Q and A, From Bangkok to Kyoto and vice versa
Another Letter from Kyoto 15/6/2014
Q
Thamrongsak P.
สวัสดียามเช้าวันอาทิตย์ครับ อาจารย์ Charnvit Ks
อาจารย์อยู่ที่เกียวโต คงได้รับคืนความสุขสงบใจยิ่ง
อาจารย์ครับ
คนญี่ปุ่นในทุกวันนี้ เขาฝันที่จะให้สังคมเขาเป็นไปอย่างไรครับ
มีชนชั้นนำญี่ปุ่นมากเพียงใดครับ
ที่สามารถพูดจากกลับกลอกในสังคม
แล้วยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ในสังคมได้อย่างหน้าชื่นตาบาน
และได้รับเสียงสรรเสริญ
ข้าพเจ้าต่อหน้าเจดีย์อันใหญ่โต ที่วัดกัลยาณี โคลอมโบ ศรีลังกา ... อย่างสงบ ใจข้าพเจ้าขอพลังแห่งสิทธิ เสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ
จงมีอยู่ในประชาชนของเรา
A.
cK@
ตอบยาก ครับ คำถามนี้ ยากมากๆๆ
1.
แต่ถ้าตอบรวมๆ ก็ต้องบอกว่า ผู้นำ/อีลีตญี่ปุ่น
มีลัทธิธรรมเนียม ความเชื่อ ที่เป็นระเบียบ วินัย กล้าหาญ สัจจะ อย่างยิ่ง
เช่น การฆ่าตัวตาย เพื่อรักษาเกียรติยศ (แต่ก็ไม่ได้แปลว่า ทุกคนจะทำ)
หรือ ลัทธิความจงรักภักดี (อย่าง 47 Ronins ลองหาหนังมาดูสิ)
ดังนั้น ตัวเอกของเขา เข้าทำนอง "พันท้ายนรสิงห์" มากกว่า "ศรีธนนไชย"
2.
จำได้ไหม ญี่ปุนมี "ลัทธิบูชิโด" หรือ เกียรติ วินัย กล้าหาญ ของทหาร
ที่สมัยหนึ่ง จอมพล ป. ก็อยากให้ทหารไทยมี
ถึงกับสร้างลัทธิ "วีรธรรม" (พร้อมๆ รัฐนิยม) ขึ้น
แต่ผมว่า ก็ไม่ไปไหนเท่าไร
หลวงวิจิตรวาทการ มือขวา พยายามโปรโมท บรรดาขุนทหาร ขึ้นแทนกษัตริย์
เช่น พระราชมนู เจ้าพระยาโกษาเหล็ก และ/หรือ พระยาพิชัยดาบหัก
แต่ในที่สุด ก็เรียกได้ว่า "ไม่ติด" ครับ
วีรบุรุษของไทย ก็กลับไปสู่ "ราชาชาตินิยม" ของกรมพระยาดำรงฯ ตามเดิม
ดังจะเห็นได้จากหนังชุดใหญ่ ตั้งแต่ "สุริโยทัย มาถึง นเรศวร และ ยุทธหัตถี"
3.
แต่ผมก็ชอบญี่ปุ่นมาก ๆ แม้ไม่ได้เรียนญี่ปุ่นศึกษา อย่างเป็นวิชาการ
ผมใช้ประสบการณ์ และการสังเกต กับการคบคนญี่ปุ่นในวงวิชาการ เป็นหลัก
คนญี่ปุ่น คบไม่ง่ายนัก มีโลกของเขาและเธอ ที่เข้าถึงยาก
ผมโชคดี เป็นคนชอบดื่ม การดื่มทำให้ได้เพื่อน
ที่ต้องย้ายร้านดื่มสามครั้ง ต่อหนึ่งคืน ต้องจบด้วย ramen......
(ประเพณีนี้ เดิมจำกัด ในหมู่ชาย แต่ตอนนี้ ขยายไปหญิง และ เพศอื่นๆ แล้ว)
4.
ครั้งหนึ่ง เมื่อผมเกิดปัญหา ความขัดแย้งตำแหน่งอธิการฯ มธ ปี 2538
ผมต้องการไป ไกลบ้าน ไปสงบสติอารมณ์
ผมเอ่ยปาก กับ อจ Fukui H. ที่ KyotoCSEAS
เท่านั้นแหละ หนังสือเทียบเชิญ 1 เดือน ไปถึงง่ายๆๆ
เมื่อต้นเดือนนี้ เมื่อผมไกลบ้าน อีกครั้ง อจ ท่านนี้ อายุอานามเท่าผม
ก็เป็นคนแรก ที่ต้องมี sake dinner ริมแม่น้ำ Kamo by Sanjo ครับ
ณ บัดนี้
ผมไปอยู่ KyotoCSEAS ได้ครึ่งเดือนแล้ว สุขกาย แต่ใจยังว้าวุ่น
5.
เมื่อ 37 ปีมาแล้ว หลังรัฐประหาร 6 ตุลา 2519/1976
อธิการบดี ดร. ป๋วย นาย/ผู้ร่วมงาน
(ผมเป็นรองฯ ของท่าน ร่วมกับ อ เสน่ห์ อ นงเยาว์)
อ ป๋วย ต้องลี้ภัยไปลอนดอน
ต้นปี 2520/1977 ผมก็ต้องลี้ภัยมาเกียวโต 1 ปี
เพื่อทำงานวิจัย แต่ทำไม่ได้เท่าไร
โชคดี ได้อยู่ได้คบกับมหาปรามาจารย์ คือ Yoneo Ishii
ได้พักบ้านโบราณของ Sugino San ติดกับ วัดทอง Kinkakuji
ทั้ง Ishii และ Sugino จากโลกนี้ไปแล้ว
6.
ผมจำได้ว่า ครั้งนั้น ดู "มืด" ไปหมด
ผมขยะแขยง รังเกียจ การเมืองไทย และ "ความเป็นไทย" ยิ่ง
ผมไม่อยากพูดภาษาไทย และไม่อยากกลับเมืองไทย
ครั้งนั้น ไม่มีอินเตอร์เนท นสพ ก็ใช้เวลาเดินทางหลายวัน
กลางคืน ต้องเปิดคลื่นสั้น
ฟังสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย
7.
แต่อยู่เพียงไม่ถึง 1 ปี รัฐบาลเผด็จการพลเรือน ที่มีโรดแมป 12 ปี
ก็ถูก พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ โค่น
แล้วเริ่มกระบวนการปรองดอง
ปล่อยธงชัย ปล่อยสมศักดิ์ นิรโทษกรรม ทุกฝ่าย
ผมกลับเมืองไทย
มาตั้งต้นใหม่ ทั้งทำงาน ปวศ ทำงานไทยคดี และทำงาน 50 ปี เป็นรองอธิการบดี
8.
ครั้งนี้ หลังรัฐประหาร 22 พฤษภา 2557
37 ปี ผ่านไปไวเหมือนโกหก
ผมกลับมาญี่ปุ่นใหม่ มาทำวิจัย (ที่ตั้งใจ และมั่นใจ ทำงานค้าง ให้เสร็จ)
แต่ด้วยวัย ด้วยสังขาร แม้จะสอิดเสอืยนการเมือง "อั้งยี่" ไทยๆ ใน กทม
ผมไม่รู้สึกว่า "มืด" อย่างที่เคยรู้สึกเมื่อครั้งก่อน
ผมเชือว่ามี "แสงสว่าง" รางๆ คล้ายใกล้รุ่ง
แต่ ผมก็เดาไม่ออกว่า โรดแมป 15 เดือน ของ คสช จะออกมาอย่างไร
และพวกเขาจะอยู่กันนาน แค่ไหน บ้างว่าสั้นๆ บางว่า ยาว
(และแน่นอน Power corrupts, absolute power corrupts absolutely)
9.
แต่ผมคิดว่า ด้วยเวลา ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งประเทศไทย ทั้งสากลโลกแล้ว
ทำให้ไม่น่าจะต้อง หมดหวัง หรือ ท้อแท้
ยุคสมัยนี้ เป็นโลกาภิวัตน์ เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร IT/internet/email/youtube
ยุคนี้ ไม่มีสงครามเย็น ไม่มีสหรัฐฯ หนุนหลังขุนทหาร (แต่กลับ ดันหน้าด้วยซ้ำไป)
ยุคนี้ ไม่มีจีนคอมมิวนิสต์ (แม้จะมีจีนฮ่องเต้ เป็นตัวช่วย) ไม่มี พคท (แม้จะมี 112)
ยุคนี้ มีชนชั้นกลางใหม่ มีรากหญ้า ผู้คนที่ไม่มี หรือมี "กระดาษ" รับรองวิทยฐานะ
น้อย แต่ก็ตื่นตัว เข้าใจสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย และ ประโยชน์ของ 1 คน 1 เสียง
10.
ครับ สงครามตัวแทน proxy war
การต่อสู้ระหว่างอำนาจเดิม/บารมีเดิม
กับ อำนาจใหม่/บารมีใหม่
แม้จะยาว ข้ามทศวรรษ และ ข้ามรัชสมัย
แต่ก็เป็นความเปลี่ยนผ่าน
ที่เราต้องเผขิญ ต้องเจ็บปวด ล้มตาย
หนทางสู่ประชาธิปไตย
กว่าบ้านเมือง ผู้คน จะลงตัวอย่างสวยงามแบบญี่ปุ่น
ก็เป็นเส้นทางทีียาว คดเคี้ยว
อนาคต ถึงไม่รุ้
ไม่รู้ ก็ต้องเดินไป ครับ
good luck on your long journey.............
cK@KyotoGinkakujiWithLovePeaceConcern....
ปล
คำถามยาก ไม่น่าถามยากๆ อย่างนี้
กว่าจะตอบเสร็จ ก็หิวข้าวแล้ว ครับ
oooo
เรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน....
https://www.youtube.com/watch?v=QyJQVzvNLkc&sns=em