เอาทหารมาจัดการสื่อก็ได้เรื่องอย่างนี้แหละ
“ผมเป็นอดีตนักบิน มีความรักต่อกระทรวงกลาโหม เพราะว่ามีการดูแลบุคลากรเป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าจะสั่งให้ผมไปรบผมก็ไม่กลัวตาย เพราะอย่างน้อยก็มีคนดูแลรับผิดชอบชีวิตผม
ดังนั้นในเมื่อองค์กรมีการดูแลบุคลากรที่ดี ดังนั้นงานต่างๆ ก็จะออกมาดีด้วย ไม่เว้นแม้แต่องค์กรวิชาชีพสื่อ”
ทั่นประธานกรรมาธิการปฏิรูปสื่อของ สปท. บอกกับนักข่าวถึงการไม่รับฟังข้อเรียกร้องของ ๓๐ องค์กรสื่อ
พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ยังพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสภาองค์กรวิชาชีพสื่อ ที่ ๓๐ องค์กรสื่อไม่ชอบใจว่า
“ซึ่งสามารถออกระเบียบกติกาในการดูแลสื่อมวลชน รวมทั้งการให้ใบอนุญาตและเพิกถอนใบอนุญาตสื่อมวลชนได้ด้วย โดยจะนำเสนอต่อวิป สปท. ในวันที่ ๒ ก.พ.นี้” ไม่มีรีรอ
(http://www.matichon.co.th/news/445769)
แถม ‘นักบิน’ ผู้บงการกำกับสื่ออ้างด้วยว่า ที่ได้ข้อสรุปมาอย่างนี้นอกจากเอามาจากความเห็น ‘ชง’ ของทีดีอาร์ไอแล้ว
ยังได้จากการที่ส่งนางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด ประธานกรรมาธิการฯ (ซึ่งเป็นเจ้าของ New TV “เจ้านายปอง อัญชลี นะ”) ไปหารือกับตัวแทนสื่อ “กินข้าวพูดคุยกันที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง” ด้วย
จึง “ยืนยันว่าในเรื่องของสภาองค์กรวิชาชีพจำเป็นต้องมีบุคคลภายนอกเข้าร่วม จะมีประโยชน์มากกว่ากรรมการจากแวดวงสื่อเท่านั้น”
ทางด้าน ๓๐ องค์กรที Atukkit Sawangsuk สับเละว่า “เราสื่อดีมีจรรยากล้าต่อสู้ ไล่อีปูมาแล้วไงใช่ขี้ขี้ แต่ไม่ต้านเผด็จการเพราะคนดี ที่มานี่ไม่วิจารณ์ทหารเลย” นั้นเพราะ
“ตนเชื่อว่ารัฐบาลที่จะได้ใช้อำนาจนี้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายจะผ่านการพิจารณาจะไม่ใช่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่จะเป็นรัฐบาลที่จะมาหลังจากการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว
เป็นสิ่งที่นักการเมืองปรารถนาอยากจะได้มาก สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้คือการชงกฎหมายใส่พานให้กับนักการเมืองที่ต้องการกลับมาจะบริหารประเทศหลังจากการเลือกตั้ง” เทพชัย หย่อง หัวโจก ๓๐ องค์กรอ้าง
เช่นนั้นและฉันนี้ จึงเป็นอย่างที่อธึกกิตว่าไว้ไม่มีผิด ว่าพวก ‘๓๐ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน’ ไม่ได้ปักหลักค้าน พรบ.คุ้มครองสื่อฯ (ซึ่งแท้จริงแล้วออกมาไว้ควบคุมสื่อ) กันจริงจัง
มัวแต่คอยระวังไม่ให้กระเทือนซาง คสช. และเฉไฉไปด่า ‘นักการเมือง’ พวกที่รอเลือกตั้งแต่ยังไม่รู้จะมาแน่หรือไม่ เมื่อไหร่
เพราะถ้าหากจะเชื่อตาม คสช. ว่าเดินตามโร้ดแม็พ ทุกรายการ ทุกเป้าหมายมันก็ผ่านไปนานแล้ว ยังจำกันได้ไหมล่ะ หลังยึดอำนาจใหม่ๆ คสช. บอกว่า
“๑. สร้างความปรองดองสมานฉันท์ และจัดตั้งคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปภายในเวลา ๒-๓ เดือน” นั่นมันปี ๒๕๕๗
“๓. ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย แก้ไขความไม่เป็นธรรมต่างๆ จัดการเลือกตั้งให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมืองตามหลักธรรมาภิบาล ภายใน ๒๕๕๘”
นี่ถึงปี ๒๕๖๐ แล้ว กฎหมายหลักๆ ที่ปรับปรุง นอกจาก มาตรา ๔ รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ให้อำนาจเต็มที่แก่พระมหากษัตริย์สามารถวีโต้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ถ้าไม่ทรงพระราชทานคืนมาเป็นครั้งที่สองให้ร่างนั้นตกไป) แล้ว
ก็มีกฎหมายดิจิทัลที่ให้อำนาจ ‘เจ้าพนักงาน’ ปิดเว็บซึ่งเห็นว่า ‘ขัดต่อความมั่นคง’ ได้ง่ายๆ มาถึงนี่ พรบ. ‘กำกับควบคุม’ สื่อ ด้วยคณะกรรมการ ๑๓ คน
ที่มีตัวแทนสื่ออยู่แค่ ๕ คน นอกนั้นเป็นพวกปลัดกระทรวงเสียสี่ กับพวกวิชาชีพอื่นๆ อีกสี่
ช่วงนี้เรื่องข้าราชการชั้นสูงไปทำงามหน้าในต่างประเทศ ลักขโมยทรัพย์สินของโรงแรม สถานทูต สถานกงสุลวิ่งเต้นขอให้ปล่อยตัวได้ภายในสองวัน คนในรัฐบาล คสช. ออกมาปกป้องกันขนานใหญ่ ว่า ‘ไม่ใช่’ ความผิดร้ายแรง
ทีคดีหญิงไทยนำยาต้องห้ามเข้าประเทศโอมาน สถานทูตอืดอาด ‘น้องจ๋า’ ต้องติดคุกฟรีไป ๓ เดือน กต. ถึงขยับเพราะมารดาของเธอนำข้อเท็จจริงมาแฉทางโซเชียลมีเดีย
อีกคดี พล.ต.ต.คำรรวิทย์ หรือ ‘บิ๊กแจ๊ด’ อดีตนายตำรวจ ‘คนรักทักษิณ’ ไปถูกจับที่ญี่ปุ่นเพราะพกพาอาวุธปืนสะสมขนาดจิ๋วในกระเป๋าหิ้ว หลังจากศาลญี่ปุ่นยกฟ้อง กลับไทยเจอ ผบช.ภ.๑ จะให้ดำเนินคดีต่อ
เลยมีคนเขาประชดเข้าให้ ดูเหมือนจะเป็นรองอธิบดีอัยการ บอกว่าน่าจะปรับปรุงระเบียบราชการเสียใหม่ ข้าราชการคนไหนซื่อสัตย์ต่อ คสช. ถ้าทำความผิดฐานลักขโมย ให้ถือเสมือนไม่ได้กระทำผิด