ภาพจาก ผู้จัดการออนไลน์ |
เล็งเสนอใช้ ม.44 จัดการสื่อออนไลน์กระทบมั่นคง เผยปีหน้าคุย กูเกิล-ไลน์-เฟซบุ๊ก
Thu, 2015-12-24
ประชาไท
กมธ.สื่อ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เล็งเสนอใช้ ม.44 จัดการสื่อออนไลน์กระทบความมั่นคง-สถาบันฯ เผยปีหน้าหารือ กูเกิล-ไลน์-เฟซบุ๊ก เล็งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติคุมสิ่งพิมพ์
24 ธ.ค. 2558 ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ปิยะ สอนตระกูล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ให้การต้อนรับ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นางประภา เหตระกูล รองประธานกรรมาธิการ สปท. และ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองประธานกรรมาธิการ นำคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน พร้อมทั้งคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสื่อออนไลน์ คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านวิทยุกระจายเสียง ด้านวิทยุโทรทัศน์ และด้านโทรคมนาคม และคณะ 60 คน พร้อมหน่วยในสังกัด ตร.ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สยศ.ตร., สงป., กมค., บช.ก., บช.ส., สทส., บช.ศ., ตท. และ สท.เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปด้านสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม รวมทั้งคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน และคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เยี่ยมชมศึกษาการปฏิบัติงานของ ศปก.ตร.ด้วย
พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวภายหลังว่า การประชุมในวันนี้เป็นการหารือกันเพื่อหาแนวทางและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปสื่อเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวโดยมีกรอบทำงานเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสื่อสิงพิมพ์ ด้านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และด้านสื่อออนไลน์ โดยเน้นการกำกับดูแลที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไม่ใช่การควบคุม ขณะเดียวกันยังคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐ และสถาบันหลักของชาติ โดยต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือประชาชน
โดย พล.ต.ต.พิสิษฐ์ ยอมรับว่าสื่อที่กำลังมีปัญหากระทบต่อสังคม คือ สื่อออนไลน์ เพราะผู้ผลิตสื่อสามารถส่งข้อมูลถึงผู้บริโภคได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรองต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ที่เป็นสื่อหลัก ซึ่งยังมีระบบการคัดกรองอยู่ และเป็นปัญหาหนักที่ต้องยอมรับว่าแก้ไขยากของ สปท.ชุดนี้ ในฐานะอนุกรรมการด้านการปฎิรูปสื่อออนไลน์ ยอมรับว่าสื่อออนไลน์เป็นปัญหาหลักที่ต้องเข้าไปแก้โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูบ ซึ่งการเข้าไปกำกับดูแลทำได้ยาก
พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวว่า ปัญหาที่พบในสื่อออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างมาก และพบมีการส่งข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ในลักษณะกระทบสังคม กระทบความมั่นคง กระทบสถาบันฯ ยุยงปลุกปั่น ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข บางเรื่อง สปท.พิจารณาว่าควรแก้ไขโดยด่วน เร็วๆ นี้จะมีการเสนอขอใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อระงับยับยั้งสื่อออนไลน์บางสื่อที่พบว่ากระทบต่อความมั่นคง และสถาบันฯ
นอกจากนี้ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ ระบุด้วยว่า ในวันที่ 14 มกราคม 2559 ตัวแทนจากบริษัทกูเกิลประเทศไทยจะขอเข้าพบ กมธ.ชุดนี้ ขณะที่ในวันที่ 21 มกราคม 2559 รองประธานบริษัทกูเกิลก็จะเข้าพบ เพื่อร่วมหารือแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าวว่า วันที่ 15 และ 21 มกราคม 2559 จะเชิญตัวแทนบริษัทกูเกิล และรองประธานบริษัทกูเกิลของสหรัฐ มาพบคณะกรรมาธิการฯ ที่อาคารรัฐสภา รวมถึงตัวแทน ไลน์ และเฟซบุ๊ก ในลำดับถัดไป
ทั้งนี้ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าวว่า เหตุที่ กมธ.ชุดนี้ให้ความสำคัญ กับสื่อออนไลน์ เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเพราะการส่งข้อมูลที่กระทบสังคมอย่างรวดเร็ว อีกส่วนหนึ่งคือการขยายตัวของสื่อประเภทนี้ โดยมีข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตของผู้บริโภคสื่อออนไลน์มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก มีผู้ใช้แอปพลิเคชันไลน์ 32 ล้านคน ใช้เฟซบุ๊ก 34 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นอัตราเติบโต ที่ สปท.เล็งเห็นว่าควรเร่งกำกับดูแล
ประธาน กมธ.ปฏิรูปสื่อฯ กล่าวอีกว่า ย้ำว่าการทำงานของ สปท.ไม่ใช้เพื่อควบคุม หลักการคือให้สื่อยังมีเสรีภาพ สามารถทำหน้าที่สื่อมวลชนโดยไม่มีเงื่อนของทุน การเมือง หรืออื่นๆ มาครอบงำ อย่างไรก็ตามในกฎหมายกำลังคุยกันว่า เห็นควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อม เข้ามากำกับดูแลสื่อ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ แต่เป็นเพียงการคุยกันเบื้องต้น ในอนาคตต้องคุยกันว่าควรมีการออกแบบหน่วยงานขึ้นมาดูแลกำกับสื่อมวลชนหรือไม่ เพราะในอนาคต กระทรวงไอซีทีที่กำกับดูแลสื่อออนไลน์จะปรับโฉมเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยหน่วยงานที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อ จะดูแลทั้งในแง่คุณภาพ เสรีภาพ และการพัฒนาศักยภาพ ร่วมทั้งสวัสดิภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ทั้งนี้ ใน กมธ.ยังคุยกันคือการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง
นางประภา ศรีนวลนัด รองประธานกรรมาธิการ สปท.กล่าวว่า สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล ซึ่งเราเห็นว่าเดิมทีสื่อสิ่งพิมพ์ขึ้นอยู่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ว่าได้ถูกนำไปใช้เป็นของกระทรวงวัฒนธรรม และเราเห็นว่ากระทรวงวัฒนธรรมไม่ได้มีเวลาลงมาดูแลเนื่องจากมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เยอะการที่เราอยากให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมมือเพราะว่า เป็นประโยชน์การจดแจ้งหรือด้านอื่นๆ ขณะนี้เรากำลังพยายามแก้ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ในขณะเดียวกันสภาปฎิรูปฯ ก็ได้ทำเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อ การไม่แทรกแซงสื่อ และการให้ความร่วมมือให้มีเสรีภาพกับผู้ที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชน เราพยายามจะทำให้สื่อสารมวลชนทั่วประเทศมีสิ่งรองรับที่ดี รวมทั้งมีการพยายามอบรมสื่อเพื่อให้ก้าวทันโลก เพราะมีสื่อเพิ่มขึ้นมามาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ประชาชนสามารถเข้าไปดูได้ทันที ซึ่งนำเนื้อความจากหนังสือพิมพ์ไปใช้ เพราะฉะนั้น หากอยากให้เยาวชนรักการอ่านได้ประโยชน์ก็ต้องมีสื่อที่ดีด้วย ทั้งนี้ก็ต้องฝากให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำไปคิดว่าอยากได้อำนาจนี้กลับคืนมาหรือไม่ด้วย
กมธ.สื่อ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เล็งเสนอใช้ ม.44 จัดการสื่อออนไลน์กระทบความมั่นคง-สถาบันฯ เผยปีหน้าหารือ กูเกิล-ไลน์-เฟซบุ๊ก เล็งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติคุมสิ่งพิมพ์
24 ธ.ค. 2558 ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ปิยะ สอนตระกูล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ให้การต้อนรับ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นางประภา เหตระกูล รองประธานกรรมาธิการ สปท. และ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองประธานกรรมาธิการ นำคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน พร้อมทั้งคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสื่อออนไลน์ คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านวิทยุกระจายเสียง ด้านวิทยุโทรทัศน์ และด้านโทรคมนาคม และคณะ 60 คน พร้อมหน่วยในสังกัด ตร.ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สยศ.ตร., สงป., กมค., บช.ก., บช.ส., สทส., บช.ศ., ตท. และ สท.เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปด้านสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม รวมทั้งคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน และคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เยี่ยมชมศึกษาการปฏิบัติงานของ ศปก.ตร.ด้วย
พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวภายหลังว่า การประชุมในวันนี้เป็นการหารือกันเพื่อหาแนวทางและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปสื่อเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวโดยมีกรอบทำงานเป็น 3 ด้าน คือ ด้านสื่อสิงพิมพ์ ด้านสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ และด้านสื่อออนไลน์ โดยเน้นการกำกับดูแลที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไม่ใช่การควบคุม ขณะเดียวกันยังคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐ และสถาบันหลักของชาติ โดยต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือประชาชน
โดย พล.ต.ต.พิสิษฐ์ ยอมรับว่าสื่อที่กำลังมีปัญหากระทบต่อสังคม คือ สื่อออนไลน์ เพราะผู้ผลิตสื่อสามารถส่งข้อมูลถึงผู้บริโภคได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรองต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ ที่เป็นสื่อหลัก ซึ่งยังมีระบบการคัดกรองอยู่ และเป็นปัญหาหนักที่ต้องยอมรับว่าแก้ไขยากของ สปท.ชุดนี้ ในฐานะอนุกรรมการด้านการปฎิรูปสื่อออนไลน์ ยอมรับว่าสื่อออนไลน์เป็นปัญหาหลักที่ต้องเข้าไปแก้โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ยูทูบ ซึ่งการเข้าไปกำกับดูแลทำได้ยาก
พล.ต.ต.พิสิษฐ์กล่าวว่า ปัญหาที่พบในสื่อออนไลน์ที่ขยายตัวอย่างมาก และพบมีการส่งข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ในลักษณะกระทบสังคม กระทบความมั่นคง กระทบสถาบันฯ ยุยงปลุกปั่น ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข บางเรื่อง สปท.พิจารณาว่าควรแก้ไขโดยด่วน เร็วๆ นี้จะมีการเสนอขอใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อระงับยับยั้งสื่อออนไลน์บางสื่อที่พบว่ากระทบต่อความมั่นคง และสถาบันฯ
นอกจากนี้ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ ระบุด้วยว่า ในวันที่ 14 มกราคม 2559 ตัวแทนจากบริษัทกูเกิลประเทศไทยจะขอเข้าพบ กมธ.ชุดนี้ ขณะที่ในวันที่ 21 มกราคม 2559 รองประธานบริษัทกูเกิลก็จะเข้าพบ เพื่อร่วมหารือแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าวว่า วันที่ 15 และ 21 มกราคม 2559 จะเชิญตัวแทนบริษัทกูเกิล และรองประธานบริษัทกูเกิลของสหรัฐ มาพบคณะกรรมาธิการฯ ที่อาคารรัฐสภา รวมถึงตัวแทน ไลน์ และเฟซบุ๊ก ในลำดับถัดไป
ทั้งนี้ พล.ต.ต.พิสิษฐ์ กล่าวว่า เหตุที่ กมธ.ชุดนี้ให้ความสำคัญ กับสื่อออนไลน์ เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเพราะการส่งข้อมูลที่กระทบสังคมอย่างรวดเร็ว อีกส่วนหนึ่งคือการขยายตัวของสื่อประเภทนี้ โดยมีข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นตลาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตของผู้บริโภคสื่อออนไลน์มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก มีผู้ใช้แอปพลิเคชันไลน์ 32 ล้านคน ใช้เฟซบุ๊ก 34 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นอัตราเติบโต ที่ สปท.เล็งเห็นว่าควรเร่งกำกับดูแล
ประธาน กมธ.ปฏิรูปสื่อฯ กล่าวอีกว่า ย้ำว่าการทำงานของ สปท.ไม่ใช้เพื่อควบคุม หลักการคือให้สื่อยังมีเสรีภาพ สามารถทำหน้าที่สื่อมวลชนโดยไม่มีเงื่อนของทุน การเมือง หรืออื่นๆ มาครอบงำ อย่างไรก็ตามในกฎหมายกำลังคุยกันว่า เห็นควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อม เข้ามากำกับดูแลสื่อ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ แต่เป็นเพียงการคุยกันเบื้องต้น ในอนาคตต้องคุยกันว่าควรมีการออกแบบหน่วยงานขึ้นมาดูแลกำกับสื่อมวลชนหรือไม่ เพราะในอนาคต กระทรวงไอซีทีที่กำกับดูแลสื่อออนไลน์จะปรับโฉมเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยหน่วยงานที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อ จะดูแลทั้งในแง่คุณภาพ เสรีภาพ และการพัฒนาศักยภาพ ร่วมทั้งสวัสดิภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ทั้งนี้ ใน กมธ.ยังคุยกันคือการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดรับการเปลี่ยนแปลง
นางประภา ศรีนวลนัด รองประธานกรรมาธิการ สปท.กล่าวว่า สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ ขณะนี้กระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล ซึ่งเราเห็นว่าเดิมทีสื่อสิ่งพิมพ์ขึ้นอยู่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ว่าได้ถูกนำไปใช้เป็นของกระทรวงวัฒนธรรม และเราเห็นว่ากระทรวงวัฒนธรรมไม่ได้มีเวลาลงมาดูแลเนื่องจากมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เยอะการที่เราอยากให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมมือเพราะว่า เป็นประโยชน์การจดแจ้งหรือด้านอื่นๆ ขณะนี้เรากำลังพยายามแก้ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ในขณะเดียวกันสภาปฎิรูปฯ ก็ได้ทำเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อ การไม่แทรกแซงสื่อ และการให้ความร่วมมือให้มีเสรีภาพกับผู้ที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชน เราพยายามจะทำให้สื่อสารมวลชนทั่วประเทศมีสิ่งรองรับที่ดี รวมทั้งมีการพยายามอบรมสื่อเพื่อให้ก้าวทันโลก เพราะมีสื่อเพิ่มขึ้นมามาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่ประชาชนสามารถเข้าไปดูได้ทันที ซึ่งนำเนื้อความจากหนังสือพิมพ์ไปใช้ เพราะฉะนั้น หากอยากให้เยาวชนรักการอ่านได้ประโยชน์ก็ต้องมีสื่อที่ดีด้วย ทั้งนี้ก็ต้องฝากให้สำนักงานตำรวจแห่งชาตินำไปคิดว่าอยากได้อำนาจนี้กลับคืนมาหรือไม่ด้วย