WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ถูกดำเนินคดีจากการแชร์บทความของบีบีซีไทย
4 นศ. ให้กำลังใจไผ่ ดาวดิน ถูกดำเนินคดี “ละเมิดอำนาจศาล”
ที่มา BBC Thai
นักศึกษาอย่างน้อย 4 คน ถูกศาล จ.ขอนแก่นออกหมายเรียกข้อหา "ละเมิดอำนาจศาล" หลังไปให้กำลังใจไผ่ ดาวดิน ระหว่างพิจารณาคดีแชร์ข่าวบีบีซีไทย ด้านอดีตผู้พิพากษาระบุ ความผิดนี้ต้องกระทำภายในบริเวณศาลเท่านั้น
กลุ่มนักศึกษาจากเครือข่ายนักศึกษา 4 ภาค ที่เดินทางไปให้กำลังใจและเรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ซึ่งถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความของบีบีซีไทย เรื่อง "พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่" ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว บริเวณหน้าศาลจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา อย่างน้อยสี่คน ถูกออกหมายเรียกในข้อหา "ละเมิดอำนาจศาล"
เฟซบุ๊ก พลเมืองคนรุ่นใหม่ - NGC
4 นศ. ให้กำลังใจไผ่ ดาวดิน ถูกดำเนินคดี “ละเมิดอำนาจศาล”
ที่มา BBC Thai
นักศึกษาอย่างน้อย 4 คน ถูกศาล จ.ขอนแก่นออกหมายเรียกข้อหา "ละเมิดอำนาจศาล" หลังไปให้กำลังใจไผ่ ดาวดิน ระหว่างพิจารณาคดีแชร์ข่าวบีบีซีไทย ด้านอดีตผู้พิพากษาระบุ ความผิดนี้ต้องกระทำภายในบริเวณศาลเท่านั้น
กลุ่มนักศึกษาจากเครือข่ายนักศึกษา 4 ภาค ที่เดินทางไปให้กำลังใจและเรียกร้องให้ศาลปล่อยตัวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ซึ่งถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความของบีบีซีไทย เรื่อง "พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่" ทางเฟซบุ๊กส่วนตัว บริเวณหน้าศาลจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา อย่างน้อยสี่คน ถูกออกหมายเรียกในข้อหา "ละเมิดอำนาจศาล"
เฟซบุ๊ก พลเมืองคนรุ่นใหม่ - NGC
นายณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์ หนึ่งในผู้ถูกออกหมายเรียก อ้างว่าในวันที่ 10 ก.พ. กลุ่มนักศึกษาได้จัดกิจกรรมให้กำลังใจไผ่ภายนอกบริเวณศาลจังหวัดขอนแก่น
นายณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ตัวแทนกลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่ หนึ่งในผู้ที่ถูกศาลออกหมายเรียก เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ตนได้รับแจ้งจากทางคณะวานนี้ (16 มี.ค.) ว่ามีหมายเรียกจากศาลจังหวัดขอนแก่น โดยเนื้อหาในหมายเรียกระบุว่า ผอ.สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดขอนแก่น กล่าวหาว่าตนกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลได้นัดให้ตนเดินทางไปแก้ข้อกล่าวหา ในการพิจารณาคดีวันที่ 24 เม.ย. นี้ เวลา 09.00 น.
นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า สำหรับเหตุการณ์วันนั้น พวกตนไปให้กำลังใจไผ่ แต่เนื่องจากศาลใช้วิธีพิจารณาคดีลับ จึงไปทำกิจกรรมอยู่หน้าศาลข้างนอกรั้ว อ่านบทกวี ร้องเพลง รวมถึงอ่านคำแถลงการณ์ของเครือข่ายฯ ว่าจะสู้กับระบบยุติธรรม ที่ไม่ยุติธรรม
"ผมมองว่ามันนอกศาลไปแล้ว ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับศาล การที่เราเลือกทำตรงนั้นเป็นการลดความเสี่ยง เราคิดว่าไม่โดนอยู่แล้วเพราะอยู่ข้างนอก" นายณรงค์ฤทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ก.พ. ศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาคำฟ้องนายจตุภัทร์จากอัยการจังหวัดขอนแก่น ก่อนจะมีมติรับคำฟ้อง โดยปัจจุบัน นายจตุภัทร์อยู่ระหว่างถูกคุมขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น หลังศาลปฏิเสธคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งที่เจ็ด ไปเมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา
ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า นอกจากนายณรงค์ฤทธิ์แล้ว ยังมีนักกิจกรรมอีกอย่างน้อยสามคนที่ได้รับหมายเรียกในคดีเดียวกัน ประกอบด้วย นายพายุ บุญโสภณ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข. จากกลุ่มดาวดิน, นายฉัตรมงคล เจนเชี่ยวชาญ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข. จากกลุ่มดาวดิน และ น.ส.เอ (นามสมมุติ) นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข.
นายบดินทร์ สมบัติดี ทนายความจากศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม ซึ่งรับผิดชอบคดีให้กับนักศึกษากลุ่มดังกล่าว กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ตนจะนัดประชุมทีมงานเพื่อแต่งตั้งทนายความไปตรวจสำนวนในศาล เพื่อดูว่าผู้กล่าวหาเอาข้อเท็จจริงส่วนใดมากล่าวหาผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากในหมายเรียกระบุแค่ว่าเป็นความผิดฐาน "ละเมิดอำนาจศาล" เท่านั้น
"ผมยังไม่เห็นคลิปวีดิโอที่อ้างถึงในหมายเรียก แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นการยืนร้องเพลงกันหน้าศาล ซึ่งส่วนตัวมองว่าหากเป็นการกระทำแค่นั้น ก็ไม่ถึงขนาดเป็นการละเมิดอำนาจศาล แต่ต้องดูด้วยว่ามีการกระทำอื่นๆ นอกจากนั้นด้วยหรือไม่" นายบดินทร์กล่าว
ณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์
นายณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ตัวแทนกลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่ หนึ่งในผู้ที่ถูกศาลออกหมายเรียก เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ตนได้รับแจ้งจากทางคณะวานนี้ (16 มี.ค.) ว่ามีหมายเรียกจากศาลจังหวัดขอนแก่น โดยเนื้อหาในหมายเรียกระบุว่า ผอ.สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดขอนแก่น กล่าวหาว่าตนกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และศาลได้นัดให้ตนเดินทางไปแก้ข้อกล่าวหา ในการพิจารณาคดีวันที่ 24 เม.ย. นี้ เวลา 09.00 น.
นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า สำหรับเหตุการณ์วันนั้น พวกตนไปให้กำลังใจไผ่ แต่เนื่องจากศาลใช้วิธีพิจารณาคดีลับ จึงไปทำกิจกรรมอยู่หน้าศาลข้างนอกรั้ว อ่านบทกวี ร้องเพลง รวมถึงอ่านคำแถลงการณ์ของเครือข่ายฯ ว่าจะสู้กับระบบยุติธรรม ที่ไม่ยุติธรรม
"ผมมองว่ามันนอกศาลไปแล้ว ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับศาล การที่เราเลือกทำตรงนั้นเป็นการลดความเสี่ยง เราคิดว่าไม่โดนอยู่แล้วเพราะอยู่ข้างนอก" นายณรงค์ฤทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ ในวันที่ 10 ก.พ. ศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาคำฟ้องนายจตุภัทร์จากอัยการจังหวัดขอนแก่น ก่อนจะมีมติรับคำฟ้อง โดยปัจจุบัน นายจตุภัทร์อยู่ระหว่างถูกคุมขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่น หลังศาลปฏิเสธคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวครั้งที่เจ็ด ไปเมื่อวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา
ข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า นอกจากนายณรงค์ฤทธิ์แล้ว ยังมีนักกิจกรรมอีกอย่างน้อยสามคนที่ได้รับหมายเรียกในคดีเดียวกัน ประกอบด้วย นายพายุ บุญโสภณ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข. จากกลุ่มดาวดิน, นายฉัตรมงคล เจนเชี่ยวชาญ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข. จากกลุ่มดาวดิน และ น.ส.เอ (นามสมมุติ) นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มข.
นายบดินทร์ สมบัติดี ทนายความจากศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม ซึ่งรับผิดชอบคดีให้กับนักศึกษากลุ่มดังกล่าว กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ตนจะนัดประชุมทีมงานเพื่อแต่งตั้งทนายความไปตรวจสำนวนในศาล เพื่อดูว่าผู้กล่าวหาเอาข้อเท็จจริงส่วนใดมากล่าวหาผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากในหมายเรียกระบุแค่ว่าเป็นความผิดฐาน "ละเมิดอำนาจศาล" เท่านั้น
"ผมยังไม่เห็นคลิปวีดิโอที่อ้างถึงในหมายเรียก แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นการยืนร้องเพลงกันหน้าศาล ซึ่งส่วนตัวมองว่าหากเป็นการกระทำแค่นั้น ก็ไม่ถึงขนาดเป็นการละเมิดอำนาจศาล แต่ต้องดูด้วยว่ามีการกระทำอื่นๆ นอกจากนั้นด้วยหรือไม่" นายบดินทร์กล่าว
ณรงค์ฤทธิ์ อุปจันทร์
หมายเรียกในคดี "ละเมิดอำนาจศาล" ที่นักศึกษาอย่างน้อย 4 คน ได้รับ หลังไปทำกิจกรรมให้กำลังใจนายจตุภัทร์ หน้าศาลจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา
อดีตผู้พิพากษาชี้ ความผิดนี้ครอบคลุมเฉพาะ "บริเวณศาล"
น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้ความเห็นว่า มาตรา 30 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล ครอบคลุมเฉพาะ "บริเวณศาล" เท่านั้น โดยมีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีการายนี้ กล่าวว่า ถึงแม้ว่าศาลจะสามารถจำคุกผู้กระทำผิดได้เลยโดยไม่ต้องสืบพยาน แต่ศาลแทบจะไม่ได้ใช้อำนาจที่เกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล ส่วนมากถ้าแสดงกิริยาไม่เรียบร้อย เช่น เถียงในศาล ศาลก็มักจะห้ามไม่ให้ทำเอะอะเสียงดัง เท่าที่เคยเห็นมีการลงโทษคือพกอาวุธเข้าไปในบริเวณศาล จึงตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 6 เดือน
"มันต้องเป็นเรื่องที่เกิดความไม่สงบเรียบร้อยจริงๆ ศาลถึงจะใช้" น.ส.สมลักษณ์กล่าว
น.ส.สมลักษณ์กล่าวว่า สมัยตนเป็นผู้พิพากษา มีการพูดเรื่องการละเมิดอำนาจศาลว่าเป็นการล่วงล้ำสิทธิคนภายนอก และอยากให้ศาลยกเลิกข้อบังคับ แต่ศาลไม่สามารถยกเลิกได้ เนื่องจากมีบางคนเข้าไปในบริเวณศาลและทำกิริยาไม่เรียบร้อย
"มันต้องเป็นดุลยพินิจของศาลที่จะใช้หรือไม่ใช้ ถ้าใช้อย่างไม่มีเหตุมีผล ศาลจะโดนกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าจะให้เลิก มันลำบากกับคู่ความ เพราะศาลจะรักษาความสงบไม่ได้ในการพิจารณาคดี" น.ส.สมลักษณ์ระบุ
ooo
ละเมิดอำนาจศาล : ถึงเวลาแก้กฎหมายแล้วหรือยัง โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง
23 กรกฎาคม 2549
ที่มา Public Law.net
ในหลาย ๆ ครั้งที่เรามักจะถูกขู่หรือถูกปรามจากผู้หวังดีว่า การวิพากษ์วิจารณ์หรือการกระทำใดใดของเราว่าระวังจะเข้าข่าย “ละเมิดอำนาจศาล” ซึ่งในความเป็นจริงหลาย ๆ ครั้งที่ว่านั้นมิได้เข้าข่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลแต่อย่างใด
อดีตผู้พิพากษาชี้ ความผิดนี้ครอบคลุมเฉพาะ "บริเวณศาล"
น.ส.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ให้ความเห็นว่า มาตรา 30 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล ครอบคลุมเฉพาะ "บริเวณศาล" เท่านั้น โดยมีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีการายนี้ กล่าวว่า ถึงแม้ว่าศาลจะสามารถจำคุกผู้กระทำผิดได้เลยโดยไม่ต้องสืบพยาน แต่ศาลแทบจะไม่ได้ใช้อำนาจที่เกี่ยวกับการละเมิดอำนาจศาล ส่วนมากถ้าแสดงกิริยาไม่เรียบร้อย เช่น เถียงในศาล ศาลก็มักจะห้ามไม่ให้ทำเอะอะเสียงดัง เท่าที่เคยเห็นมีการลงโทษคือพกอาวุธเข้าไปในบริเวณศาล จึงตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 6 เดือน
"มันต้องเป็นเรื่องที่เกิดความไม่สงบเรียบร้อยจริงๆ ศาลถึงจะใช้" น.ส.สมลักษณ์กล่าว
น.ส.สมลักษณ์กล่าวว่า สมัยตนเป็นผู้พิพากษา มีการพูดเรื่องการละเมิดอำนาจศาลว่าเป็นการล่วงล้ำสิทธิคนภายนอก และอยากให้ศาลยกเลิกข้อบังคับ แต่ศาลไม่สามารถยกเลิกได้ เนื่องจากมีบางคนเข้าไปในบริเวณศาลและทำกิริยาไม่เรียบร้อย
"มันต้องเป็นดุลยพินิจของศาลที่จะใช้หรือไม่ใช้ ถ้าใช้อย่างไม่มีเหตุมีผล ศาลจะโดนกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าจะให้เลิก มันลำบากกับคู่ความ เพราะศาลจะรักษาความสงบไม่ได้ในการพิจารณาคดี" น.ส.สมลักษณ์ระบุ
ละเมิดอำนาจศาล : ถึงเวลาแก้กฎหมายแล้วหรือยัง โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง
23 กรกฎาคม 2549
ที่มา Public Law.net
ในหลาย ๆ ครั้งที่เรามักจะถูกขู่หรือถูกปรามจากผู้หวังดีว่า การวิพากษ์วิจารณ์หรือการกระทำใดใดของเราว่าระวังจะเข้าข่าย “ละเมิดอำนาจศาล” ซึ่งในความเป็นจริงหลาย ๆ ครั้งที่ว่านั้นมิได้เข้าข่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลแต่อย่างใด
เหตุแห่งการบัญญัติให้มีบทลงโทษว่าด้วยการละเมิดอำนาจศาลก็เนื่องเพราะใน
การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลมีบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคู่ความ พยาน หรือแม้แต่บุคคลภายนอกที่ศาลเรียกเข้ามาหรือร้องสอดเข้ามาในคดีเองก็ตาม ฉะนั้น การที่บุคคลหลาย ๆ ฝ่ายเข้ามาอยู่ด้วยกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมอบอำนาจให้ศาลตามสมควร เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและดำเนินกระบวนการพิจารณาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้มีการบัญญัติมาตรา ๓๐ ถึงมาตรา ๓๓ ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีความแพ่ง
บทบัญญัติที่ว่าด้วยการละเมิดอำนาจศาลประกอบไปด้วยเนื้อหาหลัก ๆ ๓ ส่วน ซึ่งจะนำมาเสนอเฉพาะส่วนที่เห็นว่าสำคัญโดยย่อ คือ
๑. การออกข้อกำหนดของศาล
มาตรา ๓๐ ให้อำนาจแก่ศาลในการออกข้อกำหนดใด ๆ แก่คู่ความ หรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาล ตลอดจนมีอำนาจสั่งห้ามคู่ความดำเนินกระบวนพิจารณาในทางที่จะก่อความเดือดร้อนรำคาญ หรือในทางประวิงคดีให้ชักช้า หรือฟุ่มเฟือยจนเกินสมควร
อย่างไรก็ตามการออกข้อกำหนดต้องเป็นข้อกำหนดที่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายถึงแม้จะกระทำไป ก็ไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เช่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ ท. เข้ามาในบริเวณศาลในวันเปิดทำการ เว้นแต่จะเป็นคู่ความในคดีหรือถูกหมายเรียกมาเป็นพยาน ทั้งนี้ เนื่องมาจาก ท. ได้เรียกร้องเงินค่าเขียนคำร้องจากคู่ความเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ต่อมา ท. เข้ามาในบริเวณศาล ศาลชั้นต้นจึงลงโทษ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ศาลจะออกข้อกำหนดใด ๆ โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา ๓๐ ต้องเป็นไปเพื่อรักษา
ความสงบเรียบร้อยในศาล และเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดห้าม ท. เข้ามาในบริเวณศาลในวันเปิดทำการไม่ว่ากรณีใด แม้กระทั่ง ท. มีเหตุจำเป็น เป็นการเกินเลยบทบัญญัติดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ การที่ ท. เข้ามาในบริเวณศาลมิใช่เพื่อสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้แต่ประการใด การกระทำของ ท. ไม่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๗/๒๕๒๐)
๒. การกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
มาตรา ๓๑ ได้กำหนดการกระทำต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล คือ
(ก) ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา ๓๐ อันว่าด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
(ข) เมื่อได้มีคำขอและได้รับอนุญาตจากศาลให้ฟ้อง หรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาแล้วปรากฏว่าได้นำคดีนั้นขึ้นสู่ศาล โดยตนรู้อยู่แล้วว่าไม่มีมูล หรือได้สาบานตัวให้ถ้อยคำตามมาตรา ๑๕๖ ว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะชำระค่าฤชาธรรมเนียมได้ ซึ่งเป็นความเท็จ
(ค) หลีกเลี่ยงไม่รับคำคู่ความหรือส่งเอกสารอื่น ๆ ถึงตนแล้วจงใจไปเสียให้พ้น หรือหาทางหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับคำคู่ความหรือเอกสารนั้นโดยสถานอื่น
(ง) ตรวจเอกสารทั้งหมดหรือฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งอยู่ในสำนวนความหรือคัดเอาสำเนาเอกสารเหล่านั้นไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา ๕๔
(จ) ขัดขืนไม่มาศาลเมื่อศาลได้มีคำสั่งตามมาตรา ๑๙ หรือมีหมายเรียกตามมาตรา ๒๗๗
๓. การละเมิดอำนาจศาลของผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน
มาตรา ๓๒ ได้กำหนดการกระทำที่ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาล คือ
(ก) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด และไม่ว่าเวลาใด ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดี หรือกระบวนพิจารณาใด แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคำสั่งห้ามการออกโฆษณาสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
(ข) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชนหรือเหนือศาลหรือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดี ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น การนำคำพยานหรือข้อเท็จจริงบางตอนมาลงพิมพ์โฆษณา หรือวิพากษ์วิจารณ์คำพยาน หรือการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลโดยไม่เป็นธรรม และไม่ถูกต้องต่อความเป็นจริง รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน ถึงแม้ว่าข้อความต่าง ๆ เหล่านั้นจะเป็นความจริงก็ตาม
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า การที่ศาลจะลงโทษผู้ใดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย ต้องมีการกระทำที่เข้าข่ายดังที่กล่าวมาข้างต้นเสียก่อน
แต่อย่างไรก็ตามผมยังเห็นว่า การห้ามวิพากษ์วิจารณ์ในระหว่างที่คดีไม่ถึงที่สุด
โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันการชี้นำหรือเพื่อทำให้ผู้พิพากษาปราศจากอคตินั้นผมคิดว่าถ้า ผู้พิพากษาเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถไตร่ตรองโดยปราศจากอคติแล้วไซร้การวิพากษ์วิจารณ์ย่อมจะไม่มีผลอันใดไปชักจูงหรือโน้มน้าวต่อผลแห่งการพิจารณาคดี แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลหรือมุมมองอื่นที่แตกต่างออกไป
การที่สถาบันตุลาการเปิดกว้างต่อการรับฟังความเห็นและถูกตรวจสอบโดย
การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ย่อมเป็นเหตุที่ทำให้ศาลรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวและมุมมองของสังคม
และที่สำคัญที่สุดก็คือศาลเป็นองค์กรหนึ่งที่ใช้อำนาจอธิปไตยเช่นเดียวกับองค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งอำนาจอธิปไตยที่ว่านี้เป็นของปวงชนชาวไทย
ทั้งมวล ประชาชนย่อมควรที่จะมีสิทธิตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ศาลได้ อย่างน้อยก็โดยวิธีการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตด้วยวิธีการทางวิชาการตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยผ่านสื่อสารมวลชนที่ถือได้ว่าเป็นปากเป็นเสียงของเขาเหล่านั้น นั่นเอง