https://www.youtube.com/watch?v=KEP95j4NIzM
"สมคิด" ติงสื่อเสนอข่าวฉุดเชื่อมั่น ยัน "อาลีบาบา" ยังไม่ทิ้งไทย
MGR Online VDO
Published on Mar 29, 2017
29/03/2017 "สมคิด" ติงสื่อเสนอข่าวฉุดเชื่อมั่น ยัน "อาลีบาบา" ยังไม่ทิ้งไทย
ooo
เกิดมาไม่เคยเห็นใครหลงตัวเองขนาดนี้ หลังจากพลาดดีลสองพันล้านเหรียญ โดยแจ็ค หม่าจับมือกับนายกฯ มาเลย์ พัฒนา “regional logistic hub” ที่เคแอล ทั้ง ๆ ที่ Alibaba ไม่เคยลงทุนในมาเลย์มาก่อนสักแดงเดียว “สมคิด” ออกมาโทษว่าสื่อสร้างความสับสน และยังเกทับอีกว่า “ที่มาเลเซียจะเป็นอีคอมเมิร์ซทรานส์ฟอร์ม แต่ที่ของเราจะเป็นอีคอมเมิร์ซฮับ ซึ่งสเกลใหญ่กว่าด้วยซ้ำไป”
“สมคิด” เสียทีที่เกิดแถวเยาวราช เสียทีที่เป็น “กุมารจีน” แต่กลับเพ้อฝัน ต้องเอาตัวเลขมายันกันสิ ไม่ใช่คุยอย่างเดียว นี่เป็นหัวหน้าทีมศก.มากี่ปีแล้ว มีอะไรดีขึ้นบ้าง (เอาตัวเลขมาพูดนะ ไม่ใช่ชายแต่ฝัน ดีแต่พูด แต่ลงมือทำจริง ๆ กลับบ้อท่า) ต้องอ่านบทความนี้สิครับ (http://www.thairath.co.th/content/897717) ชัดเจนเลยว่าที่แจ็คหม่าเซย์โนกับไทย เนื่องจากสาเหตุสองสามอย่าง
อย่างแรก เมื่อปีกลายมีคนเตือนเยอะแยะไปหมดว่า อย่าดันพรบ.คอมพ์แบบนี้ออกมา มันรวบอำนาจและสกัดการเติบโตของ startups (เช่น https://bloom.bg/2nL7lHf) ก็ไม่เชื่อ ดันทุรังผ่านกฎหมายเผด็จการออกมา แม้จะมีคนค้านตั้งสามแสนกว่าชื่อ โดยไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย แต่กลับทำให้เกิดภาระกับผู้ประกอบการในยุคดิจิตัลเสียอีก “ทีมงานของนายหม่าคงจะเอาพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ของไทยไปศึกษาแล้วศึกษาอีก โดยใช้นักวิเคราะห์เจาะลึกทุกประเด็น ผมเชื่อว่าคณะสุดยอดสมองของโลกคงอ่านกฎหมาย แล้วก็จึงลงความเห็นเหมือนกันว่า อ้า “เซย์โน” ดีกว่า” ผู้เขียนบทความในไทยรัฐบอก ผู้ประกอบการที่ไหนจะชอบแบกภาระเพิ่มเติม? กฎหมายมันเอื้อกับนักลงทุนมั้ย คิดสิคิด
“อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งคือ ไทยปฏิเสธนวัตกรรมการบริการยุคใหม่อย่างการห้าม Uber” (ทั้ง ๆ ที่เมืองจีนมี Uber นะ) “เมื่อไทยปฏิเสธความเป็นสากล ทีมงานของนายหม่าก็แขยงแขงขนว่า ในอนาคต อาจจะมีการปฏิเสธธุรกิจของอาลีบาบา ก็อาจจะเป็นไปได้” ผู้เขียนบทความในไทยรัฐบอกอีก ที่สำคัญคือ ผู้นำมาเลย์ให้ความสำคัญกับดีลนี้มาก ถึงกับพัฒนา Digital Free Trade Zone (DFTZ) มารองรับนวัตกรรมทางธุรกิจครั้งนี้เลย เอาแค่สามอย่างนี่ มาเลย์ก็ล้ำกว่าไทยเยอะแล้วล่ะ
ข่าว Bloomberg อีกชิ้น (https://bloom.bg/2ng3LRw) ก็ระบุเช่นกันว่า “companies are increasingly looking elsewhere in the region.” “นักลงทุนพากันหาลู่ทางทำธุรกิจในประเทศอื่นในภูมิภาค นอกจากไทย” ทำไม? เพราะสิบปีมานี้ ศก.ไทยเติบโตแค่ 3% ต่ำสุดในภูมิภาค ทั้ง ๆ ที่เอเชียได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางศก.เร็วสุด เราอ่อนแอกว่าเขาทุกด้าน รวมทั้งด้าน logistics เรามีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งอะไรไปอวดเขาได้บ้าง รถไฟไทยอายุร้อยกว่าปี ซึ่งยังคงใช้รางและรถที่เก่าพอ ๆ กับประเทศแถว CLMV น่ะหรือ? ขรรมนะ....สมคิด อย่ามัวแต่โทษคนอื่นเลย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1490766620
Pipob Udomittipong
ooo
อีกข่าวที่เกี่ยวข้อง...
อาลีบาบาอาจจะลงทุนตั้งศูนย์ทั้งในมาเลเซียและไทยก็ได้
ต้องรอดู...
29มีค.60-หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3248 ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-1 เม.ย.2560 สื่อในเครือสปริง กรุ๊ปรายงานว่า ยืนยันอาลีบาบาลงทุนสร้างอี-คอมเมิร์ซพาร์กในไทย ล็อกเป้าพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ 450 ไร่ ใน 2 เฟส สรุปสิทธิประโยชน์ภาษี-ขั้นตอนทางศุลกากรภายในสิ้นเดือนนี้
นโยบายสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางอี-คอมเมิร์ซ ในอาเซียนและซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม)กำลังจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แม้ว่าทางอาลีบาบาจะจับมือกับรัฐบาลมาเลเซียสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ไปแล้วก็ตาม โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในวันที่ 5 เมษายนนี้
นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า อาลีบาบา กรุ๊ป ได้ติดต่อเข้ามาดูพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อลงทุนจัดตั้ง ศูนย์การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบโลจิสติกส์ของภูมิภาค หรือ E-Commerce Park แล้ว 2-3 รอบ
ทอท.มีที่ดินแปลงที่ 37 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ บริเวณทางทิศตะวันออกของสนามบินว่างอยู่ 1 แปลง ทางกลุ่มอาลีบาบาให้ความสนใจที่จะเข้ามาเช่าพื้นที่ในเบื้องต้นประมาณ 150 ไร่ เพื่อลงทุนในโครงการนี้ โดยจากการหารือกัน มีความเป็นไปได้ 80-90% ที่ทางอาลีบาบาจะเช่าพื้นที่จาก ทอท. ไปลงทุนศูนย์กลางการค้าอี-คอมเมิร์ซในไทย
เงื่อนไขปลีกย่อยในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ทางอาลีบาบาจะต้องเจรจากับทางรัฐบาลไทย เนื่องจากทางกลุ่มอาลีบาบาต้องการตั้งเป็นเขตปลอดภาษี (Free Trade Zone) และคลังสินค้าทัณฑ์บน เพื่อบรรจุหีบห่อและขนส่งสินค้าออกไปผ่านทางบก ทางอากาศ และทางรถไฟ
แหล่งข่าวจากการนิคมอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กลุ่มอาลีบาบายังส่งผู้บริหารมาดูพื้นที่อื่นๆ อีก 3-4 แห่ง อาทิ พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง อ.ศรีราชา และพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ชลบุรี พื้นที่ทั้ง 3 แห่ง แม้จะอยู่ในพื้นที่อีอีซี แต่ถือว่าไกลจากสนามบินทำให้การขนส่งสินค้าอาจไม่สะดวกและใช้เวลาในการเดินทางขนส่ง ประกอบกับทางอาลีบาบาแจ้งว่า การส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้รถขนส่งขนาดเล็กมากกว่า เพราะคล่องตัวและรวดเร็วกว่าในการ กระจายสินค้าออกไปยังกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
การลงทุนครั้งนี้ ทางกลุ่มอาลีบาบาจะให้บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทยฯ ที่ทางกลุ่มอาลีบาบาได้เข้ามาซื้อกิจการไปก่อนหน้านี้เป็นผู้ลงทุน ซึ่งขณะนี้ทางลาซาด้าอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติแผนลงทุน โดยเฟสแรก ใช้พื้นที่ 150 ไร่ ส่วนเฟสที่ 2 จะใช้พื้นที่อีกประมาณ 300 ไร่ นางสมศรี ดวงประทีป กรรมการบริหาร บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด ยอมรับผู้บริหารอาลีบาบาเดินทางเข้ามาดูพื้นที่ก่อนหน้านี้
ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ยืนยันว่า ทางกลุ่มบริษัท อาลีบาบาฯ เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ
รายใหญ่ของจีน ที่มีบริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทลูกในไทย จะยังเข้ามาลงทุนโครงการอี-คอมเมิร์ซ พาร์ก ในไทยอย่างแน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเกี่ยวกับขั้นตอนด้านศุลกากร เพื่อทำให้เป็นเขตปลอดภาษี โดยมีเป้าหมายขยายตลาดให้ครอบคลุมไปยังซีแอลเอ็มวี
ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ บอร์ดอีอีซี กล่าวว่า ได้รับการยืนยันว่าคณะผู้บริหารจากอาลีบาบาและลาซาด้าจะมาพบ รมว.อุตสาหกรรมเพื่อยื่นข้อเสนอในการลงทุน อาทิ การอำนวยความสะดวกเรื่องขั้นตอนกฎหมายศุลกากรที่ช่วยส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยมีความชัดเจนว่าจะเข้าลงทุนพื้นที่ใดจะได้ข้อสรุปในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ก่อนเสนอให้บอร์ดอีอีซี และ ครม.เห็นชอบต่อไป
อ่านต่อได้ที่...
29มีค.60-หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3248 ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-1 เม.ย.2560 สื่อในเครือสปริง กรุ๊ปรายงานว่า ยืนยันอาลีบาบาลงทุนสร้างอี-คอมเมิร์ซพาร์กในไทย ล็อกเป้าพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ 450 ไร่ ใน 2 เฟส สรุปสิทธิประโยชน์ภาษี-ขั้นตอนทางศุลกากรภายในสิ้นเดือนนี้
นโยบายสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางอี-คอมเมิร์ซ ในอาเซียนและซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม)กำลังจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แม้ว่าทางอาลีบาบาจะจับมือกับรัฐบาลมาเลเซียสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ไปแล้วก็ตาม โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในวันที่ 5 เมษายนนี้
นายศิโรตม์ ดวงรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า อาลีบาบา กรุ๊ป ได้ติดต่อเข้ามาดูพื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อลงทุนจัดตั้ง ศูนย์การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบโลจิสติกส์ของภูมิภาค หรือ E-Commerce Park แล้ว 2-3 รอบ
ทอท.มีที่ดินแปลงที่ 37 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ บริเวณทางทิศตะวันออกของสนามบินว่างอยู่ 1 แปลง ทางกลุ่มอาลีบาบาให้ความสนใจที่จะเข้ามาเช่าพื้นที่ในเบื้องต้นประมาณ 150 ไร่ เพื่อลงทุนในโครงการนี้ โดยจากการหารือกัน มีความเป็นไปได้ 80-90% ที่ทางอาลีบาบาจะเช่าพื้นที่จาก ทอท. ไปลงทุนศูนย์กลางการค้าอี-คอมเมิร์ซในไทย
เงื่อนไขปลีกย่อยในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ทางอาลีบาบาจะต้องเจรจากับทางรัฐบาลไทย เนื่องจากทางกลุ่มอาลีบาบาต้องการตั้งเป็นเขตปลอดภาษี (Free Trade Zone) และคลังสินค้าทัณฑ์บน เพื่อบรรจุหีบห่อและขนส่งสินค้าออกไปผ่านทางบก ทางอากาศ และทางรถไฟ
แหล่งข่าวจากการนิคมอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กลุ่มอาลีบาบายังส่งผู้บริหารมาดูพื้นที่อื่นๆ อีก 3-4 แห่ง อาทิ พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง อ.ศรีราชา และพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ชลบุรี พื้นที่ทั้ง 3 แห่ง แม้จะอยู่ในพื้นที่อีอีซี แต่ถือว่าไกลจากสนามบินทำให้การขนส่งสินค้าอาจไม่สะดวกและใช้เวลาในการเดินทางขนส่ง ประกอบกับทางอาลีบาบาแจ้งว่า การส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้รถขนส่งขนาดเล็กมากกว่า เพราะคล่องตัวและรวดเร็วกว่าในการ กระจายสินค้าออกไปยังกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
การลงทุนครั้งนี้ ทางกลุ่มอาลีบาบาจะให้บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทยฯ ที่ทางกลุ่มอาลีบาบาได้เข้ามาซื้อกิจการไปก่อนหน้านี้เป็นผู้ลงทุน ซึ่งขณะนี้ทางลาซาด้าอยู่ระหว่างการเสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติแผนลงทุน โดยเฟสแรก ใช้พื้นที่ 150 ไร่ ส่วนเฟสที่ 2 จะใช้พื้นที่อีกประมาณ 300 ไร่ นางสมศรี ดวงประทีป กรรมการบริหาร บริษัท ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค จำกัด ยอมรับผู้บริหารอาลีบาบาเดินทางเข้ามาดูพื้นที่ก่อนหน้านี้
ด้านนายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม ยืนยันว่า ทางกลุ่มบริษัท อาลีบาบาฯ เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ
รายใหญ่ของจีน ที่มีบริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทลูกในไทย จะยังเข้ามาลงทุนโครงการอี-คอมเมิร์ซ พาร์ก ในไทยอย่างแน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาเกี่ยวกับขั้นตอนด้านศุลกากร เพื่อทำให้เป็นเขตปลอดภาษี โดยมีเป้าหมายขยายตลาดให้ครอบคลุมไปยังซีแอลเอ็มวี
ขณะที่นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ บอร์ดอีอีซี กล่าวว่า ได้รับการยืนยันว่าคณะผู้บริหารจากอาลีบาบาและลาซาด้าจะมาพบ รมว.อุตสาหกรรมเพื่อยื่นข้อเสนอในการลงทุน อาทิ การอำนวยความสะดวกเรื่องขั้นตอนกฎหมายศุลกากรที่ช่วยส่งเสริมการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยมีความชัดเจนว่าจะเข้าลงทุนพื้นที่ใดจะได้ข้อสรุปในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ก่อนเสนอให้บอร์ดอีอีซี และ ครม.เห็นชอบต่อไป
อ่านต่อได้ที่...