สถาบันพระมหากษัตริย์จะมั่นคงยั่งยืนได้ ต้องอยู่เหนือการเมือง
Nov 19, 2019
เวป 1O1
สมชัย สุวรรณบรรณ เรื่อง
กฤตพร โทจันทร์ ภาพประกอบ
สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเป็นของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่บัดนี้น่าเป็นห่วงว่าสถาบันหลักของชาติกำลังถูกบ่อนทำลาย ด้วยฝีมือของผู้อวดอ้างความจงรักภักดี พยายามดึงสถาบันลงมาเป็นคู่ขัดแย้งในสนามการเมือง แล้วสร้างความแปลกแยกในสังคมไทย โดยใช้ hate speech เป็นอาวุธ
สถาบันพระมหากษัตริย์ควรเป็นตัวแทนของความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุนิยม ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความท้าทายจากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยที่ข้อมูลข่าวสารติดต่อเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและทางสากล อีกทั้งเป็นยุคสมัยที่คนรุ่นใหม่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงรอบตัว และตื่นรู้ (woke) ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม
แต่ทว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะก่อนและหลังเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนมีนาคม 2562 มีการสร้างกระแสพารานอยด์จากกลุ่มอำนาจนิยมที่แอบอิงกับขุมผลประโยชน์ใน deep state โดยไฮแจ็กสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสร้างค่านิยมย้อนยุคแบบยุคกลาง (medieval) แล้วผูกขาดความถูกต้องของตนฝ่ายเดียว และพยายามดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งในทางหลักการนั้นต้องอยู่เหนือการเมืองแบบ party politics ให้โน้มลงมาจนเป็นกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดแตกต่างไปจากอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง
อย่างที่อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้เคยเตือนสังคมไทยไว้ว่า “การเมืองเป็นเรื่องที่ทำให้มีคนรักคนชัง–สถาบันฯ จะต้องอยู่เหนือการเมือง” ดังนั้นการดึงเอาสถาบันฯ ลงมาในสนามการเมืองก็ย่อมทำให้มีคนรักและคนชัง มิพักต้องพูดถึงว่าข่าวสารจากเมืองไทยที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ย่อมก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สื่อสารมวลชนและนักวิชาการในแวดวงไทยคดีศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก รวมไปถึงในวงสนทนาของสมาชิกราชวงศ์ นักการทูตระดับสูง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายต่างประเทศต่อประเทศไทย
อาการหมกมุ่นเหมือนผงเข้าตาในกลุ่มการเมืองที่ต้องการทำลายล้างพรรคอนาคตใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่ทั่วโลกสนใจ ทั้งในเรื่องการนำเอาสถาบันฯ มาใช้เป็นเครื่องมือทุบทำลายทางการเมือง หรือความพยายามที่สื่อมวลชนบางสำนักส่งเสียงกดดันสถาบันตุลาการให้โน้มเอียงไปตามอารมณ์ความรู้สึกของตน ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ และเท่ากับเป็นการบั่นทอนพระเกียรติยศ (prestige) ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในต่างประเทศ
ผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯ อย่างแท้จริง ย่อมไม่อยากให้สมาชิกราชวงศ์ระดับสูงต้องรู้สึกอึดอัดพระทัยต่อกระแสข่าวในสื่อกระแสหลักของต่างประเทศ โดยเฉพาะเวลาที่เสด็จประพาสต่างประเทศอย่างเป็นทางการ หรือโดยส่วนพระองค์
พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาตามกลไกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งอาจมีข้อดีข้อเสีย มีจุดอ่อนของตัวเองในด้านต่างๆ การล้มหายพังทลายของพรรคการเมืองควรเป็นไปด้วยผลงานทางการเมือง เช่น การไม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ หรือพฤติกรรมมิชอบเรื่องเงินทองของผู้บริหารหรือ ส.ส. ของพรรค การอยู่รอดหรือไม่รอดของพรรคการเมืองหน้าใหม่นี้ จึงควรจะตัดสินกันด้วยผลงานในสภาของพวกเขา มากกว่าการใช้ศาสตร์มืด อันอาจจะทำให้พระเกียรติยศของสถาบันฯ กลายเป็นประเด็นซุบซิบในวงการทูตต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่ถูกกล่าวหาในคดียุยงปลุกปั่นหรือถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังที่มีนักวิชาการท่านหนึ่งตั้งประเด็นว่า “following constitutional procedure is by definition constitutional; the opposite of a coup or sedition.”
ประเด็นที่ผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่ถูกกล่าวหาจนกลายเป็นคดีความนั้น หากตรวจสอบค้นหาต้นตอของข้อมูลทั้งหมด ก็จะพบว่าส่วนหนึ่งมาจากการหยิบจับคำพูดมาใส่ปากบ้าง หรือการตัดตอนคำพูดออกจากบริบทเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจผิดบ้าง โดยมีความตั้งใจที่จะบิดประเด็นให้เกิดความเกลียดชัง ซึ่งต้นตอบางส่วนมาจากปฏิบัติการที่เรียกกันว่าไอโอ แบบที่เคยทำกันมาหลายยุค เช่น เรื่องอุโมงค์ลับในธรรมศาสตร์ยุคหกตุลาฯ หรือเรื่องผังล้มเจ้าของฝ่ายกองทัพในยุคที่มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มเสื้อแดง ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้จนกระทั่งบัดนี้
ถ้าหากติดตามผลงานการอภิปรายของ ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ในรัฐสภา ก็จะเห็นว่าเป็นพรรคที่ประชาชนเลือกเข้าไปด้วยวาระแห่งการปฏิรูป อาจมีร่องรอยทางความคิดในหลายเรื่องใกล้เคียงกับกลุ่มที่เคยเรียกร้องให้ ‘ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ ด้วยซ้ำไป พวกเขาเป็นพรรคที่มีนโยบายปฏิรูปสถาบันการเมืองต่างๆ ของไทยให้ทันสมัยเป็นสากล เที่ยงธรรมและยั่งยืน ดังเช่นนโยบายการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดกล้าแตะต้อง กลายเป็นปมให้ deep state ลุกขึ้นมาปฏิบัติการไอโอ หาวิธีล้มคว่ำพรรคอนาคตใหม่ เพราะอาจหาญเกินไปที่ลงมือทุบหม้อข้าวของพวกเขา
หากเปรียบเทียบกับพรรคการเมืองในต่างประเทศแล้ว นักการเมืองในพรรคอนาคตใหม่ก็มีพื้นฐานไม่ต่างจากบรรดานักการเมืองในหลายประเทศที่มาจากพวกชนชั้นกลางในเมือง ถ้าเทียบกับอังกฤษที่บริหารประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคอนาคตใหม่ก็น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มสายกลางอย่าง Liberal Democrats มากกว่าพรรคเอียงซ้ายแบบ Labour Party ซึ่งมีหัวหน้าพรรคอย่าง Jeremy Corbyn ผู้ที่น่าจะเข้าข่าย ‘ซ้ายดัดจริต’ ในความหมายของผู้นำกองทัพไทยเสียด้วยซ้ำ
แต่ทว่าที่อังกฤษ คงไม่มีใครกล่าวหานาย Corbyn ที่มีตำแหน่งทางการว่า Leader of Her Majesty’s Most Loyal Opposition หรือ “ผู้นำฝ่ายค้าน” ว่าหนักแผ่นดิน หรือคงไม่มีมีสื่อเลือกข้างยุยงให้เอาไปตัดหัวเพราะล้มเจ้า
อาการ ‘คลั่งขนบ’ ของผู้คนบางกลุ่มในสังคมไทยขณะนี้ ดูเหมือนจะเป็นการสร้างปมเขื่องให้กับตัวเองและพรรคพวกเพื่อเอาไว้อวดอ้างความจงรักภักดี และเพื่อจะปกป้องหม้อข้าวตัวเอง ถ้าใครทำตัวผิดไปจาก ‘ขนบ’ นี้ ก็จะถูกตัดสินว่าไม่มีความเป็นไทย ไม่รักชาติ ไม่รักสถาบันฯ แต่ความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นก็คือพฤติกรรมของพวกเขาอาจกลายเป็นการบ่อนทำลายสิ่งที่พวกเขาอ้างว่าเทิดทูนเสียเอง
.
สมชัย สุวรรณบรรณ - Senior Teaching Fellow, SOAS, University of London อดีตผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)
Nov 19, 2019
เวป 1O1
สมชัย สุวรรณบรรณ เรื่อง
กฤตพร โทจันทร์ ภาพประกอบ
สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเป็นของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่บัดนี้น่าเป็นห่วงว่าสถาบันหลักของชาติกำลังถูกบ่อนทำลาย ด้วยฝีมือของผู้อวดอ้างความจงรักภักดี พยายามดึงสถาบันลงมาเป็นคู่ขัดแย้งในสนามการเมือง แล้วสร้างความแปลกแยกในสังคมไทย โดยใช้ hate speech เป็นอาวุธ
สถาบันพระมหากษัตริย์ควรเป็นตัวแทนของความแตกต่างหลากหลายในสังคมพหุนิยม ในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความท้าทายจากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยที่ข้อมูลข่าวสารติดต่อเชื่อมโยงกันอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและทางสากล อีกทั้งเป็นยุคสมัยที่คนรุ่นใหม่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับสภาพการเปลี่ยนแปลงรอบตัว และตื่นรู้ (woke) ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม
แต่ทว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะก่อนและหลังเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนมีนาคม 2562 มีการสร้างกระแสพารานอยด์จากกลุ่มอำนาจนิยมที่แอบอิงกับขุมผลประโยชน์ใน deep state โดยไฮแจ็กสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสร้างค่านิยมย้อนยุคแบบยุคกลาง (medieval) แล้วผูกขาดความถูกต้องของตนฝ่ายเดียว และพยายามดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งในทางหลักการนั้นต้องอยู่เหนือการเมืองแบบ party politics ให้โน้มลงมาจนเป็นกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับกลุ่มการเมืองที่มีแนวคิดแตกต่างไปจากอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง
อย่างที่อาจารย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้เคยเตือนสังคมไทยไว้ว่า “การเมืองเป็นเรื่องที่ทำให้มีคนรักคนชัง–สถาบันฯ จะต้องอยู่เหนือการเมือง” ดังนั้นการดึงเอาสถาบันฯ ลงมาในสนามการเมืองก็ย่อมทำให้มีคนรักและคนชัง มิพักต้องพูดถึงว่าข่าวสารจากเมืองไทยที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ย่อมก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สื่อสารมวลชนและนักวิชาการในแวดวงไทยคดีศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก รวมไปถึงในวงสนทนาของสมาชิกราชวงศ์ นักการทูตระดับสูง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายต่างประเทศต่อประเทศไทย
อาการหมกมุ่นเหมือนผงเข้าตาในกลุ่มการเมืองที่ต้องการทำลายล้างพรรคอนาคตใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่ทั่วโลกสนใจ ทั้งในเรื่องการนำเอาสถาบันฯ มาใช้เป็นเครื่องมือทุบทำลายทางการเมือง หรือความพยายามที่สื่อมวลชนบางสำนักส่งเสียงกดดันสถาบันตุลาการให้โน้มเอียงไปตามอารมณ์ความรู้สึกของตน ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ และเท่ากับเป็นการบั่นทอนพระเกียรติยศ (prestige) ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในต่างประเทศ
ผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันฯ อย่างแท้จริง ย่อมไม่อยากให้สมาชิกราชวงศ์ระดับสูงต้องรู้สึกอึดอัดพระทัยต่อกระแสข่าวในสื่อกระแสหลักของต่างประเทศ โดยเฉพาะเวลาที่เสด็จประพาสต่างประเทศอย่างเป็นทางการ หรือโดยส่วนพระองค์
พรรคอนาคตใหม่เป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาตามกลไกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งอาจมีข้อดีข้อเสีย มีจุดอ่อนของตัวเองในด้านต่างๆ การล้มหายพังทลายของพรรคการเมืองควรเป็นไปด้วยผลงานทางการเมือง เช่น การไม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ หรือพฤติกรรมมิชอบเรื่องเงินทองของผู้บริหารหรือ ส.ส. ของพรรค การอยู่รอดหรือไม่รอดของพรรคการเมืองหน้าใหม่นี้ จึงควรจะตัดสินกันด้วยผลงานในสภาของพวกเขา มากกว่าการใช้ศาสตร์มืด อันอาจจะทำให้พระเกียรติยศของสถาบันฯ กลายเป็นประเด็นซุบซิบในวงการทูตต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่ถูกกล่าวหาในคดียุยงปลุกปั่นหรือถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังที่มีนักวิชาการท่านหนึ่งตั้งประเด็นว่า “following constitutional procedure is by definition constitutional; the opposite of a coup or sedition.”
ประเด็นที่ผู้บริหารพรรคอนาคตใหม่ถูกกล่าวหาจนกลายเป็นคดีความนั้น หากตรวจสอบค้นหาต้นตอของข้อมูลทั้งหมด ก็จะพบว่าส่วนหนึ่งมาจากการหยิบจับคำพูดมาใส่ปากบ้าง หรือการตัดตอนคำพูดออกจากบริบทเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจผิดบ้าง โดยมีความตั้งใจที่จะบิดประเด็นให้เกิดความเกลียดชัง ซึ่งต้นตอบางส่วนมาจากปฏิบัติการที่เรียกกันว่าไอโอ แบบที่เคยทำกันมาหลายยุค เช่น เรื่องอุโมงค์ลับในธรรมศาสตร์ยุคหกตุลาฯ หรือเรื่องผังล้มเจ้าของฝ่ายกองทัพในยุคที่มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มเสื้อแดง ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้จนกระทั่งบัดนี้
ถ้าหากติดตามผลงานการอภิปรายของ ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ในรัฐสภา ก็จะเห็นว่าเป็นพรรคที่ประชาชนเลือกเข้าไปด้วยวาระแห่งการปฏิรูป อาจมีร่องรอยทางความคิดในหลายเรื่องใกล้เคียงกับกลุ่มที่เคยเรียกร้องให้ ‘ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง’ ด้วยซ้ำไป พวกเขาเป็นพรรคที่มีนโยบายปฏิรูปสถาบันการเมืองต่างๆ ของไทยให้ทันสมัยเป็นสากล เที่ยงธรรมและยั่งยืน ดังเช่นนโยบายการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองใดกล้าแตะต้อง กลายเป็นปมให้ deep state ลุกขึ้นมาปฏิบัติการไอโอ หาวิธีล้มคว่ำพรรคอนาคตใหม่ เพราะอาจหาญเกินไปที่ลงมือทุบหม้อข้าวของพวกเขา
หากเปรียบเทียบกับพรรคการเมืองในต่างประเทศแล้ว นักการเมืองในพรรคอนาคตใหม่ก็มีพื้นฐานไม่ต่างจากบรรดานักการเมืองในหลายประเทศที่มาจากพวกชนชั้นกลางในเมือง ถ้าเทียบกับอังกฤษที่บริหารประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคอนาคตใหม่ก็น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มสายกลางอย่าง Liberal Democrats มากกว่าพรรคเอียงซ้ายแบบ Labour Party ซึ่งมีหัวหน้าพรรคอย่าง Jeremy Corbyn ผู้ที่น่าจะเข้าข่าย ‘ซ้ายดัดจริต’ ในความหมายของผู้นำกองทัพไทยเสียด้วยซ้ำ
แต่ทว่าที่อังกฤษ คงไม่มีใครกล่าวหานาย Corbyn ที่มีตำแหน่งทางการว่า Leader of Her Majesty’s Most Loyal Opposition หรือ “ผู้นำฝ่ายค้าน” ว่าหนักแผ่นดิน หรือคงไม่มีมีสื่อเลือกข้างยุยงให้เอาไปตัดหัวเพราะล้มเจ้า
อาการ ‘คลั่งขนบ’ ของผู้คนบางกลุ่มในสังคมไทยขณะนี้ ดูเหมือนจะเป็นการสร้างปมเขื่องให้กับตัวเองและพรรคพวกเพื่อเอาไว้อวดอ้างความจงรักภักดี และเพื่อจะปกป้องหม้อข้าวตัวเอง ถ้าใครทำตัวผิดไปจาก ‘ขนบ’ นี้ ก็จะถูกตัดสินว่าไม่มีความเป็นไทย ไม่รักชาติ ไม่รักสถาบันฯ แต่ความย้อนแย้งที่เกิดขึ้นก็คือพฤติกรรมของพวกเขาอาจกลายเป็นการบ่อนทำลายสิ่งที่พวกเขาอ้างว่าเทิดทูนเสียเอง
.
สมชัย สุวรรณบรรณ - Senior Teaching Fellow, SOAS, University of London อดีตผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส)