คนงานพม่าเรียกค่าชดเชย ศาลไทยตัดสินยกฟ้อง
By Sathit M.
18 มีนาคม 2560
Voice TV
ศาลแรงงานยกฟ้อง คนงานพม่า 14 คนเรียกค่าชดเชย 44 ล้านบาทจากฟาร์มไก่ เผยทำงานวันละ 20 ชั่วโมง ต้องนอนข้างโรงเลี้ยง แถมได้ค่าแรงต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 17 มีนาคม ว่า ศาลแรงงานของไทยพิพากษายกฟ้องกรณีแรงงานชาวเมียนมา 14 คนร้องขอให้ศาลสั่งนายจ้างเจ้าของฟาร์มไก่จ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน 44 ล้านบาท ไก่จากฟาร์มแห่งนี้ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป
แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ฟ้องร้องฟาร์มไก่ของบริษัทธรรมเกษตร จังหวัดลพบุรี เป็นจำเลยร่วมกับเบทาโกร บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเกษตร โดยบรรยายฟ้องว่า พวกตนถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลา ลดค่าตอบแทนอย่างผิดกฎหมาย ถูกยึดหนังสือเดินทาง และจำกัดการเดินทาง
ศาลแรงงานจังหวัดสระบุรียกฟ้อง โดยพิพากษายืนตามคำสั่งของกรมคุ้มครองแรงงานเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ให้ฟาร์มดังกล่าวจ่ายให้คนงานเหล่านี้เป็นเงิน 1.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าทำงานล่วงเวลาที่คนงานพึงได้รับ
นางสาวสุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ กล่าวว่า ศาลไม่ได้พิจารณาคำร้องของพวกตนที่ว่า คนงานถูกยึดพาสปอร์ต ต้องนอนข้างโรงเลี้ยงไก่ “เราพอใจกับคำพิพากษาในระดับหนึ่ง แต่เราต้องถามคนงานว่ายังมีแรงจะฟ้องร้องต่อไปหรือเปล่า”
ในการให้สัมภาษณ์รอยเตอร์เมื่อปีที่แล้ว คนงานเล่าว่า พวกตนต้องทำงานวันละ 20 ชั่วโมงเป็นเวลา 40 วันติดต่อกันในช่วงที่ต้องดูแลไก่อย่างใกล้ชิด และต้องนอนข้างโรงเลี้ยงไก่ พวกตนได้ค่าจ้างวันละ 245 บาท ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 8 ชั่วโมง 300 บาท/วัน โดยได้หยุดงานสัปดาห์ละ 1 วัน
นายชาญชัย เพิ่มผล เจ้าของฟาร์มธรรมเกษตร ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และว่า คนงานสมัครใจทำงานตอนกลางคืนเพื่อตักตวงค่าโอที และเลือกที่จะนอนใกล้กับโรงเลี้ยงเอง เขาบอกว่า ตนจะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว ขอให้ยกเลิกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน 1.7 ล้านบาทให้คนงาน
นายชาญชัย ซึ่งบอกว่าเขาอาจต้องล้มละลายเพราะเบทาโกรยุติการรับซื้อไก่จากฟาร์มของตน ยังได้ฟ้องร้องคนงานเหล่านี้ รวมถึงนักสิทธิแรงงานชาวอังกฤษ นายอานดี้ ฮอลล์ ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วย.
Source: Reuters
Photo: AFP (file)
ooo
Thai court dismisses labour abuse suit against chicken farm
By Alisa Tang | @alisatang | Thomson Reuters Foundation
Friday, 17 March 2017
BANGKOK, March 17 (Thomson Reuters Foundation) - A Thai court on Friday dismissed a compensation claim by 14 migrant workers from Myanmar who had alleged labour violations at a chicken farm that supplied to the European Union.
In their lawsuit against Thammakaset farm and its buyer, agricultural giant Betagro, the workers had alleged forced overtime, unlawful salary deductions, passport confiscation and limited freedom of movement. They demanded around $1.3 million in compensation and civil damages.
The Saraburi province labour court dismissed the case and upheld an August 2016 order by the labour protection department for the farm to pay the workers nearly $49,000 for unpaid wages for overtime work.
"The court stood by the investigators' findings, but they didn't look into our claims about passport confiscation or sleeping next to the chicken coops," said Suthasinee Kaewleklai, a coordinator with the Migrant Worker Rights Network (MWRN), a local non-profit supporting the workers' case.
"We're satisfied to an extent, but we need to ask the workers if they have the energy to continue fighting this case," she said.
In interviews with the Thomson Reuters Foundation last year, the workers said they clocked 20 hours a day for 40 days straight during intensive chick-rearing periods, sleeping in hammocks next to the gigantic warehouses where the flock lived.
They earned $7 a day, though the legal daily minimum wage for eight-hour days is $8.60, with one day off per week.
Thammakaset owner Chanchai Pheamphon denied the charges and said the staff voluntarily worked nights to rack up bonuses and chose to sleep next to the chicken warehouse.
Chanchai said on Friday he would appeal the court's ruling. "I want them to cancel the compensation order," he said. "I am appealing because I don't agree with the order to pay the workers 1.7 million baht ($49,000)."
Chanchai, who has said he is facing bankruptcy after Betagro halted business with him, has separately pursued criminal defamation cases against the 14 migrant workers and British rights activist Andy Hall, who has championed the workers.
Thailand has been at the centre of scores of reports of slavery and human trafficking, with migrants from Myanmar suffering the worst exploitation.
In the face of mounting scrutiny of supply chains, Thailand has strengthened laws to crack down on labour exploitation.
(Reporting by Alisa Tang @alisatang, editing by Ed Upright. Please credit the Thomson Reuters Foundation, the charitable arm of Thomson Reuters, that covers humanitarian news, women's rights, trafficking, property rights, climate change and resilience. Visit http://news.trust.org)