วันพฤหัสบดี, มีนาคม 30, 2560

สื่อนอกปูด รัฐไทยชงกม. คุมกิจการพุทธศาสนา





สื่อนอกปูด รัฐไทยชงกม. คุมกิจการพุทธศาสนา

by Sathit M.
30 มีนาคม 2560
Voice TV

รอยเตอร์เผยรัฐบาลทหารไทยยกร่างกฎหมายควบคุมพุทธจักรฉบับใหม่ ให้นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นั่งเป็นกรรมการ เล็งประกาศใช้ก่อนเลือกตั้งครั้งหน้า

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม ว่า แหล่งข่าวผู้ขอสงวนนามเปิดเผยว่า รัฐบาลทหารของไทยกำลังจัดทำกฎหมายควบคุมฝ่ายสงฆ์ ซึ่งดูจะลดทอนบทบาทของมหาเถรสมาคมอย่างมาก

ร่างกฎหมายซึ่งยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนฉบับนี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา โดยให้โควต้ามหาเถรสมาคมเลือกพระสงฆ์เข้าเป็นกรรมการได้ 3 รูปจากทั้งหมด 27 ที่นั่ง ตำแหน่งที่เหลือจะให้นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวง และข้าราชการระดับสูงจากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงผู้รู้ด้านการศาสนา บุคคลจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ และผู้แทนกลุ่มพุทธศาสนิกชนที่นายกรัฐมนตรีเลือก เข้าไปนั่งเป็นกรรมการ





ผศ.ดร.พระเมธาวินัยรส รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ให้ความเห็นกับรอยเตอร์ว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ส่งเสริม แต่บังคับให้พระสงฆ์ยอมเชื่อฟัง และอยู่ใต้การปกครองของรัฐ ซึ่งไม่เหมาะสม “การแทรกแซงของรัฐเช่นนี้จะทำให้ลดทอนศาสนา”

พ.ต.ท.พงษ์พร พราหมเสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ร่างดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาของมหาเถรสมาคม “กฎหมายฉบับนี้จะเป็นคุณแก่พระสงฆ์ และช่วยเผยแผ่ศาสนาพุทธ”

ผอ.สำนักพุทธฯยังกล่าวด้วยว่า การผลักดันกฎหมายดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกรณีปัญหาวัดพระธรรมกาย

อย่างไรก็ดี รอยเตอร์ไม่สามารถติดต่อขอความเห็นจากพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคมได้

นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตที่ปรึกษาของรัฐบาลคณะรัฐประหาร ผู้สนับสนุนการกำกับดูแลกิจการพุทธศาสนา บอกว่า ถ้าร่างฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปัญหาอย่างวัดพระธรรมกายจะหมดไป “พระที่ทำผิดวินัยสงฆ์ หรือแสวงประโยชน์จะถูกปราบ”

ผศ.ดร.มนตรี สิระโรจนานันท์ ผู้รู้ด้านศาสนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวอาจช่วยให้วงการสงฆ์แก้ปัญหาเรื้อรังต่างๆได้ แต่คณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปนั่งเป็นกรรมการโดยส่วนใหญ่นั้น อาจถูกใช้ประโยชน์อย่างผิดๆได้

“ดาบที่อยู่ในมือของรัฐบาลทหาร อาจถูกใช้เป็นอาวุธ” เขาให้ข้อสังเกต

รายงานข่าวระบุว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยการ 'อุปถัมภ์และคุ้มครอง' พระพุทธศาสนาฉบับนี้ ไม่ครอบคลุมเรื่องเงินบริจาคของวัด ซึ่งประมาณว่ามีมากถึงปีละกว่า 1.2 แสนล้านบาท

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจะประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2561.

Source: Reuters

Photo: AFP

ooo





"และแล้ว...หางก็โผล่"

สัปดาห์ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ คสช. แต่งตั้งให้มาเป็น ผอ. สำนักพุทธฯ ได้ทำหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เสนอความเห็นให้แต่งตั้งพระภิกษุจากวัดอื่นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายเพื่อบริหารและสอบอธิกรณ์พระผู้ใหญ่ของวัดซึ่งขัดต่อกฎหมาย เพราะการแต่งตั้งเจ้าอาวาสตามกฏ มส. ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสงฆ์ตั้งแต่เจ้าคณะอำเภอจนถึงรองเจ้าคณะตำบลร่วมกันพิจารณาคัดเลือกพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติ จากนั้นให้เจ้าคณะอำเภอรายงานเสนอเจ้าคณะจังหวัดเพื่อพิจารณาแต่งตั้ง กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจ ผอ. ซึ่งเป็นคฤหัสถ์เสนอความเห็นอันเป็นการแทรกแซง ส่วนการสอบอธิกรณ์คือการล่วงละเมิดพระธรรมวินัยซึ่งยังไม่มีการกล่าวหาจึงไม่มีอธิกรณ์ให้สอบ ดังนั้น ข้ออ้างในหนังสือจึงเป็นเท็จ

การที่หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจเผด็จการสั่งปิดล้อมวัดพระธรรมกาย ดำเนินคดีกับรักษาการเจ้าอาวาสรวมทั้งออกคำสั่งจับกุมพระสงฆ์หลายรูป คือการทำให้พระผู้ใหญ่ของวัดต้องคดีเพื่อเปิดทางให้มีการแต่งตั้งพระภิกษุจากวัดอื่นมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเสมือนเป็นการยึดวัดพระธรรมกาย ส่วนการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมที่เป็นองค์กรปกครองสงฆ์คือการควบคุมศาสนจักร ซึ่งเท่ากับ คสช. ที่เป็นฝ่ายอาณาจักรควบคุมทั้งอำนาจรัฐและศาสนจักรอย่างเบ็ดเสร็จ แต่เนื่องจากข้อเสนอการแต่งตั้งเจ้าอาวาสไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีจึงไม่เล่นด้วย รัฐมนตรีจึงเลี่ยงมาตั้งเป็นคณะกรรมการประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ ตัวแทนจากดีเอสไอและสำนักพุทธฯ เพื่อบริหารจัดการวัดพระธรรมกาย แต่ก็ผิดกฎหมายอีกเช่นกันเพราะวัดพระธรรมกายมีรักษาการเจ้าอาวาสทำหน้าที่แล้ว อีกทั้งการปกครองสงฆ์เป็นอำนาจหน้าที่ของ มส. ไม่ใช่อำนาจของรัฐมนตรีที่กำกับสำนักพุทธฯ จะไปแต่งตั้งพระและคฤหัสถ์มาบริหารจัดการวัด สุมหัวกันวางแผนยึดวัดปกครองพระจนคลิปหลุดหางโผล่ อย่าลืมประสานงานกับนรกให้สร้างขุมพิเศษไว้รอด้วยจะได้ไปอยู่รวมกัน

วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
30 มีนาคม 2560


Watana Muangsook

ooo

Exclusive - Thai junta seeks law to bring more order to Buddhism



Supporters of Dhammakaya temple walk inside Dhammakaya temple in Pathum Thani province, Thailand, March 9, 2017. Picture taken March 9, 2017. REUTERS/Athit Perawongmetha


By Panarat Thepgumpanat and Patpicha Tanakasempipat | BANGKOK
Source: Reuters

Thailand's military government is working on a law to help regulate Buddhism, officials say, giving the junta far more say over a pillar of Thai society that has so far eluded its control.

The proposed bill, which has not been made public, would appear to significantly reduce the say of the Sangha Supreme Council, Buddhism's governing body in Thailand.

A source within the government who did not wish to be named said the bill would set up a new committee that would set policies to "support and protect Buddhism," though it wouldn't touch on religious practices.

The bill would give monks chosen by the Sangha Council only three of the 27 seats on the committee. Other seats would go to the prime minister, police chief, a number of other senior officials as well as experts on Buddhism, members of Buddhist universities and representatives of Buddhist groups chosen by the prime minister, the source said.

"The bill does not 'support', but forces monks to obey and stay under state governance, which is inappropriate," Phra Metha Winairos, deputy dean of Mahamakut Buddhist University, told Reuters. "This state interference will downgrade religion."

The proposed law comes amid a swirl of controversies around a religion professed by 95 percent of Thais, and with most opposition to army rule neutralised since a 2014 coup.

While police have lifted a three-week siege of the giant Dhammakaya temple north of Bangkok, the temple's defiance of attempts to arrest its former abbot in a money laundering case has highlighted the limit of state authority over monks.

The draft of the new bill is being reviewed by the Sangha Supreme Council, said the head of the National Office of Buddhism.

No member of the council of elder monks was available for comment.

"This bill will benefit monks and help spread Buddhism," said Pongporn Pramsaneh, the recently appointed former detective who now heads the government office that handles Buddhist affairs. He declined to give details about the bill.

WANING INFLUENCE

There are already indications the Sangha Council's influence has been weakened.

Last year, the junta rejected the name put forward by the council to be the new Supreme Patriarch of Buddhism, an abbot who had ties with the Dhammakaya temple and who had been under investigation over a scam involving luxury cars.

The military-appointed parliament then granted new King Maha Vajiralongkorn the power to pick a chief monk himself.

Pongporn at the Buddhist affairs office said the renewed push on the bill had nothing to do with the Dhammakaya temple, which frustrated an attempt by thousands of police this month to search for its former abbot, Phra Dhammachayo.

Critics of the temple say it is sympathetic to the "red shirt" movement of ousted prime minister Thaksin Shinawatra, which the temple denies.

Paiboon Nititawan, a former junta advisor who wants even greater regulation of Buddhism, said if the bill was enacted, "problems like Dhammakaya will be suppressed."

"Monks looking to violate monastic codes or wrongly exploit religion will be suppressed," he said.

VOW OF OBEDIENCE?

Religious scandal is nothing new in Thailand, which has 40,000 temples and more than 300,000 monks. Reports of sex, drugs and improper financial dealings are frequent.

The proposed committee under the new bill would set policies to improve secular affairs - though not Buddhist religious practices.

That could potentially help the Sangha tackle persistent problems, said Buddhism expert Montree Sirarojananan from Thammasat University in Bangkok. But he said a committee dominated by government officials could also be abused.

"A knife in the hands of a military government tends to be used as a weapon," he said.

The bill did not include any measures for state control over the finances of temples which, according to a 2014 study, get an estimated $3.5 billion a year in donations, the government source said.

The bill would still need approval from the cabinet and the legislative assembly.

It would also need to be signed off by King Vajiralongkorn. After appointing a conservative as Supreme Patriarch in February, the king then approved the junta's request to strip the Dhammakaya temple's former abbot of his monastic titles.

Aomsin Cheewapruek, Minister in the Prime Minister's Office, said the government would enact the bill before the next general election, which is not expected until well into 2018.

($1 = 34.4 baht)

(Editing by Matthew Tostevin and Bill Tarrant)