มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตส.ส.ร. ปี 40 กล่าวว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่จะเห็นร่างแรกในวันที่ 29 มกราคมปีหน้า จะเป็นเหมือน “ยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 4 ตัว” คือ ได้ทั้งผ่านการออกเสียงประชามติ ได้ทั้งการปรองดองสมานฉันท์ ได้ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง และได้ทั้งการยอมรับจากประชาคมนานาชาติ แต่ในทางกลับกัน ก็อาจจะกลายเป็น “ยิงกระสุน 4 นัด แต่ไม่ได้นกเลยแม้แต่ตัวเดียว” ก็เป็นได้
นายคณิน กล่าวว่า มีอยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆ ที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปไม่ถึงฝั่ง
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตส.ส.ร. ปี 40 กล่าวว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่จะเห็นร่างแรกในวันที่ 29 มกราคมปีหน้า จะเป็นเหมือน “ยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 4 ตัว” คือ ได้ทั้งผ่านการออกเสียงประชามติ ได้ทั้งการปรองดองสมานฉันท์ ได้ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง และได้ทั้งการยอมรับจากประชาคมนานาชาติ แต่ในทางกลับกัน ก็อาจจะกลายเป็น “ยิงกระสุน 4 นัด แต่ไม่ได้นกเลยแม้แต่ตัวเดียว” ก็เป็นได้
นายคณิน กล่าวว่า มีอยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆ ที่จะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปไม่ถึงฝั่ง
4 เรื่องดังกล่าวได้แก่
1. เรื่องนายกฯ คนนอก
2. เรื่อง ส.ว.แต่งตั้ง
3. เรื่องอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และ
4. เรื่องการตัดสิทธิ “ข้ามรัฐธรรมนูญ
โดยเรื่องนายกฯ คนนอก ซึ่งก็คือ นายกฯ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง เพราะถ้าหากรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.โดยกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามไว้เสียเข้มงวดเอาเป็นเอาตาย แต่อีกทางหนึ่งกลับบอกว่านายกฯไม่ต้องเป็น ส.ส.ก็ได้ เท่ากับเป็นการ “ลดชั้น” ประชาชนให้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.แต่ไม่มีสิทธิเลือกนายกฯ ร่างรัฐธรรมนูญที่ ลดชั้นประชาชนแบบนี้ คิดว่าประชาชนจะรับได้หรือ
นายคณิน กล่าวอีกว่า เรื่องส.ว.แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้สมัครกันเองเลือกกันเองใน 20 กลุ่ม ตามข้อเสนอล่าสุดนั้น มีคำถามหลายข้อที่ กรธ.จะต้องตอบให้กระจ่าง คำถามข้อหนึ่ง ในเมื่อ ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้วจะพูดได้เต็มปากเต็มคำได้หรือว่าตนเป็น “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” ข้อสอง ในเมื่อคนไทยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 40 กว่าล้านคนมีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. แต่ทำไมไม่ให้เขามีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว. เขาเป็นพลเมืองชั้นสองหรือ ข้อสาม การให้ผู้คนจำนวนหนึ่งสมัครกันเองเลือกกันเองในบรรดา 20 กลุ่มอาชีพนั้น เป็นการ “เลือกตั้งทางอ้อม” ที่ตรงไหน ในเมื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 40 กว่าล้านคน ไม่มีส่วนร่วมเลยแม้แต่น้อย ข้อสี่ แน่ใจหรือว่าการสมัครกันเอง เลือกกันเองในบรรดา 20 กลุ่มอาชีพ จะได้ตัวแทน จากหลากหลายและทุกสาขาอาชีพและเป็นกลางอย่างแท้จริง? ข้อห้า แน่ใจหรือว่าจะไม่มีการซื้อเสียงหรือบล็อกโหวต เพราะการซื้อเสียงและบล็อกโหวต หรือ “ฮั้วกัน” ทำได้ง่ายกว่าการซื้อเสียงเลือกตั้งเสียอีก ข้อหก การที่จะให้ ส.ว.ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมากลั่นกรอง กฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและมาควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมันจะถูกหรือ และข้อเจ็ด การที่จะให้ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจตั้งองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีอำนาจในการตรวจสอบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง มันจะถูกหรือ
นายคณิน กล่าวต่อว่า เรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ก็มีปัญหาว่า (1) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหารและประธานรัฐสภาซึ่งเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติและมาจากการเลือกตั้งทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมาจากการแต่งตั้งและเป็นฝ่ายตุลาการ ถามว่าจะมีการแบ่งแยกอำนาจเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการเอาไว้ทำไม (2) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติหรือแม้แต่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามิให้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายได้ แล้วจะมีรัฐสภาเอาไว้ทำไม (3) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือแม้กระทั่งศาล เป็นไปตาม “หลักนิติธรรม” หรือไม่ เท่ากับยกศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็น “อำนาจที่สี่” ซึ่งมีอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยสามฝ่ายใช่หรือไม่ และ (4) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า การใดที่ไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจะทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าการนั้น “เป็นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือไม่ ก็เท่ากับว่าให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “องค์กรเหนือรัฐธรรมนูญ” ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเมื่อไรก็ได้ ถ้าอย่างนั้นจะมีรัฐธรรมนูญเอาไว้ทำไม
นายคณิน กล่าวว่า เรื่องการตัดสิทธิ “ข้ามรัฐธรรมนูญ” นั้น ถือเป็นลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งของการเขียนรัฐธรรมนูญ การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อเจาะจงให้ใช้บังคับเป็นการจำกัดสิทธิหรือตัดสิทธิบุคคลใดบุคคลหนึ่งในลักษณะข้ามรัฐธรรมนูญซึ่งหมายถึงการใช้กลไกที่ฝ่ายหนึ่งสร้างขึ้นมาในรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเพื่อทำลายอีกฝ่ายหนึ่งที่ถูกโค่นล้มไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่งนั้นเป็นมารยาทที่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง การเขียนกฎหมายธรรมดาที่มุ่งเอาผิดคนใดคนหนึ่งเป็นการย้อนหลังเขายังไม่ทำกันเลย แต่นี่เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ยังคิดที่จะตัดสิทธิข้ามรัฐธรรมนูญหรือ ที่สำคัญ การตัดสิทธิข้ามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นชั่วคราวหรือตลอดชีวิตก็ตาม จะเข้าลักษณะต้องห้ามของการเขียนกฎหมายตามหลักสากล กล่าวคือเป็น “การเขียนกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับกับกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเฉพาะเจาะจง” ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำกัน
นายคณิน กล่าวอีกว่า เรื่องส.ว.แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้สมัครกันเองเลือกกันเองใน 20 กลุ่ม ตามข้อเสนอล่าสุดนั้น มีคำถามหลายข้อที่ กรธ.จะต้องตอบให้กระจ่าง คำถามข้อหนึ่ง ในเมื่อ ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้วจะพูดได้เต็มปากเต็มคำได้หรือว่าตนเป็น “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” ข้อสอง ในเมื่อคนไทยที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 40 กว่าล้านคนมีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส. แต่ทำไมไม่ให้เขามีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว. เขาเป็นพลเมืองชั้นสองหรือ ข้อสาม การให้ผู้คนจำนวนหนึ่งสมัครกันเองเลือกกันเองในบรรดา 20 กลุ่มอาชีพนั้น เป็นการ “เลือกตั้งทางอ้อม” ที่ตรงไหน ในเมื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 40 กว่าล้านคน ไม่มีส่วนร่วมเลยแม้แต่น้อย ข้อสี่ แน่ใจหรือว่าการสมัครกันเอง เลือกกันเองในบรรดา 20 กลุ่มอาชีพ จะได้ตัวแทน จากหลากหลายและทุกสาขาอาชีพและเป็นกลางอย่างแท้จริง? ข้อห้า แน่ใจหรือว่าจะไม่มีการซื้อเสียงหรือบล็อกโหวต เพราะการซื้อเสียงและบล็อกโหวต หรือ “ฮั้วกัน” ทำได้ง่ายกว่าการซื้อเสียงเลือกตั้งเสียอีก ข้อหก การที่จะให้ ส.ว.ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมากลั่นกรอง กฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและมาควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมันจะถูกหรือ และข้อเจ็ด การที่จะให้ ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจตั้งองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีอำนาจในการตรวจสอบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง มันจะถูกหรือ
นายคณิน กล่าวต่อว่า เรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ก็มีปัญหาว่า (1) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหารและประธานรัฐสภาซึ่งเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติและมาจากการเลือกตั้งทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมาจากการแต่งตั้งและเป็นฝ่ายตุลาการ ถามว่าจะมีการแบ่งแยกอำนาจเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการเอาไว้ทำไม (2) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติหรือแม้แต่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามิให้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายได้ แล้วจะมีรัฐสภาเอาไว้ทำไม (3) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่าการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือแม้กระทั่งศาล เป็นไปตาม “หลักนิติธรรม” หรือไม่ เท่ากับยกศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็น “อำนาจที่สี่” ซึ่งมีอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยสามฝ่ายใช่หรือไม่ และ (4) ถ้าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า การใดที่ไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจะทำได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าการนั้น “เป็นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” หรือไม่ ก็เท่ากับว่าให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็น “องค์กรเหนือรัฐธรรมนูญ” ที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเมื่อไรก็ได้ ถ้าอย่างนั้นจะมีรัฐธรรมนูญเอาไว้ทำไม
นายคณิน กล่าวว่า เรื่องการตัดสิทธิ “ข้ามรัฐธรรมนูญ” นั้น ถือเป็นลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งของการเขียนรัฐธรรมนูญ การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อเจาะจงให้ใช้บังคับเป็นการจำกัดสิทธิหรือตัดสิทธิบุคคลใดบุคคลหนึ่งในลักษณะข้ามรัฐธรรมนูญซึ่งหมายถึงการใช้กลไกที่ฝ่ายหนึ่งสร้างขึ้นมาในรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเพื่อทำลายอีกฝ่ายหนึ่งที่ถูกโค่นล้มไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่งนั้นเป็นมารยาทที่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง การเขียนกฎหมายธรรมดาที่มุ่งเอาผิดคนใดคนหนึ่งเป็นการย้อนหลังเขายังไม่ทำกันเลย แต่นี่เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ยังคิดที่จะตัดสิทธิข้ามรัฐธรรมนูญหรือ ที่สำคัญ การตัดสิทธิข้ามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นชั่วคราวหรือตลอดชีวิตก็ตาม จะเข้าลักษณะต้องห้ามของการเขียนกฎหมายตามหลักสากล กล่าวคือเป็น “การเขียนกฎหมายเพื่อให้มีผลใช้บังคับกับกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นการเฉพาะเจาะจง” ซึ่งไม่มีที่ไหนเขาทำกัน