ที่มา นักข่าวหน้าจอ
วันที่ 24 มิย. 2557
กรุงเทพฯ - เผด็จการไทยกล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “ผิดหวัง” กับการตัดสินใจของสหภาพยุโรปที่ยกเลิกการเยือนทางการทั้งหมด และยุติการเซ็นสัญญาความร่วมมือ หลังการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว
เผด็จการทหาร รู้จักกันในนามของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ลดเสรีภาพของพลเรือนลงโดยห้ามการประท้วงในที่สาธารณะ จับกุมผู้ชุมนุม เซ็นเซอร์สื่อ และกักขังผู้วิจารณ์ตนเพื่อสอบถาม ตั้งแต่ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พค.
“เราไม่ได้โกรธ แต่เราผิดหวังและเสียใจกับการตัดสินใจของสหภาพยุโรป” วีรชน สุคนธปฏิภาค - โฆษกเผด็จการทหารบอกกับสำนักข่าว AFP
เขากล่าวเพิ่มเติมว่าคนยุโรปไม่เข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยหรือ “การตัดสินใจเข้ากุมอำนาจปกครองประเทศ” ของกองทัพเลย
ผบทบ.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชากล่าวว่า เขาถูกบังคับให้ยึดอำนาจหลังการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลยือเยื้อกว่า 7 เดือนทำให้มีผู้เสียชีวิต 28 คนและบาดเจ็บอีกกว่าร้อยคน
รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปประนามการยึดอำนาจของกองทัพ และตอบตกลงต่อมาตรการลงโทษเพื่อสนับสนุนการเรียกร้องการปกครองแบบประธิปไตยโดยเร่งด่วน
รัฐมนตรี [สหภาพยุโรป] ได้ยกเลิกการเยือนไทยอย่างเป็นทางการทั้งหมดและยุติการเซ็นสัญญาหุ้นส่วนและความร่วมมือ ดังปรากฏในแถลงการณ์
รัฐมนตรี [สหภาพยุโรป] แสดงออกถึง “ความกังวลอย่างที่สุด” ในการพัฒนา [ไปสู่การเลือกตั้ง] และกล่าวว่ากองทัพควร “นำกระบวนการทางประชาธิปไตยที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญกลับคืนมาโดยเร่งด่วนที่สุด ผ่านการเลือกตั้งทั่วไปที่เชื่อถือได้”
ฝ่ายต่อต้านกองทัพกล่าวหาว่าเผด็จการทหารใช้ความวุ่นวายในประเทศไทยเพื่อปูทางไปยังการขึ้นสู่อำนาจที่วางแผนมายาวนานโดยกลุ่มรอยัลลิสท์ที่มีทหารหนุนหลัง ซึ่งเกลียดทักษิณ ชินวัตร - เศรษฐีอดีตนายกรัฐมนตรีผู้เป็นใจกลางของปัญหาการเมืองไทย
เศรษฐีที่กลายมาเป็นนักการเมืองยอดนิยมนั้น ถูกโค่นอำนาจลงโดยการรัฐประหารปี 2549 และเนรเทศตนเองเพื่อเลี่ยงการถูกจับกุมจากคดีคอรัปชั่น
ทักษิณและพันธมิตรของเขาขนะการเลือกตั้งมามากกว่าทศวรรษ รวมทั้งในปี 2554 ภายใต้ชื่อน้องสาวของเขา ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยได้รับความช่วยเหลือจากแรงสนับสนุนจากส่วนเหนือของประเทศ
ยิ่งลักษณ์ถูกทำให้ออกจากตำแหน่งเมื่อไม่นานก่อนรัฐประหารครั้งล่าสุด โดยการตัดสินอันฉาวโฉ่ของศาล
เผด็จการยืดการเลือกตั้งออกไปอย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อการปฏิรูปทางการเมืองครั้งใหม่ - ซึ่งรวมถึงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ - โดยบอกว่าเป็นความจำเป็นที่ต้อยุติความวุ่นวายทางการเมืองที่กินเวลาหลายปี
“เราแค่ขอเวลา เรากำลังขอให้พันธมิตรนานาชาติมีความอดทนมากกว่านี้หน่อย” วีรชนกล่าว ยืนยันว่าประเทศไทยไม่ได้ละทิ้งประชาธิปไตย
“เราจะคืนประชาธิปไตยให้ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในอนาคต” เขากำชับ “เราขอเรียกร้องให้สหภาพยุโรปพิจารณาสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง”
แปลโดย นักข่าวหน้าจอ
ที่มา: http://www.channelnewsasia.com/news/asiapacific/thai-junta-disappointed/1195754.html