ตีอกชกลมกันขรมทั้งน้องใหญ่-พี่ใหญ่
เมื่ออียูปลดธงเหลืองไทยเรื่องประมงผิดกฎหมายฯ หรือ ‘ไอยูยู’ น้องตู่คุย “รัฐบาลชุดนี้ดำเนินการตั้งแต่ปีแรก ที่เราเข้ามาบริหารประเทศ”
พี่ป้อมเกทับ “ผมทำมา ๔ ปี นั่งหัวโต๊ะประชุมสั่งการแก้ปัญหามาตลอด”
แต่น้องตู่ขอขอบคุณ “การขับเคลื่อนของรองนายกรัฐมนตรีทั้ง ๒
คน” ทั้งพี่ป้อมและเพื่อนฉัตร (พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ) โดยพี่ป้อมเสริมว่า “เป็นสิ่งที่น่าชื่นใจ
ซึ่งเราจะต้องรักษาธงเขียวนี้ไว้ให้ได้ตลอดไป เราโดนมา ๑๕ ปีแล้ว”
(รายละเอียดที่ https://www.matichon.co.th/politics/news_1309535 และ https://www.facebook.com/100001454030105/posts/2131489566909490/)
พร้อมๆ กับข่าวดี ก็หนีไม่พ้นข่าวร้าย
เรื่องการที่ประเทศไทยได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี ๒๕๖๒ นี้
บีบีซีไทยไปเที่ยวสอบถามความเห็นนักวิชาการและนักการทูต ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ได้เรื่องว่า
“จะไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่า
การทำงานแบบกิจวัตรประจำวันเพื่อการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาจัดประชุมเท่านั้น”
ซ้ำร้ายเข้าไปอีก นักการทูตบางคนบอกว่าการจัดประชุมสุดยอดจะต้องมีสองครั้งในรอบปี
ครั้งแรกราวมีนาหรือเมษา แล้วไปประชุมอีกครั้งตอนพฤศจิกายน
แต่ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งปลายกุมภา ๖๒
ถ้าจริงคงมีรัฐบาลใหม่ราวเมษา และมีพระบรมราชาภิเษกตอนต้นพฤษภา ถ้าจะต้องเลื่อนประชุมซัมมิตไปถึงมิถุนา
น่าจะช้าไป นี่มีความน่าจะเป็นว่าการเลือกตั้งจะเลื่อนไปอีกอย่างน้อยๆ ๑ เดือน
ทำให้การจัดประชุมสุดยอดจะต้องเป็นปลายกรกฎาหรือต้นสิงหา
นั่นยังไม่คำนึงถึงข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานาของคนในวงการระหว่างประเทศว่า
การเลือกตั้งจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยหรือไม่
“นักการทูตในประเทศอาเซียนรายหนึ่ง
แสดงความวิตกกังวลว่า เหตุการณ์แบบปี ๒๕๕๒ คือการชุมนุมประท้วงระหว่างการที่รัฐบาลไทยทำหน้าที่ประธานอาเซียน
อาจเกิดขึ้นได้อีก ถ้าผลการเลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย”
บีบีซีไทยอ้างคำของนักการทูตจากประเทศอาเซียนผู้หนึ่งว่า “เราสงสัยว่าทำไมประเทศไทยไม่ขอเลื่อนการเป็นประธานอาเซียนออกไปก่อน เหมือนเช่นที่ประเทศสมาชิกอื่นเคยทำ
เลือกตั้งเสร็จแล้วค่อยมาทำหน้าที่ประธานก็ยังได้”
อุกฤษฎ์
ปัทมานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางลุ่มแม่น้ำโขง สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสริมว่า “รัฐบาลไทยไม่ควรสร้างความไม่แน่นอนทางการเมืองแบบนี้จนกระทั่งไปกระทบต่อการทำหน้าที่ประธาน
และนี่เป็นสิ่งที่กระทบต่อความน่าเชื่อถือทางการเมืองระหว่างประเทศของไทยอย่างมาก”
ยังมีข้อวิวิพากษ์อื่นๆ ด้วยว่า
การจะปฏิบัติภารกิจในฐานะประธานของไทยในปีนี้
มองไม่เห็นว่าจะมีอะไรโดดเด่นหรือแม้แต่สัมฤทธิ์ผลได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาชนชาวโรฮิงญามุสลิมในพม่า
เรื่องการแผ่อิทธิพลของจีนในทะเลใต้ และเรื่องการเผชิญหน้าในอิทธิพลการเมืองและการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ
อดีตอธิบดีหลายกรมในกระทรวงการต่างประเทศผู้ให้ความเห็นต่อบีบีซีไทยคนหนึ่งถึงกับปรามาสว่า
“ผมไม่คิดว่าประเทศไทยจะได้ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และศักยภาพพอที่จะนั่งลงคุยกับคนอย่าง
มหาเธร์ แห่งมาเลเซีย และ นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง แห่งสิงคโปร์ ได้อย่างเท่าเทียม
(และ) ยิ่งไม่ต้องคิดว่าจะแสดงบทบาทนำได้ในฐานะประธาน”
มันเป็นภาวะการณ์ชนิดที่ฝรั่งเรียกว่า “ถูกขนาบด้วยหินผาและของแข็ง”
หลังจากที่พี่ใหญ่โดนหมัดสวนจากอดีตนายกฯ
ซึ่งคณะยึดอำนาจของตนพยายามกำจัดด้วยรัฐประหารถึงสองครั้งสองคราแล้วยังเอาชนะไม่ได้
ด้วยข้อความทวี้ตย้อนเกล็ดเอาว่า “ความยุติธรรมอย่างป้อมๆ”
หลังจากนั้นไม่กี่วันกลับปรากฏข่าวผู้เป็นน้องสาว อดีตนายกฯ
อีกคน ได้ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทท่าเรือขนส่งสินค้าแห่งเมืองซัวเถา (SICT) ในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของประเทศจีน
โดยเป็นท่าเรือหลัก ๑ ใน ๒๕ แห่งของจีน
ชนิดที่ ไพศาล พืชมงคล ผู้ช่วยของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
อดไม่ได้ที่จะเขียนเฟชบุ๊คถึงท่าเรือแห่งนี้ ว่าใช้ชื่อซัวเถา “แสดงว่า
บริษัทนี้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลท้องถิ่นของจีน
เพราะบริษัทเอกชนไม่มีสิทธิ์ใช้ชื่อเมืองนำหน้าชื่อบริษัทตามระบบของจีน”
นอกจากนั้นไพศาลยังไม่วายสะกิดให้คิดมากด้วยว่า “การที่บุคคลต่างชาติจะเป็นประธานบริษัทนั้นไม่ใช่เรื่องที่ทำได้
โดยลําพังบริษัท! นัยยะสำคัญของเรื่องนี้จึงน่าคิดมากครับ ว่าอาจเป็นเรื่องส่งสัญญานอะไรหรือไม่”
(https://www.khaosod.co.th/politics/news_2062833 และhttps://www.khaosod.co.th/chinawatch/news_2058569)
สัญญานที่ชัดมากๆ อาจดูได้จาก @MallikaBoon ว่าพวกฝั่งตรงข้ามต้อง ‘เนื้อเต้น’ ระริกกันเลยทีเดียว โฆษกพรรคประชาธิปัตย์เขียนทวี้ตแสดงปฏิกิริยาต่อข่าว “ยิ่งลักษณ์โผล่นั่งประธานบริษัทคุมท่าเรือซัวเถา”
ว่าเป็นการลงทุนโดยใช้เงินทุจริตจากไทย
‘E-Thing’ คงมั่นใจว่าการกล่าวหาโจมตีอดีตนายกฯ หญิงเช่นนั้นสามารถทำได้ง่ายดายภายใต้กฎหมาย
คสช. หากด้วยพฤติกรรมจำเจส่วนตัวของตน บวกด้วยอาการอัดอั้นทนไม่ไหวที่เห็นฝ่ายตรงข้ามได้ดี
จึงมีปฏิกิริยาก้าวร้าวในที่สาธารณะเช่นนั้น
หรือไม่อาจเป็นเพราะได้เห็นภาพ “ไปรเวทเดรส
ของเด็กกรุงเทพคริสเตียน” ที่ Nampol Kajonpimanmas เอามาโพสต์ก็เป็นได้