794 ล้าน เม็ดเงิน สปช.-สปท. ต้นทุนปฏิรูปประเทศ ยุค คสช.
by Phanaschai Kongsirikhan
4 สิงหาคม 2560
Voice TV 21
เปิดเม็ดเงินที่ต้องจ่ายให้กับ สปช. - สปท.ในช่วงเกือบ 3 ปี เป็นเงินเดือน 794 ล้านบาทผลิตผลงานเพื่อผลักดันการปฏิรูปประเทศ
3 ปี คือช่วงเวลาที่ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปประเทศ โหมดแรกของปฏิรูปประเทศ จึงอยู่ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิก สปช.ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ถวายคำแนะนำ
อำนาจหน้าที่ของ สปช.มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิก สปช.เข้าปฏิบัติหน้าที่ภายหลังมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งโดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 ภายหลัง สปช.ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
เปิดเม็ดเงินที่ต้องจ่ายให้กับ สปช. - สปท.ในช่วงเกือบ 3 ปี เป็นเงินเดือน 794 ล้านบาทผลิตผลงานเพื่อผลักดันการปฏิรูปประเทศ
3 ปี คือช่วงเวลาที่ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปประเทศ โหมดแรกของปฏิรูปประเทศ จึงอยู่ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิก สปช.ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ถวายคำแนะนำ
อำนาจหน้าที่ของ สปช.มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิก สปช.เข้าปฏิบัติหน้าที่ภายหลังมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งโดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2558 ภายหลัง สปช.ลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ตลอดอายุงาน 11 เดือนของ สปช.มีเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม ซึ่งเป็นเงินเดือนที่ต้องจ่ายให้สมาชิก สปช.จำนวน 250 คน รวมจำนวน 312,407,920 บาท ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนและเม็ดเงินการปฏิรูปในระยะแรกของยุค คสช.
โดย สปช.คลอดผลงานเสนอ 37 วาระการปฏิรูป และ 8 วาระการพัฒนาให้กับคณะรัฐมนตรี หากนำเม็ดเงินที่จ่ายเป็นเงินเดือนให้กับ สมาชิก สปช. 250 คนแล้ว จะตกเฉลี่ยผลงานการปฏิรูปและวาระพัฒนา เฉลี่ยประเด็นและวาระ ละ 6,942,398 บาท
เมื่อ สปช.สิ้นสุดลง ไม้ผลัดการปฏิรูปประเทศโหมดที่ 2 ตกไปอยู่ที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง จำนวน 200 คน ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่ภายหลังมีประกาศแต่งตั้งลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558
เม็ดเงิน 477,177,120 บาท คือยอดเงินเงินเดือนที่ สมาชิก สปท.ได้รับตลอด 21 เดือนที่ปฏิบัติหน้าที่ (สปท. ได้เงินประจำตำแหน่งและ เงินเพิ่มเหมือน สปช. ตาม พ.ร.ฎ.เงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ดํารงตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตําแหน่ง พ.ศ.2557)
ตลอด 1 ปี 9 เดือน ของ สปท. ได้ผลิตผลงานที่ได้ศึกษาและเป็นข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 188 เรื่อง หากนำเงินเดือน สปท.ตลอด 21 เดือนมาหารจะเท่ากับตกเฉลี่ย เรื่องละ 2,538,176 บาท
ขณะเดียวกันมียอดเม็ดเงินที่จะต้องจ่ายให้สมาชิก สปท. 61 คน ที่เคยนั่งในเก้าอี้สมาชิก สปช.ก่อนหน้านี้
เท่ากับว่า สมาชิก สปท. 61 คน ได้เงินเดือนมาแล้วจำนวน 31 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 - กรกฎาคม 2560 รวมจำนวน 228,668,220 บาท
บทสรุปต้นทุนตลอด 2 ช่วงของการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ มีเม็ดเงินที่ต้องจ่ายให้สมาชิก สปช. และ สมาชิก สปท. ในยุคคสช.เป็นต้นทุนการปฏิรูปตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รวมวงเงิน 794,585,040 บาท (เงินเดือนที่จ่ายให้ สปช. และ สปท.)
ล่าสุด พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ บังคับใช้หลังจาก สปท.ได้ส่งมอบผลงานต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 ทำให้สมาชิกเท่าที่มีอยู่ 174 คนต้องสิ้นสุดการทำหน้าที่
ภายใน 15 วันนับจากพ.ร.บ.ดังกล่าวประกาศใช้ คณะรัฐมนตรีจะต้องตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆให้แล้วเสร็จ
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศจะมีหน้าที่จัดทำร่างแผนการปฏฺิรูปประเทศ โดยจะต้องปฏิรูปประเทศภายใต้ หลัก 3 ข้อ คือ 1.ประเทศต้องมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง 2. สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำ และ 3. ประชาชนมีความสุข มีสุขภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนรวมในการพัฒนาประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ( มาตรา 5 พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ)
เม็ดเงินกว่า 794 ล้านบาทคือต้นทุนที่ต้องจ่ายให้การปฏิรูปใน 2 ช่วงแรก ซึ่งยังไม่นับรวมต้นทุนที่จะต้องจ่ายให้กับการปฏิรูปในโหมดต่อจากนี้อีก
การปฏิรูปประเทศนับจากนี้จะต้องผลักดันให้สอดคล้องและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติด้วย!
ต้นทุนเม็ดเงินปฏิรูปประเทศ 2 สภา
250 สมาชิก สปช. ได้เงินเดือน 11 เดือน รวม 312,407,920 บาท
คลอดผลงาน 37 ประเด็นปฏิรูป 8 วาระพัฒนา เฉลี่ย ประเด็น+วาระ ละ 6,942,398 บาท
200 สมาชิก สปท. ได้เงินเดือน 21 เดือน รวม 477,177,120 บาท
คลอดข้อเสนอแนะการปฏิรูป 188 เรื่อง เฉลี่ยเรื่องละ 2,538,176 บาท
61 สมาชิก สปช. เป็นสมาชิก สปท. ได้เงินเดือน 31 เดือน รวม 228,668,220 บาท
เงินเดือน สปช. และ สปท. ยุค คสช. รวม 794,585,040 บาท
ไทม์ไลน์ สปช. - สปท.
-6 ตุลาคม 2557 ประกาศแต่งตั้งสมาชิก สปช. จำนวน 250 คน
-13 สิงหาคม 2558 สปช.ส่งมอบผลงาน สปช.ให้นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย วาระการปฏิรูป 37 ประเด็น และ8วาระพัฒนา
-6 กันยายน 2558 สมาชิก สปช. สิ้นสุดลง หลังร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านมติที่ประชุม สปช.
-5 ตุลาคม 2558 ประกาศสำนักนายกฯ แต่งตั้งสมาชิก สปท. 200 คน (มีอดีตสมาชิก สปช. 61 คนได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก สปท.)
-22 มิถุนายน 2560 สนช.เห็นชอบผ่านร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ
-31 กรกฎาคม 2560 สปท.ส่งมอบงานให้นายกรัฐมนตรี ก่อนสิ้นสุดการทำหน้าที่
ส่งแผนการปฏิรูปต่อคณะรัฐมนตรี 188 เรื่อง
พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ บังคับใช้
-15 สิงหาคม 2560 ครม.แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ
อ่านเพิ่มเติม -
กางแผนปฏิรูปประเทศปิดประตูปฏิวัติ คำประกาศ'อลงกรณ์'ก่อนพ้น สปท.
อ้างอิง -
ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 250 คน
ประกาศสำนักนายกฯแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
พระราชกฤษฎีกาเงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้ดํารงตําแหน่งตามรัฐธรรมนูญบางตําแหน่ง พ.ศ.2557
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
รายงานวาระปฏิรูปและวาระพัฒนาด้านต่างๆ ที่ผ่าน สปช.
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐
พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐