วันศุกร์, ธันวาคม 04, 2558

พสกนิกรอดปลื้ม งดพิมพ์ข่าวใหม่นิวยอร์คไทม์ แจงมูลค่า สนง.ทรัพย์สินฯ กว่า ๑.๙ ล้านล้าน





พสกนิกรอดปลื้ม งดพิมพ์ข่าวใหม่นิวยอร์คไทม์ แจงมูลค่า สนง.ทรัพย์สินฯ กว่า ๑.๙ ล้านล้าน

นสพ. ผู้จัดการออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคมนี้ว่า นายยุทธ์ ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริหารบริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด เปิดเผยว่าจะไม่ตีพิมพ์บทความของ นสพ.เดอะนิวยอร์คไทมส์ ฉบับอินเตอร์ฯ ประจำวันศุกรที่ ๔ ธันวาคมนี้ โปรดปล่อยเนื้อที่ว่างขาวบริเวณบทความที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทย โดยอ้างว่าเป็นพาดหัวข่าว และมีเนื้อข่าวประเด็นอ่อนไหว




ทั้งนี้โรงพิมพ์ดังกล่าวซึ่งรับจ้างพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์ในประเทศไทยมีสิทธิ์ที่จะระงับไม่ตีพิมพ์เนื้อหาใดที่เห็นว่าไม่เหมาะสมได้ ก่อนหน้านี้เพียงสามวันผู้พิมพ์ในประเทศไทยรายนี้ก็ได้ปล่อยเนื้อที่ว่างบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง

(http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000133835)

อย่างไรก็ดีได้มีการกล่าวถึงข่าวจากหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทมส์หลังสุดนี่อย่างค่อนข้างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะ Somsak Jeamteerasakul นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แจ้งเรื่องนี้ว่า

“ความจริง บทความก็ไม่ถึงกับมีอะไรมากนะ สำหรับใครที่ติดตามเรื่องนี้ (อ่านเพจผมประจำก็น่าจะเห็นผมพูดบ่อยแหล่ะ)

บทความสรุปว่า สำนักงานทรัพย์สินฯบริหารทรัพย์ของสถาบันกษัตริย์มูลค่าประมาณ 5.3 หมื่นล้านดอลล่าร์
การใช้จ่ายรายได้ของ สนง. "เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย" ซึ่งบทความก็สรุปว่า

"หรือพูดอีกอย่างคือ สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นองค์กรแบบโบราณแห่งอภิสิทธิ์ที่ฝังแน่น (antiquated institution of entrenched privilege) ที่ดำเนินการส่วนมากในลักษณะความลับอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาล"

"นี่เป็นการไม่สอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่ สำนักงานฯควรได้รับการปฏิรูป เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศและสถาบันกษัตริย์เอง... ((for the sake of both the country and the monarchy itself.)"

“ยกเลิกความลึกลับที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ และเอาสำนักงานไปอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล จะเป็นการส่งสัญญาณว่า สถาบันกษัตริย์ไทยซีเรียสเรื่องความโปร่งใส

การปฏิรูปเช่นนี้จะส่งสารสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบ-เอาผิดได้ (accountability) ไปยังกองทัพ นักการเมือง และนักธุรกิจ และเปิดทางให้กับระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ซึ่งเป็นระบบเดียวที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย”

ทางด้าน Pipob Udomittipong สื่อมวลชนที่มีความชำนาญด้านกิจการระหว่างประเทศ เล่าว่า

“ข่าวที่ไม่ได้พิมพ์ในเมืองไทยครั้งที่สองในรอบสัปดาห์เดียวสำหรับ NYTimes เกี่ยวข้องกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทใหญ่สุดของไทย มูลค่าทรัพย์สินและการลงทุนเกือบสองแสนล้านบาท (53 พันล้านเหรียญ) และเป็นเจ้าที่ดินรายใหญ่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ แต่การบริหารจัดการกลับขาดความโปร่งใส ไร้การตรวจสอบจากภาครัฐ

หน่วยงานนี้ถือหุ้นในธนาคารใหญ่ บริษัทปูน โรงแรมหรู บริษัทรถยนต์ ฯลฯ รายได้ต่อปีน่าจะประมาณ 840 ล้านเหรียญ ซึ่งไม่เสียภาษี ไม่นำส่งรัฐ ต่างจากหน่วยงานอย่าง Crown Estate ในอังกฤษ หรืออื่น ๆ ในนอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็น constitutional monarchy เหมือนกัน

ผู้เขียนวิจารณ์ว่ารูปแบบโครงสร้างและการบริหารงานของหน่วยงานนี้ ไม่สอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่และระบอบประชาธิปไตย ต้องปฏิรูป และเสนอว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ควรตีพิมพ์รายงานการเงินประจำปีครอบคลุมรายละเอียดการลงทุน การครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอย่างอื่น รวมทั้งรายได้จากทรัพย์สินเหล่านี้ และให้อยู่ใต้การบริหารงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาลโดยตรง

รายได้ของหน่วยงานก็ควรนำกลับไปลงทุนใหม่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งควรส่งเข้ารัฐ จากนั้นจึงจัดสรรปันส่วนมาเป็นงบประมาณ โดยตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันกับรัฐบาล เช่นเดียวกับหน่วยงานลักษณะเดียวกันในประเทศอื่น ๆ ที่กล่าวมา (ไม่แปะลิงก์นะครับ เขียนได้เท่านี้แหละ)”

ส่วน Spencer Isenberg เข้าไปคอมเม้นต์ว่า “คิดว่า ที่อยากเซนเซอร์ตนเอง ก็เพราะการพาดหัวเท่านั้น เข้าไปอ่านแล้ว เนื้อหาจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่เราทราบๆ กันอยู่ นั่นก็คือ ความลึกลับซับซ้อนเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่สามารถสร้างผลกำไรโดยไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างไรทั้งสิ้น รวมทั้งรายได้ต่างๆ เป็นไปตาม "พระราชอัธยาศัย"

ยังมีคอมเม้นต์จาก จริณย์ จาเมศร์ ที่บอกว่า “ผมเข้าไปอ่านจบละ ต้องบอกว่าเป็นบทความที่ดีมากๆ เลย และไม่น่าเข้าข่าย ๑๑๒ อะไรเพราะพูดถึงเรื่องสำนักงานทรัพย์สินฯ และการปฏิรูปที่ควรจะต้องทำ...

คือผู้เขียนจะเสนอต่างจากที่อยู่ใน ๑๒ ข้อของ อ.สศจ. บ้าง (เท่าที่จำได้ลางๆ) โดยเขาเสนอว่าถ้าจะให้ผลกำไรเป็นของราชวงค์ก็ได้ แต่ต้องเปิดเผยงบการเงินแต่ละปี ให้ตัวแทนจากรัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจควบคุม และแบ่งผลกำไรครึ่งหนึ่งให้รัฐ

รวมถึงปรับพอร์ทการลงทุนใหม่ไม่ให้ไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับรัฐ และลดการถือทรัพย์สินที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับคนวงในให้น้อยที่สุด (5%)”

อย่างไรก็ดี คอมเม้นต์ของจริณย์ จาเมศร์ อีกตอนมีประเด็นที่น่าสนใจ อันจัดว่าเป็นพัฒนาการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่พสกนิกรผู้จงรักภักดีทั้งหลายน่าจะชื่นชมแซร่ซร้อง เพราะปรากฏว่ามูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากที่เคยมีในรายงานของฟอร์บครั้งล่าสุดเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของเท่าตัว

“โหย จาก 33 B เพิ่มมาเป็น 53 B แล้วหรือครับเนี้ย...Somsak Jeamteerasakul พอจะทราบไหมว่าผู้เขียนอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ไหนครับเนี้ยมูลค่าสินทรัพย์ 53 B อันนี้ ... เพราะเห็นในฟอร์บปีก่อนๆยังรายงานว่า 30”

(จากบทความตอนหนึ่งของ Andrew McGregor Marshall ในปี ๒๕๕๕ ระบุว่า “Forbes have taken the opportunity provided by the publication of King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work, which they describe as a “semi-official biography,” to reassess the king’s wealth.

The article points out that Forbes has previously listed the king as the world’s richest monarchy “by a comfortable margin,” and last year estimated his net wealth in excess of $30 billion.”)