กรณี ‘น้ำใส’ ไหงไม่จบง่ายๆ ขนาดร่ำไห้กลางเวที
“ขอให้ให้อภัยในความผิดพลาดของหนูด้วย” แล้วเชียว
ผ่านมาหลายวัน สถานทูตเยอรมนีไม่เลิก
เอกอัคราชทูตโพสต์ภาพข้อความ “เราจำได้” ชวนน้ำใสไปเรียนประวัติศาสตร์ ‘ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์’
จากการที่นายเกอร์ก ชมิดท์
เอกอัคราชทูตเยอรมนีประจำไทยโพสต์ภาพตนเองถือป้าย ‘We Remember’ พร้อมข้อความทั้งไทยและอังกฤษว่า
“เราขอแบ่งปันความตกใจและความกลัวที่ @ShapiraSmadar จากสถานทูตอิสราเอล#Israelได้แสดงออกมา
เราขอเชิญสมาชิก # BNK48 มาคุยเกี่ยวกับความน่ากลัวของเผด็จการนาซีกับเรา”
นั่นเป็นการย้ำเตือนต่อสังคมไทยทั้งมวล ไม่เฉพาะเพียง น.ส.พิชญาภา
นาถา สาวไอดอลคณะดนตรี BNK48 ที่โด่งดัง บังเอิญ ‘รู้เท่าไม่ถึงการณ์’ สวมเสื้อยืดเจอร์ซี่มีรูปเครื่องหมายสวัสติกะของเผด็จการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นาซี
เยอรมนีในอดีต
ทั้งที่เป็นโอกาสการซ้อมใหญ่คณะดนตรีของเธอ แต่ก็มีการถ่ายคลิปและภาพออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะ
ทำให้สถานทูตอิสรเอลประจำไทยออกมาตำหนิด้วยวลีแสดงอาการ “กระเส่าและหวาดหวั่น”
พร้อมทั้งถ้อยความ
“รองหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต
นางสมาดาร์ ชาพีรา ร่วมถือป้าย #WeRemember เพราะเรายังคงจดจำว่าชาวยิวทั้งชาย
หญิง และเด็กกว่า 6 ล้านคน ถูกสังหารในเหตุกาณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (โฮโลคอสต์)
และเราจะไม่มีวันลืม”
การตำหนิ ‘น้ำใส’ ว่าละเลยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โลกแพร่กระจายไปทั่วสังคมไทยอย่างรวดเร็ว
จนเจ้าตัวถึงกับน้ำตานองหน้ากล่าวคำขอโทษ “หนูเสียใจมากกับสิ่งที่เกิดที่ขึ้น
ในความผิดพลาดและความไม่รู้” ขณะร่วมแสดงในรายการ ‘6th Single Senbatsu
General Election’
หลังจากนั้นผู้จัดการวงได้พาเธอไปมอบดอกไม้แสดงการขออภัยต่อเอกอัคราชทูตอิสรเอลและภรรยาที่สถานทูต
กระนั้นปัญหาก็ยังไม่จบง่ายๆ
จนกระทั่งสถานทูตเยอรมนีแพร่ภาพทางทวิตเตอร์สนับสนุนข้อความ ‘เราจำได้’ ของผู้ช่วยทูตอิสรเอลดังกล่าว
ทำให้สังคมไทยต้องตระหนักว่า ความผิดพลาดดังกล่าวไม่ใช่เพียงการพลั้งเผลอของบุคคลที่โด่งดังในสังคมคนเดียว
เนื่องเพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สังคมไทยถูกตำหนิในความไม่รู้สีรู้สาต่อปัญหาการรังเกียจเชื้อชาติและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
บทความของ ‘ข่าวสดอิงลิช’ ต่อกรณีนี้ชี้ถึงเหตุการณ์ในปี
๒๕๕๙ เมื่อมีนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรนายหนึ่งแต่งกายแฟนซีเลียนแบบอะด๊อล์ฟ
ฮิตเตอร์ อดีตผู้นำนาซี โดยมีนักศึกษาอื่นแต่งชุด ‘เร็ดการ์ด’ ของจีนร่วมขบวนด้วย
ย้อนไปในปี ๒๕๕๘ สถานทูตอิสรเอลแสดงความไม่พอใจเป็นลายลักษณ์อักษรว่า
“น่าสมเพชที่คนมีการศึกษาดี โอกาศในการขวนขวายหาข้อมูลอันน่าเชื่อถือได้มากกว่าผู้อื่น
ขาดสามัญสำนึกที่จะแยกแยะข้อเท็จจริงจากการโฆษณาชวนเชื่อ”
เหตุนั้นมาจากการที่ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร
เผยแพร่ความเห็นของตนเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมโฮโลคอสว่าเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อ
และแสดงความเห็นใจฮิตเลอร์ว่าถูก ‘ทุนนิยมไซออนนิสต์’ บ่อนทำลายทางเศรษฐกิจ
ม.ล.รุ่งคุณ จบข้อเขียนของเขาด้วยวลี “เฮล ฮิตเลอร์”
ย้อนต่อไปอีกในปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๔
มีนิสิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตามลำดับ
แต่งกายแฟนซีสำหรับขบวนพาเหรดในชุดนาซี
อันมองอย่างผิวเผินได้ว่าเป็นเพียงสมัยนิยมเซี้ยวๆ ‘craze’ เท่านั้น
ขนาดเจ้าชายแฮรี่ของอังกฤษก็ยังเคยฉลองพระองค์ชุดนาซีไปร่วมงานสังสรรค์ส่วนพระองค์
แต่ทว่าหัวใจแห่งความผิดพลาดในสังคมไทยที่มาถึง ‘น้ำใส’
นี้มิใช่เพียงการยอมรับ ‘เครซ’ เป็นทางปฏิบัติแห่งการมีน้ำอดน้ำทน ‘tolerance’ และการเปิดกว้าง
‘openness’ ทางวัฒนธรรม ในขณะที่หลายสิ่งหลายอย่างในสังคมไทยกลับ
‘ยอมรับไม่ได้’
ความเป็นไทยๆ ที่ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์สถาบันชั้นสูง (กษัตริย์
สงฆ์ และตุลาการ) แม้เห็นความผิดพลาดอย่างโจ่งแจ้ง
ขณะที่การชมชื่นเผด็จการและการรัฐประหาร (ขนาดเอาดอกไม้ไปมอบให้)
กลับเป็นสิ่งที่อ้างว่าคือ ‘ความเท่าเทียม’
(http://www.khaosodenglish.com/featured/2019/01/26/thai-idol-group-bnk48-member-wears-nazi-flag-on-stage/, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1336710, http://www.khaosodenglish.com/life/2015/05/14/1431595555/ และ http://www.khaosodenglish.com/culture/net/2016/09/19/thai-university-students-cosplay-red-guards-nazis-photos/)