วันอาทิตย์, ตุลาคม 19, 2557
บทเรียน “ปฏิรวบประเทศ” แบบ ประเวศ วะสี “600 ล้าน” ยุครัฐบาลมาร์ค ละลาย-หาย-ระเหย?
ที่มา ที่นี่และที่นั่นวันนี้
“ประเวศ วะสี” ซึ่งออกมาให้สัมภาษณ์ “สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์” เรียกร้องให้เกิดการระดม “เงิน” จำนวนมหาศาล เพื่อมาตั้ง “กองทุน” ขนาดใหญ่ สำหรับเป็น “เจ้าภาพการปฏิรูปประเทศ” แล้วบริหารโดย “คณะกรรมการที่คัดเลือกมาเป็นอย่างดี” ในการปฏิรูปประเทศของ คสช.ครั้งนี้นั้น ไม่ใช่ “ข้อเรียกร้อง” ที่ออกมาลอยๆ อย่างแน่นอน
เพราะคนระดับ “ประเวศ วะสี” นั้น ผ่าน “งาน” และ “เงินงบประมาณ” ในการ “ปฏิรูปประเทศ” มาแล้วอย่างโชกโชน !
ซึ่งครั้งล่าสุด ก็เพิ่งผ่านมาเพียงไม่กี่ปี !
โดย “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ก็เพิ่งอนุมัติงบประมาณ ปีละ 200 ล้านบาท สำหรับ 3 ปี ให้ “คณะกรรมการปฏิรูป” และ “สมัชชาปฏิรูป” ที่มี “ประเวศ วะสี” เป็นแกนนำ ให้ไปใช้หลัดๆ
ซึ่งขณะนั้น “มติชนออนไลน์” ได้รายงานข่าวเอาไว้โดยละเอียด ดังนี้
“มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 ว่า นพ.มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่ให้ตั้งสำนักงานปฏิรูป มีคณะกรรมการ 2 คณะ ประกอบด้วยคณะกรรมการปฏิรูป มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ให้ตั้งกรรมการเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 25 คน และคณะกรรมการสมัชชา มีนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน ให้ตั้งกรรมการเพิ่มเติมได้ไม่เกิน 30 คน ให้เวลาในการทำงานต่อเนื่อง 3 ปี ใช้งบประมาณปีละไม่เกิน 200 ล้านบาท เบิกจ่ายผ่าน สช.สำหรับการกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทน กรรมการคณะต่างๆ นายอานันท์และนพ.ประเวศจะเป็นผู้กำหนดภายหลัง ตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ไม่ใช่จะตั้งเท่าไรก็ได้
“มาร์ค”ลั่นไม่แทรกแซง ก.ก.ปฏิรูปฯ คุยร่วมมือกันจนรู้ใจ
เมื่อเวลา 13.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินหน้าเรื่องการปฏิรูปประเทศ โดยจะมีคณะกรรมการปฏิรูป 1 ชุดและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป 1 คณะซึ่งตนจะเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งประธาน 2 คณะ โดยนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูป และน.พ.ประเวศ วะสี จะเป็นประธานคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ซึ่งประธานทั้ง 2 คนจะเป็นผู้ไปตั้งคณะกรรมการเอง โดยมีสำนักงาน ซึ่งจะตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานภายในของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาฯ ซึ่งมีกรอบการทำงาน 3หน้า ปีโดยมีอำนาจที่กว้างขวางพอสมควร ตามเจตนาที่ได้ประกาศเอาไว้ว่าเป็นส่วนสำคัญของแผนเรื่องการปรองดอง
เมื่อถามว่าคณะกรรมการจะดำเนินการโดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าจากโครงสร้างและรเบียบที่ออกไปนั้นจะเห็นได้ชัดมากกว่าการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงอย่างแน่นอน แล้วก็มีความเป็นอิสระมากพอสมควรในการทำงานแต่ละส่วน ซึ่งในรายละเอียดหลังจากนี้จะเป็นเรื่องของประธานคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดจะเป็นผู้ชี้แจงเอง
เมื่อถามว่าผู้ที่มาร่วมเป็นคณะกรรมการเป็นห่วงว่ารัฐจะไม่นำสิ่งที่คณะกรรมการได้ดำเนินการมาทำอย่างจริงจัง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “คำตอบเรื่องนี้มันอยู่ที่การกระทำ แต่ที่ผ่านมาเรามีการทำงานกับภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ หลายครั้งแล้วในรัฐบาลชุดนี้ แม้กระทั่งการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่าในทุกกรณีเราได้มีการดำเนินการจนผมพูดได้ว่ามีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน แม้กระทั่งเมื่อวานนี้ (28 มิ.ย.) ผมก็ได้ไปร่วมประชุมครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เรื่องมาบตาพุด เป็นบรรยากาศที่ดี แม้ข้อเสนอบางเรื่องยังไม่ผ่านขั้นตอนทั้งหมด แต่ตลอดเวลาการทำงานที่ผ่านมา คนที่เคยกังวลว่าคณะกรรมการ 4 ฝ่ายมีข้อยุติอย่างไรแล้วรัฐบาลจะดำเนินการหรือไม่ มันก็ชัดเจนแล้วว่าเราได้พยายามผลักดันตามอำนาจหน้าที่”
เมื่อถามว่าการปฏิรูปประเทศอาจจะไปกระทบฝ่ายการเมืองหรือกลุ่มทุนทางการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตัวอย่างที่ตนยกมาทั้งหมดนั้นแม้จะมีอะไรกระทบก็ตรงไปตรงมา ซึ่งตนยืนยันได้ว่ารัฐบาลสนับสนุนการทำงานเต็มที่
“บรรหาร”เย้ย “กก.ปรองดอง” ชาตินี้ปรองดองได้หรือไม่
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาชทพ. กล่าวถึงคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ ที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นว่า “ยากจริงเลย เห็นกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเหนื่อย ไม่แน่ใจ ชาตินี้จะปรองดองกันได้หรือเปล่า เพราะความคิดเห็นมันแตกแยกกัน ชาตินี้ไม่แน่จะปรองดองกันได้หรือเปล่า ตอบไม่ได้”
เมื่อถามว่าแล้วรัฐบาลจะตั้งขึ้นมาทำไม นายบรรหาร กล่าวว่า ต้องไปถามรัฐบาล ตั้งขึ้นมาเป็นประโยชน์อะไร ตั้งมาแล้วปรองดองกันได้หรือไม่ ต้องถามรัฐบาลเอง ถามตนไม่ได้ แต่ยากเพราะความคิดเห็นไปคนละทาง ยากที่จะปรองดอง นอกจากยอมเขาหมดปรองดองได้ ถ้าทุกฝ่ายตกลงก็ปรองดองได้ แต่ก็ต้องถูกด่าอีก”
จากเนื้อหาข่าวทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ “ครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อนุมัติงบประมาณจำนวนดังกล่าวให้กับ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศและสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นแกนนำสำคัญ จนถึงวันนี้ “ผลการปฏิรูปประเทศ” ที่คุ้มค่างบประมาณจากภาษีประชาชน 600 ล้านบาทที่ชัดเจนนั้น คืออะไร ?
เนื้อหาข้อมูลจาก : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1277803418