คิดอีกที (ตามมาตรฐานศาลเกาะสมุย) ก็อาจจะดีเหมือนกันที่ “รัฐบาลใช้อำนาจตุลาการแทนศาล”
คือให้มันรู้กันไปเลยว่า กรูจะเอาอย่างนี้ ถึงคราวมรึงก็เอาอย่างงั้นบ้างละกัน ฟันต่อฟัน ตาต่อตา
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขียน message ปลายเปิดถึงประชาชนบนเฟชบุ๊ค ตอบโต้รองนายกฯ ของรัฐบาล คสช.
ซึ่ง “ใช้เวลานานร่วมชั่วโมงที่จะสร้างความชอบธรรม ในการที่รัฐบาลนี้จะใช้วิธีให้กระทรวงการคลังออกคำสั่งให้ตนชำระค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว แทนวิธีการที่กระทรวงการคลังจะฟ้องคดีแพ่งต่อศาล”
นายวิษณุ เครืองาม แถลงแจกแจงความจำเป็นต้องเล่นงานอดีตนายกรัฐมนตรีหญิงทางกำลังทรัพย์ (ว่าไม่ใช่เพราะรัฐบาลนี้ไม่มีปัญญาหาเงินวิธีปกติ) หากไม่ทำอย่างนี้อาจโดนคดีเสียเอง
“ว่าเป็นขั้นตอนปกติ หากไม่ดำเนินการรัฐบาลจะเป็นผู้ถูกดำเนินการเอาผิด ทั้งทางอาญาและถูกร้องให้รับผิดชอบทางแพ่งแทน...
ยืนยันว่าการใช้วิธีนี้เอาผิด ครอบคลุมกับผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 กลุ่ม ตามหนังสือที่ ป.ป.ช.ส่งเรื่องมายังกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง อยู่ในข่ายของการใช้กฎหมาย...
เนื่องจากวิธีออกคำสั่งปกครองใช้มาแล้ว ๒๐ ปี กว่า ๕,๐๐๐ คดี และมีทั้งรัฐเป็นผู้แพ้และชนะ”
“ส่วนปัญหาที่มีการถกเถียงถึงวิธีปฎิบัติ ม.๔ วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองของเจ้าหน้าที่ ที่ระบุว่า พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้กับการพิจารณาของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในงานทางนโยบายโดยตรง...
นั้นเมื่อ ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีการทุจริตและกระทำผิดภายใต้นโยบายรับจำนำข้าว การดำเนินการคดีทางแพ่งและอาญาจึงไม่ใช่การกล่าวหาตัวนโยบาย แต่เป็นการกล่าวหาการปฎิบัติตามนโยบาย ที่มีการกล่างอ้างว่าการทุจริต ผิดขึ้นตอน ไม่มีธรรมาธิบาล ซึ่งเข้าข่ายการใช้กฎหมายฉบับนี้”
(http://www.tnamcot.com/content/332739)
ที่ซึ่งผู้มักใช้หัวมากกว่าหูโดยไม่สลิ่ม เห็นแล้วจะรู้ทันทีว่าการอ้างอิงแบบที่ทั่นรองฯ ชี้ ฝรั่งเขาเรียก ‘the end justify the means’
จึงเป็นเหตุให้ผู้ตกเป็นเหยื่อขอเถียง ด้วยความนอบน้อมและถ่อมตน
“ดิฉันคงไม่อยู่ในฐานะจะเรียกร้องอะไรหลังจากนี้แม้แต่คำว่า ‘ความเป็นธรรม’ เพราะทุกอย่างคงจะดำเนินการไปตามที่รัฐบาลนี้ต้องการ”
แต่กระนั้นเธอจำต้องฝากข้อคิดต่อประชาชน (เพราะปีนี้ ๒๕๕๘ ทั่วโลกเขาคิดตามระบบดิจิทอล ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่ในกะโหลกมะพร้าวแห้ง)
ข้อ ๑. “รัฐบาลเลือกใช้วิธีให้กระทรวงการคลังออกคำสั่งให้ตนชำระค่าเสียหายทั้งที่คดีอาญายังไม่เสร็จสิ้น เท่ากับว่ารัฐบาลใช้อำนาจตุลาการแทนศาล และยังเลือกใช้มาตรา ๔๔ คุ้มครองรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ที่สอบสวนข้อเท็จจริงให้พ้นจากการถูกฟ้องร้องใดๆ”
ยังมีอีกหลายข้อ ซึ่งหาอ่านกันได้จากhttp://prachatai.org/journal/2015/11/62478…
แต่ข้อควรใส่ใจตรงนี้อยู่ที่การใช้อำนาจตุลาการแทนศาล
นั่นถ้าเปลี่ยนไปใช้ในการดำเนินคดีนายสุเทพ เทือกสุบรรณและพวก แจกผ้าขนหนูเครื่องหมายพรรคประชาธิปัตย์ในการหาเสียงงานสงกรานต์เกาะสมุยช่วยนายธานี เทือกสุบรรณและคณะ ในการเลือกตั้ง อบจ. เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๑ น่าจะดี
ในเมื่อศาลตัดสินคดีนี้วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ ให้ยกฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่า
“ผู้สมัคร อบจ.สุราษฎร์ฯ ไม่ได้อยู่ในงาน จำเลยจึงไม่ได้เกี่ยวข้องที่จะจูงใจให้เลือก และประชาชนส่วนใหญ่เลือกพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้วแม้จำเลยไม่ได้ลงพื้นที่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย”
(http://www.prachatai.com/journal/2014/12/57201)
การใช้ตรรกะในการตัดสินคดีว่า ถึงอย่างไรจำเลยก็ได้รับเลือกตั้งอยู่แล้ว การแจกของชำร่วยหาเสียงไม่ได้ช่วยอะไรมากขึ้น จึงยกฟ้องให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย
เช่นนี้ชั่วร้ายลำเอียงเสียยิ่งกว่าการอ้างเหตุผลแบบ the end justify the means
หากถ้าประชาชนไทยต้องตกอยู่ภายใต้ขื่อแปของบ้านเมือง ประเภทติดกับระหว่างรัฐบาลทหารกับศาลเล่นพวก ประดุจดังโขดหินกับผาแข็ง (“between a rock and a hard place”) เช่นนั้นละก็
เราจะต้องเลือกระหว่างปีศาจตัวใดตัวหนึ่งที่เหี้ยมเหิมน้อยกว่าอีกตัวละหรือ