วันอาทิตย์, มีนาคม 05, 2560

ราชสำนักของประเทศไทยยอมสยบหุ้นส่วนใหญ่ให้แก่กลุ่มเชคส์แห่งบาห์เรน :Kempinski AG

หุ้นส่วนใหญ่เครือโรงแรมเค็มปินสกี้เปลี่ยนมือจาก สนง.ทรัพย์สินฯ ไปสู่ราชสำนักบาห์เรน

รายงานข่าวจากสื่อเยอรมัน เว้ลท์เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๖๐ เปิดเผยว่า “อำนาจเปลี่ยนมือในเครือโรงแรมเค็มปินสกี้ ราชสำนักของประเทศไทยยอมสยบหุ้นส่วนใหญ่ให้แก่กลุ่มเชคส์แห่งบาห์เรน นี่เป็นการสิ้นสุดของช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วนสำหรับเครือโรงแรมเก่าแก่ที่สุดในยุโรป”

(ต่อไปนี้เป็นถอดความจากภาคภาษาอังกฤษที่แปลโดยกูเกิ้ล และภาคภาษาไทยที่ Junya Yimprasert กรุณาเรียบเรียงไว้บนหน้าเฟชบุ๊คของเธอ


มันเป็นการเปลี่ยนมือชนิดไม่ธรรมดา ซึ่งเกิดขึ้นในในโลกที่ปกปิดของสองราชสำนักอันมีมูลค่านับพันๆ ล้าน

เครือโรงแรมหรูเค็มปินสกี้มิได้อยุ่ภายใต้การบริหารจัดการของราชสำนักไทยอีกต่อไป ราชอาณาจักรบาห์เรนเข้ามาแทนที่ในฐานะหุ้นส่วนใหญ่ของเค็มปินสกี้ เอจี อันมีสำนักงานกลางอยู่ในนครมูนิค

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทย ถือหุ้นใหญ่ ๘๕ เปอร์เซ็นต์มาเป็นเวลา ๑๓ ปี โดยมีบาห์เรนเป็นฝ่ายข้างน้อย บัดนี้ไทยกับบาห์เรนได้ทำการสลับเปลี่ยนสถานะต่อกัน

โฆษกหญิงของเค็มปินสกี้เผยว่ายังไม่มีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนมือนี้ นี่เป็นเรื่องไม่น่าแปลกอะไรนัก

กิจการส่วนใหญ่ของโรงแรมมักเป็นการเช่าช่วง

ตามรายละเอียดข้อมูลของโรงแรมเอง เค็มปินสกี้ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าอิสระที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง ในทศวรรษ ๑๙๙๐ เครือข่ายได้ขายโรงแรมที่เป็นทรัพย์สินของตนออกไปจำนวนมาก ขณะนี้มีโรงแรมเดียวที่กลุ่มเป็นเจ้าของ คือ เวียร์ จาเรสซีเต็น ในเมืองมูนิค

กลุ่มเค็มปินสกี้เช่าซื้อโรงแรมไว้สองสามแห่ง เช่นโรงแรม แอ็ดลอน ในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งเช่าไว้จนถึงปี ค.ศ. ๒๐๓๒ ค่าเช่าจนถึงขณะนี้อยู่ที่ ๒๕๕ ล้านยูโร สำหรับโรงแรมส่วนใหญ่ในเครือเป็นเพียงการทำสัญญาเข้าไปบริหารจัดการ

เพียง ๗๕ โรงแรมใน ๓๐ ประเทศ เค็มปินสกี้เป็นเพียงผู้ดำเนินการโรงแรมหรูกลุ่มเล็กๆ ไม่อาจนำไปเทียบเคียงกับเครืออุตสาหกรรมโรงแรมขนาดยักษ์ อย่างแมริอ็อตและสตาร์วู้ด ที่เพิ่งประกาศรวมกันเป็นกลุ่มเดียวเมื่อสิ้นปี ๒๕๕๘ โดยมีจำนวนโรงแรมทั้งหมด ๕,๕๐๐ แห่ง จำนวนห้อง ๑.๑ ล้าน หรือกลุ่มฮิลตันที่มี ๑๓ ยี่ห้อ ๔,๘๒๐ โรงแรม อันมีบรรษัทลงทุนทางการเงิน แบล็คสโตน เป็นหุ้นส่วนใหญ่

มันเป็นความลับที่ใครๆ ก็รู้กันดีว่า เค็มปินสกี้เป็นเป้าของการกว้านซื้อกิจการจากพวกเครือยักษ์ใหญ่ กระนั้นก็ดีเครือเค็มปินสกี้ที่เพิ่งฉลองครบรอบ ๑๒๐ ปีไปหมาดๆ ต้องการรักษาบทบาทพิเศษของตนเอาไว้ แม้ว่าจะได้มีการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่สุดจากไทยไปบาห์เรนแล้ว หุ้นส่วนทั้งสองก็ยังปักหลักถือมั่นให้ความสำคัญกับเค็มปินสกี้และความสำเร็จระยะยาวของเครือข่ายนี้ ตามที่เอกสารแถลงการณ์ระบุ

จากการปรับใหม่ที่ทางอำนาจในเค็มปินสกี้ หุ้นส่วนหลักทั้งสองได้ทำให้ความสับสนวุ่นวายภายในตลอดสองปีที่ผ่านมายุติลง การเปลี่ยนแปลงประวัติการณ์ของเครือเค็มปินสกี้นี้ทำให้ดูเหมือนว่า ความมั่นคงแน่นอนระยะยาวได้เริ่มขึ้นแล้ว

ช่วงเวลาปั่นป่วนภายในกลุ่มผู้บริหาร

ความระส่ำระสายครั้งที่แล้วเกิดจากการที่กรรมการอำนวยการเก่าแก่คนหนึ่ง รีโต วิตเวอร์ ต้องออกไปในสถานการณ์ที่ยากจะอธิบายเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๗ หลังจากที่เกิดยุทธการสาดโคลนกันขนานใหญ่เกี่ยวกับการจ่ายเงินผิดประเภทก้อนหนึ่งจำนวน ๑ ล้านดอลลาร์โดยหัวหน้าคนก่อน แม้ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนเองก็อยู่ได้ไม่นาน จึงมีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการอำนวยการกำกับดูแลขึ้นอย่างกระทันหัน

ในฤดูใบไม้ผลิปี ๒๕๕๙ มาร์กัส ซีเมอร์ ชาวเยอรมันเข้าไปเป็นประธานบริษัท ในการประชุมที่กรุงเบอร์ลินเมื่อสองสามอาทิตย์ที่แล้ว เขาบอกว่าเค็มปินสกี้ไม่เปิดสำหรับให้ใครซื้อ “พวกเขาพยายามจะสอยเรา แต่เราก็ไม่ยอมขาย” ประธานคนใหม่วัย ๔๐ ปี กล่าว

ซีเมอร์เป็นความได้เปรียบของเค็มปินสกี้ที่จะแข่งขันกับใครๆ ในฐานะผู้บริหารเครือข่ายอิสระโรงแรมหรูระดับสูงในยุโรปหลังการเปลี่ยนมือ อับดุลลาห์ ฮ. ซาอิฟ อดีตรัฐมนตรีคลังและที่ปรึกษาของกษัตริย์แห่งบาห์เรน ได้รับการแต่งตั้งขึ้นกรรมการอำนวยการกำกับดูแลคนใหม่

ถ้าต้องการทราบรายละเอียดรายได้และผลกำไรจากประกอบการ กรุณาหาดูได้จากกระทรวงการคลัง (เยอรมนี) รายได้ของกลุ่มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสู่เกณฑ์ ๑๗๙ ล้านยูโร ในปี ๒๕๕๘ และกำไรสุทธิอยู่ที่ผลประกอบการพิเศษ ๑๔.๗ ล้านยูโร


สำหรับเค็มปินสกี้ เอจี แกนกลางของบรรษัท ปริมาณขายจะลดลงเหลือ ๑๑.๓ ล้านยูโร ในรายงานของปี ๒๕๕๘ เมื่อโรงแรมเค็มปินสกี้ สนามบินมูนิค ออกไปจากเครือข่าย และที่โรงแรมแอ็ดลอนในเบอร์ลิน ผลประกอบการขาดทุน อยู่ที่ ๑.๑ ล้านยูโร ในรายงานของปี ๒๕๕๘