โดย เมธา
ได้ข่าวว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเสนอกฎหมายเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า หลายคนคงตื่นตาและตื่นใจถึงที่สุด เพราะสังคมไทยรอคอยเรื่องนี้มานานแล้ว ท่ามกลางปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำมหาศาลอันดับต้นๆ ของโลก เป็นรองก็แค่เม็กซิโก โคลอมเบีย อาร์เจนตินา และประเทศแถบลาตินอเมริกา ขณะที่ชนชั้นนำในสังคมไทยผูกขาดความร่ำรวย พวกเขากลัวกระทั่งการกระจายรายได้จากพลังงานและน้ำมันที่ประชาชนเรียกร้องให้มีการปฏิรูป เพราะเป็นแหล่งรายได้หลักของพวกเขา
ที่จริงผมได้ยินมานานแล้วว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ร่างกฎหมายค้างไว้นานแล้ว และเสนอรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัย แต่รัฐบาลของนายทุนพ่อค้าไม่มีใครสนใจที่จะทำ แน่นอน เพราะพวกเขากลัวจะเสียผลประโยชน์ เรื่องจริงคือว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพย์สินหรือที่ดินในประเทศไทย ล้วนถูกผูกขาดโดยนักการเมืองและชนชั้นนำทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ด้วยการสมคบการออกกฎหมาย การใช้อำนาจมิชอบ การคอร์รัปชัน การออกนโยบายเอื้อพวกพ้อง จนหยั่งรากฝังลึกเป็นระบอบอุปถัมภ์นิยมในสังคมไทย จนโครงสร้างทางสังคมพิกลพิการ และโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่มีความเป็นธรรม
ปัจจุบันประเทศไทยอาจจะมีคนร่ำรวยจริงๆ แค่ 5% คนมีฐานะปานกลางประมาณ 15% ขณะที่อีก 80% เป็นคนยากจนที่ถูกเลือกปฏิบัติทางนโยบายมาโดยตลอดในการกระจายความมั่งคั่งและโภคทรัพย์ทางสังคม ก่อนหน้านี้คนยากจนดักดานในประเทศไทยมีรายไม่ถึง 1,000 บาทต่อเดือนมีอยู่กว่า 10 ล้านคน ขณะที่คนค่อนแผ่นดินมีรายได้อยู่ใต้เส้นเฉลี่ยไม่กี่พันบาท และชี้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหาความยากจน เพราะระบบทุนนิยมไทยพิกลพิการ ผู้ใช้อำนาจรัฐปราศจากคุณธรรม ข้าราชการระดับสูงที่เห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชัน ระบบการบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ ปราศจากประสิทธิผล เป็นเหตุให้การแก้ปัญหาความยากจนล้มเหลว ประเทศไทยจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เลย ถ้าเราไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเหล่านี้ โดยเฉพาะการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ
การเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดกนั้น เนื่องจากเกี่ยวกับการผลิตที่อยู่บนดินด้วย มรดกจึงรวมที่ดินอยู่ด้วย นอกจากตึก แก้ว แหวน เงิน ทอง ทรัพย์สินต่างๆ ต้องทำความเข้าว่า ในความเป็นจริง ที่ดินเป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของมนุษย์ซึ่งพระเจ้าหรือธรรมชาติสร้างมา ไม่มีใครสามารถสร้างได้ ดังนั้นในทางทฤษฎี จึงไม่ควรมีการครอบครองซื้อขาย หรือการผูกขาดการยึดครอง รัฐควรกระจายให้ผู้คนในสังคมได้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม ซึ่งเราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า เรามีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินสาธารณะหรือที่ดิน แต่ไม่มีใครมีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน เช่นเดียวกับที่เราไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของอากาศ อวกาศ หรือดวงจันทร์ ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะไปถึงและปักธงได้เป็นชาติแรก ก็มีสิทธิ์ใช้ดวงจันทร์ได้เท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ เรื่องเหล่านี้สมควรถามถึงคลื่นความถี่และโทรคมนาคมด้วยเช่นกัน ที่ผู้ผูกขาดสัญญาณได้กอบโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการลงทุนบนอากาศของส่วนรวม
อย่าลืมว่าทรัพย์สินที่ได้มาเป็นมรดกนั้นไม่ได้จากสุญญากาศ ถึงแม้ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ต้องเสียภาษีให้รัฐอยู่แล้วในรูปบริษัทและภาษีรายได้ แต่ก็ไม่ได้รวมถึงค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหรือทางสังคมอื่นๆ ซึ่งธุรกิจสร้างรายได้ขึ้นมา การลงทุนเป็นนิติบุคคล กระทั่งการรับสัมปทานก็ล้วนมาจากการเป็นหุ้นส่วนและการรับรองฐานะจากรัฐ ให้ธุรกิจนั้นสามารถสร้างกำไร ดำรงอยู่และปลอดภัย ดังนั้นควรคืนกำไรให้สังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งการเก็บภาษีมรดกก็คือการเก็บผลิตผลส่วนเกินที่ปลายทางเพื่อคืนให้แก่รัฐนั้นเอง
นอกจากนี้ ในความคิดแบบเสรีนิยมก็ยังช่วยทำให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุนด้วย เพราะลูกหลานไม่เอาแต่รอเพียงมรดกอีกต่อไป ปัจจุบันรัฐเก็บภาษีทางตรงเพียงแค่ 30% และเป็นภาษีทางอ้อมที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องแบกภาระในรูปของสินค้าอุปโภคบริโภคถึง 70% ซึ่งไม่มีความเป็นธรรม ดังนั้นจึงต้องมีการเก็บภาษีทางตรงเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในโครงสร้างภาษีนี้
ที่จริงผมได้ยินมานานแล้วว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ร่างกฎหมายค้างไว้นานแล้ว และเสนอรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัย แต่รัฐบาลของนายทุนพ่อค้าไม่มีใครสนใจที่จะทำ แน่นอน เพราะพวกเขากลัวจะเสียผลประโยชน์ เรื่องจริงคือว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพย์สินหรือที่ดินในประเทศไทย ล้วนถูกผูกขาดโดยนักการเมืองและชนชั้นนำทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ด้วยการสมคบการออกกฎหมาย การใช้อำนาจมิชอบ การคอร์รัปชัน การออกนโยบายเอื้อพวกพ้อง จนหยั่งรากฝังลึกเป็นระบอบอุปถัมภ์นิยมในสังคมไทย จนโครงสร้างทางสังคมพิกลพิการ และโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่มีความเป็นธรรม
ปัจจุบันประเทศไทยอาจจะมีคนร่ำรวยจริงๆ แค่ 5% คนมีฐานะปานกลางประมาณ 15% ขณะที่อีก 80% เป็นคนยากจนที่ถูกเลือกปฏิบัติทางนโยบายมาโดยตลอดในการกระจายความมั่งคั่งและโภคทรัพย์ทางสังคม ก่อนหน้านี้คนยากจนดักดานในประเทศไทยมีรายไม่ถึง 1,000 บาทต่อเดือนมีอยู่กว่า 10 ล้านคน ขณะที่คนค่อนแผ่นดินมีรายได้อยู่ใต้เส้นเฉลี่ยไม่กี่พันบาท และชี้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่หนทางในการแก้ปัญหาความยากจน เพราะระบบทุนนิยมไทยพิกลพิการ ผู้ใช้อำนาจรัฐปราศจากคุณธรรม ข้าราชการระดับสูงที่เห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชัน ระบบการบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ ปราศจากประสิทธิผล เป็นเหตุให้การแก้ปัญหาความยากจนล้มเหลว ประเทศไทยจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้เลย ถ้าเราไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจเหล่านี้ โดยเฉพาะการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยและรัฐสวัสดิการ
การเก็บภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดกนั้น เนื่องจากเกี่ยวกับการผลิตที่อยู่บนดินด้วย มรดกจึงรวมที่ดินอยู่ด้วย นอกจากตึก แก้ว แหวน เงิน ทอง ทรัพย์สินต่างๆ ต้องทำความเข้าว่า ในความเป็นจริง ที่ดินเป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของมนุษย์ซึ่งพระเจ้าหรือธรรมชาติสร้างมา ไม่มีใครสามารถสร้างได้ ดังนั้นในทางทฤษฎี จึงไม่ควรมีการครอบครองซื้อขาย หรือการผูกขาดการยึดครอง รัฐควรกระจายให้ผู้คนในสังคมได้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม ซึ่งเราต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า เรามีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินสาธารณะหรือที่ดิน แต่ไม่มีใครมีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน เช่นเดียวกับที่เราไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของอากาศ อวกาศ หรือดวงจันทร์ ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะไปถึงและปักธงได้เป็นชาติแรก ก็มีสิทธิ์ใช้ดวงจันทร์ได้เท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ เรื่องเหล่านี้สมควรถามถึงคลื่นความถี่และโทรคมนาคมด้วยเช่นกัน ที่ผู้ผูกขาดสัญญาณได้กอบโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการลงทุนบนอากาศของส่วนรวม
อย่าลืมว่าทรัพย์สินที่ได้มาเป็นมรดกนั้นไม่ได้จากสุญญากาศ ถึงแม้ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ต้องเสียภาษีให้รัฐอยู่แล้วในรูปบริษัทและภาษีรายได้ แต่ก็ไม่ได้รวมถึงค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมหรือทางสังคมอื่นๆ ซึ่งธุรกิจสร้างรายได้ขึ้นมา การลงทุนเป็นนิติบุคคล กระทั่งการรับสัมปทานก็ล้วนมาจากการเป็นหุ้นส่วนและการรับรองฐานะจากรัฐ ให้ธุรกิจนั้นสามารถสร้างกำไร ดำรงอยู่และปลอดภัย ดังนั้นควรคืนกำไรให้สังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งการเก็บภาษีมรดกก็คือการเก็บผลิตผลส่วนเกินที่ปลายทางเพื่อคืนให้แก่รัฐนั้นเอง
นอกจากนี้ ในความคิดแบบเสรีนิยมก็ยังช่วยทำให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุนด้วย เพราะลูกหลานไม่เอาแต่รอเพียงมรดกอีกต่อไป ปัจจุบันรัฐเก็บภาษีทางตรงเพียงแค่ 30% และเป็นภาษีทางอ้อมที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องแบกภาระในรูปของสินค้าอุปโภคบริโภคถึง 70% ซึ่งไม่มีความเป็นธรรม ดังนั้นจึงต้องมีการเก็บภาษีทางตรงเพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในโครงสร้างภาษีนี้
จริงๆ แล้ว ภาษีมรดกเป็นภาษีเก่าแก่ประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดเก็บมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจัดเก็บมรดกจากกองทรัพย์มรดกของตาย และถึงแม้จะนำเงินรายได้มาสู่รัฐเป็นจำนวนน้อยก็ตาม แต่ก็เป็นที่นิยมจัดเก็บโดยทั่วไปในประเทศพัฒนาแล้ว เพราะเป็นภาษีที่ยุติธรรม เนื่องจากจัดเก็บเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษี (Ability to Pay) และไม่กระทบกระเทือนประชาชนส่วนใหญ่ เพราะเก็บจากกองมรดก หรือการรับมรดกเมื่อมีการตายเกิดขึ้น และต้องเก็บแบบอัตราก้าวหน้าเหมือนนานาประเทศ จะได้มีความเป็นธรรม และคนจนจะได้ไม่ต้องเดือดร้อน
ประเทศไทยเคยมีความคิดในเรื่องการเก็บภาษีมรดกอยู่ในเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ หรือที่เรียกกันว่าเค้าโครงในสมุดปกเหลือง แต่ความจริงแล้วการเก็บภาษีมรดกประเทศไทยมีการเก็บมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อคนเราตายจะแบ่งมรดกออกเป็นหลายภาคด้วยกัน ภาคหนึ่งถือว่าเป็นภาคของหลวง ให้เหตุผลว่า มรดกในส่วนตกทอดเป็นทายาทมีจำนวนเกินพอแล้ว ซึ่งภาษีมรดกจะเก็บในจุดหนึ่งที่พอแล้ว และเกินความพอ แนวความคิดนี้ถูกใช้มาจนถึงสมัยปรีดี พนมยงค์ แต่ไม่สามารถที่จะออกกฎหมายภาษีมรดกได้ โดยมาออกเป็นภาษีมรดกในสมัยรัฐบาลพหลพลพยุหเสนา โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ เรียกชื่อเต็มว่า “อากรมรดกและการรับมรดก พ.ศ.2476” เป็นการเก็บภาษีมรดกทั้งจากกองมรดก เมื่อตายแล้วกองมรดกจะเป็นผู้รับภาระในการเสียภาษีมรดก และระบบหลังจากการแบ่งให้ทายาทแล้ว ภาระเช่นนี้จะไม่ทำให้คนจนหรือผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อนแต่ประการใด เพราะภาษีมรดกเป็นระบบการเก็บภาษีโดยทางตรง ต่างจากเก็บภาษีโดยทางอ้อม ซึ่งทุกคนต้องเสียไม่ว่าคนจนหรือคนรวย ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงและจะหนีภาระในการเสียภาษีทางอ้อมได้เลย แต่ภาษีมรดกนั้น คนจนจะไม่รับภาระ เพราะภาษีมรดกเป็นภาษีที่มีจุดประสงค์ในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม ภาษีมรดกจะเก็บจากกองมรดกที่มีมากจนเหลือล้นเกินขนาด เช่น ในปี พ.ศ.2476 มรดกต้องเกิน 10,000 บาทขึ้นไป คือ 10,000-50,000 บาท เก็บ 1% เกิน 50,000 บาทขึ้นไป ถึง 100,000 บาท เก็บ 4% เป็นต้น อัตราจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราเรียกว่าระบบภาษีอัตราก้าวหน้า อย่าได้เก็บอัตราเดียว เพราะจะเกิดความไม่เป็นธรรม
คนไทยไม่ว่ารวยหรือจนควรมีจิตสำนึกในการเสียภาษี อย่าเห็นแก่ตัวกันต่อไปเลย สำหรับใครที่คัดค้าน ผมมีตัวอย่างให้ศึกษาเป็นแบบอย่าง เพราะขนาดองค์พระสยามินทร์ยังเคยมีคำสั่งถึงเจ้าพระยายมราช ตามสำเนาร่างหัตถเลขา ที่ 3/49 ขององค์สยามินทร์ วันที่ 15 เมษายน ร.ศ.131 ดังนี้
“ด้วยแต่ก่อนมา การเก็บภาษีที่ดินและโรงร้าง กรมพระคลังข้างที่ยังไม่ได้เสียภาษีให้กับเจ้าพระยาสรรพากรเลย บัดนี้ ฉันมาตรองดูทรัพย์สมบัติที่เป็นส่วนตัว ก็เท่ากับเป็นทรัพย์สมบัติของคนธรรมดาคนหนึ่ง เป็นเหตุอะไรที่ฉันต้องเอาเปรียบคนทั่วไป ซึ่งมันไม่สมควรเลย ของคนอื่นไปเก็บเอาจากเขา ของตัวเองกับเก็บเอาไว้ ใครที่มีทรัพย์สมบัติ เป็นที่ดินหรือโรงร้าง เมื่อถึงเวลาที่เจ้าพนักงานจะเก็บภาษี เขาก็ต้องเสียภาษีให้กับเจ้าพนักงาน ตามส่วนมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินที่เขามีอยู่ ตัวฉันเองก็ถือเป็นคนธรรมดา ทรัพย์สมบัติก็มีอยู่มาก ถ้า Gov. ต้องเห็นแก่คนส่วนมาก ที่ได้จากสมบัติจากคนส่วนมาก ฉันมีความยินดีเต็มใจเฉลี่ยทรัพย์สมบัติให้กับชาติบ้านเมือง เพราะฉะนั้นนับตั้งแต่บัดนี้ ให้เจ้าพระยายมราชเก็บภาษีอากรที่เป็นที่ดินและโรงร้านของฉันได้ ที่ได้กระทำเก็บจากคนอื่นด้วยเช่นคนทั่วไป”.
(ที่มา: คอลัมน์โลกและเรา-เมธา มาสขาว หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2557)
ประเทศไทยเคยมีความคิดในเรื่องการเก็บภาษีมรดกอยู่ในเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ หรือที่เรียกกันว่าเค้าโครงในสมุดปกเหลือง แต่ความจริงแล้วการเก็บภาษีมรดกประเทศไทยมีการเก็บมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อคนเราตายจะแบ่งมรดกออกเป็นหลายภาคด้วยกัน ภาคหนึ่งถือว่าเป็นภาคของหลวง ให้เหตุผลว่า มรดกในส่วนตกทอดเป็นทายาทมีจำนวนเกินพอแล้ว ซึ่งภาษีมรดกจะเก็บในจุดหนึ่งที่พอแล้ว และเกินความพอ แนวความคิดนี้ถูกใช้มาจนถึงสมัยปรีดี พนมยงค์ แต่ไม่สามารถที่จะออกกฎหมายภาษีมรดกได้ โดยมาออกเป็นภาษีมรดกในสมัยรัฐบาลพหลพลพยุหเสนา โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ เรียกชื่อเต็มว่า “อากรมรดกและการรับมรดก พ.ศ.2476” เป็นการเก็บภาษีมรดกทั้งจากกองมรดก เมื่อตายแล้วกองมรดกจะเป็นผู้รับภาระในการเสียภาษีมรดก และระบบหลังจากการแบ่งให้ทายาทแล้ว ภาระเช่นนี้จะไม่ทำให้คนจนหรือผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อนแต่ประการใด เพราะภาษีมรดกเป็นระบบการเก็บภาษีโดยทางตรง ต่างจากเก็บภาษีโดยทางอ้อม ซึ่งทุกคนต้องเสียไม่ว่าคนจนหรือคนรวย ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงและจะหนีภาระในการเสียภาษีทางอ้อมได้เลย แต่ภาษีมรดกนั้น คนจนจะไม่รับภาระ เพราะภาษีมรดกเป็นภาษีที่มีจุดประสงค์ในการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม ภาษีมรดกจะเก็บจากกองมรดกที่มีมากจนเหลือล้นเกินขนาด เช่น ในปี พ.ศ.2476 มรดกต้องเกิน 10,000 บาทขึ้นไป คือ 10,000-50,000 บาท เก็บ 1% เกิน 50,000 บาทขึ้นไป ถึง 100,000 บาท เก็บ 4% เป็นต้น อัตราจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งเราเรียกว่าระบบภาษีอัตราก้าวหน้า อย่าได้เก็บอัตราเดียว เพราะจะเกิดความไม่เป็นธรรม
คนไทยไม่ว่ารวยหรือจนควรมีจิตสำนึกในการเสียภาษี อย่าเห็นแก่ตัวกันต่อไปเลย สำหรับใครที่คัดค้าน ผมมีตัวอย่างให้ศึกษาเป็นแบบอย่าง เพราะขนาดองค์พระสยามินทร์ยังเคยมีคำสั่งถึงเจ้าพระยายมราช ตามสำเนาร่างหัตถเลขา ที่ 3/49 ขององค์สยามินทร์ วันที่ 15 เมษายน ร.ศ.131 ดังนี้
“ด้วยแต่ก่อนมา การเก็บภาษีที่ดินและโรงร้าง กรมพระคลังข้างที่ยังไม่ได้เสียภาษีให้กับเจ้าพระยาสรรพากรเลย บัดนี้ ฉันมาตรองดูทรัพย์สมบัติที่เป็นส่วนตัว ก็เท่ากับเป็นทรัพย์สมบัติของคนธรรมดาคนหนึ่ง เป็นเหตุอะไรที่ฉันต้องเอาเปรียบคนทั่วไป ซึ่งมันไม่สมควรเลย ของคนอื่นไปเก็บเอาจากเขา ของตัวเองกับเก็บเอาไว้ ใครที่มีทรัพย์สมบัติ เป็นที่ดินหรือโรงร้าง เมื่อถึงเวลาที่เจ้าพนักงานจะเก็บภาษี เขาก็ต้องเสียภาษีให้กับเจ้าพนักงาน ตามส่วนมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินที่เขามีอยู่ ตัวฉันเองก็ถือเป็นคนธรรมดา ทรัพย์สมบัติก็มีอยู่มาก ถ้า Gov. ต้องเห็นแก่คนส่วนมาก ที่ได้จากสมบัติจากคนส่วนมาก ฉันมีความยินดีเต็มใจเฉลี่ยทรัพย์สมบัติให้กับชาติบ้านเมือง เพราะฉะนั้นนับตั้งแต่บัดนี้ ให้เจ้าพระยายมราชเก็บภาษีอากรที่เป็นที่ดินและโรงร้านของฉันได้ ที่ได้กระทำเก็บจากคนอื่นด้วยเช่นคนทั่วไป”.
(ที่มา: คอลัมน์โลกและเรา-เมธา มาสขาว หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2557)