วันพุธ, ธันวาคม 02, 2558

บทสนทนากับ 'ปีศาจ' ถ้อยแถลงรางวัลเอเอฟพี จากการทำข่าว 112



ที่มา ประชาไท
Tue, 2015-12-01

1 ธ.ค. 2558 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) สำนักข่าวเอเอฟพีของฝรั่งเศสมอบรางวัล Agence France-Presse Kate Webb ประจำปี 2015 ให้กับ มุทิตา เชื้อชั่ง ผู้สื่อข่าวประชาไท จากการรายงานข่าวคดีมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยในงานมีราเชล มิลเลอร์ น้องสาวของเคท เวบบ เข้าร่วมด้วย

สำหรับ รางวัล Agence France-Presse Kate Webb มอบให้แก่ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในสถานการณ์ที่ยากลำบากในภูมิภาคเอเชีย โดยชื่อรางวัลตั้งขึ้นตามชื่อของ เคท เวบบ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีที่อุทิศตนทำงานข่าวสงครามและในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ เธอเสียชีวิตเมื่อปี 2550 ขณะอายุ 64 ปี เธอมีชื่อเสียงในฐานะนักข่าวที่มีความกล้าหาญและมีความเป็นอิสระ

มุทิตา กล่าวว่า รางวัลเคท เวบบ เป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งในชีวิตการทำงาน แม้ว่าความยากลำบากที่เจอจะเทียบไม่ได้เลยกับบรรดานักข่าวสงคราม และโดยเฉพาะเจ้าของรางวัลนี้ ซึ่งบุกตะลุยทำข่าวในพื้นที่สงครามหลายแห่ง อย่างไรก็ตาม การที่ได้รับรางวัลนี้สะท้อนถึงความสำคัญของประเด็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเป็นประเด็นที่แยกออกจากใจกลางปัญหาการเมืองไทยได้ยากยิ่ง

มุทิตา ระบุว่าติดตามทำข่าวประเด็นนี้ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กฎหมายนี้เริ่มถูกใช้อย่างจริงจัง บทลงโทษของมันเป็นที่เลื่องลือและยิ่งหนักหน่วงขึ้นในยุคนี้

มุทิตา กล่าวว่า ผู้คนธรรมดาที่ถูกกล่าวหาและลงโทษจากมาตรานี้กลายเป็นปีศาจสำหรับสังคม โดยไม่ต้องถามไถ่ สิ่งที่ตนเองทำก็เพียงแค่สนทนากับบรรดาปีศาจและติดตามกระบวนการของศาลที่ลงโทษพวกเขา แล้วพยายามนำข้อมูลเหล่านี้ออกมาเท่าที่ทำได้ ว่ากันตามตรงมันก็ไม่ได้ใช้ความกล้าหาญอะไรนัก ความมุ่งหวังของการทำแบบนั้นก็เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้เห็น ได้เข้าใจมากขึ้นในเรื่องนี้ เพื่อว่าความรุนแรงเช่นนี้อาจมีโอกาสได้รับการแก้ไขทั้งในทางโครงสร้างกฎหมายและในวิธีคิดของผู้คน ทั้งนี้ เชื่อว่า หากวัฒนธรรมการตั้งคำถาม การยอมรับความแตกต่าง การถกเถียง ได้มีโอกาสเติบโตและรับการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น ท้ายที่สุด สถาบันกษัตริย์และสังคมโดยรวมก็น่าจะยั่งยืนยิ่งขึ้น

มุทิตา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ผ่านมาหลายปีจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนความหวังนั้นไม่ประสบความสำเร็จนัก การดำเนินคดียังคงมีอยู่เรื่อยๆ ไม่ใช่ในศาลยุติธรรมแต่ในศาลทหารซึ่งบทลงโทษหนักขึ้นมาก มากจนถึง 50 ปีแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ สิทธิในการประกันตัวเพื่อออกมาต่อสู้คดีของผู้ต้องหายังถูกวิจารณ์อย่างหนัก การเข้าถึงผู้ต้องหาถูกปิดกั้นอย่างยิ่ง กระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปโดยปิดลับมากขึ้นกว่าเดิมจนแทบไม่เหลือพื้นที่ สำหรับการรับรู้ข้อเท็จจริง ตลอดจนคดีล่าสุดที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขัง ซึ่งยังคงเป็นปริศนา

มุทิตา กล่าวว่า หากมองในมุมบวก ยังมีคนอีกหลายคน หลายองค์กร ที่ผลักดันในประเด็นนี้ โดยตนเองเป็นเพียงหนึ่งในจิ๊กซอว์เล็กๆ หนึ่งเท่านั้น ท้ายที่สุด ขอแบ่งปันรางวัลนี้กับเพื่อนร่วมงาน เครือข่าย ครอบครัว และที่สำคัญที่สุด คือครอบครัวของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ที่เผชิญความทุกข์ทรมานอยู่เงียบๆ และโดดเดี่ยวในสังคมนี้

ooo

We have a winner!



Hong Kong - Thai journalist Mutita Chuachang has won the 2015 Agence France-Presse Kate Webb Prize for her powerful and persistent reporting of royal defamation cases that have multiplied under the country's military rulers.

The prize honours journalists working in difficult conditions in Asia, and is named after a crusading AFP reporter who died in 2007 at the age of 64 after a career covering wars and other historic events.


“We are recognising Mutita for her efforts to present a balanced, in-depth coverage of sensitive topics in Thailand, which can be difficult in an extremely dynamic political environment,” said Philippe Massonnet, AFP’s regional director for the Asia-Pacific region.

Mutita, 33, was cited for her dogged efforts to record cases of alleged lese majeste for the online newspaper Prachatai, which publishes in Thai and English.

The prize includes a grant of 3,000 euros ($3,400),

In Thailand anyone found guilty of defaming the king, queen, heir or regent faces up to 15 years in jail on each count -- and both the number of prosecutions and the length of sentences have surged under the military.

Cases are often cloaked in secrecy with many defendants tried in military courts -- without the right to appeal -- since the arch-royalist Thai junta seized power in 2014.

The offence also carries widespread social opprobrium in the sharply hierarchical society where reverence to the monarchy -- led by 87-year old King Bhumibol Adulyadej -- is a given.

As a result, many Thai journalists and media outlets prefer to avoid the associated risks of reporting.

"She has been on the front line in the fight for freedom of expression in Thailand by persistently reporting on lese-majeste cases," said Andrea Giorgetta of the International Federation of Human Rights (FIDH).

Mutita's articles, which do not carry a byline, are a key source of information and data on lese-majeste sentences and convictions, said Human Rights Watch, hailing the "valuable work" done by the reporter.

The law, known by a shorthand of “112” from the relevant section of the criminal code, "is an issue that Thai society and media do not want to report on," Mutita told AFP.

A graduate of Thammasat University in Bangkok, which has a strong pro-democracy tradition, Mutita has been raising awareness of the bizarre nature of the trials: she often cannot even repeat the alleged offence without risking falling foul of the law herself.

Kate Webb, after whom the prize is named, was one of AFP's finest correspondents. She earned a reputation as a fearless reporter but was equally known for her kindness and compassion and became a mentor to young Asian journalists.

“We are delighted that a Thai reporter has won the prize this year. The Indochina region was special to Kate,” said Webb’s sister Rachel Miller.

afp

Source: FB AFP Kate Webb Prize

ooo


มุทิตา เชื้อชั่ง บรรณาธิการเว็บไซต์ข่าวประชาไท ซึ่งทำงานติดตามคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตั้งแต่ปี 2551 ได้รับรางวัล เคท เวบบ์ ไพรซ์ ประจำปี 2558 จากมูลนิธิเอเอฟพี ซึ่งรางวัลนี้มอบให้แก่ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในสถานการณ์ที่ยากลำบากในภูมิภาคเอเชีย โดยชื่อรางวัลตั้งขึ้นตามชื่อของ เคท เวบบ์ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีที่อุทิศตนทำงานข่าวสงครามและในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ โดยเธอเสียชีวิตเมื่อปี 2550 ขณะอายุ 64 ปี

มุทิตาให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยถึงการรับรางวัลดังกล่าว และความเห็นของเธอในฐานะสื่อมวลชนที่ทำงานภายใต้บรรยากาศความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เธอทำงานประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่าสังคมจะได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกันและกัน รวมถึงเข้าใจเพดานในการแสดงความคิดเห็นในสังคมมากขึ้น

https://www.facebook.com/BBCThai/videos/vb.1526071940947174/1716619021892464/?type=2&theater




มุทิตา เชื้อชั่ง บรรณาธิการเว็บไซต์ข่าวประชาไท ซึ่งทำงานติดตามคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตั้งแต่ปี...
Posted by บีบีซีไทย - BBC Thai on Tuesday, December 1, 2015
https://www.facebook.com/BBCThai/videos/vb.1526071940947174/1716619021892464/?type=2&theater