วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2562

"หวยล็อก" วันนี้ ก็ไม่ต่างจาก วันนั้น




"ทำกับข้าวถูกปลด"

หากวิพากษ์กันว่า "คดีธนาธร" ว่าพบความผิดปกติ และมีข้อกังขาอยู่มาก ในแง่คำตัดสิน

อยากชวนให้ลองไปดู "มูลเหตุ" ที่ทำให้ "สมัคร สุนทรเวช" อดีตนายกรัฐมตรี ที่ต้องถูกปลด และพ้นจากตำแหน่ง เพราะ "ทำกับข้าวออกโทรทัศน์"

ผมคงอธิบายสั้นๆ ตามความเข้าใจของคนโง่ๆอย่างผม
.
"สมัคร" เป็นนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ชนะการเลือกตั้ง ค่อนข้างถล่มทลาย มี ส.ส.ในสภา 233 คน จาก สัดส่วนในสภา 480 คน เมื่อวันที่ 23 ธันวา 50 จากนั้น เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 กุมภา เป็นนายกฯไม่นานนัก เริ่มมีการขับไล่ โดยม็อบพันธมิตร เพราะมีการกล่าวหาว่า "เป็นนอมินีทักษิณ"

จากนั้น มีคนยื่นเรื่องร้องศาลรัฐธรรมนูญ โดยหยิบยกเรื่อง "สมัคร" ทำกับข้าวออกทีวี โดยอ้างว่ารับค่าจ้างออกทีวี ขัดคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และคนที่ยื่นคือเรื่องนี้คือ ส.ว.เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (ปัจจุบัน เปลี่ยนขั้วทางการเมืองแล้ว กลับตาลปัตรอย่างยิ่ง อยู่พรรคเพื่อไทย)

ต่อมา 9 กันยา 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยในกรณีนี้ อ้างรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182 (7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า”

โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่า สมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของสมัครสิ้นสุดลง

โดยตอนหนึ่งของคำวินิจฉัยนั้น ได้มีการยกอ้างความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง" จาก "พจนานุกรม" ประกอบการตัดสินครั้งนี้ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนถึงปัจจุบัน เมื่อผู้คนพูดถึง
.
ต่อมา ปี 56 วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ หนึ่งในตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ว่า ตัดสินคดีของสมัครนั้นมีความผิดพลาด เพราะองค์คณะฯต้องรีบทำคำวินิจฉัยให้เสร็จทันในวันตัดสินคดี คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัครถือเป็นคำวินิจฉัยที่ผิดหลักการ

แต่ถึงแม้ว่าหนึ่งในองค์คณะฯ จะออกมายอมรับว่าเรื่องนี้มีความผิดพลาด แต่มันก็สายเกินไป
.
.
เรื่องนี้คืออีกหนึ่ง "แผลใจอันเจ็บปวดอย่างที่สุด" ของคนชื่อ "สมัคร สุนทรเวช" จนกระทั่งล้มป่วยอย่างกระทันหัน รักษาตัวมาปีกว่าๆ และเสียชีวิตในที่สุด ในช่วงปลายปี 2552

และนี่คืออีก "ความผิดปกติ" หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ เมื่อ 11 ปีที่แล้ว

วันนี้ อาจจะเป็นเรื่องใหม่ สำหรับคนที่เพิ่งตามการเมือง หลังรัฐประหาร ปี 2557 หลังการมีขึ้นของอนาคตใหม่

แต่ทว่า วันนี้ ก็ไม่ต่างจาก วันนั้น

และก็ไม่รู้ว่า "เมื่อไหร่" ประเทศเรา จะหลุดพ้นจาก "ความผิกปกติซ้ำซาก" นี้ เสียที....


Noppakow Kongsuwan
...



เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ปี 62 ส่วนใหญ่เป็นคุณกับคสช.
.
ศาลรัฐธรรมนูญถูกตั้งขึ้นท่ามกลางความคาดหวังว่าจะเป็นเสาค้ำยันระบอบประชาธิปไตยไม่ให้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนดำเนินการใดๆ เกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญ รวมถึงมีหน้าที่ตรวจสอบและชี้ขาดข้อพิพาททางการเมือง แต่ทว่า จากผลงานของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญถูกมองว่าเป็นกลไกทางการเมืองหนึ่งของฝ่ายที่ไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตย และกลายเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
.
หลังการรัฐประหาร สถานะของศาลรัฐธรรมนูญยิ่งเผชิญหน้ากับความท้าทาย เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญผ่านการ 'ต่ออายุ' และ 'แต่งตั้ง' ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญยังมีบทบาทสำคัญในสนามการเลือกตั้งในฐานะผู้ชี้ขาดในคดีทางการเมือง
.
อย่างไรก็ดี จากการตรวจคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมาในปี 2562 จำนวน 11 คดี พบว่า คำวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นคุณหรือเป็นผลบวกกับฝ่ายคสช. มากกว่าฝ่ายที่ต่อต้านคสช. โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีทางการเมืองมีรายละเอียดดังนี้
.
ดูรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ที่ https://ilaw.or.th/node/5476