'บุรินทร์ อินติน' ศาลทหารตัดสินจำคุก 10 ปี 16 เดือน ผิด ม.112
Fri, 2017-01-27 23:00
ที่มา ประชาไท
ช่างเชื่อมชาวพะเยาถูกตัดสินจำคุก 22 ปี 8 เดือน รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง ในวันเกิดปีที่ 29 ของเขา จากการโพสต์เฟซบุ๊กและแชทกับแม่จ่านิวในคดีที่รู้จักกันว่า “จ้า” เขาถูกจับในกรณีที่ร่วม “ยืนเฉยๆ” เรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ 8 แอดมินเพจเรารักพล.อ.ประยุทธ์ ก่อนจะมาสู่คดีนี้
27 ม.ค.2560 เวลาประมาณ 13.30 น. ศาลทหารอ่านคำพิพากษาจำคุก คดีที่นายบุรินทร์ อินติน อายุ 29 ปี อาชีพ ช่างเชื่อม ถูกกล่าวหาทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(3) โดยศาลพิพากษาให้จำคุกรวม 10 ปี 16 เดือน จากการกระทำความผิด 2 กระทง
ทั้งนี้ บุรินทร์ให้การรับสารภาพในนัดสอบคำให้การเมื่อ 24 ม.ค.ที่ผ่านมาศาลจึงนัดพิพากษาในวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอ่านคำพิพากษาไม่ปิดลับเช่นคดี 112 อื่นๆ และผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม โดยรายละเอียดนั้น บุรินทร์ถูกฟ้อง 2 กระทง กระทงแรกร่วมกันกระทำความผิด แชทในเฟซบุ๊กกับนางพัชนรี หนึ่งนิจ แม่ของสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักกิจกรรมทางการเมือง หรือที่สังคมเรียกกันว่าคดี “จ้า” อย่างไรก็ตาม นางพัชนรีให้การปฏิเสธและต่อสู้คดี กระทงที่สองเกี่ยวกับการโพสต์ในเฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ดี ในคดีนี้อัยการได้ขอให้เพิ่มโทษด้วย เนื่องจากบุรินทร์เพิ่งพ้นโทษจากคดีเก่า (ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง) ไม่ถึง 5 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 ระบุว่า หากผู้ใดพ้นโทษจำคุกไม่ถึง 5 ปีและมีการกระทำผิดอีกในการพิพากษาลงโทษจำคุกครั้งหลังให้เพิ่มโทษแก่ผู้นั้น 1 ใน 3 ของที่ศาลกำหนด
ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลงโทษ กระทงแรก ให้จำคุก 7 ปี เพิ่มโทษอีกหนึ่งในสาม รวมเป็น 9 ปี 4 เดือน จำเลยรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 4 ปี 8 เดือน ส่วนกระทงที่สอง ให้จำคุก 10 ปี เพิ่มโทษอีกหนึ่งในสาม รวมเป็น 13 ปี 4 เดือน จำเลยรับสารภาพลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 6 ปี 8 เดือน รวมโทษทั้งสองกระทงเป็น จำคุก 10 ปี 16 เดือน
สำหรับความเป็นมาของคดีนี้ บุรินทร์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 59 จากการเข้าร่วมกิจกรรม “ยืนเฉยๆ” กับกลุ่มพลเมืองโต้กลับซึ่งจัดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวของจำเลยในคดี 8 แอดมิดเพจเรารักพล.อ.ประยุทธ์ หลังจากเขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไทก็มีเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 ควบคุมตัวออกไปจากห้องสอบสวนกลางคันโดยไม่มีใครทราบจุดหมายปลายทาง
ต่อมาวันที่ 29 เม.ย.59 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายเสนาธิการผู้บังคับบัญชา คณะทำงานพิเศษฝ่ายกฎหมาย คสช. นำตัว บุรินทร์ อินติน ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหาร ข้อหาตาม มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และ มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นำส่งให้พ.ต.ท.สัณห์เพ็ชร หนูทอง รอง ผกก. (สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. ดำเนินคดี และบุรินทร์ถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 30 เม.ย.2559 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน เขายื่นประกันตัว 5 ครั้งแต่ศาลทหารปฏิเสธ นับจนถึงวันนี้เขาอยู่ในเรือนจำมาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน
บุรินทร์ อายุ 29 ปี พื้นเพเป็นคนจังหวัดพะเยา จบการศึกษาชั้นป.6 และเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุ 14 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างร้านถ่ายรูป จนกระทั่งมายึดอาชีพเป็นช่างเชื่อมโลหกและสแตนเลส ครอบครัวมีฐานะยากจน แม่ของเขาทำไร่นา ส่วนแฟนมีอาชีพเป็นแคดดี้สนามกอล์ฟ เขาให้ข้อมูลว่า เขาเริ่มสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็กจากการอ่านหนังสือวิชาประวัติศาสตร์การเมือง จากนั้นจึงเริ่มต้นศึกษาเองจากการอ่านหนังสือการเมืองและท่องอินเทอร์เน็ต เขาติดตามการเมืองแต่ไม่เคยออกไปชุมนุมทางการเมืองกับฝ่ายใด แต่หลังรัฐประหารปี 2557 เขาเริ่มไปร่วมทำกิจกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะที่หน้าหอศิลป์ เช่นการรำลึกครอบรอบการรัฐประหารวาระต่างๆ และล่าสุดคือ การออกไปเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับ 8 แอดมินเพจการเมืองเพจหนึ่งเนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หลังจากเขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว มีการบังคับให้บอกรหัสเฟซบุ๊กแต่เขาไม่ได้บอก อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ปริ๊นท์มาแสดงนั้นปรากฏข้อความการแชทแล้วซึ่งทำให้เขาประหลาดใจ อ่านเรื่องราวของเขาเพิ่มเติมที่นี่
‘บุรินทร์ อินติน’ จากช่างเชื่อมผู้เห็นใจเสื้อแดง สู่ ผู้ต้องขังคดี 112
Wed, 2016-05-25 20:30
ทีมข่าวกระบวนการยุติธรรม
ที่มา ประชาไท
เปิดบางแง่มุมชีวิต หนุ่มเหนือ-ช่างเชื่อมวัย 28 ปีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว เขาถูกจับใน กิจกรรม "ยืนเฉยๆ" พร้อมคนอื่นๆ แต่เป็นคนเดียวที่ไม่ถูกปล่อยตัว เนื่องจากถูกตั้งข้อหา 112 ถึง 2 คดี ปัจจุบันถูกฝากขังผัด 3 อย่างเงียบเชียบ
ภาพบุรินทร์ อินติน เพิ่งปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หรือโลกออนไลน์เคียงคู่ สิรวิชญ์ เสรีธิวัตน์ หรือจ่านิว และคนอื่นๆ ในกลุ่มพลเมืองโต้กลับในเหตุการณ์ “ยืนเฉยๆ” ครั้งที่ 3 เมื่อ 27 เม.ย.2559 ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เพื่อเรียกร้องให้ทหารปล่อยตัว วัฒนา เมืองสุข และประชาชนที่ถูกทหารคุมตัวไปก่อนหน้านั้น
ผู้คนอาจงุนงงสงสัยว่าเขาคือใคร เนื่องจากเป็นคนธรรมดาที่ไม่ใช่นักกิจกรรมทางการเมือง และไม่ใช่ชาวบ้านขาประจำที่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองมายาวนานจนเป็นที่รู้จัก และนั่นทำให้การคุมขังเขาในเรือนจำเป็นไปอย่างเงียบเชียบ
ย้อนกลับไปที่เหตุการณ์นั้น สมาชิกพลเมืองโต้กลับที่ปรากฏตัวที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ทั้งหมดถูกนำตัวไปสน.พญาไท รวมถึงบุรินทร์ด้วย และในระหว่างการสอบสวนนั้นเอง ทหารได้บุกเข้าควบคุมตัวบุรินทร์ถึงห้องสอบสวนนำขึ้นรถตู้ออกไปโดยไม่รู้ที่หมาย...เพียงคนเดียว ท่ามกลางความสับสนงุนงงของทุกคนที่สถานีตำรวจ เขาอยู่ในความควบคุมของทหาร 1 วัน ก่อนตำรวจจะนำตัวเขามาแถลงข่าวแจ้งข้อกล่าวหา มาตรา 112
นายทหารยศพันเอกชื่อเดียวกับเขา คือ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ได้ให้ข่าวกับสื่อมวลชนถึงที่มาที่ไปของการจับและแจ้งข้อหานี้ว่า ทหารเฝ้าติดตามพฤติกรรมบุรินทร์ อินตินมาตลอด สายข่าวพบการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Burin Intin ในลักษณะต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลและ คสช.รวมทั้งมีการแชตพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยมีข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กระทั่งวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 12.13 น.นายบุรินทร์โพสต์คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 40 นาที พร้อมข้อความ “นู๋อยากโดนอุ้ม#ปล่อยเพื่อนเราที่โดนอุ้ม” ก่อนจะมีบุคคลเข้ามาแสดงความคิดเห็นในคลิปดังกล่าว และนายบุรินทร์ตอบความคิดเห็นในลักษณะหมิ่นเบื้องสูง
ไม่นานหลังการให้ข่าวนี้ มีการออกหมายจับ ‘แม่จ่านิว’ หรือพัฒน์นรี เสรีธิวัฒน์ ในข้อหาความผิดตามมาตรา 112 โดยตำรวจอ้างถึงการสนทนาส่วนตัวในกล่องข้อความของเฟซบุ๊ก ระหว่าง บุรินทร์ กับ แม่จ่านิว เนื้อหาที่สนทนานั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เข้าไปช่วยเหลือทางคดีกับแม่จ่านิวได้ออกมาเปิดเผยว่า ตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาอ้างอิงบทสนทนาที่แม่จ่านิวตอบกลับบุรินทร์เพียงคำว่า “จ้า”
“จ้า” กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก พร้อมๆ กับคำถามว่าเจ้าหน้าที่เข้าถึงหลักฐานกล่องข้อความส่วนตัวได้อย่างไร จนในที่สุดตำรวจต้องออกมาแถลงข่าวว่าเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกกฎหมาย แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ขณะที่แม่จ่านิวก็ได้รับการประกันตัวในที่สุด
เวลานี้จึงมีบุรินทร์ อินติน เพียงคนเดียวที่ถูกจำคุกอยู่ เขาไม่มีญาติเยี่ยม และไม่มีเงินประกันตัวจนกระทั่งในการฝากขังผัดที่ 3 เมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มพลเมืองโต้กลับทำการระดมทุนได้ 300,000 บาทและยื่นประกันตัวบุรินทร์ แต่ศาลทหารปฏิเสธ
บุรินทร์ อินติน เป็นใคร?
หนุ่มคนงานช่างเชื่อมเหล็กร่างเล็ก วัย 28 ปี ผู้นี้มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพะเยา เขาเรียนจบ ม.2 ครึ่ง ไม่ทันจบ ม.3 เพราะช่วงนั้นติดเกมส์อย่างหนัก บุรินทร์เล่าให้ฟังแบบซื่อๆ
บุรินทร์เล่าว่า ในคืนวันที่เขาถูกคุมตัวอยู่ที่ มทบ. 11 เจ้าหน้าที่ทหารพยายามที่จะให้เขามอบรหัสเฟซบุ๊กของเขาให้ แต่เขาไม่ยอมและใช้วิธีเงียบและ ไม่โต้เถียง ไม่ให้ข้อมูลแล้วก็ไม่ต่อปากต่อคำ นั่นอาจทำให้ผู้ควบคุมตัวไม่พอใจ ชายร่างใหญ่ในชุดปกติสวมหมวกไหมพรมคลุมศรีษะตบเขาที่บริเวณศรีษะอย่างแรงถึง 4 ครั้ง ขณะที่เจ้าหน้าที่ในห้องสอบสวนข่มขู่เขาว่า “มึงไม่รอดหรอก ไม่ได้ออกไปแน่ ถ้ามึงไม่บอกกู มึงจะโดนพาไปที่ๆ หนักกว่านี้”
เขายืนยันว่าเขาไม่ได้มอบรหัสเฟซบุ๊กให้เจ้าหน้าที่แต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่กลับนำสำเนาเอกสารการพูดคุยในกล่องข้อความที่ถูกระบุว่าเป็นของเขา ออกมาประกอบการสอบสวน ที่สำคัญ เอกสารดังกล่าวปรากฏก่อนที่จะมีการไปยึดคอมพิวเตอร์ที่บ้านเขาเสียอีก อย่างไรก็ตาม ทนายความระบุว่า บุรินทร์เป็นชาวบ้านธรรมดาที่เพิ่งมาสนใจการเมือง ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก เขาเริ่มเล่นเฟซบุ๊กมาได้สักพักใหญ่และตั้งรหัสแบบจำง่ายที่ชาวบ้านร้านตลาดมักทำกัน นั่นคือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือของตัวเอง
หลังการแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นสถาบันกับแม่จ่านิว โดยหลักฐานมาจากการสนทนากับบุรินทร์ ผู้คนในโลกไซเบอร์ต่างวิเคราะห์กันไปต่างๆ นานา จำนวนไม่น้อยสงสัยว่า บุรินทร์คือ “สาย” ของฝ่ายความมั่นคงที่พยายามมาตีสนิทและ “ล่อซื้อ” อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า บุรินทร์นั้นถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 แล้ว 2 คดี คดีแรกจากการตอบคอมเม้นท์หรือโพสต์ในเฟซบุ๊ก ส่วนคดีที่สองที่ตามมาคือ บทสนทนาส่วนตัวกับแม่จ่านิวนั่นเอง
เมื่อถามเขาว่าเขาเริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่เมื่อไร บุรินทร์บอกว่า เขาสนใจการเมืองตั้งแต่อายุ 12 ขวบ เหตุเพราะชอบฟังเพลงเพื่อชีวิตโดยเฉพาะ วงคาราบาว นี่ชอบเป็นพิเศษ
“เริ่มแรกผมไม่ชอบนักการเมือง แต่ต่อมาผมยึดหลักว่าหากว่าใครที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมก็จะช่วยเหลือ” บุรินทร์กล่าว
เมื่อถามว่าบุรินทร์เป็นเสื้อแดงใช่หรือไม่ บุรินทร์ปฏิเสธและออกตัวว่า “ผมเป็นแค่คนที่เห็นใจคนเสื้อแดงเท่านั้น เพราะจากเหตุการณ์การเมืองที่ผ่านมา คนเสื้อแดงเป็นฝ่ายถูกกระทำ ในบางประเด็นผมก็ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอย่างเรื่องนิรโทษกรรมเหมาเข่ง เพราะผมคิดถึงคนที่เขาสูญเสียชีวิตหรือสูญเสียคนที่เขารักจากในเหตุการณ์ ถ้าคนที่เป็นผู้สั่งการไม่ต้องรับผิดแล้วพวกเขาจะมีความรู้สึกอย่างไร”
บุรินทร์เล่าว่าเขาเข้าร่วมกิจกรรมการเมืองครั้งแรกจริงๆ ก็ในช่วงเหตุการณ์ที่นักศึกษาโดนจับที่ สน.ปทุมวัน แม้การร่วมกิจกรรมดังกล่าวอาจถูกมองว่ามีความเสี่ยงในการท้าทายกฎหมาย แต่เขายืนยันว่ามันเป็นการต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ชอบธรรม
บุรินทร์ทิ้งท้ายว่า ต่อให้จับเขามาขัง เขาก็จะยังไม่ยอมแพ้ เขาจะสู้ต่อตามสภาพที่เขาพอจะทำได้ต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ยืนเฉยๆ’ รอบ3 ‘อานนท์’ ผิดพ.ร.บ.ชุมนุม ปล่อยแล้ว 13-ทหารคุมตัว 1-โดนหมายจับเก่า 5
ที่มา ประชาไท
ช่างเชื่อมชาวพะเยาถูกตัดสินจำคุก 22 ปี 8 เดือน รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง ในวันเกิดปีที่ 29 ของเขา จากการโพสต์เฟซบุ๊กและแชทกับแม่จ่านิวในคดีที่รู้จักกันว่า “จ้า” เขาถูกจับในกรณีที่ร่วม “ยืนเฉยๆ” เรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ 8 แอดมินเพจเรารักพล.อ.ประยุทธ์ ก่อนจะมาสู่คดีนี้
27 ม.ค.2560 เวลาประมาณ 13.30 น. ศาลทหารอ่านคำพิพากษาจำคุก คดีที่นายบุรินทร์ อินติน อายุ 29 ปี อาชีพ ช่างเชื่อม ถูกกล่าวหาทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(3) โดยศาลพิพากษาให้จำคุกรวม 10 ปี 16 เดือน จากการกระทำความผิด 2 กระทง
ทั้งนี้ บุรินทร์ให้การรับสารภาพในนัดสอบคำให้การเมื่อ 24 ม.ค.ที่ผ่านมาศาลจึงนัดพิพากษาในวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอ่านคำพิพากษาไม่ปิดลับเช่นคดี 112 อื่นๆ และผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม โดยรายละเอียดนั้น บุรินทร์ถูกฟ้อง 2 กระทง กระทงแรกร่วมกันกระทำความผิด แชทในเฟซบุ๊กกับนางพัชนรี หนึ่งนิจ แม่ของสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักกิจกรรมทางการเมือง หรือที่สังคมเรียกกันว่าคดี “จ้า” อย่างไรก็ตาม นางพัชนรีให้การปฏิเสธและต่อสู้คดี กระทงที่สองเกี่ยวกับการโพสต์ในเฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ดี ในคดีนี้อัยการได้ขอให้เพิ่มโทษด้วย เนื่องจากบุรินทร์เพิ่งพ้นโทษจากคดีเก่า (ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง) ไม่ถึง 5 ปี ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 ระบุว่า หากผู้ใดพ้นโทษจำคุกไม่ถึง 5 ปีและมีการกระทำผิดอีกในการพิพากษาลงโทษจำคุกครั้งหลังให้เพิ่มโทษแก่ผู้นั้น 1 ใน 3 ของที่ศาลกำหนด
ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลงโทษ กระทงแรก ให้จำคุก 7 ปี เพิ่มโทษอีกหนึ่งในสาม รวมเป็น 9 ปี 4 เดือน จำเลยรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 4 ปี 8 เดือน ส่วนกระทงที่สอง ให้จำคุก 10 ปี เพิ่มโทษอีกหนึ่งในสาม รวมเป็น 13 ปี 4 เดือน จำเลยรับสารภาพลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 6 ปี 8 เดือน รวมโทษทั้งสองกระทงเป็น จำคุก 10 ปี 16 เดือน
สำหรับความเป็นมาของคดีนี้ บุรินทร์ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 59 จากการเข้าร่วมกิจกรรม “ยืนเฉยๆ” กับกลุ่มพลเมืองโต้กลับซึ่งจัดขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวของจำเลยในคดี 8 แอดมิดเพจเรารักพล.อ.ประยุทธ์ หลังจากเขาถูกควบคุมตัวอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไทก็มีเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 ควบคุมตัวออกไปจากห้องสอบสวนกลางคันโดยไม่มีใครทราบจุดหมายปลายทาง
ต่อมาวันที่ 29 เม.ย.59 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ฝ่ายเสนาธิการผู้บังคับบัญชา คณะทำงานพิเศษฝ่ายกฎหมาย คสช. นำตัว บุรินทร์ อินติน ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลทหาร ข้อหาตาม มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และ มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นำส่งให้พ.ต.ท.สัณห์เพ็ชร หนูทอง รอง ผกก. (สอบสวน) กก.3 บก.ปอท. ดำเนินคดี และบุรินทร์ถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตั้งแต่ 30 เม.ย.2559 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน เขายื่นประกันตัว 5 ครั้งแต่ศาลทหารปฏิเสธ นับจนถึงวันนี้เขาอยู่ในเรือนจำมาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน
บุรินทร์ อายุ 29 ปี พื้นเพเป็นคนจังหวัดพะเยา จบการศึกษาชั้นป.6 และเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อายุ 14 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างร้านถ่ายรูป จนกระทั่งมายึดอาชีพเป็นช่างเชื่อมโลหกและสแตนเลส ครอบครัวมีฐานะยากจน แม่ของเขาทำไร่นา ส่วนแฟนมีอาชีพเป็นแคดดี้สนามกอล์ฟ เขาให้ข้อมูลว่า เขาเริ่มสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็กจากการอ่านหนังสือวิชาประวัติศาสตร์การเมือง จากนั้นจึงเริ่มต้นศึกษาเองจากการอ่านหนังสือการเมืองและท่องอินเทอร์เน็ต เขาติดตามการเมืองแต่ไม่เคยออกไปชุมนุมทางการเมืองกับฝ่ายใด แต่หลังรัฐประหารปี 2557 เขาเริ่มไปร่วมทำกิจกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะที่หน้าหอศิลป์ เช่นการรำลึกครอบรอบการรัฐประหารวาระต่างๆ และล่าสุดคือ การออกไปเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับ 8 แอดมินเพจการเมืองเพจหนึ่งเนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หลังจากเขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว มีการบังคับให้บอกรหัสเฟซบุ๊กแต่เขาไม่ได้บอก อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่ปริ๊นท์มาแสดงนั้นปรากฏข้อความการแชทแล้วซึ่งทำให้เขาประหลาดใจ อ่านเรื่องราวของเขาเพิ่มเติมที่นี่
ooo
‘บุรินทร์ อินติน’ จากช่างเชื่อมผู้เห็นใจเสื้อแดง สู่ ผู้ต้องขังคดี 112
Wed, 2016-05-25 20:30
ทีมข่าวกระบวนการยุติธรรม
ที่มา ประชาไท
เปิดบางแง่มุมชีวิต หนุ่มเหนือ-ช่างเชื่อมวัย 28 ปีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว เขาถูกจับใน กิจกรรม "ยืนเฉยๆ" พร้อมคนอื่นๆ แต่เป็นคนเดียวที่ไม่ถูกปล่อยตัว เนื่องจากถูกตั้งข้อหา 112 ถึง 2 คดี ปัจจุบันถูกฝากขังผัด 3 อย่างเงียบเชียบ
ภาพบุรินทร์ อินติน เพิ่งปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์หรือโลกออนไลน์เคียงคู่ สิรวิชญ์ เสรีธิวัตน์ หรือจ่านิว และคนอื่นๆ ในกลุ่มพลเมืองโต้กลับในเหตุการณ์ “ยืนเฉยๆ” ครั้งที่ 3 เมื่อ 27 เม.ย.2559 ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เพื่อเรียกร้องให้ทหารปล่อยตัว วัฒนา เมืองสุข และประชาชนที่ถูกทหารคุมตัวไปก่อนหน้านั้น
ผู้คนอาจงุนงงสงสัยว่าเขาคือใคร เนื่องจากเป็นคนธรรมดาที่ไม่ใช่นักกิจกรรมทางการเมือง และไม่ใช่ชาวบ้านขาประจำที่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองมายาวนานจนเป็นที่รู้จัก และนั่นทำให้การคุมขังเขาในเรือนจำเป็นไปอย่างเงียบเชียบ
ย้อนกลับไปที่เหตุการณ์นั้น สมาชิกพลเมืองโต้กลับที่ปรากฏตัวที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ทั้งหมดถูกนำตัวไปสน.พญาไท รวมถึงบุรินทร์ด้วย และในระหว่างการสอบสวนนั้นเอง ทหารได้บุกเข้าควบคุมตัวบุรินทร์ถึงห้องสอบสวนนำขึ้นรถตู้ออกไปโดยไม่รู้ที่หมาย...เพียงคนเดียว ท่ามกลางความสับสนงุนงงของทุกคนที่สถานีตำรวจ เขาอยู่ในความควบคุมของทหาร 1 วัน ก่อนตำรวจจะนำตัวเขามาแถลงข่าวแจ้งข้อกล่าวหา มาตรา 112
นายทหารยศพันเอกชื่อเดียวกับเขา คือ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ได้ให้ข่าวกับสื่อมวลชนถึงที่มาที่ไปของการจับและแจ้งข้อหานี้ว่า ทหารเฝ้าติดตามพฤติกรรมบุรินทร์ อินตินมาตลอด สายข่าวพบการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Burin Intin ในลักษณะต่อต้านการบริหารงานของรัฐบาลและ คสช.รวมทั้งมีการแชตพูดคุยกับบุคคลอื่นโดยมีข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กระทั่งวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 12.13 น.นายบุรินทร์โพสต์คลิปวิดีโอความยาวประมาณ 40 นาที พร้อมข้อความ “นู๋อยากโดนอุ้ม#ปล่อยเพื่อนเราที่โดนอุ้ม” ก่อนจะมีบุคคลเข้ามาแสดงความคิดเห็นในคลิปดังกล่าว และนายบุรินทร์ตอบความคิดเห็นในลักษณะหมิ่นเบื้องสูง
ไม่นานหลังการให้ข่าวนี้ มีการออกหมายจับ ‘แม่จ่านิว’ หรือพัฒน์นรี เสรีธิวัฒน์ ในข้อหาความผิดตามมาตรา 112 โดยตำรวจอ้างถึงการสนทนาส่วนตัวในกล่องข้อความของเฟซบุ๊ก ระหว่าง บุรินทร์ กับ แม่จ่านิว เนื้อหาที่สนทนานั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เข้าไปช่วยเหลือทางคดีกับแม่จ่านิวได้ออกมาเปิดเผยว่า ตามบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาอ้างอิงบทสนทนาที่แม่จ่านิวตอบกลับบุรินทร์เพียงคำว่า “จ้า”
“จ้า” กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก พร้อมๆ กับคำถามว่าเจ้าหน้าที่เข้าถึงหลักฐานกล่องข้อความส่วนตัวได้อย่างไร จนในที่สุดตำรวจต้องออกมาแถลงข่าวว่าเข้าถึงข้อมูลอย่างถูกกฎหมาย แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ขณะที่แม่จ่านิวก็ได้รับการประกันตัวในที่สุด
เวลานี้จึงมีบุรินทร์ อินติน เพียงคนเดียวที่ถูกจำคุกอยู่ เขาไม่มีญาติเยี่ยม และไม่มีเงินประกันตัวจนกระทั่งในการฝากขังผัดที่ 3 เมื่อ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มพลเมืองโต้กลับทำการระดมทุนได้ 300,000 บาทและยื่นประกันตัวบุรินทร์ แต่ศาลทหารปฏิเสธ
บุรินทร์ อินติน เป็นใคร?
หนุ่มคนงานช่างเชื่อมเหล็กร่างเล็ก วัย 28 ปี ผู้นี้มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพะเยา เขาเรียนจบ ม.2 ครึ่ง ไม่ทันจบ ม.3 เพราะช่วงนั้นติดเกมส์อย่างหนัก บุรินทร์เล่าให้ฟังแบบซื่อๆ
บุรินทร์เล่าว่า ในคืนวันที่เขาถูกคุมตัวอยู่ที่ มทบ. 11 เจ้าหน้าที่ทหารพยายามที่จะให้เขามอบรหัสเฟซบุ๊กของเขาให้ แต่เขาไม่ยอมและใช้วิธีเงียบและ ไม่โต้เถียง ไม่ให้ข้อมูลแล้วก็ไม่ต่อปากต่อคำ นั่นอาจทำให้ผู้ควบคุมตัวไม่พอใจ ชายร่างใหญ่ในชุดปกติสวมหมวกไหมพรมคลุมศรีษะตบเขาที่บริเวณศรีษะอย่างแรงถึง 4 ครั้ง ขณะที่เจ้าหน้าที่ในห้องสอบสวนข่มขู่เขาว่า “มึงไม่รอดหรอก ไม่ได้ออกไปแน่ ถ้ามึงไม่บอกกู มึงจะโดนพาไปที่ๆ หนักกว่านี้”
เขายืนยันว่าเขาไม่ได้มอบรหัสเฟซบุ๊กให้เจ้าหน้าที่แต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่กลับนำสำเนาเอกสารการพูดคุยในกล่องข้อความที่ถูกระบุว่าเป็นของเขา ออกมาประกอบการสอบสวน ที่สำคัญ เอกสารดังกล่าวปรากฏก่อนที่จะมีการไปยึดคอมพิวเตอร์ที่บ้านเขาเสียอีก อย่างไรก็ตาม ทนายความระบุว่า บุรินทร์เป็นชาวบ้านธรรมดาที่เพิ่งมาสนใจการเมือง ไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมากนัก เขาเริ่มเล่นเฟซบุ๊กมาได้สักพักใหญ่และตั้งรหัสแบบจำง่ายที่ชาวบ้านร้านตลาดมักทำกัน นั่นคือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือของตัวเอง
หลังการแจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นสถาบันกับแม่จ่านิว โดยหลักฐานมาจากการสนทนากับบุรินทร์ ผู้คนในโลกไซเบอร์ต่างวิเคราะห์กันไปต่างๆ นานา จำนวนไม่น้อยสงสัยว่า บุรินทร์คือ “สาย” ของฝ่ายความมั่นคงที่พยายามมาตีสนิทและ “ล่อซื้อ” อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า บุรินทร์นั้นถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 แล้ว 2 คดี คดีแรกจากการตอบคอมเม้นท์หรือโพสต์ในเฟซบุ๊ก ส่วนคดีที่สองที่ตามมาคือ บทสนทนาส่วนตัวกับแม่จ่านิวนั่นเอง
เมื่อถามเขาว่าเขาเริ่มสนใจการเมืองตั้งแต่เมื่อไร บุรินทร์บอกว่า เขาสนใจการเมืองตั้งแต่อายุ 12 ขวบ เหตุเพราะชอบฟังเพลงเพื่อชีวิตโดยเฉพาะ วงคาราบาว นี่ชอบเป็นพิเศษ
“เริ่มแรกผมไม่ชอบนักการเมือง แต่ต่อมาผมยึดหลักว่าหากว่าใครที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมก็จะช่วยเหลือ” บุรินทร์กล่าว
เมื่อถามว่าบุรินทร์เป็นเสื้อแดงใช่หรือไม่ บุรินทร์ปฏิเสธและออกตัวว่า “ผมเป็นแค่คนที่เห็นใจคนเสื้อแดงเท่านั้น เพราะจากเหตุการณ์การเมืองที่ผ่านมา คนเสื้อแดงเป็นฝ่ายถูกกระทำ ในบางประเด็นผมก็ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอย่างเรื่องนิรโทษกรรมเหมาเข่ง เพราะผมคิดถึงคนที่เขาสูญเสียชีวิตหรือสูญเสียคนที่เขารักจากในเหตุการณ์ ถ้าคนที่เป็นผู้สั่งการไม่ต้องรับผิดแล้วพวกเขาจะมีความรู้สึกอย่างไร”
บุรินทร์เล่าว่าเขาเข้าร่วมกิจกรรมการเมืองครั้งแรกจริงๆ ก็ในช่วงเหตุการณ์ที่นักศึกษาโดนจับที่ สน.ปทุมวัน แม้การร่วมกิจกรรมดังกล่าวอาจถูกมองว่ามีความเสี่ยงในการท้าทายกฎหมาย แต่เขายืนยันว่ามันเป็นการต่อสู้เพื่อความถูกต้อง ชอบธรรม
บุรินทร์ทิ้งท้ายว่า ต่อให้จับเขามาขัง เขาก็จะยังไม่ยอมแพ้ เขาจะสู้ต่อตามสภาพที่เขาพอจะทำได้ต่อไป
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ยืนเฉยๆ’ รอบ3 ‘อานนท์’ ผิดพ.ร.บ.ชุมนุม ปล่อยแล้ว 13-ทหารคุมตัว 1-โดนหมายจับเก่า 5