วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 14, 2562

ชัดนะ ‘ไทยปิฎก’ พูดถึงสงฆ์ไทยกับการเมือง เป็นเครื่องมือของรัฐในการเผยแพร่และกล่อมเกลาอุดมการณ์ พระก็คือข้าราชการประเภทหนึ่ง




‘ไทยปิฎก’ เพราะศาสนาคือการเมือง

ภิญญพันธุ์ผู้เขียนหนังสือ ’ไทยปิฎก ประวัติศาสตร์การเมืองสังคมร่วมสมัยของพุทธศาสนาไทย’ กับศาสนาพุทธและคณะสงฆ์ที่ไม่เคยหลุดออกจากการเมืองและอำนาจรัฐ การเกิดขึ้นของ 5 สำนักคิดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสร้างเครือข่าย สุดท้ายแล้ว ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือเสมอมา
-คณะสงฆ์และพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือของรัฐในการเผยแพร่และกล่อมเกลาอุดมการณ์ไปยังประชาชน ตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึงปัจจุบัน
-คณะสงฆ์ไม่เคยแยกขาดจากการเมืองและอำนาจรัฐ
-การเกิดขึ้น มีอยู่ และความเปลี่ยนแปลงของสำนักคิดทางพุทธศาสนาอย่างสวนโมกข์ สันติอโศก วัดธรรมกาย ดำเนินไปพร้อมความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม
-พระป่ามีการสร้างเครือข่ายและการดูแลกันเอง
-การเผยแผ่คำสอนเปลี่ยนจากการเทศน์ไปสู่การใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มประชาชนได้อย่างกว้างขวางกว่าในอดีต
https://prachatai.com/journal/2019/11/85141
.

การทำ Live งานเสวนาวิชาการ 'ไตรปิฎก-ไทยปิฎก: พุทธศาสนาไทยบนทางแพร่ง' (ฉบับเต็ม)



Illuminations Editions
257 subscribers

การทำ Live งานเสวนาวิชาการ 'ไตรปิฎก-ไทยปิฎก: พุทธศาสนาไทยบนทางแพร่ง' ที่ห้อง ศศ 206 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 

ผู้ร่วมเสวนา 

1. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้แต่งหนังสือ 'ไทยปิฎก' 

2. พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ แห่งวัดสร้อยทอง 

3. ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ สาขาวิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

4. วิศรุต บวงสรวง นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ดำเนินรายการโดย ชุติเดช เมธีชุติกุล นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ขอขอบคุณหลักสูตรปริญญาโท พุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอย่างสูง ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ครับ