้วยกฎเหล็กนานกว่าครึ่งศตวรรษ
ซีเรีย เป็นปท.ไม่ใหญ่มาก ขนาดปชก.พอ ๆ กับไต้หวัน แต่จากการคาดการณ์ของ UN มีคนที่ถูกรบ.อุ้มหายไม่น้อยกว่า 1.3 แสนคน โคตรเยอะ หลังมีการเปิดเรือนจำปล่อยตัวนักโทษ คาดว่ามีคนได้รับการปล่อยตัวประมาณ 2 หมื่นคน แสดงว่ายังหายไปอีกเป็นแสนคน
ทุกวันนี้ญาติพี่น้องเอาภาพคนที่พวกเขารักและหายตัวไปใส่ในโทรศัพท์ ไปตามหาพวกเขาตามเรือนจำต่าง ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนที่ยังหายไป อาจกลายเป็นศพในที่ฝังศพขนาดใหญ่ ซึ่งยังไม่รู้ว่ามีกี่แห่ง มีขนาดใหญ่แค่ไหน หรืออยู่ที่ใดบ้าง ต้องมีการสืบค้นกันต่อไป
https://youtu.be/onPvaBE-gA8
Syria: Mourners gather for activist Mazen al-Hamada funeral
Channel 4 News
Dec 12, 2024
He was the Syrian activist who became a symbol of the Assad regime's brutality. Mazen Al-Hamada was one of tens of thousands detained and tortured after the 2011 uprising against Assad's rule. When he was released, he fled to Europe and told the world about the horrors he'd endured, including in a documentary called ‘Syria's Disappeared’. But four years ago he was lured to return back to Syria, where he disappeared, until this week, when he was found dead.