ส่องรัฐวิสาหกิจ 3 ปีใต้เงาทหาร ควบตำแหน่ง เจ๊งกระจาย!!!
BY BOURNE
ON AUGUST 18, 2017
ispace thailand
เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานสำหรับผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไทยจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาเรื่องผลกำไร ซึ่งในระยะเวลากว่า 3 ปีที่รัฐบาลคสช.เข้ามาบริหารประเทศ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือตำแหน่งประธานบอร์ด และกรรมการของรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนให้ทหารเข้าไปนั่ง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดทุนต่างๆที่เกิดขึ้น
แต่ผลงานในระยะเวลา 3 ปีนี้กลับไม่เป็นไปตามคาด เพราะรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนก็ยังคงสภาพขาดทุนเหมือนเดิม ส่วนบางแห่งที่มีกำไรก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรต่อเนื่องมายาวนานอยู่แล้ว และบางแห่งก็ย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิมเพราะจากที่เคยมีกำไรก็กลายเป็นขาดทุน
เริ่มต้นด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(MRT) รัฐวิสาหกิจที่ดูแลกิจการรถไฟฟ้าทั้งใน กทม.และปริมณฑล ที่มีรายได้ลดลงถึง 40% จากในปี 2557 มีรายได้ 7,440 ล้านบาท กลายเป็น 4,460 ล้านบาทในปี 2559 ส่งผลให้จากที่เคยมีกำไรถึง 3,470 ล้านบาทในปี 2557 กลายเป็นขาดทุน 1,780 ล้านบาทในปี 2559
ซึ่งล่าสุดนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ออกเปิดเผยผลการดำเนินงานของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ภายใต้การกำกับดูแลของ MRT ว่า แม้จะมีการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน และสถานีบางซื่อเข้าด้วยกันแล้ว แต่ก็ยังพบว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงดังกล่าวยังคงประสบปัญหาขาดทุนถึง 5 ล้านบาทต่อวัน แม้ว่าจะมีสัดส่วนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นถึง 46.8% เนื่องจากการปรับลดราคาค่าโดยสารลงเป็นผลทำให้รายได้ต่อวันลดลงประมาณ 7.2%
ต่อกันด้วยเจ้าเก่าเจ้าเดิมอย่างบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ที่แม้จะทำให้รัฐบาลและผู้บริหารยิ้มได้จากการเปลี่ยนจากการเจ๊งต่อเนื่องนานหลายปีหลักหมื่นล้านบาท กลับมามีกำไรในช่วงสั้นๆ แต่ล่าสุดผลประกอบการในไตรมาส 2/2560 การบินไทยก็กลับมาขาดทุนยับไปถึง 5,211 ล้านบาท ซึ่งแม้จะอ้างเรื่องต้นทุนน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน แต่เมื่อพิจารณาผลประกอบการของสายการบินอื่น เช่น บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) หรือ ไทยแอร์เอเชีย กลับพบว่าในไตรมาส 2/2560 ยังคงมีกำไรถึง 170 ล้านบาท แม้จะมีสัดส่วนกำไรที่น้อยลงแต่ก็ยังมีผลประกอบการที่เป็นบวกอยู่
ด้านบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็น่าห่วงเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อปี 2557 มีรายได้ถึง 63,199 ล้านบาท มีกำไร 1,947 ล้านบาท แต่ในปี 2558 รายได้ลดลงเหลือ 47,869 ล้านบาท ขาดทุนไปถึง 5,885 ล้านบาท และล่าสุดในปี 2559 มีรายได้เพียง 30,800 ล้านบาท ขาดทุนไปอีก 5,800 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2560 ก็ยังไม่มีท่าทีว่าบริษัท ทีโอที จะสามารถพลิกวิกฤติทางการเงินได้
นอกจากนี้ยังมีรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่งที่กำลังประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น การรถไฟ ธนาคารอิสลาม ไปรษณีย์ไทย ฯลฯ
มาพิจารณาเรื่องจำนวนของนายทหารที่เข้าไปรับตำแหน่งประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ก็พบว่ามีรัฐวิสาหกิจถึง 16 แห่งที่มีนายทหารเข้าไปนั่งเป็นประธานจำนวน 15 คน ได้แก่
ispace thailand
เป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานสำหรับผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไทยจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาเรื่องผลกำไร ซึ่งในระยะเวลากว่า 3 ปีที่รัฐบาลคสช.เข้ามาบริหารประเทศ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือตำแหน่งประธานบอร์ด และกรรมการของรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนให้ทหารเข้าไปนั่ง เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดทุนต่างๆที่เกิดขึ้น
แต่ผลงานในระยะเวลา 3 ปีนี้กลับไม่เป็นไปตามคาด เพราะรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนก็ยังคงสภาพขาดทุนเหมือนเดิม ส่วนบางแห่งที่มีกำไรก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรต่อเนื่องมายาวนานอยู่แล้ว และบางแห่งก็ย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิมเพราะจากที่เคยมีกำไรก็กลายเป็นขาดทุน
เริ่มต้นด้วยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(MRT) รัฐวิสาหกิจที่ดูแลกิจการรถไฟฟ้าทั้งใน กทม.และปริมณฑล ที่มีรายได้ลดลงถึง 40% จากในปี 2557 มีรายได้ 7,440 ล้านบาท กลายเป็น 4,460 ล้านบาทในปี 2559 ส่งผลให้จากที่เคยมีกำไรถึง 3,470 ล้านบาทในปี 2557 กลายเป็นขาดทุน 1,780 ล้านบาทในปี 2559
ซึ่งล่าสุดนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ออกเปิดเผยผลการดำเนินงานของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ภายใต้การกำกับดูแลของ MRT ว่า แม้จะมีการเชื่อมต่อสถานีเตาปูน และสถานีบางซื่อเข้าด้วยกันแล้ว แต่ก็ยังพบว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงดังกล่าวยังคงประสบปัญหาขาดทุนถึง 5 ล้านบาทต่อวัน แม้ว่าจะมีสัดส่วนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นถึง 46.8% เนื่องจากการปรับลดราคาค่าโดยสารลงเป็นผลทำให้รายได้ต่อวันลดลงประมาณ 7.2%
ต่อกันด้วยเจ้าเก่าเจ้าเดิมอย่างบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ที่แม้จะทำให้รัฐบาลและผู้บริหารยิ้มได้จากการเปลี่ยนจากการเจ๊งต่อเนื่องนานหลายปีหลักหมื่นล้านบาท กลับมามีกำไรในช่วงสั้นๆ แต่ล่าสุดผลประกอบการในไตรมาส 2/2560 การบินไทยก็กลับมาขาดทุนยับไปถึง 5,211 ล้านบาท ซึ่งแม้จะอ้างเรื่องต้นทุนน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน แต่เมื่อพิจารณาผลประกอบการของสายการบินอื่น เช่น บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) หรือ ไทยแอร์เอเชีย กลับพบว่าในไตรมาส 2/2560 ยังคงมีกำไรถึง 170 ล้านบาท แม้จะมีสัดส่วนกำไรที่น้อยลงแต่ก็ยังมีผลประกอบการที่เป็นบวกอยู่
ด้านบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็น่าห่วงเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อปี 2557 มีรายได้ถึง 63,199 ล้านบาท มีกำไร 1,947 ล้านบาท แต่ในปี 2558 รายได้ลดลงเหลือ 47,869 ล้านบาท ขาดทุนไปถึง 5,885 ล้านบาท และล่าสุดในปี 2559 มีรายได้เพียง 30,800 ล้านบาท ขาดทุนไปอีก 5,800 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2560 ก็ยังไม่มีท่าทีว่าบริษัท ทีโอที จะสามารถพลิกวิกฤติทางการเงินได้
นอกจากนี้ยังมีรัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่งที่กำลังประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น การรถไฟ ธนาคารอิสลาม ไปรษณีย์ไทย ฯลฯ
มาพิจารณาเรื่องจำนวนของนายทหารที่เข้าไปรับตำแหน่งประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ก็พบว่ามีรัฐวิสาหกิจถึง 16 แห่งที่มีนายทหารเข้าไปนั่งเป็นประธานจำนวน 15 คน ได้แก่
1.พล.อ.อ.สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ ประธานบอร์ด สถาบันการบินพลเรือน
2.พล.ร.อ.อภิวัฒน์ ศรีวรรณธนะ ประธานบอร์ดการท่าเรือแห่งประเทศไทย
3.พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดรฟม.
4.พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ประธานบอร์ดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5.พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ประธานบอร์ดสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
6.พล.อ.ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ ประธานบอร์ดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
7.พล.อ.ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม
7.พล.อ.ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม
8.พล.อ.วิวรรธน์ สุชาติ ประธานบอร์ดการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
9.พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ประธานบอร์ดบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
10.พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานบอร์ดทีโอที
11.พล.อ.ทวีป เนตรนิยม ประธานบอร์ดกสท.
12.พล.อ.สาธิต พิธรัตน์ ประธานบอร์ดไปรษณีย์ไทย
13.พล.ท.สุรไกร จัตุมาศ ประธานบอร์ดโรงงานยาสูบ
14.พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข ประธานบอร์ดอสมท. และการยางแห่งประเทศไทย
ซึ่งนอกจากจะมีนายทหารบางคนที่ควบตำแหน่งประธานบอร์ดถึง 2 แห่ง ยังพบว่ามีทหารถึง 9 คนที่ไม่ได้นั่งอยู่ในฐานะประธานบอร์ดเพียงอย่างเดียว แต่ยังนั่ง “ควบ” หลายเก้าอี้ ทั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) 7 คน และยังรับราชการอยู่อีก 4 คน
โดยพล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข อดีตเสนาธิการทหารบก เป็นบุคคลที่นั่งควบมากที่สุดถึง 4 ตำแหน่ง คือ ประธานบอร์ด อสมท และการยางแห่งประเทศไทย ต่อด้วยตำแหน่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ อีก 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และเป็นสมาชิก สนช. อีกด้วย
นอกจากนี้ในด้านของค่าตอบแทนของตำแหน่งประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ พบว่าค่าตอบแทนรายเดือนของตำแหน่งเหล่านี้จะอยู่ที่ 12,000-40,000 บาท โดยมีเบี้ยประชุมต่อครั้งอยู่ที่ 6,000-18,750 บาท ไม่รวมถึงเงินโบนัส และเบี้ยประชุมคณะกรรมการชุดย่อย
เห็นแบบนี้แล้วมองไปที่ผลประกอบการก็เกิดคำถามขึ้นหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหมาะสม ความสามารถ ผลงาน ฯลฯ แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีที่นี่คือประเทศไทยในยุครัฐบาลคสช.!!!
Reference
http://www.bbc.com/thai/thailand-40246027
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/768928
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/733810
https://www.matichon.co.th/news/424026
https://www.matichon.co.th/news/632633
...
ซึ่งนอกจากจะมีนายทหารบางคนที่ควบตำแหน่งประธานบอร์ดถึง 2 แห่ง ยังพบว่ามีทหารถึง 9 คนที่ไม่ได้นั่งอยู่ในฐานะประธานบอร์ดเพียงอย่างเดียว แต่ยังนั่ง “ควบ” หลายเก้าอี้ ทั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) 7 คน และยังรับราชการอยู่อีก 4 คน
โดยพล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข อดีตเสนาธิการทหารบก เป็นบุคคลที่นั่งควบมากที่สุดถึง 4 ตำแหน่ง คือ ประธานบอร์ด อสมท และการยางแห่งประเทศไทย ต่อด้วยตำแหน่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ อีก 1 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และเป็นสมาชิก สนช. อีกด้วย
นอกจากนี้ในด้านของค่าตอบแทนของตำแหน่งประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ พบว่าค่าตอบแทนรายเดือนของตำแหน่งเหล่านี้จะอยู่ที่ 12,000-40,000 บาท โดยมีเบี้ยประชุมต่อครั้งอยู่ที่ 6,000-18,750 บาท ไม่รวมถึงเงินโบนัส และเบี้ยประชุมคณะกรรมการชุดย่อย
เห็นแบบนี้แล้วมองไปที่ผลประกอบการก็เกิดคำถามขึ้นหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหมาะสม ความสามารถ ผลงาน ฯลฯ แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีที่นี่คือประเทศไทยในยุครัฐบาลคสช.!!!
Reference
http://www.bbc.com/thai/thailand-40246027
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/768928
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/733810
https://www.matichon.co.th/news/424026
https://www.matichon.co.th/news/632633
...