วันเสาร์, มีนาคม 18, 2560
“สู้ติดแน่ แพ้ติดนาน” ตอกย้ำความอำมหิตของระบบตัดสินคดีในศาลไทย
คำว่า “สู้ติดแน่ แพ้ติดนาน” ตอกย้ำความอำมหิตของระบบตัดสินคดีในศาลไทย ทำให้สถาบันตุลาการออกห่างจาก ‘ความยุติธรรม’ มากยิ่งกว่าสมัยไหน และ/หรือประเทศใด
อันเนื่องมาแต่คอลัมน์เฟชบุ๊ค ‘ชูวิทย์ I'm Back’ เขียนถึงภาษาคุก สะท้อนการตัดสินคดี ‘ยู่ยี่’ หรือนางชัชชญา เกสต้า รามอส อดีตนางแบบและดารานามเดิม อลิสา อินทุสมิต ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก ๑๕ ปี ปรับล้านห้าแสน คดีมียาเสพติดโคเคนไว้ในครอบครอง
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ อดีตนักโทษ ‘ชั้นเยี่ยม’ ติดคุกคดี ‘รื้อบาร์เบียร์’ อยู่ได้ไม่นานก็ออกมาเป็นดาราไทยรัฐทีวี เอ่ยถึง “เทคนิคในการต่อสู้และการยอมรับ ที่ทำให้ออกจากคุกได้เร็วกว่า” ก็คือ รีบรับสารภาพเสียแต่เนิ่นๆ
“นี่ถ้าหากยู่ยี่รับสารภาพเสียตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ ที่ศาลชั้นต้น โทษ ๒๐ ปี ก็จะเหลือเพียง ๑๐ ปี...” ครั้นเมื่อติดไป “เพียง ๑ ปีครึ่ง ยู่ยี่จะได้รับการปรับชั้นไปถึง ‘ชั้นเยี่ยม’...”
จากนั้นถึงนี้จะมีการอภัยโทษสามครั้ง แต่ละครั้งเธอจะได้ลดหย่อนโทษ ๑ ใน ๕ ถึงปี ๖๐ โทษของยู่ยี่จะเหลือเพียง ๕ ปี ซึ่งเธอได้ติดคุกมาแล้วสามปี
“เท่ากับอยู่เกิน ๒ ใน ๓ ของโทษที่ได้รับแล้ว จึงเข้าเงื่อนไขของการ ‘พักโทษ’ วันนี้ยู่ยี่จะต้องเดินออกมาจากคุกพบกับอิสรภาพแล้ว”
(https://www.facebook.com/ChuvitIamBack/posts/1372143632832362:0)
สำหรับเบื้องลึกของคดียู่ยี่ถูกจับกุมที่ดอนเมืองข้อหามียาเสพติดในครอบครอง ยาเสพติดนั้นคือโคเคนจำนวนแค่สองร้อยกว่ามิลลิกรัม ตำรวจบอกให้เธอเซ็นรับสารภาพแล้วจะปล่อยตัว
เมื่อยู่ยี่ติดคุกไปได้ปีกว่า สามีของเธอทำการรณรงค์ทาง Change.org ขอให้ปล่อยตัวเธอ อ้างว่าลูกเล็กๆ สองคนต้องการแม่ และคดีของยู่ยี่เป้นการกลั่นแกล้งจากตำรวจที่ต้องการเงินจากเขาสี่แสน
เรื่องราวเหม็นคาวของคดียู่ยี่ได้รับการเปิดเผยจากบทความในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ส่วนสเป็คตรัม ซึ่งเขียนโดยนันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ที่ปัจจุบันย้ายไปเป็นทีมงานของบีบีซีไทย และไทยอีนิวส์ถอดความเป็นไทย ตีพิมพ์เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘
(http://thaienews.blogspot.com/2015/06/freeyuyee.html)
ลักษณะชอบให้บนบานของศาลไทย ถ้าใครหัวหมอเป็นโดนหนัก นี่มิใช่เกิดเฉพาะกับผู้ต้องหาที่ต่อสู้คดีด้วยมาตรฐานระเบียบกฎหมายนานาชาติ อย่างยู่ยี่ อานดี้ ฮอล โจนาธาน เฮด ภูเก็ตหวาน และไผ่ ดาวดิน เท่านั้น
ล่าสุดเมื่อวานนี้ (๑๗ มีนา) ศาลจังหวัดขอนแก่นออกหมายเรียกในข้อหา ‘ละเมิดอำนาจศาล’ “กลุ่มนักศึกษาจากเครือข่ายนักศึกษา ๔ ภาค ที่เดินทางไปให้กำลังใจและเรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา”
นายบดินทร์ สมบัติดี ทนายความจากศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม ซึ่งรับผิดชอบคดีให้กับนักศึกษากลุ่มดังกล่าว กล่าวกับบีบีซีไทยว่า
“ผมยังไม่เห็นคลิปวีดิโอที่อ้างถึงในหมายเรียก แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นการยืนร้องเพลงกันหน้าศาล ซึ่งส่วนตัวมองว่าหากเป็นการกระทำแค่นั้น ก็ไม่ถึงขนาดเป็นการละเมิดอำนาจศาล”
“น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้ความเห็นว่า มาตรา ๓๐ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล ครอบคลุมเฉพาะ ‘บริเวณศาล’ เท่านั้นW
(http://www.bbc.com/thai/thailand-39300552)
อีกราย หลานสาวของพลทหารวิเชียร เผือกสม ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกนายทหารซ้อมทรมานในปี ๒๕๕๔ น.ส.นริสราวัลย์ แก้วนพรัตน์ เป็นผู้รณรงค์ร้องเรียนให้มีการสอบสวนการตายของอา จนเป็นข่าวอื้อฉาวเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในค่ายทหาร
เธอกลับถูกทหารคนหนึ่งที่มีส่วนในการซ้อมทรมานพลทหารถึงตาย ฟ้องคดีหมิ่นประมาทและความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ แม้ว่าสำนักงานอัยการภาค ๙ และอัยการจังหวัดนราธิวาส มีวินิจฉัยไม่ฟ้อง น.ส.นริสราวัลย์ไปแล้ว กองบัญชาการตำรวจชายแดนภาคใต้ กลับรื้อคดีขึ้นมาฟ้องเธอใหม่
(http://prachatai.org/english/node/7011)
เช่นเดียวกับคดีที่ศาลจังหวัดราชบุรีเริ่มนัดสืบพยาน ผู้ต้องหาติดสติ๊กเกอร์โหวตโนในการรณรงค์ ‘ปราบโกงประชามติ’ ในวันที่ ๒๑-๒๔ มีนาคมนี้
คดีนี้ศาลราชบุรีเคยนัดผู้ต้องหาและทนายเจรจายอมความ “โดยศาลบอกจำเลยว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีโทษไม่สูงหากจำเลยรับสารภาพก็อาจจะพิจารณาโทษที่เหมาะสมกับจำเลยได้”
“โดยศาลบอกจำเลยว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีโทษไม่สูง หากจำเลยรับสารภาพก็อาจจะพิจารณาโทษที่เหมาะสมกับจำเลยได้”
(https://freedom.ilaw.or.th/th/case/730)
คดีดังกล่าว ไม่ว่าจะได้ สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการเลือกตั้งเป็นพยานจำเลย พร้อมกับ อังคณา นีละไพจิตร และกรรมการสิทธิมนุษยชนอีกสองคน ขึ้นให้การฝ่ายผู้เสียหายก็ตาม
การกดดันจำเลยให้รับสารภาพเพื่อจะได้รับโทษสถานเบา ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมในหลักการ ‘Fair and Free for All’ และทำให้ระบบศาลไทยมัวหมอง
นั่นเท่ากับระบบศาลไทยละเลยหลักการ “ทุกคนบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้แจ้งชัดแล้วว่า เขาเป็นผู้กระทำความผิดจริงๆ