วันศุกร์, ตุลาคม 31, 2557

รวมความเห็นของ อานนท์ นำภา (ทนายความ) เรื่องศาลทหาร + อภินิหารศาลไทย


โดย อานนท์ นำภา
ที่มา ประชาไท

1) พูดอย่างซีเรียสนะครับ เมื่อวานผมไปเรือนจำเจอกับเมียพี่ทอม ดันดี แกเล่าว่าคดีของพี่ทอมยังไม่มีนัด คือศาลทหารรับฟ้องแล้วแต่ไม่มีวันนัด คือเอาคดีไปแช่ไว้โดยไม่มีกำหนดนัด ( งงมั้ย )

ไม่ต้องงงครับ ไม่ใช่เฉพาะคดี ม. 112 พี่ทอม ดันดี ครับที่พอฟ้องแล้วศาลไม่กำหนดนัดใดๆเลย คดี ม.112 ของคุณสิรภพ , คดี ม.112 ของพี่สมัคร (เชียงราย) ก็เช่นเดียวกัน คือขังไปเรื่อยๆ ยังไม่รู้ว่าจะหยิบยกคดีขึ้นพิจารณาเมื่อไหร่

นี่คือปัญหาหนึ่งของศาลทหาร คือแม่งขังไปเรื่อยโดยไม่มีกำหนดนัด

2) นอกจากศาลทหารจะไม่มีระยะเวลาพิจารณาคดีที่แน่นอนแล้ว กระบวนพิจารณายังไม่เปิดเผยเท่าที่จำเป็นเพียงพอต่อการพิจารณาคดีอีกด้วย คือศาลทหารไม่อนุญาตให้ผุ้สังเกตุการณ์จดบันทึกระหว่างพิจารณา และไม่อนุญาตให้ทนายความคัดถ่ายรายงานกระบวนพิจารณา(บันทึกว่าด้วยการพิจารณาว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในวันนั้น) โดยให้เหตุผลว่า ให้จำเอา

3) ในองค์คณะของศาลทหาร มีเพียงตุลาการศาลทหารเท่านั้นที่จบ ป.ตรีทางกฎหมาย (ซึ่งถ้าเป็นศาลยุติธรรมต้องจบเป็นเนติบัณฑิตด้วย) นายทหารพระธรรมนูญอีก 2 ท่านซึ่งมีสิทธิออกเสียงในการพิจารณาคดีด้วย "ไม่ต้องจบกฎหมาย"

นี่คือความแตกต่างและเป็นข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการเอาพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร

4) ในศาลทหาร ไม่อนุญาตให้มีโจทก์ร่วมได้ ดังนั้น หากคดีที่ต้องขึ้นศาลทหารไปทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด ผู้นั้นหรือทายาทไม่สามารถเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีได้

5) คดีที่ขึ้นศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึก ไม่สามารถอุทธรณ์-ฎีกาได้ นั้นหมายถึง ศาลทหารชั้นต้นตัดสินแล้วจบเลย ( ซึ่งคดีที่พลเมืองต้องขึ้นศาลทหารหลังรัฐประหารมานนี้มีคดีที่มีอัตราโทษสูง บางคดีมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต กลับให้พิจารณาแค่ศาลเดียว จบแล้วจบเลย )

6) ศาลทหารเป็นหน่วยงานที่อยุ่ภายใต้กระทรวงกลาโหม มีสายบังคับบัญชาทางทหารโดยตรง ในทางกลับกัน คดีส่วนใหญ่ที่พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร เป็นคดีที่พลเรือนขัดแย้งกับทหารโดยตรง น่าสังเกตว่าจะมีการพิจารณาคดีภายใต้การทับซ้อนเรื่องความขัดแย้งอย่างไร ยุติธรรมหรือไม่ เพียงใด

7) การพิจารณาของศาลทหารมักจะไม่ระบุชื่อ ตุลาการผุ้ร่วมพิจารณาคดี แล้วจำเลยจะคัดค้านตุลาการนั้นๆได้อย่างไร จะทราบได้อย่างไรว่าคนที่นั่งพิจารณาคดีมีความรู้สามารถพิจารณาคดีได้ หรือตุลาการนั้นมีส่วนได้เสียในคดีหรือไม่ อย่างไร ไม่สามารถตั้งข้อรังเกียจตุลาการได้
ooo

เรื่องเกี่ยวเนื่อง...

มองย้อนหลัง อภินิหารศาลไทย