ฟ้องดะ เรียกค่าเสียหายหลายสิบล้าน
นี่คือวิธีการของนายทุนเหมือง
(ที่บังเอิ๊น บังเอิญมีผู้อำนวยการ สนง.ทรัพย์สินฯ ส่วนพระมหากษัตริย์
เป็นประธาน)
แถลงการณ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเมื่อวานนี้ เหมือนดั่งมีการเปิดกระป๋องเน่าใน
ทำให้หนอนคลานกันออกมายั๊วเยี๊ยะ
ไทยพีบีเอสขอให้ “บริษัท ทุ่งคำ จำกัด
ทบทวนการยื่นฟ้องหมิ่นประมาทเยาวชนนักข่าวพลเมือง เพราะเป็นเพียงนักเรียนชั้น ม.4 ให้เหลือเพียงเฉพาะส่วนการฟ้องร้องไทยพีบีเอสเท่านั้น...
ทางบริษัททุ่งคำได้ยื่นฟ้องไทยพีบีเอสและผู้ดำเนินรายการช่วงข่าวพลเมือง และผู้บริหารองค์การรวม ๕ คน ไปแล้ว เมื่อวันที่ ๑๒ พ.ย. ๒๕๕๘ ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารและโทรทัศน์
เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน ๕๐
ล้านบาท
รวมถึงให้ศาลมีคำสั่งห้ามไทยพีบีเอสประกอบอาชีพโทรทัศน์เป็นเวลา ๕ ปี
จึงไม่สมควรที่ทางบริษัททุ่งคำจะดำเนินการเพื่อฟ้องดำเนินคดีกับเยาวชนนักข่าวพลเมือง
ชั้น ม. ๔
ที่
อ.วังสะพุง จ.เลย อีก”
อันเนื่องมาแต่รายการข่าวภาคสนามของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๕๘ แพร่ภาพการสัมภาษณ์ น.ส. วิรดา แซ่ลิ่ม นักเรียนหญิงชั้น ม.๔ อายุ
๑๕ ปี ซึ่งทำหน้าที่นักข่าวพลเมืองรายงานการ ‘ออกค่ายเยาวชนฮักบ้านเจ้าของ’ ตอน ‘นักสืบลำน้ำฮวยแท้ๆ แน๊ว’ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ สิงหาคม ศกนี้ ที่วัดโนนสว่าง ต.เขาหลวง
อ.วังสะพุง จ.เลย
โดยมีถ้อยคำตอนหนึ่งว่า “ลำน้ำฮวยได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำโดยลำน้ำฮวยมีสารปนเปื้อน
ทำให้ใช้ดื่ม ใช้กินไม่ได้”
นี่เองเป็นเหตุให้บริษัททุ่งคำผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำวังสะพุง
ทำหนังสือถึงสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเลยเพื่อทำการฟ้องคดีอาญา ‘ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา’ ต่อ น.ส.วิรดา เนื่องจาก
“พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีวิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๙๙ วางหลักว่า
ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ในเขตอำนาจนั้น”
สถานพินิจนัดหมายให้
น.ส.วิรดาและผู้ปกครองไปให้ถ้อยคำในเช้าวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคมนี้
หากแต่กำหนดนัดได้ถูกยกเลิกไปและมีการฟ้องร้องคดีดำที่ อ. ๓๗๕๖/๒๕๕๘ ออกมาเสียก่อน คดีนี้ศาลอาญานัดไต่สวนมูลฟ้องวันที่ ๒๑ มี.ค. ปีหน้า โดยกล่าวในคำฟ้องว่า
“ถือเป็นการใส่ความร้ายต่อบริษัท
ทุ่งคำ จำกัด (โจทก์) เนื่องจากข้อความดังกล่าวเป็นเท็จ
เพราะความจริงเหมืองแร่ดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่มีสารปนเปื้อน
และลำน้ำฮวยไม่ได้ไหลผ่านเหมืองแร่”
สองวันหลังจากมีหนังสือเรียกตัวไปให้ปากคำต่อสถานพินิจฯ
สำนักข่าวประชาไทได้ทำการสัมภาษณ์ถึงผลกระทบต่อความรู้สึกของนักเรียนหญิงนักข่าวพลเมืองคนดังกล่าว
เธอบอกว่า
“รู้สึกว่าฟ้องเด็กทำไม เด็กทำอะไรผิด แค่พูดไปตามความจริงที่เห็น
ถ้าลูกคุณโดนฟ้องเป็นคดีจะรู้สึกอย่างไร พ่อแม่เราก็ทุกข์ใจเหมือนกัน...
เธอบอกด้วยว่า
ลำน้ำฮวยแต่ก่อนมีคนมาเล่นน้ำ และหาอยู่หากินกับลำน้ำ
จนกระทั้งสาธารณะสุขจังหวัดเข้ามาประกาศว่าลำน้ำฮวยที่ใสนั้นกินไม่ได้
เพราะมีสารปนเปื้อน...
อยากให้เขารู้ว่าบ้านเราเป็นอย่างไร
และอยากให้เขามาช่วยเหลือบ้านเรา”
สนข.
ประชาไทรายงานเพิ่มเติมว่า “นอกจากการฟ้องร้องกรณีล่าสุดแล้ว ในช่วงที่ผ่านมา
ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดและบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ยังคงมีอยู่
(หลังจากเมื่อปลายปี ๒๕๕๗ มีการประนีประนอมยอมความกัน
โดยบริษัทฯ ยินยอมถอนฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา ๙ คดี ส่วนชาวบ้านยินยอมให้ทางบริษัทขนแร่จำนวน
๑,๖๕๕ ตันออกจากเหมืองทองคำได้
โดยไม่มีการต่อต้าน)
เนื่องจากบริษัท (ทุ่งคำ) ได้มีการฟ้องร้องชาวบ้านอีกหลายๆ
คดี เช่น ๑. ฟ้องหมิ่นประมาทนายสุรพันธ์
รุจิไชยวัฒน์ เลขานุการกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด ที่ศาลจังหวัดแม่สอด โดยอ้างว่านายสุรพันธุ์ได้นำเข้าข้อความในเฟซบุ๊กเพจ
‘เหมืองแร่ เมืองเลย’
๒. ฟ้องแพ่งต่อชาวบ้านสิบกว่าคน
ที่ศาลจังหวัดเลย เรียกค่าเสียหายหลายสิบล้านบาท โดยบริษัทฯ อ้างว่า
การที่ชาวบ้านไปติดป้ายถ้อยคำ “ปิดเหมืองฟื้นฟู” ในหมู่บ้าน และการทำซุ้มประตูแล้วเขียนถ้อยคำในทองนองไม่เอาเหมือง นั้นทำให้บริษัทฯ
ได้รับความเสียหาย
๓. ฟ้องนายสมัย ภักดิ์มี
ประธานสภา อบต.เขาหลวง ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากไม่ได้นำเอาคำขออนุญาตการต่ออายุใช้พื้นที่ป่าไม้เข้าประชุมเพื่อพิจารณาในสภา
ทำให้บริษัทฯ ไม่ได้รับอนุญาตต่ออายุการใช้พื้นที่ป่าไม้ เป็นต้น”
นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความศูนย์ข้อมูลชุมชนกล่าวว่า
“การฟ้องชาวบ้านอยู่เรื่อยๆ เช่นนี้ ทำให้ชาวบ้านมีภาระที่ต้องไปขึ้นศาล
และห่วงกังวลกับเรื่องที่ตนต้องถูกฟ้องคดี
และอาจจะเพิ่มความรู้สึกไม่ดีระหว่างชาวบ้านและบริษัทฯ มากยิ่งขึ้น”
เธอ “มองว่า
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะในสื่อสาธารณะควรได้รับความคุ้มครอง
ขณะที่ในหลายๆ ประเทศ คดีหมิ่นประมาทไม่ถึงขั้นเป็นคดีอาญาที่ต้องถูกจำคุก
และยิ่งเมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นเด็กก็ยิ่งจำเป็นต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น”
ผู้ที่สนใจการรณรงค์เพื่อสภาพแวดล้อมปลอดสารพิษของชาวบ้าน
๖ ชุมชนในภาคอิสานช่วงปี ๕๖-๕๗ จะทราบว่าบริษัทเหมืองแร่ทุ่งคำนี้มีปัญหากับชาวบ้านอย่างมาก
และทำให้ทั่วประเทศเริ่มรู้จักกับกลุ่มนักศึกษา ‘ดาวดิน’ จากขอนแก่น ที่ร่วมกับชาวบ้านอย่างแข็งขันต่อต้านเหมืองทองคำวังสะพุง
ก่อนที่บริษัททุ่งคำจะใช้วิธีการไล่ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นสิบๆ
ล้านจากชาวบ้านที่แม้แต่เงินล้านยังไม่เคยเห็นแล้ว
ยังมีการใช้กำลังและความรุนแรงต่อชาวบ้านที่ออกมาชุมนุมปิดกั้นไม่ให้รถบรรทุกเครื่องมือขุดเจาะเข้าออกบ่อเหมืองได้
เห็นได้จากรายงานของเว็บไซ้ท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
‘ทางอีศาน’ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ แจ้งว่า
“เมื่อคืนวันที่ ๑๕ พ.ค. 2557 เหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ที่มีปัญหา
ชายฉกรรจ์คลุมหน้าและติดอาวุธประมาณ ๑๐๐ ถึง ๓๐๐ คน เข้ามาปิดล้อมตามจุดตรวจชุมชน
และจับควบคุมตัวชาวบ้านที่อยู่ประจำจุดตรวจ
มัดมือมัดเท้า ทุบตีและใช้มีดแทง ระหว่างให้รถบรรทุกขนแร่ออกไป
ซึ่งส่งผลให้มีชาวบ้านบาดเจ็บประมาณ ๒๐ คน และสาหัส ๓-๔ คน”
ผู้ประสานงานกลุ่มนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวอเมริกัน
ENGAGE เคยกล่าวกับผู้สื่อข่าวพิเศษไทยอีนิวส์ในสหรัฐอเมริกา
จากประสบการณ์ของพวกเขาในการร่วมรณรงค์เคียงข้างนักศึกษาดาวดินในภาคอีสานของไทยว่า
บริษัททุ่งคำแห่งนี้เป็นบริษัทที่มีอิทธิพลมาก
แม้ว่าพลังชาวบ้านร่วมกับองค์กรนักศึกษาและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยจะได้ทำการรณรงค์อย่างหนักแน่นเพียงใด
ก็ไม่สามารถทัดทานได้ เพราะเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมักจะเข้าข้างบริษัทฯ เสมอ
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบริษัททุ่งคำเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแม่ที่ชื่อว่า
บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด ซึ่งมีนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นประธานกรรมการ
และนายแกรี่ อลัน ไพเออร์เป็นกรรมการผู้จัดการ
ต่อมาเมื่อจดทะเบียนเป้นบริษัทมหาชน
มีนายวิจิตร เจียมวิจิตรกุล และนายเอียน แพสโค ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัท
ส่วนบริษัททุ่งคำมีคณะกรรมการ
๖ คน ได้แก่ นายชนะ วงศ์สุภาพ นายปราโมทย์ บันสิทธิ์ นายบัณฑิต แสงเสรีธรรม
นายวิจิตร เจียมวิจิตรกุล นายวิชัย เชิดชีวศาสตร์ และนายธนภูมิ เดชเทวัญดำรง