วันเสาร์, มีนาคม 11, 2560

ตอกย้ำประจาน ผู้ใหญ่โง่รังแกเด็ก - “ไผ่ ดาวดิน-ทนายแอน” คว้า ‘รางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประจำปี 60’ ผลงานด้านสิทธิดีเด่น





“ไผ่ ดาวดิน-ทนายแอน” คว้า ‘รางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประจำปี 60’ ผลงานด้านสิทธิดีเด่น

11 มีนาคม 2560
ที่มา ข่าวสดออนไลน์

วันที่ 11 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “รางวัลสมชาย นีละไพจิตร” ประจำปี 2560 ประกาศมอบให้กับผู้มีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น ในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษนชนในประเทศไทย โดยนายจอน อึ๊งภากรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กตอนหนึ่งว่า ผู้ได้รับรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ประจำปี 2560 ได้แก่ น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความสิทธิมนุษยชน จากการทำงานในสามจังหวัดชายแดนใต้และคดีการเมืองหลังรัฐประหาร 2557 โดยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ทำงานช่วยเหลือผู้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวหรือถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และคดีเกี่ยวกับเสรีภาพการแสดงออก

นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ดาวดิน นักกิจกรรมทางการเมืองซึ่งเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ที่ขณะที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำในข้อหาทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดย ไผ่ ดาวดิน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยไผ่และเพื่อนนั้นสนใจประเด็นสิทธิชุมชน สิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตย ทำกิจกรรมลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหาและช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ภาคอีสาน รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารของนักศึกษา ก่อนที่จะถูกคุมขังและยังไม่ได้รับการประกันตัว

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ผู้ปกป้องสิทธิชุมชนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำที่ อ.วังสะพุง จ.เลย โดยชาววังสะพุงจึงรวมตัวกันเป็น “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ขึ้นเมื่อปี 2549 มาจนวันนี้ก็สิบปีแล้วที่ชาววังสะพุงต่อสู้กับทุนและรัฐ ถูกข่มขู่คุกคามในหลายรูปแบบ ทั้งด้วยการใช้กำลัง และถูกกลั่นแกล้งทางกฎหมายด้วยการฟ้องคดี นอกจากการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรในพื้นที่ของตนแล้ว กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดยังสนับสนุนกลุ่มอื่นๆ ในเครือข่ายที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มในภาคอีสาน

กลุ่มแรงงานชาวพม่า 14 คน ที่ฟ้องและถูกฟ้องจากบริษัทอุตสาหกรรมไก่ใน จ.ลพบุรี ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ โดยไปทำงานที่ฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี ฟาร์มดังกล่าวส่งไก่จำหน่ายให้อุตสาหกรรมผู้ผลิตไก่ส่งออกขนาดใหญ่รายหนึ่ง ภายใต้ธุรกิจขนาดใหญ่นี้ คนงานภายในฟาร์มต้องอยู่กับสภาพการทำงานที่ถูกกดขี่ คือทำงานวันละ 20 ชั่วโมง (จะได้พักก็แค่ช่วงตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า และอีกครั้งเวลาห้าโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม) ไม่มีวันหยุด ไม่ได้ออกนอกโรงงานโดยไม่มีผู้คุม ทำงานได้เงินวันละ 230 บาทโดยไม่มีค่าล่วงเวลา ไม่มีประกันสังคม แรงงานชาวพม่าทั้ง 14 คนได้ต่อสู้เพื่อสิทธิของแรงงาน พวกเขาฟ้องนายจ้าง คือบริษัทอุตสาหกรรมไก่ใน จ.ลพบุรี และบริษัทส่งออกไก่ยักษ์ใหญ่ เป็นเงิน 44 ล้านบาท เพื่อให้ชดเชยการใช้แรงงานตลอดเวลาเกือบ 5 ปี

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Jon Ungphakorn