ภาพจาก ข่าวสดออนไลน์
ดูเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ฉบับ สนช.
Fri, 2017-01-13 13:23
ที่มา ประชาไท
12 ม.ค. 2560 คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมือง สนช. ที่มีนายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธาน ได้ยกร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง พ.ศ. ... มีทั้งสิ้น 33 มาตรา เสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 มีสาระสำคัญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการและรับสนองพระบรมราชโองการ
บุคคลที่จะได้รับประโยชน์ไม่รวมถึงผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ที่นำมาสู่การกระทำความผิดอาญาหรือเหตุการณ์ความรุนแรง การกระทำความผิดฐานทุจริตหรือประพฤติมิชอบ การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107 ถึงมาตรา 112 หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง (ดูล้อมกรอบด้านล่าง)
ทั้งนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการอัยการ ผู้ตรวจการแผ่นดิน สถาบันพระปกเกล้า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สภาทนายความ และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยแต่งตั้ง ฝ่ายละ 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสันติวิธีหรือสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 คน ซึ่งทำการคัดเลือกกันเอง เป็นกรรมการ และให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ
คณะกรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ไม่เป็นการสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น เป็นหรือเคยเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะสามปีก่อนดำรงตำแหน่ง 3.เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ไม่อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือในระหว่างถูกกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง เป็นต้น
มาตรา 18 กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) รวบรวมข้อเท็จจริงและข้อมูลคดีเกี่ยวกับการกระทำที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ถึงวันที่ 22 ต.ค.2557 ที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือสิทธิมนุษยชน และจะต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นของผู้เสียหาย ผู้ถูกดำเนินคดีอาญา เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และห้ามเปิดเผยชื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นคณะกรรมการจะมีมติด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(2) กำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง โดยต้องคำนึงถึงความร้ายแรงของความผิด ความได้สัดส่วนของการกระทำ รวมทั้งผลกระทบต่อชาติและประชาชนด้วย โดยจะต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วัน นับแต่ได้แต่งตั้ง
(3) กำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์การอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ถูกดำเนินคดีอาญาที่เป็นผู้ให้ความจริงอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของคณะกรรมการในคดีความผิดที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง และแสดงความสำนึกเสียใจต่อผลของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
(4) ดำเนินการจำแนกคดีอาญาตามหลักเกณฑ์ และกำหนดมาตรการอำนวยความยุติธรรมที่จะใช้กับผู้ถูกดำเนินคดีอาญาแต่ละรายตามเหตุผลหรือเงื่อนไขที่เหมาะสมกับประเภทของการกระทำและความผิด
(5) เสนอข้อมูลการจำแนกคดีอาญาและความเห็นในการใช้มาตรการในการอำนวยความยุติธรรมกับผู้ถูกดำเนินคดีอาญาแต่ละรายต่อพนักงานอัยการหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดี โดยการเสนอดังกล่าวควรมีความเห็นของผู้เสียหายและผู้ถูกดำเนินคดีอาญาประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพนักงานอัยการได้รับเรื่องแล้ว ให้พนักงานอัยการเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดพิจารณามีคำสั่งต่อไป โดยให้ถือเอกข้อมูลการจำแนกคดีอาญาและความเห็นในการใช้มาตรการในการอำนวยความยุติธรรมตามเหตุผลหรือเงื่อนไขดังกล่าวเป็นคดีที่มีเหตุที่อัยการสูงสุดจะใช้อำนาจสั่งหรือไม่สั่งคดี
ให้ศาลรื้อคดีเดิมได้
12 ม.ค. 2560 คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมือง สนช. ที่มีนายกล้านรงค์ จันทิก เป็นประธาน ได้ยกร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง พ.ศ. ... มีทั้งสิ้น 33 มาตรา เสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 มีสาระสำคัญกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการและรับสนองพระบรมราชโองการ
บุคคลที่จะได้รับประโยชน์ไม่รวมถึงผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ที่นำมาสู่การกระทำความผิดอาญาหรือเหตุการณ์ความรุนแรง การกระทำความผิดฐานทุจริตหรือประพฤติมิชอบ การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107 ถึงมาตรา 112 หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง (ดูล้อมกรอบด้านล่าง)
ทั้งนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับมูลเหตุจูงใจทางการเมือง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการอัยการ ผู้ตรวจการแผ่นดิน สถาบันพระปกเกล้า กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สภาทนายความ และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยแต่งตั้ง ฝ่ายละ 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสันติวิธีหรือสิทธิมนุษยชน จำนวน 2 คน ซึ่งทำการคัดเลือกกันเอง เป็นกรรมการ และให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ
คณะกรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ ไม่เป็นการสมาชิกรัฐสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น เป็นหรือเคยเป็นกรรมการพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมืองในระยะสามปีก่อนดำรงตำแหน่ง 3.เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะมีการรอการลงโทษหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ไม่อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือในระหว่างถูกกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง เป็นต้น
มาตรา 18 กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) รวบรวมข้อเท็จจริงและข้อมูลคดีเกี่ยวกับการกระทำที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ถึงวันที่ 22 ต.ค.2557 ที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือสิทธิมนุษยชน และจะต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นของผู้เสียหาย ผู้ถูกดำเนินคดีอาญา เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และห้ามเปิดเผยชื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นคณะกรรมการจะมีมติด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(2) กำหนดหลักเกณฑ์การจำแนกคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง โดยต้องคำนึงถึงความร้ายแรงของความผิด ความได้สัดส่วนของการกระทำ รวมทั้งผลกระทบต่อชาติและประชาชนด้วย โดยจะต้องทำให้เสร็จภายใน 60 วัน นับแต่ได้แต่งตั้ง
(3) กำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์การอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ถูกดำเนินคดีอาญาที่เป็นผู้ให้ความจริงอันเป็นประโยชน์แก่การดำเนินงานของคณะกรรมการในคดีความผิดที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง และแสดงความสำนึกเสียใจต่อผลของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น
(4) ดำเนินการจำแนกคดีอาญาตามหลักเกณฑ์ และกำหนดมาตรการอำนวยความยุติธรรมที่จะใช้กับผู้ถูกดำเนินคดีอาญาแต่ละรายตามเหตุผลหรือเงื่อนไขที่เหมาะสมกับประเภทของการกระทำและความผิด
(5) เสนอข้อมูลการจำแนกคดีอาญาและความเห็นในการใช้มาตรการในการอำนวยความยุติธรรมกับผู้ถูกดำเนินคดีอาญาแต่ละรายต่อพนักงานอัยการหรือศาลที่พิจารณาพิพากษาคดี โดยการเสนอดังกล่าวควรมีความเห็นของผู้เสียหายและผู้ถูกดำเนินคดีอาญาประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพนักงานอัยการได้รับเรื่องแล้ว ให้พนักงานอัยการเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดพิจารณามีคำสั่งต่อไป โดยให้ถือเอกข้อมูลการจำแนกคดีอาญาและความเห็นในการใช้มาตรการในการอำนวยความยุติธรรมตามเหตุผลหรือเงื่อนไขดังกล่าวเป็นคดีที่มีเหตุที่อัยการสูงสุดจะใช้อำนาจสั่งหรือไม่สั่งคดี
ให้ศาลรื้อคดีเดิมได้
มาตรา 20 ระบุว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่มีข้อหาความผิดที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ศาลพิจารณาความเห็นของคณะกรรมการมาตรา 18(5) ประกอบด้วย ถ้าศาลเห็นสมควรให้ศาลมีอำนาจพิพากษาว่าผู้กระทำความผิดมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองรายนั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญาได้ แม้ว่าโทษจำคุกที่ศาลจะกำหนดหรือได้กำหนดนั้นจะเกินกว่า 5 ปี หรือศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ และมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขอื่นหรือระยะเวลาเพื่อคุมความประพฤติผู้กระทำความผิด นอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้ตามที่เห็นสมควร หากศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีเห็นว่าผู้ถูกดำเนินคดีอาญารายใดไม่ควรรับโทษจำคุกหรือควรได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ ก็ให้ถือเป็นเหตุผลหรือเงื่อนไขที่มีเหตุอันควรปรานีหรือเหตุบรรเทาโทษแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายอาญาสำหรับผู้ถูกดำเนินคดีอาญารายนั้น
ในกรณีที่คดีใดถึงที่สุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ เป็นคดีที่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลอาจลดโทษ รอการกำหนดโทษ รอการลงโทษ หรือลงโทษผู้กระทำความผิดน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดได้ตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้กระทำความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคล บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภรรยา ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือคณะกรรมการร้องขอให้ศาลมีอำนาจกำหนดเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นเสียใหม่ได้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีการเยียวยาโดยคณะกรรมการต้องดำเนินการ สำรวจปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการการเยียวยา และจัดทำฐานข้อมูลสถานะของการได้รับการเยียวยาของผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่าย รวมถึงทายาทผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บพิการ หรือทุพพลภาพ ผู้ที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และผู้ที่ถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และกำหนดหลักเกณฑ์การเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม จัดทำรายงานความเห็นเกี่ยวกับการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสำหรับความเสียหายทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูสภาพจิตใจ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะในการให้ความช่วยเหลือและการเยียวยาในคดีแพ่งแก่ผู้ได้รับผลกระทบและผู้เสียหาย
ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ถูกนำเข้าไปสู่การหารือในการประชุม เตรียมการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ในส่วนคณะกรรมการสร้างความปรองดอง ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกระบวนการผลักดันผ่านเป็นกฎหมายในที่ประชุมสนช.ล่าสุดยังไม่มีกำหนดเข้าสู่วาระการประชุมแต่อย่างใด
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด
ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ และถ้าผู้ถูกใช้เป็นบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใช้ ผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้เพราะเหตุป่วยเจ็บหรือไม่ว่าทางใด ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ใช้กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้นั้น
มาตรา 107-112 อยู่ใน หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา 107 ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระ มหากษัตริย์หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำ การใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
มาตรา 108 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้ กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้าย ต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็น การช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 109 ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ จำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือ ชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือ เสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้าย ต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือ ประทุษร้ายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบสองปีถึงยี่สิบปี
มาตรา 111 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 107 ถึง มาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน, เว็บไซต์ข่าวสด, คมชัดลึก