รอจังหวะเป็นข่าวสร้างราคามานาน สว.
(สัมภเวสี =สัตว์ผู้ยังแสวงหาที่เกิด :วิกิพีเดีย) ‘ตู่ตั้ง’ วันชัย สอนศิริ เลือกใช้คำที่ทำให้คนเหลียวมอง
วิจารณ์เรื่องฮิตที่ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลบางส่วนพยายามผลักดันกันคึกคักขณะนี้
“คนที่อยากแก้รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่เป็นพวกดัดจริตทางการเมือง”
ว่ามีสองจำพวก “คือ ๑.พวกแพ้การเลือกตั้งอยากแก้มือ
และ ๒.พวกกระสันอำนาจ” ที่พยายามสั่นคลอนสถานการณ์บ้านเมือง
อ้างด้วยว่า วุฒิสภากำลังทำเรื่องนี้อยู่
“ศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญมาตลอดแบบไม่มีอคติ
ซุ่มทำแบบเงียบ ๆ มานาน มีความรุดหน้าไปมากแล้ว” ซ้ำเห็นว่า “ไม่มีประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ”
และ “ไม่มีประเด็นใดเป็นอุปสรรคประเทศ”
ข้อใหญ่ใจความ สำคัญตนเองผิดอย่างหนัก
ว่าการแก้รัฐธรรมนูญ “ควรหารือกันในที่ประชุมร่วมรัฐสภา
ไม่ใช่เกิดจากสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายเดียวแล้วดึงส.ว.ไปเป็นกรรมาธิการ”
แน่ละรัฐธรรมนูญฉบับ คสช.กำหนดให้วุฒิสภาร่วมพิจารณาในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่พันธะหน้าที่หลักในการนำเสนออยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร เพราะการใช้รัฐธรรมนูญกระทบต่อประชาชนทั้งนั้น
และสภาผู้แทนฯ ก็มาจากประชาชนโดยตรง
ต่างกันอย่างพลิกหน้าเป็นหลังกับสภาที่
คสช.ตั้ง จำนวน ‘ครึ่งหนึ่ง’ ของห้าร้อย ขณะที่ในสภาเลือกตั้งนั้นล้วนแต่เป็นผู้ชนะในกระบวนการเมืองระบบรัฐสภา
ทั้งยังเป็นพวกที่อยู่ในอำนาจอันประชาชนมอบให้ ไม่ได้เป็นเศษ ‘สวะ’ รัฐประหารแบบ สว.วันชัย
ดูจากผู้ที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายหนึ่ง
ใช้นามทางทวิตเตอร์ว่า “น้องหญิง ภาชนะปรีดา’
ให้เหตุผล #ทำไม ว่าตอนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
คสช.ให้แนวแก่นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ไว้ ๕ ข้อ
@wNh1qrimDiSkTFW แจ้งให้ดูข้อ ๓ “ปัจจุบันมันแก้
ปัญหาได้จริงหรือไม่” เมื่อระบุว่าต้อง “ป้องกันไม่ให้การเมืองใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง
โดยใช้เงินแผ่นดินไปอ่อยเหยื่อกับประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรม”
ซึ่งแง่นี้ ‘failed’ ถนัด โดยที่วันชัยในฐานะบุคคล ‘การเมือง’ รายหนึ่งกำลังใช้งบประมาณแผ่นดิน ทั้งเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงต่างๆ
เกือบสองแสน ทำตัวเป็นจรเข้ขวางคลอง กีดกันการทำงานของตัวแทนประชาชน ‘ตัวจริง’
ยังดีที่ยังมี สว.บางคนไม่ยอมเป็น ‘สวะสัมภเวสี’ พูดจาอยู่กับร่องรอยบ้าง
พยายามที่จะผ่อนหนักเป็นเบา ไม่ให้ชาวบ้านตราหน้า บอก “ไม่อยากให้สังคมมองว่า
ส.ว.จะตั้งธงค้านทุกเรื่อง จะแตะอะไรไม่ได้เลย หรือมองว่า ส.ว.นั้นสั่งได้ไปเสียทั้งหมด”
แม้นว่าในกระบวนการหนีไม่พ้นมีปัญหาติดขัดยืดเยื้อ
“จนทำให้การพิจารณาตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องล่าช้าออกไป” นายอัครเดช
วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี
พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกวิปรัฐบาลเผย
“ยอมรับว่า สภาปิดสมัยประชุมไป ๒ เดือน
ทำให้มีเรื่องรับทราบขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ เข้ามาจำนวนมาก” ตอนนี้ ๗
เรื่องสำคัญทั้งนั้น ไม่ว่า “ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ” ในกำกับของกรรมาฯ
ชุด วีระกร คำประกอบ
หรือ “ร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมสภาผู้แทนราษฎร
ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติเป็นประธาน”
อันเป็นเหตุให้ ญัตติด่วนตั้งกรรมการสืบสอบผลกระทบของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ม.๔๔ ยังค้างเติ่งบนหิ้ง
(https://www.matichon.co.th/politics/news_1747116 และ https://www.matichon.co.th/politics/news_1747131)
เหล่านั้นเป็นที่ประจักษ์ว่าปฏิบัติการยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ
ทั้ง ‘ลูกล่อ’ โดยโฆษกวิปรัฐบาล
ยืดเยื้อญัตติล่อแหลมที่ขอตรวจสอบอำนาจวิเศษของ คสช. ยังมี ‘ลูกชน’
ด้วยการบริภาษณ์สาดเสียจาก สว.ตู่ตั้ง อ้างอำนาจที่ คสช.สวมให้
ล้วนเป็นชั้นเชิงสกัดกั้นไม่ให้ประชาชนดิ้นหลุดจากบ่วงคล้องคอ
ที่ คสช.จัดไว้ใช้กำกับประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐