วันศุกร์, มกราคม 04, 2562

มองอเมริกาแล้วมองไทย เจออาการ “เข่าด้าน” ของบรรดาพวกซากเดนศักดินา สมี อธิการบดี





พวกซากเดนศักดินา สมี อธิการบดี ออกอาการ “เข่าด้าน” กันใหญ่ “ต้องเลื่อนเลือกตั้งหลังจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ก่อนหน้านี้ “คนเดือนตุลา”ออกมาเห่าหอนว่าไม่ชอบเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ 2561 เป็นปีแห่ง #การเลือกตั้ง เท่าที่นับดูคร่าว ๆ มีการเลือกตั้งทั่วโลก ทั้งการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งประธานาธิบดีไม่ต่ำกว่า 100 ครั้ง (https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_elections_in_2018) อียิปต์ อิตาลี โคลอมเบีย เวเนซูเอลา มิดเทอมสหรัฐฯ เยอรมนี ฮังการี บราซิล รัสเซีย เม็กซิโก มาเลเซีย ปากีสถาน ไต้หวัน อัฟกานิสถาน กัมพูชา คองโก บังคลาเทศ ฯลฯ

ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ถูกใจคนรักประชาธิปไตยไปทั้งหมด คนอียิปต์ต้องทนอยู่กับอดีตเผด็จการทหารต่อไป เยอรมนี/บราซิล/ไต้หวัน/อิตาลี/ฮังการี/กัมพูชา/โคลอมเบีย เหวี่ยงไปทางขวา ๆ ค่อนข่างชัดเจน ที่พอจะให้ความหวังได้คือ มาเลเซีย ซึ่งเห็นการเปลี่ยนผ่านจากพลังประชาชนอย่างแท้จริง

ขอถามพวกพวกซากเดนศักดินาที่ขี้ขลาดตาขาวหน่อย (ผมไม่นับพวกนี้เป็น “elite” นะ ให้เกียรติมันมากไป) ถ้าไม่เอาเลือกตั้ง จะเอาอะไร? จะปล่อยให้คนแต่ละกลุ่มจับอาวุธออกมาสู้รบกัน แบบที่เกิดขึ้นในแอฟริกาหลายประเทศ (ซูดานใต้ ลิเบีย) ตะวันออกกลาง (ซีเรีย อิรัก เยเมน) และอัฟกานิสถานหรือ? ประเทศเหล่านี้ถือเป็น hotspots เป็นประเทศที่มีสงครามกลางเมืองยืดเยื้อยาวนานมาก ล้วนแต่เป็นประเทศที่ไม่มีการเลือกตั้งที่ free and fair ทั้งสิ้น

การเลือกตั้งจึงไม่ได้การันตีว่า เราจะได้คนดีหรือคนเก่งมาปกครองประเทศเสมอไป แต่เป็นกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม ทำให้คนระบายความรู้สึก ได้แสดงความเห็นของตนอย่างสันติ ผ่านบัตรเลือกตั้ง หลีกเลี่ยงการจับอาวุธมาฆ่าฟันกัน เพื่อผลประโยชน์หรือความเชื่อของตัวเอง พวกที่อยู่ไฟลัมต่ำ ๆ แต่ชอบยกตัวเองเป็นชนชั้นสูง ไม่มีวันเข้าใจเรื่องง่าย ๆ แบบนี้


Pipob Udomittipong

ooo

The newly-elected U.S. Senators Swearing-in ceremony




ooo