วันอังคาร, มีนาคม 21, 2560

เรื่องราวอันน่าฉงนของวัดพระธรรมกาย





โพสต์ที่: เรื่องราวอันน่าฉงนของวัดพระธรรมกาย

อ้างอิง: The perplexing case of Wat Dhammakaya

เขียนโดย: ดร. เจมส์ แอล เทย์เล่อร์

โพสต์บนเวปไซค์ของ: New Mandala เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
---------------------------------------
ทั้งตำรวจและกองทัพไทยได้เดินหน้าดำเนินการต่างๆ กับวัดพระธรรมกายซึ่งมีเรื่องราวอันย้อนแย้งอย่างน่าฉงน ในการค้นหาพระภิกษุซึ่งถูกเป็นบุคคลที่ทางการต้องการตัวเป็นอย่างยิ่ง แต่การจู่โจมบุกเข้าไปนั้น จริงๆ แล้วเป็นเพียงแค่ เรื่องของความพยายามรีบเร่งหาเงินสดเข้ากองคลังกันอย่างเร่งด่วน (dash for cash) โดยฝ่ายเผด็จการทหารที่บริหารประเทศอยู่เท่านั้นเอง เขียนโดย ดร. เจมส์ แอล เทย์เล่อร์ (James L Taylor)

เรื่องราวแบบนี้ อาจจะไม่ใช่ประเภทของพุทธศาสนาที่ผม (ดร. เทย์เลอร์) รู้จัก แต่สิ่งเกิดขึ้นอยู่ซึ่งเป็นปฎิปักษ์กับวัดพระธรรมกาย หรือ กลุ่มเคลื่อนไหวของวัดพระธรรมกาย เป็นเรื่องปริศนาและสร้างความวิตกกังวลให้เพิ่มขึ้นอย่างเข้มข้นมากๆ

ฝ่ายรัฐบาลทหารกำลังนำเอาทรัพย์สินต่างๆ ออกไปจากวัด ภายใต้ข้ออ้างของ “การปฎิรูป” โดยปราศจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติตามกฎหมายอย่างที่เคยมีมา หรือ มีความถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อนำเอาเรื่องของอุดมการณ์หรือคตินิยมต่างๆ ออกไป การกระทำของฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหาร ได้ถูกเชื่อมโยงให้เห็นถึงการเข้ายึดฐานะการเงินของวัด พร้อมกับขยายการปฎิบัติออกไปกับวัดต่างๆ อีกหลายวัด ใน (ลัทธิมหานิกาย) ซึ่งมีฐานะอันมั่งคั่ง เนื่องจาก การปกครองของฝ่ายรัฐเอง พยายามกระทำแบบเข้าตาจน เพื่อยึดครองอำนาจและเสริมเงินกองคลังของรัฐซึ่งกำลังหดตัวร่อยหรอลงไป พร้อมๆ กับการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยแบบสุรุ่ยสุร่ายโดยฝ่ายรัฐเอง ซึ่งในอีกไม่ช้า วัดวาอารมต่างๆ ที่อาจจะกลายเป็นเป้าหมายร่วมไปด้วย ก็รวมไปถึง วัดสระเกศ, วัดโสธรวราราม (จังหวัดฉะเชิงเทรา), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (จังหวัดพิษณุโลก), วัดปฐมเจดีย์ (จังหวัดนครปฐม), วัดใหญ่ชัยมงคล (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และ วัดไร่ขิง (จังหวัดนครปฐม)

ในกระบวนการดังกล่าวนี้ ก็ยังมีความพยายามที่จะล้มล้างสมาคมพุทธศาสนาของประเทศไทย (สำนักพุทธฯ) ออกไปจากระบบ และให้ไปผสมผสานอยู่ภายใต้การดูแลโดยกรมการศาสนาของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งจะมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการเงินและทรัพย์สินของวัดทุกๆ วัดภายในประเทศ ฝ่ายคณะบริหารประเทศยังมีความตั้งใจที่จะยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปี พ.ศ. 2505 อีกด้วย (ฉบับที่มีการปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อมาในปี พ.ศ. 2535) โดยการยกเลิกสภาของพระภิกษุสงฆ์ผู้อาวุโส (มหาเถระสมาคม) และนำเอาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ปี พ.ศ. 2484 กลับเข้ามาบังคับใช้ ฝ่ายคณะบริหารประเทศยังมีความตั้งใจที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ในการปฎิบัติกับการเงินส่วนบุคคลของพระสงฆ์ทุกๆ รูปและวัดวาอารามทุกๆ แห่ง, รวมทั้งสร้างจำกัด เพื่อห้ามพระภิกษุสงฆ์จากการลาสิกขาบท เหมือนกับประเพณีที่กระทำกันมาก่อนหน้าในประเทศต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนภูมิภาคเอเชียใต้ และทำการปฎิรูปการศึกษาในวัดวาอารามอีกด้วย การใช้วิธีการอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและเฉียบขาด ซึ่งทางฝ่ายเผด็จการทหารกำลังดำเนินการกวาดล้างอยู่นี้ ไม่ได้สร้างการเรียกกำลังขวัญกำลังใจให้กับความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวางจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเลย ในเรื่องการจู่โจมเข้าไปในวัดพระธรรมกายนั้น มันเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า แรงจูงใจนั้น กลับไปเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ โดยเฉพาะ ถึงแม้จะอ้างกันว่า มีการกระทำผิดกฎหมายอยู่ที่นั่น เพื่อที่จะสร้างเหตุผลว่า การกระทำของตนเป็นเรื่องที่เหมาะสมก็ตาม

การเคลื่อนไหวของกลุ่มวัดพระธรรมกายอาจจะเห็นว่าเป็นปรากฎการณ์ของฝูงชนอันยิ่งใหญ่ (Mass spectacle) ผู้คนบางคนให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องการตบตาผู้คน (Specious) ในการสร้างมหกรรมผู้คนให้ไหลหลั่งเข้ามาจากกลุ่มที่เสรีนิยมใหม่ (Neoliberal), การนำเรื่องการนับถือศาสนาแบบพุทธพาณิชย์ทั่วโลกเข้ามาประยุกษ์ใช้ (Commodified global religiosity) ถึงแม้ว่าในทศวรรษที่ผ่านมา หรือ นานกว่านั้น ส่วนใหญ่แล้ว ทางวัดจะวางตัวแบบสุขุมรอบคอบอย่างพินิจพิเคราะห์ และยังคงอยู่นอกเหนือขอบเขตที่จะเป็นพันธมิตรหรือฝักใฝ่การเมืองกับกลุ่มใดหรือพรรคหนึ่งพรรคใด แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำการจู่โจมเข้าไปเพื่อต่อต้านการเคลื่อนไหวของพระธัมมชโย ซึ่งผู้นำทางจิตวิญญาณที่มีอายุมาก (เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2488) (และเป็นโรคเบาหวานอย่างรุนแรง) สร้างเสียงร้องอ้อนวอนด้วยคำวิพากษ์วิจารณ์ ในการเรียกร้องของเรื่องความไม่ลำเอียงและให้กล่าวถึงเรื่องของความเป็นเหตุเป็นผล มูลนิธิวัดพระธรรมกายเป็นสมาชิกของกลุ่ม NGO ที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2539 และ เหตุการณ์ครั้งนี้ จะไปสร้างความสนใจกันเป็นอย่างมากให้กับสังคมนานาชาติได้รับรู้กัน

การเคลื่อนไหวได้อยู่ภายใต้สายตาของทางสาธารณะมาตลอดตั้งแต่ผม (ดร. เทย์เล่อร์) เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายเมื่อปลายทศวรรษ พ.ศ. 2530-2533 แต่ในเวลานี้ กลับถูกติดตามไล่ล่าโดย่ไม่มีการอ่อนข้อให้อย่างเด็ดขาดจาก สำนักงาน DSI ซึ่งเป็นองค์กร “อิสระ” ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ จากกระทรวงยุติธรรมในคคีหนึ่ง ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว สามารถย้อนหลังให้เห็นได้ในปี พ.ศ. 2549 และมีแนวโน้มเป็นอย่างมากที่จะปะทุขึ้นมา เหตุการณ์ต่างๆ ในรอบสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ได้ถูกลากนำมาเป็นประเด็น โดยพระภิกษุอาชิน วีระธุ ซึ่งเป็นพระสงฆ์เพื่อนบ้านชาวพม่า ผู้มีความคลั่งในชาตินิยมเป็นอย่างยิ่ง และรวมไปถึงพระภิกษุสงฆ์อื่นๆ ทั่วทั้งทวีปเอเชีย เพื่อให้การสนับสนุนกับวัดอันมีพื้นที่กว้างใหญ่โต ซึ่งกำลังถูกปิดล้อมอาณาเขตของจังหวัดปทุมธานี ที่อยู่ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร

ผู้บังคับบัญชาของสำนักงาน DSI ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อติดตามคดีนี้ในปี พ.ศ. 2559 กับวัดพระธรรมกาย คือ พันตำรวจเอก ไพสิฐ วงศ์เมือง ซึ่งปฎิบัติตามจดหมายการร้องเรียน ซึ่งลงชื่อโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งเป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการปฎิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฎิรูปแห่งชาติ; ดร. มโน เลาหวณิช (ในอดีตเคยเป็นพระภิกษุผู้ได้รับทุนจากวัดในการศึกษาต่อ ชื่อในเวลานั้น คือ พระมโน เมตตานนโทภิกขุ); เครือข่ายของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการล่มสลายของสหกรณ์คลองจั่น (ซึ่งจะวิเคราะห์ในช่วงท้าย), และเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยม

ปัญหาเริ่มขึ้นจาก พระพุทธอิสระ ซึ่งเป็นผู้มีความคลั่งชาติ และเป็นบุคคลที่ฝ่ายเผด็จการทหารให้ความชื่นชอบ ในการสร้างแผนการที่วางกันไว้อย่างซับซ้อน เพื่อที่จะทำลายพระธัมมขัยโย (ด้วยการประดิษฐ์สร้างเรื่องกันขึ้นมา เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร) และทำให้เรื่องของสมเด็จช่วงของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอยู่ในเวลานั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชลงไป (วัดปากน้ำ เป็นวัดแรกเริ่มทางจิตวิญญาณของวัดพระธรรมกาย) สมเด็จช่วงฯ ทรงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ พระพุทธอิสระและกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส (ซึ่งย้อนแย้งกับชื่อว่า “คณะกรรมการปฎิรูปประชาธิปไตย” หรือ PDRC – People’s Democratic Reform Committee) เมื่อพวกเขาเข้าไปยึดสถานที่ทำการของรัฐบาลหลายๆ แห่ง อย่างผิดกฎหมาย ก่อนหน้าที่รัฐประหารครั้งล่าสุดจะเกิดขึ้น

คณะผู้บริหารประเทศเห็นเรื่องของการทำลายล้างการเจริญเติบโตของวัดพระธรรมกายว่า เป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การล้มล้างอำนาจสูงสุดและสิทธิ์ต่างๆ ของฝ่ายคณะสงฆ์ และเข้าไปดำเนินการใหม่ได้ แทนที่จะไปทำการร้องทุกข์กับรัฐบาลพลเรือน เพราะฉะนั้น จึงไปกระทำตามคำเสนอพระพุทธอิสระแทน ในแก่นแท้ของฝ่ายเผด็จการทหารนั้น ตนเองก็ต้องการกำจัดอำนาจและฝ่ายตรงข้ามทุกกลุ่ม ที่อาจจะผุดเกิดขึ้นมาได้ในอนาคตออกไปให้หมด เพื่อให้บรรลุถึงแผนการสร้างลัทธิเผด็จการโดยสมบูรณ์

ไม่ใช่ว่าวัดพระธรรมกายเอง จะปราศจากผู้สนับสนุนที่ไม่มีอิทธิพลเลยแต่อย่างใด แม้ว่าเกือบทั้งหมดจะมีความเชื่อมโยงกับชนชั้นกลางผู้มีฐานะดี รวมทั้งพวกเศรษฐีใหม่ (nouveau riche) ด้วย เมื่อหันกลับไปย้อนดูในอดีต ทางวัดได้รับการเยี่ยมเยียนจากสมาชิกของพรรคการเมืองอย่างหลากหลายและกลุ่มผู้ลากมากดี (Elites) รวมทั้ง พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน (ในตำแหน่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ในเวลานั้น) และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ เอง ทรงเป็นผู้ฝังลูกนิมิตในพระอุโบสถของวัดพระธรรมกาย เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2520

ฝ่ายกองทัพ ทำการปฎิบัติการตามยุทธวิธีที่ประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2553 ด้วยการตัดทอนกำลัง (Attrition) และล้อมกรอบ (Encirclement) กับผู้ทำการประท้วง ด้วยการทำการปฎิเสธไม่ให้ผู้คนเข้ามา แต่ยินยอมให้ออกไปเท่านั้น และในเวลานี้ ยังมีศูนย์ปฎิบัติการของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ซึ่งพร้อมที่จะบุกเข้าไปในสถานที่ได้ในท้ายที่สุดอีกด้วย ยังมีอุบาสก อุบาสิกา และพระภิกษุในคณะสงฆ์ในวัดพระธรรมกาย ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี รวมอยู่ข้างในทั้งหมดอีกประมาณ 10,000 คน เมื่อไม่ยินยอมให้มีการนำเอาอาหารสดเข้าไปถวายพระภิกษุและสามเณรในวัดได้ และอนุญาตให้เพียงแต่นำเอาอาหารที่ปรุงสุกแล้วเข้าไปได้เท่านั้น มันก็ไม่เป็นการเพียงพอต่อการบริโภค และในกรณีส่วนใหญ่แล้ว อาหารเหล่านั้นก็เน่าบูดเน่าเสียกันเป็นจำนวนมาก เมื่อถึงเวลาที่นำเอาเข้าไปข้างในวัดได้ ทางฝ่ายกองทัพ (ใช้การอ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ) เป็นผู้ปฎิบัติการที่เยี่ยมยอดมากๆ ด้วยการอาศัยอำนาจทางกฏหมาย ภายใต้มาตรา 44 ว่าด้วยการ “สลาย” กลุ่มพลเรือนผู้ทำการประท้วงโดยฝ่ายตนเองอย่างแท้จริงอยู่อย่างเสมอมา พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่รอบๆ วัดพระธรรมกาย ได้รับความยากลำบากทางสังคมและทางเศรษฐกิจ เพราะผู้คนเป็นจำนวนนับหมื่น จะต้องพึ่งพาอาศัยทางวัดเพื่อการดำรงชีพของตน และผู้ที่ทำงานอยู่นอกพื้นที่ ก็ต้องหาหนทางเปลี่ยนวิถีการเดินทางทั้งหมดใหม่ ซึ่งก็ใช้เวลานานมากขึ้น มันควรที่จะต้องจดจำไว้ด้วยว่า ตามปกติแล้ว จะมีอุบาสก อุบาสิกาอาศัยอยู่ในวัดมากกว่า พระภิกษุสงฆ์ และสามเณรต่างๆ คุณอนวัช ธนเจริญณัฐ ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในเขตท้องถิ่น ซึ่งมีอายุ 64 ปี ทำการผูกคอตายเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อประท้วงต่อการใช้มาตรา 44 กับวัดพระธรรมกาย (ส่วนรายละเอียดต่างๆ เชิญคลิ๊ก ที่นี่)

สาเหตุอะไร ที่กลายเป็นเรื่องที่ลุ่มหลงกันหรือว่าเป็นเรื่องของอาการเข้าตาจนในการจับกุมพระธัมมชโย? พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีสไตล์เป็นชองตนเอง กล่าวว่า มันไม่สำคัญแต่อย่างใด ที่จะต้องใช้เวลานานเท่าไร กับการนำกองกำลังของตำรวจมากกว่า 3,000 คน รวมทั้งบุคลากรของกองทัพ (แต่ละคนได้รับเบี้ยเลี้ยงคนละ 400 บาทต่อวัน) และก็เพิ่งจะเพิ่มจำนวนทหารและตำรวจมากยิ่งขึ้นไปมากกว่าเก่าอีกเมื่อไม่นานมานี้ แต่พวกเขาจะอยู่จนกว่าจะพบตัวของพระธัมมขโย ตามความจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ต่างก็ไม่ได้เห็นพระธัมมชโยกันมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ในเวลานี้ พลเอกประยุทธ์ยังได้นำเอาผู้บริหารระดับสูงของ สำนักงาน DSI คือ พันตำรวจโทพงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หลังจากที่ตัวพลเอกประยุทธ์เกิดอาการขุ่นมัว เมื่อได้ทราบว่า การปฎิบัติการเป็นเรื่องไร้ผลเพราะไม่สามารถจับกุมตัวพระธัมมชโยได้

ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันอย่างยาวนานในเรื่องของการบุกเบิกทางการตลาดอย่างชาญฉลาด พระธัมมชโย ได้ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับเรื่อง “การฟอกเงิน” (Money laundering) และฉ้อโกง (Racketeering) ในคดีซึ่งมีผู้ที่ต้องการขโมยข้าวของอยู่มากมาย ซึ่งเหมือนกับมีรูและรอยปรุอยู่ทั่วตระกร้าที่เต็มไปด้วยรอยรั่ว ทางวัดพระธรรมกายได้รับการบริจาคเงินก้อนใหญ่จากสหกรณ์คลองจั่น (ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 52,000 ท่าน) คุณศุภชัย ศรีศุภอักษร ผู้เป็นอดีตประธานสหกรณ์เครดิทยูเนียน ซึ่งในเวลานี้ ถูกจำคุกอยู่เป็นเวลา 16 ปีด้วยข้อหาฉ้อฉล (Embezzlement) หลังจากที่นำเอาเงินจำนวน 11,300 ล้านบาท (ด้วยการจ่ายเช็คทั้งหมด 878 ฉบับ ผ่านธนาคารในประเทศไทย 10 แห่ง) ซึ่งเป็นเงินของสมาชิกสหการณ์ ไปสั่งจ่ายให้กับองค์กรใหญ่ๆ 6 องค์กร และมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มต่างๆ และตัวบุคคลอีกเป็นจำนวนมาก (อ่านได้จาก ที่นี่ และ ที่นี่ )

กลุ่มต่างๆ ที่ได้รับเงิน (และหลายๆ กลุ่มก็ได้รับเงินมากกว่าทางวัดพระธรรมกายได้รับเสียอีก) กลับไม่ถูกดำเนินคดี; กลับกลายเป็นว่า ท่านเจ้าอาวาส คือ พระธัมมชโย เท่านั้น ซึ่งกลายเป็นผู้ถูกล่าในเรื่องนี้ กลุ่มผู้ทำการเคลื่อนไหวทางวัดพระธรรมกายได้กล่าวว่า ทางวัดได้จ่ายชำระเงินที่ได้รับจากการบริจาค กลับคืนไปให้กับทางสหกรณ์ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ทราบว่า แหล่งต้นทางของเงินที่ทางวัดได้รับจากการบริจาคมีปัญหาเกิดขึ้น ทางเครดิทยูเนี่ยนกล่าวว่า นับจากนี้ ทางสหกรณ์ก็ไม่มีปัญหาใดๆ กับทางฝ่ายวัดพระธรรมกายอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงาน DSI (ซึ่งหัวหน้าคนเก่า ถูกเปลี่ยนตัวออกไปเมื่อไม่นานมานี้ เพราะไม่มีความสามารถที่จะล้มวัดลงได้) ก็ยังไม่ยอมหยุด และยังคงเดินหน้าไล่ล่าผู้นำทางศาสนาที่โชคร้ายผู้นี้อยู่อย่างต่อเนื่อง

มันเป็นที่เห็นได้ชัดแล้วว่า ทางสำนักงาน DSI และสำนักงานอัยการสูงสุด สามารถเรียกเงินกลับคืนได้เป็นจำนวน 3,800 ล้านบาท และดูเหมือนว่า ไม่มีใครทราบว่า เงินจำนวนนี้ไปตกอยู่ที่ไหนหรือตกอยู่กับใคร คุณประกิต พิลังกาสา ซึ่งเป็นประธานคนใหม่ของสหกรณ์คลองจั่น ได้ให้สัมภาษณ์กับโทรทัศน์ผ่านสัญญาณดาวเทียมช่อง 29 และทีวีดิจิตอล ช่อง 19 เมื่อวันที่ 23 และ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ว่า ทางสหกรณ์มีความประสงค์ที่จะดำเนินการทางกฎหมายกับสำนักงาน DSI และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อที่จะได้รับเงินจำนวนนี้กลับคืนมา

มีข่าวลืออย่างหนาหู ซึ่งมีการแพร่หลายวนเวียนกันอยู่ในสื่อที่ไม่เป็นทางการหลายแห่งว่า ทำไม ทางสำนักงาน DSI และทางฝ่ายกองทัพถึงต้องการทำลาย ไม่เพียงแต่พระธัมมชโย เท่านั้น แต่มีแนวโน้มเป็นอย่างมากว่า เป็นเรื่องของหลักฐานข้อกล่าวหาที่สร้างความอึดอัดใจอยู่อีกด้วย ซึ่งพวกเขาเหล่านั้น ต่างตั้งข้อสันนิษฐานกันว่า อาจจะตั้งอยู่ในวัดนั่นเอง ท่านต้องจดจำกันไว้เสมอว่า วัดพระธรรมกาย ออบอุ้มความมั่งคั่งไว้อย่างใหญ่หลวง ซึ่งฝ่ายเผด็จการทหารเอง กำลังทำการใช้จ่ายเงินทองกันอย่างยกใหญ่โดยพวกตนเอง และสร้างโครงการใหญ่โตขึ้นมาอีกด้วย ดังนั้น ก็เป็นการสมควรที่จะต้องชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง ในการเพิ่มพูนสินทรัพย์ให้กับเงินทุนสำรองซึ่งกำลังร่อยหรอลงไปเป็นอย่างมาก

ยังมีปัจจัยตัวอื่นๆ อีกในการผสมผสานอันซับซ้อนเหล่านี้: ปฎิกิริยาโต้ตอบของสื่อกระแสหลักในประเทศไทย (ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนฝ่ายอำมาตย์อย่างเต็มตัว) พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเอา เรื่องใดๆ ก็ตาม ที่มีการเชื่อมโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้ามาประโคมกันอย่างรวดเร็ว ด้วยใช้การเสนอและสร้างข่าวโคมลอยขึ้นมาและสรรหาค้นคิดการสร้างวิธีการกลั่นแกล้ง เพื่อให้โยงและพาดพิงถึงวัดพระธรรมกายว่า เป็นป้อมปราการให้กับอดีตนักการเมืองที่สนับสนุนอดีตรัฐมนตรีทักษิณอยู่ ---ซึ่งโดยตรงแล้ว ก็เป็นเพียงการผ่านจากการพูดของผู้คนสองสามคน และก็เป็นที่ทราบกันดีว่า บุคคลเหล่านี้ไปที่วัดพระธรรมกายกันมากกว่าหนึ่งครั้ง ตัวอย่างเช่น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ซึ่งเป็น อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข (ยังสามารถอ่านต่อได้ ที่นี่)

หลังจากที่เวลาผ่านไปหลายปีแล้ว ระบอบอำมาตย์ก็ยังคงถูกนำมาใช้ได้ในทุกๆ โอกาส เพื่อทำการทำลายชื่อเสียงของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ และเพื่อการกำจัดผลประโยชน์ กับความชื่นชอบทางการเมืองอันเป็นที่นิยมของเขาทั้งหมดให้สิ้นซากลงไป มันจะต้องมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงไปว่า ทางวัดพระธรรมกายไม่ได้เป็น “เสื้อแดง” อย่างตามที่เป็นข่าวลือกันเลย --- ในการสัมผัสอย่างธรรมดาๆ มันไกลเกินกว่าเรื่องนั้นเสียอีก หากผู้ใดได้รู้จักคนที่ติดตามเข้าไปปฎิบัติในวัดนี้กัน ถึงแม้ว่า อาจจะมีคนบางคนที่มีจิตใจและอุทิศตนว่าเป็น “เสิ้อแดง” ก็ตาม, มันก็เหมือนส่วนต่างๆ ในสังคม ที่มันไม่อาจจะเห็นกันได้อย่างชัดเจน สื่อกระแสหลักหลายแห่ง พยายามใช้ความตลบตะแลง (Cunningly) จากการปั้นข่าว ด้วยการ “กล่าวหาความเชื่อมโยง” ไปให้ถึง อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ --- มันเป็นเรื่องมากเกินพอกันแล้ว ต่อการทำการทำลายชื่อเสียงและดิสเครดิตวัดพระธรรมกาย ทั้งๆ ที่พวกเขาหรือผู้เขียนข่าวเหล่านั้น ไม่เคยที่จะสามารถเสนอหลักฐานใดๆ ให้เห็นเป็นตัวเป็นตนได้เลย การพาดพิงเหล่านี้ ก็เพื่อประสงค์ที่จะทำลายวัดพระธรรมกายโดยเฉพาะ และเป็นการนำมาใช้ให้ดูเหมือนกับว่า ให้เชื่อในเรื่องราวเหล่านี้ ประหนึ่งว่าเป็นแถลงการณ์ให้ทราบถึงความเป็นจริงไปเสีย

หัวข้อใหญ่ๆ ที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ หลังจากที่วิเคราะห์มาตั้งแต่ต้น ยังต้องมีการกล่าวอ้างอีกครั้ง เพื่อดูกิริยาท่าทางและความประสงค์ของฝ่ายอำมาตย์ ที่จะทำลายล้างความเคลื่อนไหวของฝ่ายวัดพระธรรมกาย:

ประการที่หนึ่ง วัดพระธรรมกายเป็นวัดของฝ่ายมหานิกาย นิกายของพุทธศาสนาไทยนิกายนี้ ไม่ได้รับ ความสนอกสนใจ, สัญลักษณ์แห่งทุนทรัพย์ และทรัพยากรจากฝ่ายรอยัลลิสต์ เหมือนกับที่เห็นจากวัดวาอารามหลวงจำนวนมากของฝ่ายธรรมยุตนิกายเลย อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น เมื่อไม่นานมานี้ เราได้เห็นการแสดงเป็นนัย จากการตัดสินใจของฝ่ายอำมาตย์ ต่อการส่งตำแหน่งของผู้ปฎิบัติการในฐานะสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จช่วงฯ) ไปให้กับพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต จากวัดราชบพิตร ที่ฝ่ายตนมีความชื่นชอบมากกว่า เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน วัดพระธรรมกายคือเป้าหมายต่อไป ในการกวาดล้างครั้งใหม่ เพื่อทำการยึดทรัพย์สินทั้งหมด

ประการที่สอง: ไม่ได้เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า วัดที่มีลักษณะโดดเด่นแบบนี้ จะให้การสนับสนุนกับทางฝ่ายวังอย่างเปิดเผย โดยทำการบริจาคทรัพย์สินเพื่อการกุศลผลบุญตามเท่าที่จำเป็นอย่างไม่อั้น เรื่องนี้ไม่ใช่การดำเนินการที่ดี และก็ไม่เหมือนกับวัดวาอารามของฝ่ายอำมาตย์และบุคคลผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นซึ่งให้การอุปถัมภ์ต่อพระป่าตามวัดต่างๆ

ประการที่สาม: ตามที่บันทึกไว้เมื่อตอนต้น วัดพระธรรมกายเป็นวัดที่ถือว่ามีความร่ำรวยอย่างมหาศาล ตัวอย่างเช่น ในตอนแรกๆ ทั้ง อุบาสก และอุบาสิกา ต่างก็อุทิศทองคำเป็นจำนวนมากมายในการสร้างพระมหาเจดีย์สถานอันใหญ่โตมโหฬารและรวมไปถึงปางพระพุทธรูปต่างๆ ที่วัดใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี

ประการที่สี่: การเคลื่อนไหวของฝ่ายวัด ออกมาในรูปแบบของดำเนินการทั่วทั้งโลก (พร้อมๆ กันกับสาขาทั่วโลก อีกกว่า 200 สาขา) ทำการเรียกร้องความสนใจให้กับบุคคลผู้มีความเป็นเหตุเป็นผล ถึงแม้จะมีความคิดฝักใฝ่อยู่ในกลุ่มอนุรักษ์นิยมก็ตาม การดำเนินงานก็อยู่ในสายกลาง ไม่ยินดียินร้ายทางการเมืองแต่อย่างใด อยู่ด้วยความสันโดษโดยลำพัง และ ไม่จำเป็นจะต้องไปแสดงความชื่นชอบกับกลุ่มที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น ซึ่งชอบทำตัวให้ชื่นชอบเพื่อผลประโยชน์และการคุ้มครองปกป้องอย่างสง่างาม

ประการที่ห้า และเป็นประการสุดท้าย: ความเป็นอิสระในเรื่องการสั่งการทางศาสนาและทางด้านการเงินของกลุ่มผู้เคลื่อนไหวของวัดพระธรรมกาย เป็นเรื่องที่สร้างความวิตกกังวลให้กับฝ่ายอำมาตย์ รอยัลลิสต์ของกองทัพ ซึ่งเป็นผู้ต้องการควบคุมความมั่งคั่งอย่างสำคัญกับสถาบันแห่งชาติ, ทางศาสนา และ ทางฆราวาส เพื่อผลประโยชน์ในเครือข่ายส่วนตัว เรื่องส่วนนี้เป็นวาระอันกว้างใหญ่ต่อการยึดความมั่งคั่งของวัด เพื่อให้กลายเป็นผลประโยชน์กับฝ่ายกองทัพ รวมไปถึงการสร้างผลประโยชน์ให้กับโครงการต่างๆ ซึ่งกำลังติดตามมาอีกด้วย


---------------------------------------


หมายเหตุ: ดร. เจมส์ แอล เทย์เล่อร์ เป็นรองศาสตราจารย์วุฒิคุณ จากคณะมานุษยวิทยา และ การพัฒนาการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Adelaide ศาสตราจารย์เทย์เล่อร์ได้เขียนเรื่องของวัดพระธรรมกายมาเป็นเวลาอย่างยาวนานตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2530 และ 2540) รวมไปถึงหนังสือชองเขา ชื่อว่า พุทธศาสนาและการจินตนาการยุคใหม่ในประเทศไทย


---------------------------------------


ความคิดเห็นของผู้แปล: หลังจากที่ ดร. เทย์เลอร์เขียนบทความลงไปเผยแพร่แล้วเป็นเวลา 2 วัน ทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศออสเตรเลีย ได้ลงบทความโต้แย้งกับบทความนี้ในเวปไซค์ของ New Mandala เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560 ดิฉันจะนำบทความของสถานเอกอัครราชทูตมาแปล และเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่าน ได้ทราบกันในเวลาต่อไปในซีรี่ย์ชุดนี้ เมื่อลิ้งค์ข้างล่างได้เปิดตัวหลังจากโพสต์บทความค่ะ


Doungchampa Spencer-Isenberg