ออกกฎกระทรวงเว้นภาษีบุคคลธรรมดาได้รับพระราชทานจากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์
Fri, 2017-03-31 16:29
ที่มา ประชาไท
กําหนดให้เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์-สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนของบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่าย ในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้แก่บุคคลธรรมดาและเงินได้ที่บุคคลธรรมดาได้รับพระราชทาน จากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี
เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 327 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ให้ไว้ ณ วันที่ 24 มี.ค. 2560 โดยมี อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้ลงนาม
พร้อมทั้งมีหมายเหตุท้ายประกาศด้วยว่า เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้เงินได้จาก การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนของบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่าย ในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้แก่บุคคลธรรมดา และเงินได้ที่บุคคลธรรมดาได้รับพระราชทาน จากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
รายละเอียด กฎกระทรวงฉบับนี้ระบุว่า
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กําหนดให้เงินได้ดังต่อไปนี้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(1) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ของบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี ให้แก่บุคคลธรรมดา
(2) เงินได้ที่บุคคลธรรมดาได้รับพระราชทานจากบุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์ จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสําหรับเงินได้พึงประเมินประจําปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ออกกฎกระทรวง ยกเว้นภาษีมรดก ผู้ได้เงินค่าใช้จ่ายในพระองค์-พระองค์เจ้าขึ้นไปที่ได้รับเงินปี
.....
อ่านเหุตผลที่อธิบายไว้แล้วงง ... บอกแค่ว่า "เป็นการควร" ไม่เห็นอธิบาย "เหตุผล" เลยว่าเพราะอะไรถึง "เป็นการควร"
มิตรสหายท่านหนึ่ง
อ่านเหุตผลที่อธิบายไว้แล้วงง ... บอกแค่ว่า "เป็นการควร" ไม่เห็นอธิบาย "เหตุผล" เลยว่าเพราะอะไรถึง "เป็นการควร"
มิตรสหายท่านหนึ่ง
.....
อ.สมศักดิ์ เจียมฯ ยกตัวอย่าง....
ปล. ขอให้สังเกตด้วยว่า ตามประกาศนี้ ถ้าเจ้า ("บุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณประจำปี") เอาเงินจากงบประมาณของรัฐที่ทรงได้นั้นเอง มา "พระราชทาน" ต่อ - เช่นใน "ตัวอย่างสมมุติ" ข้างต้น ที่ว่าให้เงิน "คุณก้อย" (ชื่อสมมุติ) เดือนละ 10 ล้าน - เงินที่เอามาจากงบประมาณประจำปีของรัฐ ที่ "บุคคลธรรมดา" ได้มาจากเจ้าอีกทีหนึ่งนั้น ก็ไม่ต้องเอามาคำนวนภาษี
Somsak Jeamteerasakul
อ.สมศักดิ์ เจียมฯ ยกตัวอย่าง....
ปล. ขอให้สังเกตด้วยว่า ตามประกาศนี้ ถ้าเจ้า ("บุคคลซึ่งได้รับเงินค่าใช้จ่ายในพระองค์จากงบประมาณประจำปี") เอาเงินจากงบประมาณของรัฐที่ทรงได้นั้นเอง มา "พระราชทาน" ต่อ - เช่นใน "ตัวอย่างสมมุติ" ข้างต้น ที่ว่าให้เงิน "คุณก้อย" (ชื่อสมมุติ) เดือนละ 10 ล้าน - เงินที่เอามาจากงบประมาณประจำปีของรัฐ ที่ "บุคคลธรรมดา" ได้มาจากเจ้าอีกทีหนึ่งนั้น ก็ไม่ต้องเอามาคำนวนภาษี
Somsak Jeamteerasakul