คำอธิบายสำหรับการหายตัวไปของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
ความกังวลต่อการเรียกตัวของบุคคลที่ถูกทหารจับตัวไปแล้วในเดือนพฤษภาคม
ผู้มีอำนาจของกองทัพไทยควรแจ้งข้อมูลที่อยู่ของนักเคลื่อนไหวฝ่ายตรงข้ามที่ถูกจับกุมไปตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม โดยด่วนที่สุด เป็นคำบอกเล่าจาก Human Rights Watch แทนที่จะเปิดเผยที่คุมขังเธอ แต่ คสช.กลับออกหมายเรียกเธอพร้อมคนอีก 17 คนให้มารายงานตัวในวันที่ 18 มิถุนายน มิฉะนั้นจะทำการจับกุม
ทหารได้เข้าควบคุมตัว กริชสุดา คุณะเสน อายุ 27 ปี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ในจังหวัดชลบุรี แต่ผู้มีอำนาจของกองทัพปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลใดๆ หรือแม้แต่แสดงหลักฐานว่าเธอถูกปล่อยตัวแล้ว ซึ่งทำให้สร้างความกังวลมากยิ่งขึ้น แต่ทางกองทัพกลับปฏิเสธการรับรู้ถึงที่อยู่ ทั้งๆที่มีภาพข่าวทางทีวีว่าเธอถูกจับกุมตัวไปโดยทหารกองประจำการมณฑลทหารบกที่ 14
“กองทัพบกควรสยบเรื่องการอุ้มหายไปของกริชสุดาโดยเร็วที่สุด ด้วยการเปิดเผยที่อยู่และอนุญาติให้สามารถเข้าพบหมอและทนายได้” Brad Adams, Asia Director กล่าว “รัฐบาลที่เกี่ยวข้องควรเรียกร้องให้กองทัพไทยอธิบายโดยด่วนว่าเกิดอะไรขึ้นกับเธอและรับปากเรื่องความปลอดภัย”
กริชสุดาเป็นนักกิจกรรมที่มีชื่อเสียงของ นปช.และเสื้อแดง รวมถึงยังเคลื่อนไหวแคมเปญให้การช่วยเหลือทางกฎหมายและมนุษยธรรมให้กับสมาชิกของ นปช.และผู้ที่ได้รับผลกระทบทางการเมืองตั้งแต่ 2553
ตั้งแต่กริชสุดาถูกจับกุมไป ครอบครัวและสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้พยายามตามหาตัวเธอแต่ก็ไม่สำเร็จ Human Rights Watch ได้แสดงความกังวลเพิ่มเติมในความปลอดภัยของกริชสุดาและผู้ที่ถูกจับกุมทางลับคนอื่นๆ
กริชสุดาถูกควบคุมตัวไว้นานกว่า 2 อาทิตย์ ซึ่งเกินกว่า 7 วันตามข้อกำหนดของกฎอัยการศึกที่กองทัพได้ทำการประกาศไว้หลังการรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม
สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยกับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนว่า ผู้ที่ถูกหมายเรียกจากกองทัพได้ถูกปล่อยตัวเกือบหมดแล้ว และไม่มีผู้ใดถูกกักตัวนานกว่าหนึ่งอาทิตย์ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับการแจ้งว่า การกักตัวเป็นไปเพื่อการทำความเข้าใจและปรับทัศนคติโดยไม่ต้องการให้ถูกขัดขวางจากภายนอก
การหายตัวไปจากการถูกบังคับจับกุมตามกฎหมายนานาชาติเกี่ยวกับการจับกุมและกักขังบุคคลโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือตัวแทน ต้องไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียเสรีภาพ หรือต้องเปิดเผยความเป็นไปหรือที่อยู่ของผู้ถูกจับกุม
การหายตัวไปจากการถูกจับกุมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ต้องปกป้องไว้ว่าด้วยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยการปกป้องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งไทยก็เป็นเข้าร่วมด้วย รวมไปถึงข้อห้ามเกี่ยวกับอำนาจเบ็ดเสร็จในการจับกุมและกักขัง การทรมาณและการกระทำทารุณต่างๆ การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมและการปฏิบัติที่ทำให้เกิดการเสื่อมเสีย รวมถึงการตัดสินคดีที่เกินกว่าเหตุ การหายตัวไปของบุคคลมักจะมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกนำไปทรมาณ โดยเฉพาะการกักขังในพื้นที่นอกสถานที่ที่จัดไว้เช่น คุก หรือสถานีตำรวจ
ตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร กองทัพได้กักขังผู้คนมากกว่า 300 คน ทั้งพรรคการเมืองและนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักกิจกรรม สื่อ และผู้ถูกข้ออ้างในเหตุผลที่ทำลายรัฐบาล การไม่เคารพและต่อต้านสถาบันฯ หรือแม้แต่การมีส่วนร่วมในการต้านรัฐประหารและกิจกรรม ส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้ถูกปล่อยตัวออกมาแล้ว และกองทัพยังคงเดินหน้าออกหมายเรียกผู้คนต่อไป
หลังการรายงานตัวต่อกองทัพ ผู้ที่ถูกเรียกจะถูกซักถามและถูกกักตัวไว้ไม่สามารถติดต่อได้ในสถานที่ที่ไม่เป็นทางการเช่นค่ายทหาร ผู้ที่ไม่มารายงานตัวตามหมายเรียกเช่น อดีต รมว.ศึกษาธิการ จาตุรนต์ ฉายแสง , ผู้นำการต่อต้านอย่าง สมบัติ บุญงามอนงค์ ,นักกิจกรรมด้านแรงงาน จิตรา คชเดช และนักวิชาการกฎหมาย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ผู้ถูกจับและอาจจะต้องถูกดำเนินการในศาลทหาร
“การเรียกบุคคลที่ถูกควบคุมตัวแล้ว ได้สร้างความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าผู้มีอำนาจอาจจะเตรียมการจัดการให้หายตัวไปเลย และบางอย่างอาจจะเกิดขึ้นแล้วกับกริชสุดา” Adam กล่าว “สิ่งที่ดีที่สุดที่เป็นการพิสูจน์ว่าเรื่องนี้ไม่เป็นคดี ก็คือการปล่อยตัวเธอไปแบบไม่มีอันตราย”
http://www.hrw.org/node/126516
...
“วินธัย” ชี้แจงกรณีคสช.ควบคุมตัว “กริชสุดา - นักกิจกรรมเสื้อแดง”
ที่มา มติชนออนไลน์
พันเอกวินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก และทีมโฆษกคสช. ชี้แจง กรณี องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้แสดงความกังวลต่อ กรณีการควบคุมตัว น.ส.กริชสุดา คุณะแสน นักกิจกรรมกลุ่มเสื้อแดง ว่า เจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ ได้ขอควบคุมตัว น.ส.กริชสุดา ไปเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่ จ.ชลบุรี เนื่องจากพฤติกรรมที่ผ่านมา มีลักษณะเข้าข่ายต้องสงสัยความผิดตาม ม.116 (2) กับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงต้องขอควบคุมตัวเพื่อสอบสวนตามขั้นตอน ซึ่งได้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มีการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ มาปัจจุบันเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2557 คสช.จึงได้มีประกาศเชิญให้มารายงานตัวตามกระบวนการสร้างความเข้าใจปกติ
"ยืนยันอีกครั้งว่าการเชิญรายงานตัว จะไม่ได้ปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ในลักษณะผู้มีความผิดแต่อย่างใด ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ กระบวนการนี้ยังยึดในหลักสิทธิมนุษยชนเหมือนเดิม ถ้าได้ติดตามข่าวสารจะพบว่าไม่มีบุคคลใด มีความรู้สึกที่เป็นลบต่อการปฏิบัติดูแลของ เจ้าหน้าที่ ไม่มีลักษณะที่เป็นทุกข์แต่อย่างใด ทุกคนมีความเข้าใจ และยินดีให้ความร่วมมือตามแนวทาง คสช.เป็นอย่างดี" พ.อ.วินธัย กล่าว
สำหรับการที่ นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของ Human Rights Watch ต้องการให้เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวของ น.ส.กริชสุดา นั้น คสช.ต้องการให้ น.ส.กริชสุดา ออกไปจากความวุ่นวายและไม่ถูกรบกวนจากสิ่งรอบตัว เพื่อให้มีสมาธิไตร่ตรองตั้งสติ ทบทวนสิ่งต่างๆ ปรับความเข้าใจกัน หรือบางครั้งส่วนใหญ่จะเป็นไปตามความต้องการของบุคคลนั้นๆ เอง จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เท่าที่จำเป็น เพียงพอต่อการปรับทัศนคติและทำความเข้าใจกัน บางบุคคลมาแล้วกลับเลย บางคน 1วัน 3 วัน มากที่สุดไม่เกิน 7 วัน
สำหรับสิทธิในการเข้าถึงทนายความนั้น ขอเรียนว่าในกระบวนการนี้เป็นแค่การแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกัน เพื่อหาความร่วมมือกันในอนาคต ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาใดๆ ที่จำเป็นต้องมีทนายความ ส่วนเรื่องการบริการในเรื่องการแพทย์ ทางคสช.ได้มีการจัดเตรียมไว้เพื่อให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว ยืนยันทุกคนอยู่ในความดูแลประดุจญาติมิตร ให้เกียรติกันและกันเสมอ
ที่มา เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam