เมื่อวันพุธที่ผ่านมา Supreme Court สหรัฐฯ มีคำสั่งชัดเจน ห้ามเจ้าหน้าที่ตรวจค้นข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีหมายศาล เป็นคำสั่งซึ่งส่งผลให้จำเลยใน 2 คดีได้รับการยกฟ้อง คดีที่แคลิฟอร์เนีย ตำรวจจับชายคนหนึ่งในข้อหาป้ายทะเบียนรถหมดอายุ แล้วถือวิสาสะไปค้นรถเขา เจออาวุธปืน เลยเถิดไปค้นโทรศัพท์มือถือเขา พบข้อมูลในนั้นซึ่งนำมาใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีกับเขา คำสั่งศาลสูงครั้งนี้ (และศาลก่อนหน้า) ทำให้เขาหลุดคดี เพราะถือว่าเป็นการได้มาซึ่งหลักฐานด้วยวิธีการมิชอบ
คำสั่งศาลครั้งนี้คุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว – right to privacy ตาม Fourth Amendment และสำคัญว่าเป็นการลงมติชนะด้วยคะแนน 9-0 เรียกว่าผู้พิพากษาทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยมและก้าวหน้าเห็นด้วยกับเรื่องนี้หมด เพราะท่านเห็นว่าตามหลักการ right to privacy โทรศัพท์มีข้อมูลส่วนตัว และละเมิดไม่ได้ อุปกรณ์มือถือต่าง ๆ เป็นนวัตกรรมของศตวรรษที่ 21 กฎหมายก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย คำสั่งศาลครั้งนี้ไม่ได้คุ้มครองเฉพาะโทรศัพท์ แต่ยังน่าจะรวมถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลทุกชนิดรวมทั้งโน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ด้วย “Get the warrant!” “ขอหมายจับก่อนสิ” ศาลแนะนำตำรวจก่อนจะไปยึดไปค้นโทรศัพท์ชาววบ้าน
บ้านเราจะมีคำสั่งศาลคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวแบบนี้บ้างไหม หรือจะปล่อยให้ทหารจับกุมและควบคุมตัวคน ยึดโทรศัพท์ แท็บเล็ตเขาไปค้นข้อมูล บังคับให้เขาบอกพาสเวิร์ด แล้วเอาข้อมูลมาแจ้งคดีร้ายแรงกับเขา แบบที่เพิ่งเกิดขึ้น?
http://www.democracynow.org/2014/6/26/as_supreme_court_says_police_need
รูปจาก http://www.politico.com/story/2014/06/supreme-court-decision-cell-phone-warrant-108287.html
Credit