วันจันทร์, มกราคม 23, 2560

กลับจากศาลเข้าเรือนจำทุกครั้งโดนตรวจทวารหนัก: วิบากกรรมของ 'ไผ่ ดาวดิน'



เกือบ 2 เดือนแล้วที่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ต้องตกเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมายที่สร้างข้อถกเถียงมากที่สุดมาตราหนึ่งในสังคมไทย จนนำไปสู่การถูกจองจำและต้องเผชิญกับความอยุติธรรมในนามของกฎหมาย ที่หากเกิดขึ้นกับคนอื่นหรือในคดีอื่นคงมีคนออกมาประณามกันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว เขาต้องประสบพบเจออะไรบ้าง ขอเชิญรับชม

บทความมีชื่อว่า “พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย”

พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี หรือ “เสธ. พีท” รองหัวหน้ากองยุทธการ มณฑลทหารบกที่ 23 จังหวัดขอนแก่น เป็นนายทหารที่คุมพื้นที่ที่ไผ่จัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีส่วนในการขัดขวางการจัดกิจกรรมของไผ่อยู่เสมอ หลายครั้งที่การจัดกิจกรรมของไผ่นำความอับอายมาสู่ เสธ. พีท ซึ่งครั้งที่หนักที่สุดเห็นจะเป็นการที่กลุ่มดาวดินบุกไปชูสามนิ้วต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดังนั้นส่วนหนึ่งของการแจ้งความไผ่ในครั้งนี้จึงมาจากความขัดแย้งระหว่างทั้งสองคนนี้เอง

เมื่อ เสธ.พีท เข้าแจ้งความแล้ว พ.ต.ต.วิษณุ แสนคำ สารวัตรสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ผู้รับแจ้งความก็เข้ายื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นขอออกหมายจับไผ่ในข้อหาดังกล่าว และนายวิเนตร มาดี ผู้พิพากษา อนุมัติหมายจับศาลจังหวัดขอนแก่นที่ 433/ 2559

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn1

ตำรวจที่รับแจ้งความและเข้าจับกุมไผ่ได้แก่ สภ.เมืองขอนแก่น ดังนั้นโดยขั้นตอนแล้วก็ต้องนำตัวไผ่ไปสอบสวนที่ สภ.เมืองขอนแก่น

แต่ปรากฏว่าตำรวจกลับนำตัวไผ่ไปสอบสวนที่ศูนย์ฝึกอบรมตำรจภูธรภาค 4 แทน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเพราะต้องการหลีกเลี่ยงนักข่าวที่เตรียมไปทำข่าวที่ สภ.ขอนแก่น

และในคืนนั้น ไผ่ได้ถูกนำตัวไปนอนในห้องขังที่ สภ.น้ำพอง

ในการนำตัวไผ่ไผสอบสวนที่อื่นนั้น ตำรวจไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้าด้วยว่าจะเป็นสถานที่ใด

และในระหว่างการสอบสวน ตำรวจไม่ยอมให้ไผ่ได้ติดต่อกับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดว่าเขาอยู่ที่ใด

ไผ่ถูกยึดโทรศัพท์มือถือ ทว่าไม่มีการบันทึกไว้ในรายการหลักฐาน

ในการสอบสวน ตำรวจแจ้งกับไผ่ว่าได้เตรียมทนายความไว้ให้แล้ว (ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร) แต่ไผ่ปฏิเสธกระบวนการสอบสวนดังกล่าว และยืนยันให้ทนายความที่ตนเองไว้ใจเท่านั้นเข้าร่วม ตำรวจจึงต้องมารับตัวทนายความซึ่งรออยู่ที่ สภ.เมืองขอนแก่น โดยทนายความไม่ได้รับการแจ้งว่า จะพาไปยังสถานที่ใด และถูกยึดโทรศัพท์ด้วยเช่นกัน

การไม่แจ้งให้ทราบว่าจะถูกนำตัวไปที่ใด ไม่ให้บอกคนใกล้ชิดว่าอยู่ที่ใด รวมถึงการที่ตำรวจพยายามแต่งตั้งทนายให้แทนทนายที่ไผ่ไว้วางใจ ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 ซึ่งระบุอยู่ในบันทึกจับกุมด้วยว่า ผู้ต้องหามีสิทธิแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และมีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน แสดงให้เห็นว่า ตำรวจไม่ได้สนใจปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายตามที่ระบุอยู่ในบันทึกจับกุมนั้นเลย

เป็นเพียงการลักพาตัวดีๆ นี่เอง

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn2


ในครั้งแรกสุด ศาลอนุญาตให้ไผ่ประกันตัว เพราะที่ผ่านมามีคดีติดตัวหลายคดี (ซึ่งต้องเน้นย้ำว่าเป็นคดีที่เกิดจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งนั้น ไม่มีอาชญากรรมอย่างอื่นเลย) แต่ไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี อีกทั้งยังมีสอบเพื่อจบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แต่ในเวลาต่อมา ตำรวจพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอถอนประกัน โดยอ้างว่าไผ่ได้แสดงการเยาะเย้ยโดยการโพสต์เฟซบุ๊คพิมพ์ว่า “เศรษฐกิจมันแย่แม่งเอาแต่เงินประกัน”

ซึ่งทางฝ่ายไผ่ได้แย้งว่าตำรวจที่แจ้งความนั้นไม่ใช่พนักงานสอบสวนในคดี ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดี และสิ่งที่โพสต์ไปนั้นเป็นเพียงการแสดงความเห็นใจต่อจำเลยคดีฉีกบัตรประชามติที่ไม่ได้รับการประกันตัว ซึ่งเป็นเสรีภาพที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย สามารถกระทำได้

ศาลอ้างว่าไผ่ “ไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้ในสื่อสังคมออนไลน์บนเฟซบุ๊คของตน กับทั้งผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ทั้งผู้ต้องหายังมีแนวโน้มที่จะกระทำการในลักษณะเช่นนี้ต่อไปอีก”

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn3

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรค 3 กำหนดให้ศาลสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับประกันตัวปฏิบัติได้ แต่จะต้องเป็นไปเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น

แต่จากข้อเท็จจริง ศาลไม่เคยกำหนดเงื่อนไขให้ไผ่ต้องลบบทความ BBC ที่ตัวเองแชร์มาด้วย จึงเท่ากับว่าศาลได้อ้างเหตุที่อยู่นอกเงื่อนไขในการถอนประกันไผ่ครั้งนี้

มากไปกว่านั้น หากไผ่ลบบทความที่ตัวเองแชร์ออ...กไป จะกลายเป็นการยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานเสียอีก ดังนั้นการที่ไผ่ไม่ลบบทความดังกล่าวออกจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

และหากกล่าวให้ถึงที่สุด หากศาลจะกำหนดเงื่อนไขให้ไผ่ต้องลบบทความที่แชร์เสียตั้งแต่แรก ก็ไม่สามารถบังคับตามเงื่อนไขนั้นได้อยู่ดี เพราะตามกฎหมายแล้วการกำหนดเงื่อนไขต้องเป็นไปเพื่อป้องการหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือขัดขวางการสอบสวนดำเนินคดีเป็นสำคัญ ไม่ใช่ว่าจะกำหนดเงื่อนไขอย่างไรก็ได้

การแสดงออกของไผ่ที่ถูกกล่าวหาว่าเย้ยหยันอำนาจรัฐนั้น ได้แก่การทำท่า “หน้ากากแอคชั่น” (บางคนกล่าวว่าเป็นท่า “dab”)

ซึ่งแล้วมันทำให้ประเทศชาติเสียหายอย่างไร ก็ไม่เคยมีปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ จากศาลเท่านั้น

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 การสั่งไม่ให้ปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) จะกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี

(2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน...

(3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

(4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันไม่น่าเชื่อถือ

(5) การปล่อยชั่วคราวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล

ดังนั้น เท่ากับว่าศาลได้อุปโลกน์กฎหมายขึ้นมาเล่นงานประชาชนเองล้วนๆ

ทนายของไผ่ให้เหตุผลว่า

1. ข้อวินิจฉัยของศาลจังหวัดขอนแก่นที่ว่า ผู้ต้องหามีการกระทำเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลมีคำสั่งนั้น ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวนพยานผู้ร้อง

2. กรณีที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นคดีนี้บนเฟซบุ๊คของผู้ต้องหานั้น เป็นการยกเหตุนอกไปจากคำร้องขอถอนประกัน และข้อวินิจฉัยที่ว่า การกระทำของผู้ต้องหาดังก...ล่าวเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนเพราะศาลไม่เคยกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวแต่อย่างใด

3. ข้อวินิจฉัยของศาลจังหวัดขอนแก่นว่า ผู้ต้องหาได้แสดงออกถึงพฤติกรรรมในเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง เป็นข้อวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน

4. ข้ออ้างของผู้ร้องขอถอนประกันนั้นเลื่อนลอยไม่มีเหตุไม่มีผลและไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใดทั้งสิ้น พยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาลก็เป็นเพียงเป็นการแสดงออกของวัยรุ่นในชีวิตประจำวัน

5. การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาได้กระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายภายหลังจากการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาที่ผ่านมาไม่เคยก่อให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn4

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงอ้างแบบเดียวกันกับศาลจังหวัดขอนแก่น ว่าไผ่ไม่ยอมลบบทความ BBC แสดงออกเย้ยหยันอำนาจรัฐ ก่อความเสียหายต่อประเทศชาติ การถอนประกันจึงชอบแล้ว

ทนายของไผ่จึงยื่นฎีกาต่อ โดยอ้างถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UDHR) ข้อ 11(1) กล่าวว่า “ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผยซึ่งตนได้รับหลักประกันที่จำเป็นทั้งปวงสำหรับการต่อสู้คดี” และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับที่รับรองเสรีภาพในการแสดงออก ดังนั้นจะนำมาเป็นเหตุในการถอนประกันไม่ได้

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn5

ในขณะที่อุทธรณ์คำสั่งถอนประกันเดิม ทนายของไผ่ก็ยื่นคำร้องขอประกันใหม่ด้วย เพื่อนำไผ่ออกจากที่ที่เขาไม่สมควรต้องอยู่โดยเร็วที่สุด

แต่ศาลก็ยังยืนยันคำเดิม again and again

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn7

26 ธ.ค.59 พ.ต.ท.จิรัฐเกียรติ ศรวิเศษ พนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นขอฝากขังไผ่ ครั้งที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.59-8 ม.ค.60 พร้อมทั้งคัดค้านการประกันตัว

27 ธ.ค. 59 ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังไผ่ครั้งที่ 3 โดยระบุว่า “ศาลพิจารณาคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพโดยมีผู้ร้อง ผู้ต้องหา และสักขีพยานอยู่พร้อมกัน สอบถามสักขีพยานแล้ว ไม่มีเหตุอาจกร...ะทบสิทธิผู้ต้องหา สอบถามผู้ต้องหา แถลงว่า ได้รับสำเนาคำร้องแล้ว และไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้ฝากขังมีกำหนด 12 วัน”

28 ธ.ค. 59 เมื่อทนายของไผ่เข้าตรวจสำนวนคดีที่ศาลจังหวัดขอนแก่น เพื่อเตรียมคำร้องคัดค้านการฝากขังครั้งที่ 3 และคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ จึงเพิ่งพบว่าพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังไผ่ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังไปแล้ว

นั่นสิ


และเมื่อเข้าเยี่ยมไผ่ที่เรือนจำ ไผ่ยืนยันว่าไม่ทราบถึงกระบวนการดังกล่าว โดยได้ฟังแค่คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวทางจอภาพ แต่ศาลไม่ได้อ่านคำร้องขอฝากขังเพิ่มให้ฟัง และเขาไม่ได้แถลงว่าไม่คัดค้านการฝากขังตามที่ศาลบันทึ

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตว่า ตามมาตรา 87 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้ศาลพิจารณาฝากขังทุก 12 วันเพื่อให้ศาลได้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเพื่อไม่ให้ควบคุมบุคคลไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกควบคุมตัวคัดค้านเหตุของพนักงานสอบสวนได้ การดำเนินกระบวนการฝากขังโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาคัดค้านจึงเป็นกระบวนการที่มิชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่มีการสอบถามผู้ต้องหาแต่คำสั่งอนุญาตคำร้องฝากขังลงวันที่ 27 ธ.ค.59 กลับระบุว่ามีการสอบถามผู้ต้องหาแล้วและผู้ต้องหาไม่คัดค้าน คำสั่งอนุญาตดังกล่าวจึงพิจารณาบนฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ต้องหา

น.ส.ปิยะธิดา อุปพงษ์ ผู้พิพากษาผู้ลงชื่อในคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังนายจตุภัทร์ครั้งที่ 3 ได้ทำการประชุมทางจอภาพกับนายจตุภัทร์ ที่อยู่ในเรือนจำ โดยไม่ได้ให้ทนายความที่รออยู่ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วม จากนั้น เจ้าหน้าที่ศาลจึงนำเอกสารคำสั่งศาลต่อคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาฯ ให้ทนายความ โดยศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง รายละเอียดว่า

“พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า การยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาครั้งที่ 3 ของพนักงานสอบ...สวน เป็นการยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นการยื่นคำร้องขอฝากขังที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพียงแต่ศาลไม่ได้สอบถามผู้ต้องหาเสียก่อนว่าจะคัดค้านคำร้องฝากขังนั้นหรือไม่เท่านั้น หาทำให้การสั่งอนุญาตให้ฝากขังดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดกฎหมายไม่ ให้ยกคำร้อง ดังนั้น จึงให้เบิกตัวผู้ต้องหามาสอบถามในลักษณะการประชุมผ่านจอภาพในวันนี้ เวลา 16.30 น.”

สีข้างศาลยังสบายดีมั้ย เป็นห่วงมาก

ไผ่แถลงคัดค้านว่า “ผู้ร้องไม่มีอำนาจขอฝากขังระหว่างสอบสวน เพราะไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องคุมขังผู้ต้องหาในระหว่างสอบสวน เพราะพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างว่าต้องสอบเพิ่มเติมนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา และที่ผู้ร้องอ้างว่าต้องรอผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษจากกองทะเบียนประวัติอาชญากรนั้น ผู้ร้องสามารถตรวจสอบได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องคุมขังผู้ต้องหาไว้ ประกอบกับผู้ต้องหาต้องการที่จะไปสอบวิชาคอมพิวเตอร์...ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในวันที่ 17 และ 18 มกราคม 2559 ผู้ต้องหาต้องการออกไปอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบวิชาดังกล่าว ขอให้ศาลยกคำร้องขอฝากขังของผู้ร้อง”
ศาลยืนยันคำเดิม อ้างว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำคัดค้านของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น เมื่อผู้ร้องมีเหตุจำเป็นที่ต้องสอบปากคำพยานเพิ่มเติมอีก 4 ปาก และรอผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคงและมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่มีการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์ กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะควบคุมผู้ต้องหาต่อไป ในชั้นนี้จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค.59 – 8 ม.ค.60”

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn8

ศาลอ้างว่า “พิเคราะห์แล้วเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาโดยให้เหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้วว่า หากให้ปล่อยชั่วคราว ผู้ต้องหาอาจไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล ตามคำสั่งคำร้องที่ 901/2559 ลงวันที่ 26 ธ.ค.59 กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง”

http://www.tlhr2014.com/th/?p=3189#_edn9

again and again and again

and again and again and again and again...

and again and again and again and again and again

คือ...

ไผ่ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวประชาไทว่า การถูกจับกุมครั้งนี้ ในการเบิกตัวมาศาลแล้วนำตัวกลับเข้าเรือนจำแต่ละครั้งต้องถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำตรวจค้นร่างกาย ด้วยการให้ถอดเสื้อผ้าทั้งหมด กางแขน ลุกนั่ง และโก้งโค้งเพื่อตรวจภายในช่องทวารหนัก ซึ่งเขารู้สึกว่าเป็นการละเมิดสิทธิในร่างกาย เจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันการนำยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายเข้าไปภายในเรือนจำ

ไผ่กล่าวด้วยว่า การถูกคุมขังในคดีที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ไม่มีการตรวจค้นตัวในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด เพิ่งจะมีก็ในการจับกุมครั้งนี้ เขาพยายามท้วงติงกับเจ้าหน้าที่ว่าโดนจับมาในคดีการเมือง ไม่ใช่คดียาเสพติด และในกระบวนการควบคุมตัวออกมาที่ศาลนั้นก็เป็นไปอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่จากทัณฑสถานบำบัดพิเศษ จ.ขอนแก่นไม่รับฟัง

http://prachatai.org/journal/2017/01/69524

ถูกกลั่นแกล้งจากทั้งทหาร ตำรวจ ศาล และราชทัณฑ์

เมื่อเจ้าหน้าที่ได้คุมตัวผู้ต้องหาลงมาคุมขังอยู่ในห้องขังใต้ศาล โดยที่ตนก็ได้แยกไปกินอาหารกลางวัน จนกระทั่งเวลาประมาณ 14.00 น. นายวิบูลย์ผู้เป็นบิดาได้กลับมาเยี่ยมพูดคุยกับไผ่ และไผ่ได้แจ้งว่า ยังไม่ได้รับประทานอาหารกลางวันแต่อย่างใด

นายวิบูลย์จึงได้จัดหาอาหารไปติดต่อที่เจ้าหน้าที่ศาลเพื่อขออนุญาตนำเข้าไปให้ไผ่ได้กิน แต่ จนท.ศาลปฏิเสธ ที่จะนำเข้าไปให้โดยอ้างว่าต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อน

นายวิ...บูลย์จึงได้เดินทางขึ้นไปติดต่อขออนุญาตจากผู้อำนวยการสำนักงานศาล แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผอ.ไม่อยู่ และได้แนะนำให้ไปติดต่อที่รองผู้อำนวยการศาล

บิดาของไผ่ได้ไปติดต่อชี้แจงกับ รอง ผอ.ศาล ว่าต้องการขออนุญาตเอาอาหารส่งให้ผู้ต้องขังได้กิน ขณะที่ทาง รอง ผอ.ศาล ได้ยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ได้กิน และทำไมตอนเที่ยงไม่ไปติดต่อดำเนินการ และกล่าวว่าเป็นเพราะว่าไผ่ปฏิเสธที่จะกินอาหารเองหรือไม่

ทางนายวิบูลย์ยืนยันว่าไผ่ไม่ได้ปฏิเสธที่จะกินอาหาร แต่ทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้จัดอาหารให้กิน

บิดาของไผ่ยังได้ชี้แจงต่อ รอง ผอ.ศาล ว่า ไม่ได้ต้องการมาท้วงติงแต่อย่างใด เพียงให้บุตรชายได้กินอาหารเท่านั้น และต้องการรู้ว่าจะจัดการอย่างไร

ทาง รอง ผอ.ได้เดินออกมาจากห้องพร้อมกล่าวว่า... (ดูในสไลด์ต่อไป)

https://www.facebook.com/Prachatai/photos/a.376656526698.158748.108882546698/10154289218201699/?type=3

นายวิบูลย์ได้ตอบกลับไปว่า "ผมไม่ได้ต้องการทราบว่าจะปฏิบัติอยู่ในขั้นตอนไหน แต่ผมต้องการให้ลูกผมได้กินข้าว มันเป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะได้กินข้าว ไม่ใช่สิทธิของคุณที่จะทำอะไรก็ได้"

สุดท้ายแล้วไผ่ได้กินอาหารกลางวันที่ทางศาลจัดให้เวลา 15.30 น.

นายวิบูลย์กล่าวว่าไม่ได้สรุปว่าเป็นการกลั่นแกล้งหรือความล่าช้า แต่ว่าเวลาที่ไปติดต่อเพื่อขออาหารให้ผู้ต้องขังกิน เมื่อทางศาลมีท่าทีอย่างนี้ ถือว่ามีปัญหาเรื่องวิธีคิดแล้ว มันเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ต้องขังที่มาศาลทุกคน

ขนาดสัตว์ยังได้รับการเห็นใจให้อาหารจากมนุษย์ คนพวกนี้คงมองไผ่เป็นเพียงสิ่งของไปแล้ว


1 ในกว่า 2,800 คนเท่านั้น สะท้อนว่าไผ่ถูกกลั่นแกล้งอย่างเฉพาะเจาะจง



จบสั้นๆ #ปล่อยไผ่