บีบีซีไทย - BBC Thai ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 20,000 เหตุการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 7,000 คน และได้รับบาดเจ็บกว่า 13,000 คน
บีบีซีไทย - BBC Thai "ความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ของไทยเป็นความขัดแย้งที่มีความสูญเสียมากที่สุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในเวลาเดียวกันกลับเป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้รับความสนใจจากนานาชาติมากนัก แม้ความขัดแย้งนี้จะไม่เป็นผลดีต่อทั้งไทยและทั้งภูมิภาคก็ตาม" รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช
.
Atukkit Sawangsuk
4 hrs ·
ไม่เกี่ยวโดยตรงกับเหตุยิง ชรบ.15 ศพ
แต่ฟังแล้วคิดถึงปัญหาเชิงระบบ
ผู้มีอำนาจไม่เข้าใจการเมืองนำการทหาร
มิตรสหายจากยะลาบ่นให้ฟัง
รู้ไหม นายอำเภอเมืองยะลาเพิ่งเกษียณ
ตอนนี้ยังไม่ตั้งใหม่ มีแต่ปลัดรักษาการ
นายอำเภอเมืองสตูลกับเมืองยะลาเพิ่งย้ายสลับกันเมื่อปีที่แล้ว
ท่ามกลางความงุนงงของชาวบ้าน เพราะนายอำเภอคนเดิมก็ขันแข็ง มหาดไทยย้ายทำไม นายอำเภอคนใหมมาปีเดียวเกษียณ
นี่คงไม่เกี่ยวกับเหตุร้ายโดยตรง ใครเป็นนายอำเภอก็เกิดเหตุได้เหมือนกัน แต่ฟังแล้วสงสัยว่าการโยกย้ายข้าราชการทำแบบนี้เยอะไหม ถ้ามีเยอะ ก็แสดงว่าผู้มีอำนาจไม่เข้าใจไม่คำนึงถึงการทำงานต่อเนื่อง ในพื้นที่อ่อนไหว ทำยังกับพื้นที่ปกติย้ายสลับกันไปมา
คือคนย้ายไปใหม่ อาจขยันขันแข็ง เข้าใจปัญหา แต่การเข้าถึงพื้นที่ เข้าถึงมวลชน ต้องใช้เวลา กว่าจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ หรือแม้แต่ทหาร จึงต้องใช้คนที่อยู่นาน ทำงานต่อเนื่อง (แบบ "จ่าเพียร") เป็นแกน คนที่ไปอยู่ใหม่ก็ต้องพร้อมใช้เวลาหลายปี
ปัญหาภาคใต้ก็เหมือนสงครามประชาชน ด้านบน ต้องแก้เรื่องสิทธิ ประชาธิปไตย ความยุติธรรม การกระจายอำนาจ ให้มีอำนาจบริหารจัดการตัวเองมากกว่าที่เป็นอยู่
ด้านล่าง ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องช่วงชิงมวลชน ใช้คนที่เข้าใจปัญหาเข้าใจพื้นที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา คือมันไม่ใช่เรื่องการทหาร แบบขนทหารลงไปยืนยามเต็มพื้นที่ ครบปีผลัดเปลี่ยน แม้แต่เรื่องการทหารก็ต้องใช้การข่าว ซึ่งต้องได้มาจากงานมวลชน
ที่จริงเรื่องนี้ก็เคยมีพูดกัน แบบสมัยที่ให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ลงไปเป็น ผบ.ศูนย์ส่วนหน้า แต่ตอนหลังพอใครลงไปภาคใต้แล้วได้นับอายุราชการทวีคูณ (แล้วกลับมาเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร.) ตำแหน่งภาคใต้ (โดยเฉพาะตำแหน่งห้องแอร์ไม่ต่องลงสนาม) ก็หอมหวานจนวุ่นไปหมด