วันก่อนบอกเศรษฐกิจไทยโตเร็วไปเลยโดนอเมริกาตัดจีเอสพี
มาวันนี้เปลี่ยนใหม่ “ไม่ได้ใช้คำว่าเศรษฐกิจถดถอย แต่เป็นเศรษฐกิจเติบโตช้าลงในปีหน้าและปีต่อไป”
เนี่ยระ นายกฯ หลักสูตร จปร. อะไรๆ ก็ขอไปที ขอข้าก่อน
สงสัยวันก่อนต้องวางมาดนายกฯ
ใครอย่าแหลมเป็นอัดแหลก วันนี้สวมหัวโขนหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเลยทำขลึม
พยายามพูดจาให้มีหลักการ “สร้างสภาวะแวดล้อม ความมีเอกภาพและเสถียรภาพ เพื่อประโยชน์ต่อการลงทุน”
แต่ที่ไหนได้หลักการ ‘มั่วซั่ว’ ทั้งเล่นลิ้น ตบตา
แบบว่าสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ออกมารีบแถลงว่าไทยได้รับการปรับเครดิตจาก
‘อาร์แอนด์ไอ’ Rating and Investment Information, Inc.
ของญี่ปุ่น
“จากระดับ BBB+ มาเป็น
A- และคงมุมมองความน่าเชื่อไว้ที่ระดับเสถียรภาพ หรือ Stable
Outlook” ผอ.แพทริเชีย มงคลวนิช แจงว่า “สาเหตุที่ไทยได้รับการจัดอันดับในระดับที่ดีขึ้น
เป็นผลจากการดำเนินมาตรการเชิงรุก
ในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
และพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง...ขณะเดียวกันไทยยังมีวินัยทางการเงินการคลังที่แข็งแกร่ง...ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในขณะนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ”
นอกนั้น ผอ.สำนักหนี้สาธารณะยังคุยถึงการที่
“ไทยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Moody’s และ Fitch
Rating ได้ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย
จากระดับเสถียรภาพมาเป็นเชิงบวก”
(https://www.thansettakij.com/content/money_market/413497 และ https://www.khaosod.co.th/politics/news_3021475)
เหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาล คสช.๒
พยายามเก็บมาคุยเพื่อโต้แย้งสภาพข้าวยากหมากแพงในระดับรากหญ้าของบ้านเมือง
ที่ชาวบ้านเจอะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอด ๕ ปีกว่ามานี้ เนื่องจากในระดับ ‘ทุนใหญ่’ และกิจการ ‘เจ้าสัว’ ล้วน ‘รวยเอา รวยเอา’ กันอยู่
นั่นเป็นผลให้การจัดระดับเครดิตทางธุรกิจปรับขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น ‘เอสแอนด์พี’ Standard
& Poor's, ‘ฟิทซ์’ Fitch Group หรือ
‘อาร์แอนด์ไอ’ ซึ่งล้วนเป็นบรรษัทเอกชนที่ทำการวิเคราะห์
วิจัย และจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางธุรกิจต่างๆ ในขอบข่ายนานาชาติ
(เป็นที่น่าสังเกตุว่า ‘อาร์แอนด์ไอ’ ไม่ได้มีการรับรองจาก SEC หน่วยงานความมั่นคงทางเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐ หรือ ESMA องค์กรลักษณะเดียวกันของประชาคมยุโรป และ FMSA ของสวิสเซอร์แลนด์
https://www.wikirating.org/wiki/List_of_credit_rating_agencies)
เฉพาะช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
ความถี่ของการที่มีบริษัทลดจำนวนคนงานหรือขอให้ออก (Lay
Off) บ่อยขึ้น บ้างถึงกับปิดกิจการ ตกงานกันทั้งบริษัท
อย่างกรณีล่าสุดที่ศรีราชา ‘ไฮเทร็นด์’ บริษัทผลิตสินค้ากระเป๋าชนิดต่างๆ ซึ่งดำเนินการมาแล้ว ๑๑ ปี
ได้ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานเมื่อวันที่
๓๑ ตุลาคมนี้เอง โดยที่ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า เบื้องต้นพนักงานได้เงินชดเชยเพียง
๑ เดือนเท่านั้น ข่าวว่าทำให้คนงานปั่นป่วน เคว้งคว้างกันใหญ่
เพราะใช่ว่าจะหางานใหม่กันได้ง่าย
ในขณะที่บริษัทเอกชนซึ่งพลังทางธุรกิจไม่ได้แข็งแกร่งเทียบเจ้าสัวไม่กี่ราย
ต่างพยายามปรับตัวให้อยุ่รอกด้วยการลดจำนวนพนักงาน แต่สำหรับกิจการกึ่งรัฐ
หรือกิจการใหญ่ที่มีรัฐบาลเป็นหุ้นส่วนยักษ์
อย่างการบินไทยที่ประสบปัญหาขาดทุนย่ำแย่และต่อเนื่อง
ข่าวว่า “นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
ลาออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดการบินไทย” ก็คงไม่ทำให้สุขภาพขององค์กรดีขึ้นได้
ชาวบ้านทั่วไปเช่น @meaw8588 จึงได้สาดใส่ “ไม่ควรแค่ลาออก
ควรยุบไปเลย...องค์ถ่วงความเจริญใครมาเป็นก็ขาดทุนเหมือนเดิม”
เมื่อเร็วๆ
นี้ผู้บริหารชั้นสูงประชุมพนักงานขอให้ช่วยกันประคับประคองบริษัทด้วยการแก้ไขคนละไม้คนละมือ
แต่ตั้งปณิธานว่าจะไม่มีการโละพนักงานออก คืออุ้มกันต่อไป ทั้งๆ ที่แจ้งชัดว่าปัญหาหลักอันทำให้การบินไทยใกล้เจ๊ง
อยู่ที่พนักงาน
รัฐมนตรีว่าการคมนาคมซึ่งกำกับบริษัทการบินไทยเพิ่งแจ้งให้ดำเนินแผน
‘ลดค่าใช้จ่าย’ “ด้านพนักงาน
ซึ่งถือว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายหลักในบัญชีทางการเงิน
ด้วยปริมาณบุคลากรที่มีจำนวนมาก
ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในแต่ละปีไปกองอยู่ที่ค่าตอบแทนพนักงาน”
ทั้งนี้เนื่องจาก “ปัจจุบันการบินไทยมีพนักงานต้อนรับ
๖,๐๐๐ คน ขณะที่จำนวนเครื่องบินที่ใช้ได้มี ๘๐ ลำ
หรือเฉลี่ยพนักงาน ๗๕ คนต่อลำ
ซึ่งพนักงานทุกคนไม่สามารถบริการในเครื่องบินทุกประเภทได้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดช่องโหว่ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่มากกว่างานปฏิบัติจริง”
ทั้ง รมว.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ และ รมช.ถาวร
เสนเนียม ล้วนสั่งการอย่างโน้นอย่างนี้ ‘ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้’ บลา บลา บลา เหมือนกับว่าประโยควิเศษดังกล่าวไม่เคยมีใครคิดถึงมาก่อน