จิ้งจก UN เล่ามาให้ฮือฮาว่า ที่ไทยตกเก้าอี้ UNHRC นี่ เพราะมีการหักหลังกันนิดโหน่ยยยย
เดิม รบ.เลือกตั้งของไทย วิ่งล็อบบี้ประเทศโน้นนี้ให้ช่วยโหวตให้นะ จู่ๆ ระบอบการปกครองไทยกลับด้านเอารั้วของชาตินำไทยไรงี้ ฝรั่งอึ้งกิมกี่
ไอ้ที่เคยรับปากรับคำว่า เดี๋ยวจะโหวตให้ไทยได้นั่งเก้าอี้ UNHRC กะเขาด้วยเนี่ย เลยไม่โหวตละ เพราะถือว่าตอนรับปากนั่นไม่ใช่ รบ.เสื้อฟิต
ทีนี้ความที่ตอนลงคะแนนเป็นการโหวตลับ ก็เลยสนุกพวกเลย คะแนนที่ไทยคิดว่าจะได้ หายไป 42 คะแนนซะงั้น เลยตกกระป๋องหายต๋อม - มิตรสหายท่านหนึ่ง
เหตุไทยวืด นั่งยูเอ็นเอชอาร์ซี
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414046560
Credit Maysaa Nitto
ooo
เหตุไทยวืด นั่งยูเอ็นเอชอาร์ซี
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
23 ต.ค. 2557
ได้ลงคะแนนเสียงเพื่อคัดเลือกสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี) วาระปี 2558-2560
ไทยเป็นหนึ่งในชาติที่ลงสมัครในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ว่างลง 4 ตำแหน่ง โดยมีประเทศในภูมิภาคเดียวกันที่สมัครชิง 5 ประเทศ คือ อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ กาตาร์ และไทย
ผลการลงคะแนนเสียงปรากฏว่า ไทยไม่ได้รับเลือกโดยได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 หรือ 136 คะแนน ห่างจากกาตาร์ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนในลำดับ 4 เพียง 6 คะแนนเท่านั้น
จึงทำให้เกิดคำถามตามมาถึงสาเหตุที่ทำให้ไทยพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมาไทยเคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกยูเอ็นเอชอาร์ซี วาระปี 2553-2556 ด้วยคะแนนเสียงมากเป็นลำดับ 2 ที่ 182 เสียง
ขณะที่ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานยูเอ็นเอชอาร์ซี ระหว่างดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเอ็น ณ นครเจนีวาสวิตเซอร์แลนด์ สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีจนเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ
ซึ่งนายสีหศักดิ์ยอมรับว่าเสียดายที่ไทยไม่ได้รับการเลือกตั้งอีกวาระหนึ่งแต่คะแนนเสียงที่ไทยได้รับในครั้งนี้ไม่ถือว่าน่าเกลียด และไม่ได้ห่างจากผู้ได้รับเลือกมากนัก
ได้ลงคะแนนเสียงเพื่อคัดเลือกสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี) วาระปี 2558-2560
ไทยเป็นหนึ่งในชาติที่ลงสมัครในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ว่างลง 4 ตำแหน่ง โดยมีประเทศในภูมิภาคเดียวกันที่สมัครชิง 5 ประเทศ คือ อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ กาตาร์ และไทย
ผลการลงคะแนนเสียงปรากฏว่า ไทยไม่ได้รับเลือกโดยได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 หรือ 136 คะแนน ห่างจากกาตาร์ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนในลำดับ 4 เพียง 6 คะแนนเท่านั้น
จึงทำให้เกิดคำถามตามมาถึงสาเหตุที่ทำให้ไทยพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ทั้งที่ในอดีตที่ผ่านมาไทยเคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกยูเอ็นเอชอาร์ซี วาระปี 2553-2556 ด้วยคะแนนเสียงมากเป็นลำดับ 2 ที่ 182 เสียง
ขณะที่ นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานยูเอ็นเอชอาร์ซี ระหว่างดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเอ็น ณ นครเจนีวาสวิตเซอร์แลนด์ สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีจนเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ
ซึ่งนายสีหศักดิ์ยอมรับว่าเสียดายที่ไทยไม่ได้รับการเลือกตั้งอีกวาระหนึ่งแต่คะแนนเสียงที่ไทยได้รับในครั้งนี้ไม่ถือว่าน่าเกลียด และไม่ได้ห่างจากผู้ได้รับเลือกมากนัก
"เพราะโดยหลักการต้องเข้าใจก่อนว่านี่คือการแข่งขัน เสียงสนับสนุน 136 เสียงที่ไทยได้รับ ถือเป็น 70-80% ของคะแนนเสียงทั้งหมด แสดงว่าไทยได้รับความไว้วางใจพอสมควร และสะท้อนให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ยังมีความเชื่อมั่นต่อไทย" นายสีหศักดิ์ระบุ
หากย้อนไปดูการเลือกตั้งยูเอ็นเอชอาร์ซี วาระปี 2553-2556 ที่ไทยได้คะแนนมากเป็นลำดับ 2 ด้วยคะแนน 182 เสียงนั้น มีประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ลงสมัครเพียง 4 ประเทศ จึงทำให้ทุกประเทศที่ลงสมัครได้รับเลือกให้เข้าไปนั่งในยูเอ็นเอชอาร์ซีทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมา ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในไทยตกเป็นเป้าในการวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก นับตั้งแต่เกิดเหตุวุ่นวายทางการเมืองอย่างต่อเนื่องจนทำให้มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจากเหตุการณ์ต่างๆ เป็นระยะ กระทั่งมีการประกาศบังคับใช้กฎอัยการศึก ตามด้วยการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการแต่งตั้งรัฐบาลทหาร ภายใต้การนำพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.
เสียงต่อว่าไทยในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาจจะเพิ่มมากขึ้นภายใต้มุมมองที่ว่าไทยปกครองภายใต้กฎหมายพิเศษโดยรัฐบาลทหาร
ยิ่งในช่วงก่อนการลงคะแนนเสียงไม่กี่สัปดาห์ มีการส่งสัญญาณออกมาว่ารัฐบาลชั่วคราวของ พล.อ.ประยุทธ์อาจจำเป็นต้องดำรงตำแหน่งนานกว่า 1 ปีตามที่เคยประกาศไว้ ไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะจริงหรือไม่ แต่เชื่อว่าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ที่ติดตามสถานการณ์การเมืองไทยไม่มากก็น้อย
ขณะเดียวกันก็มีความเห็นจากชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ถึงกรณีดังกล่าวว่า พูดง่ายๆ ว่าด้านสิทธิมนุษยชนเราแย่ ขณะที่กาตาร์มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนใช้แรงงานอพยพกดขี่แรงงานที่สร้างสนามฟุตบอลต่างๆ นานาก็ยังชนะเรา
"ยุคนี้สิทธิมนุษยชนถูกละเมิดเยอะ มีการจับกุมขึ้นศาลทหาร ในสายตาของต่างประเทศหรือสหประชาชาติที่มีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเราขัดเกือบทุกอย่าง เขาคงไม่รับ ซึ่งเป็นไปตามที่คาดไว้แต่น่าอายตรงที่ว่าประเทศที่ได้ ไม่ได้มีสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่ดีมาก แต่เราแย่กว่าเขา" ชำนาญระบุ
ชำนาญยังให้ความเห็นอีกว่า การค้ามนุษย์ที่สหรัฐจัดระดับให้ประเทศไทยคงไม่เกี่ยวนัก เพราะเป็นของสหรัฐเพียงประเทศเดียว แต่ที่คิดว่าเกี่ยวข้องที่สุดคือการประกาศกฎอัยการศึกไม่เลิก การจับกุมคุมขัง การดำเนินคดีในศาลทหารจะมีผลมาก ที่สำคัญคือการมีกฎหมายหมิ่นซึ่งหลายคนสามารถนำไปใช้ในทางการเมือง
พร้อมกับให้ความเห็นถึงความสำคัญในตำแหน่งนี้ว่า สำคัญแน่นอน เพราะจะต้องไปมีบทบาทในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่นๆ แต่ก่อนที่จะไปตรวจสอบเขา เราต้องดีกว่าเขา อย่าลืมว่านี่เป็นการลงมติในสมัชชาใหญ่ ทุกประเทศมีสิทธิในการออกเสียงที่จะเลือกเราหรือไม่ แสดงว่าในสายตาของรัฐสมาชิกสหประชาชาติ เราแย่ที่สุดในบรรดา 5 ประเทศที่สมัครรับเลือก แสดงว่าเราได้รับภาพลักษณ์ว่ามีปัญหาสิทธิมนุษยชน
ขณะที่ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ บอกว่า ถ้าไปดูโครงสร้างของยูเอ็นเอชอาร์ซีจะเห็นว่าเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายเฉพาะตัวอยู่ไม่กี่เรื่องยูเอ็นเอชซีอาร์ไม่เหมือนสหประชาชาติที่เป็นเหมือนกับองค์กรซึ่งดูแลเรื่องทั่วๆ ไป แต่ว่าเป้าหมายของยูเอ็นเอชซีอาร์โฟกัสอยู่ที่การส่งเสริมการปฏิบัติตามในเชิงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วย
"การพิจารณาว่าจะให้ประเทศไหนได้เป็นคณะกรรมการหรือไม่ได้เป็น มีแนวปฏิบัติชัดเจนอยู่แล้ว เกณฑ์ที่ใช้ในการดูว่าประเทศนั้นๆ มีบทบาทในการปกป้องสิทธิมนุษยชน มีบทบาทในเรื่องของการส่งเสริม (Promotion) และเรื่องของการปกป้อง (Protection) มากน้อยแค่ไหน ซึ่งไทยไม่ได้เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงมากนักในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นในเวทีระหว่างประเทศหรือเวทีในประเทศไทยเอง" ศิโรตม์ระบุ
"ในเวทีระหว่างประเทศ ไทยเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน โดยภาพรวมอาเซียนก็เป็นการรวมกลุ่มประเทศซึ่งไม่ได้สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากเป็นพิเศษอยู่แล้ว ยิ่งทำให้เรามีปัญหามากขึ้นไปอีก อันนี้ผมคิดว่าเป็นลักษณะทั่วๆ ไปของไทยเอง เรื่องที่สองที่สำคัญมาก คือยูเอ็นเอชอาร์ซี ในแง่การทำงานจะยึดอยู่กับ 2 องค์กร 1.สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชน 2.ผู้ตรวจการพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ คิดว่าที่ผ่านมาทั้ง 2 องค์กรนี้เคยเตือนประเทศไทย มีเอกสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทยซึ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆมาหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา การใช้กฎอัยการศึกในการปกครองประเทศเป็นเวลานานก็เป็นเรื่องที่ถูกเตือนค่อนข้างบ่อย ทั้งสองปัจจัยนี้ก็เป็นเหตุให้ไทยไม่น่าจะถูกเลือกเข้าไปอยู่แล้ว" นักวิชาการอิสระกล่าว
ศิโรตม์อธิบายเพิ่มเติมว่า คำว่าสิทธิมนุษยชนในสายตาของโลกมีอยู่ 2-3 เรื่อง คือสิทธิพลเมือง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากแค่ไหนในแง่สื่อสารมวลชน การรวมกลุ่ม การมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม แต่ด้านการละเมิดสิทธิเป็นด้านที่ไทยมีปัญหาเหมือนกันในเรื่องค้ามนุษย์ การพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับ3 จังหวัดภาคใต้ เป็นปัจจัยกดดันไทยที่จะทำให้ได้รับการยอมรับในเรื่องนี้ยาก ที่คิดว่าสำคัญก็คือ ภาพสะท้อนถึงการไม่ยอมรับถึงความแคลงใจที่ประเทศอื่นๆ มีต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยหลังรัฐประหารครั้งล่าสุด
ศิโรตม์ยังให้ความเห็นอีกว่า การทำรัฐประหารทำให้เสียผลประโยชน์หลายอย่าง อาทิ สหภาพยุโรปการลงนามในสนธิสัญญาต่างๆ เรื่องความร่วมมือที่เป็นทางการระหว่างรัฐบาลของหลายประเทศ มีกฎหมายเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าจะไม่ให้ความร่วมมือ หรือจะไม่ให้สิทธิพิเศษด้านต่างๆ เพราะฉะนั้นไม่ใช่แค่เรื่องหน้าตาของประเทศอย่างเดียวแต่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์บางด้านของประเทศที่จะสูญเสียไปในระยะยาวได้เหมือนกัน
"ในยุโรปหลายประเทศมีปฏิญญาเขียนชัดเจนว่าไม่ให้ความร่วมมือกับประเทศที่มีรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารหรือรัฐบาลที่มีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะฉะนั้นนี่เป็นเรื่องที่เราเสียประโยชน์ด้วยเหมือนกันในระยะยาว" ศิโรตม์กล่าวทิ้งท้าย
(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม 2557)