วันจันทร์, มกราคม 30, 2560

เครือข่ายนักวิชาการฯ นำ 352 รายชื่อ ร้อง ปธ.ศาลฎีกา ปมละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน




ที่มา FB

ประชาไท Prachatai.com

เครือข่ายนักวิชาการฯ นำ 352 รายชื่อ ร้อง ปธ.ศาลฎีกา ปมละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน

วันนี้ เวลา 11.00 น. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) นำโดยอนุสรณ์ อุณโณ พวงทอง ภวัครพันธุ์ ยุกติ มุกดาวิจิตร พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ชลิตา บัณฑุวงศ์ สามชาย ศรีสันต์ ภาสกร อินทุวงศ์ ธนะศักดิ์ สายจำปา และนาตยา อยู่คง ได้เดินทางมายังศาลฎีกา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ เรื่อง ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธิ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน

โดยอนุสรณ์ได้อ่านจดหมายเปิดผนึกที่หน้าศาลฎีกา และรายชื่อแนบท้าย 352 รายชื่อ ภายหลังอ่านจบ ปิยะนุช มนูรังสรรค์ เลขาธิการประธานศาลฎีกาได้เดินออกมารับจดหมายเปิดผนึกจาก คนส.

ในส่วนจดหมายเปิดผนึกทั้ง 169 ฉบับไปยังประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ทุกภาค หัวหน้าผู้พิพากษาศาลแขวง ศาลจังหวัด อธิบดีผู้พิพากษาทุกภาค

อนุสรณ์กล่าวว่า เป้าหมายของการยื่นจดหมายครั้งนี้เพราะเชื่อว่ายังมีนักกฎหมายและผู้พิพากษาที่มีใจเที่ยงธรรมอยู่ และหลังจากนี้หากยังไม่มีความเคลื่อนไหวในทางบวกก็จะหาแนวทางเคลื่อนไหวต่อไป

อ่านจดหมายเปิดผนึก 'ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธิ ไผ่ ดาวดิน จม.ถึงผู้พิพากษา' ได้ตามลิงค์นี้ http://prachatai.org/journal/2017/01/69844

ooo

จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)




ถึง ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ
เรื่อง ความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธินายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
เรียน ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และผู้มีรายชื่อแนบท้ายใคร่เสนอความเห็นและข้อเรียกร้องต่อท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและนิติรัฐ ดังต่อไปนี้

ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาหนึ่งในวิกฤติการณ์ที่สังคมกำลังเผชิญอยู่คือวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย วลี “สองมาตรฐาน” มักถูกใช้เพื่อหมายถึงการบังคับใช้และตีความกฎหมายต่อบุคคลและกลุ่มบุคคลอย่างไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน การไม่เคารพต่อหลักนิติรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชาชน และองค์กรตุลาการถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองบ่อยครั้ง

ปัญหาดังกล่าวรุนแรงยิ่งขึ้นหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อกฎหมายถูกใช้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่แสดงความเห็นแตกต่างจากผู้มีอำนาจ ศาลทหารถูกใช้ดำเนินคดีประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยไม่มีเสียงคัดค้านจากบุคคลในองค์กรตุลาการปกติแต่อย่างใด

หากบุคคลในวงการยุติธรรมเปิดใจรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ย่อมตระหนักถึงความรู้สึกข้อนี้ของประชาชนได้ไม่มากก็น้อย เพราะปรากฏว่าในปัจจุบัน แม้แต่ประชาชนทั่วไปก็กล้าวิจารณ์การทำงานของศาลอย่างตรงไปตรงมาในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ จนกล่าวได้ว่าไม่มียุคใดที่ประชาชนไทยจะเสื่อมศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมเท่ายุคนี้

ล่าสุดกรณีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตอกย้ำประเด็นปัญหาข้างต้นของกระบวนการยุติธรรมไทย เป็นกรณีที่ทำให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ตลอดจนองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งภายในและระหว่างประเทศรู้สึกกังวลและออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับนายจตุภัทร์

นายจตุภัทร์ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุ๊กของสำนักข่าวบีบีซีไทยในเฟซบุ๊กของตน ต่อมาศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัวของนายจตุภัทร์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยให้เหตุผลว่านายจตุภัทร์ไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหา อีกทั้งยังมีการแสดงภาพถ่ายที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งจนถึงบัดนี้ ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น อีกทั้งทนายความได้ยื่นขอประกันตัวใหม่แล้วถึงห้าครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวนายจตุภัทร์เป็นการชั่วคราว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มกราคม ที่ผ่านมา อันเป็นวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของตำรวจที่ขอฝากขังนายจตุภัทร์อีก 12 วัน ปรากฏว่าผู้พิพากษาได้ประกาศว่าจะพิจารณาคดีแบบลับ โดยห้ามบุคคลอื่นเข้าฟังการพิจารณาคดี อนุญาตให้มีเพียงนายจตุภัทร์ บิดามารดา และทนายความอยู่ในห้องพิจารณาคดีเท่านั้น แม้ว่าทนายความและนายจตุภัทร์จะโต้แย้งว่าในวันนั้นทางทนายความเพียงต้องการคัดค้านการขอฝากขังของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคดี ประการสำคัญเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเข้ารับฟังการพิจารณาโดยเปิดเผย แต่ศาลก็ยังยืนยันคำสั่งเดิมด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีความมั่นคง เหตุการณ์นี้ทำให้นายจตุภัทร์ประกาศว่าในเมื่อเขาไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ จากศาล เขาก็ขอสละสิทธิการมีทนายความ โดยจะว่าความต่อสู้คดีด้วยตนเอง

นักเรียนกฎหมายทุกคนย่อมรู้ดีว่า ตามหลักนิติรัฐ ตราบเท่าที่ยังไม่มีการพิพากษาว่ามีความผิด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลน่าเชื่อถือว่านายจตุภัทร์สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐานในการดำเนินคดี หรือพยายามหลบหนีแต่ประการใด

ประการสำคัญ นายจตุภัทร์ยังไม่ได้แสดงหรือกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลได้กำหนดในคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ศาลไม่ได้กำหนดให้การลบข้อความที่ถูกกล่าวหาเป็นเงื่อนไขของการให้ประกันตัว อีกทั้งหากกำหนดให้ต้องลบข้อความดังกล่าวก็อาจทำให้เข้าใจได้ว่าศาลได้วินิจฉัยไปแล้วว่าการกระทำที่กล่าวหาเป็นความผิดโดยที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณา ยิ่งกว่านั้น นายจตุภัทร์ได้แจ้งต่อศาลอย่างชัดเจนว่าเหตุผลที่ไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาก็เพราะต้องการจะเก็บไว้เป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดีในชั้นพิจารณา การไม่ลบข้อความที่ถูกกล่าวหาจึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้ประกันตัวของศาลที่ห้ามเกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานในคดี และเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ต้องหาจะไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน

นอกจากนี้ นายจตุภัทร์จะต้องสอบรายวิชาสุดท้ายที่ได้ลงทะเบียนไว้ในวันที่ 17-18 มกราคม 2560 เพื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ศาลกลับไม่อนุญาตให้นายจตุภัทร์ได้ประกันตัวเพื่อออกไปสอบ ซึ่งอาจส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาและอนาคตของเยาวชนคนหนึ่ง นี่เป็นเหตุผลด้านมนุษยธรรมพื้นฐานที่ขาดหายไปในการพิจารณาของศาล

ส่วนการที่นายจตุภัทร์แสดงออกในสื่อสังคมออนไลน์โดยการโพสต์รูปภาพหรือส่งข้อความบนเฟซบุ๊คภายหลังการปล่อยชั่วคราว และศาลเห็นว่าเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เย้ยหยันอำนาจรัฐโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองนั้น คนส. เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย เนื่องจากมิได้มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด และการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น ซึ่งการเย้ยหยันอำนาจรัฐหรือการไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองไม่อาจใช้เป็นเหตุในการสั่งไม่อนุญาตประกันตัว อีกทั้งศาลก็ไม่ได้กำหนดให้เป็นเงื่อนไขในการประกันตัวด้วย

การไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเป็นข้อยกเว้นในทางกฎหมาย ซึ่งในทางนิติวิธีนั้นการบังคับใช้กฎหมายในกรณีข้อยกเว้นจะต้องกระทำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นบทบัญญัติซึ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพด้วยแล้ว ศาลไม่อาจที่จะวินิจฉัยนอกเหนือจากที่บทบัญญัติกฎหมายกำหนดเอาไว้ได้

การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งถอนประกันจึงสร้างความเคลือบแคลงสงสัยแก่สังคม และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในกลุ่มนักกฎหมายว่าการพิจารณาดังกล่าวอาจไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น คนส. และผู้มีรายชื่อแนบท้ายจำนวน 352 รายชื่อ จึงขอเรียกร้องต่อท่านดังต่อไปนี้

1. ในระยะยาว ถึงเวลาที่บุคลากรในองค์กรตุลาการจะต้องพิจารณาอย่างจริงจังถึงภาวะวิกฤติศรัทธาที่ประชาชนมีต่อพวกท่าน และพึงหาแนวทางแก้ไขหรือปฏิรูประบบยุติธรรมของไทย ทั้งนี้ องค์กรตุลาการพึงปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะคุณค่าที่ได้รับการรับรองโดยกติการะหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทย ต้องตระหนักและแสดงบทบาทของตนในการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักนิติรัฐและความยุติธรรม มิใช่ประพฤติตนเสมือนเป็นผู้พิทักษ์อำนาจรัฐอันไม่ชอบธรรมนั้นเสียเอง

2. ในระยะเฉพาะหน้า ขอให้ศาลทบทวนการพิจารณาเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวนายจตุภัทร์เมื่อมีการยื่นคำร้องตามกระบวนการของกฎหมาย เพื่อคืนสิทธิอันพึงมีให้กับนายจตุภัทร์ และฟื้นฟูความปกติให้กระบวนการยุติธรรมและหลักการพื้นฐานของนิติรัฐ

ด้วยความห่วงใยต่อระบบนิติรัฐของไทย

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
30 มกราคม 2560



An Open letter from the Thai Academic Network for Civil Rights (TANC)




To: President of the Supreme Court and judges across the nation
Re: The Decline of the Rule of Law and the Violation of Mr. Jatupat
Bunpattararaksa’s Rights

Dear President of the Supreme Court and judges across the nation

The Thai Academic Network for Civil Rights (TANC) and the undersigned wish to express our opinions and submit for your consideration our requests to you as upholders of justice and the rule of law as follows:

In the past 10 years one of the crises with which our society has faced is the public’s loss of faith in the Thai judicial process. The phrase “double standards” is often used to refer to the enforcement and interpretation of laws applicable to individuals and groups of individuals in an unequal manner, the lack of respect to the rule of law and the people’s rights and freedoms, and the frequent exploitation of the judicial institution for political gains.

Such problems seemed progressively more serious after the NCPO staged the coup d’état, when laws were exploited to curb the freedom of civilians whose views differ from the power holders. Civilians have been tried in military courts with no objection by any personnel in the civilian judicial institution.

With their hearts open to these problems, those working in the justice system must be, to varying degrees, aware of the people’s frustration. Today even ordinary people are not afraid to openly criticize on social media the performance of court personnel. It can be said that the gravity of the people’s loss of faith in the justice process is unprecedented.

The most recent case of Mr. Jatupat Boonpattararaksa (Pai Daodin), a student at the Faculty of Law, Khon Kaen University, has accentuated the problems with the Thai justice process. This case has raised concerns among different civil society groups and human rights organizations, domestic and international alike, which demanded that basic rights be given to Mr. Jatupat.

Mr. Jatupat was accused of violating Article 112 and the Computer Crime Act by sharing on his Facebook page a news article about King Rama X’s personal life written by the BBC Thai News. The Khon Kaen provincial court later ordered a revocation of his bail on December 22, 2016 citing that Mr. Jatupat did not delete the published material in question and that he has shown an image deemed by the court as an act of deriding state power. Since then his attorney has submitted appeals and, later, petitions, but the higher court has upheld the provincial court’s opinions. The attorney has also attempted to post bail five times, yet the court still refused to grant him temporary release.

Recently on January 20 when the court held a hearing of the police’s petition for another 12-day detention, it turns out that the judge declared that the hearing be done in secret, barring third parties from attending the hearing and allowing only the presence of Mr. Jatupat, his parents, and attorney in the chamber. Although Mr. Jatupat himself and his attorney argued that the attorney merely sought to contest the police’s request, not already engaging in the trial process, and that more importantly it was the public’s right to attend the hearing, the court, however, insisted on the order citing that the matter of the case was concerned with security. This incident thus led Mr. Jatupat to announce that since he had never been granted any rights by the court, he therefore gave up his right to an attorney and would instead represent himself in court.

Any student of law should be well aware that according to the rule of law, so long as the verdict is not reached, the suspect shall be presumed innocent. This is not to mention that there is no evidence or probable cause that Mr. Jatupat would be able to meddle with evidence used in the trial process or would try to flee at all.

It is important to note that Mr. Jatupat has not displayed or conducted any act deemed a violation of the contents written in the court’s order of a temporary release. The court did not establish that a deletion of the written material in question was a condition for the release. Deleting such material may lead to an understanding that the court had already declared the alleged act was indeed a legal offense, even before the trial began. Moreover, Mr. Jatupat has clearly informed the court that his reason for not deleting the material was that he wished to use it as evidence to defend himself in court. Thus, that he did not delete the material not only was compliant with the condition imposed by the court, which stated that he shall not meddle with evidence, but also strongly indicated that he would not do so.

In addition to this, Mr. Jatupat was obliged to take an examination on January 17-18 for a course which he had registered, in order to graduate with a bachelor’s degree. The court, however, refused to grant him bail, which would have allowed him to take the examination. This has affected his graduation plans and future as a member of the youth—revealing an absence of basic humanitarian grounds in the court’s consideration.

The TANC considers the action a freedom of expression guaranteed by the law that Mr. Jatupat has expressed his views in social media by posting Facebook images or messages after the bail release, which the court deemed as a symbolic act of deriding state power with no regards to the law. No law exists that criminalizes such act. Coupled with this, the refusal to grant bail shall follow from a cause specified by the law. Deriding state power or expressing no fear of the law shall not be a base for the decision to deny bail. Additionally, the court did not specify these actions as bail conditions.

A refusal to grant bail is a legal exception. In the legal process, enforcing the law with a legal exception must be done with stringency, especially in cases involving laws restricting freedoms. The court cannot opine beyond what is written in the law.

The Khon Kaen provincial court’s revocation of the bail and the Court of Appeal, Region 4’s denial of the petition to appeal the revocation order thus created suspicions in the society and were subjected to discussions among lawyers as to whether or not such decisions have any legal basis.

Given the reasons outlined above, the TANC and the undersigned submit for your consideration the following requests:

1. In the long term, this is the time for the members of the judiciary to earnestly reflect on the public’s loss of confidence in your institution and seek solutions to the crisis or reform the Thai justice system. The judiciary shall perform the task of protecting the people’s freedoms, which are valued and endorsed by international agreements by which Thailand abides and shall recognize and display its role in overseeing the enforcement of the law in the spirit of the rule of law and justice, not acting as a guardian of illegitimate state power.

2. Provisionally, we ask that the court consider a reversal of the order on Mr. Jatupat’s release once a petition is submitted in the legal process, in order to return him basic human rights and restore normalcy to the justice process and to the basic principles of the rule of law.


With concerns for Thailand’s rule of law

Thai Academic Network for Civil Rights
January 30, 2017




1. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
3. เกษม เพ็ญภินันท์
4. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. กนกรัตน์ สถิตินิรามัย รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. กนกวรรณ ผ่องแผ้ว นักวิชาการอิสระ
7. กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยราชธานี
8. กฤช เหลือลมัย
9. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
10. กฤตยา อาชวนิชกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

11. กฤติธี ศรีเกตุ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ .มหาวิทยาลัยศิลปากร
12. กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล
13. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. กษมาพร แสงสุระธรรม
15. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ
16. กานต์ ทัศนภักดิ์
17. กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
18. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น
19. กิตติ วิสารกาญจน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
20. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21. กิตติพล เอี่ยมกมล นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. กิตติพล สรัคคานนท์ บรรณาธิการ/นักเขียน
23. กิติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
24. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
25. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
26. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์
27. ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์
28. ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
29. เคท ครั้งพิบูลย์
30. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

31. เดือนฉาย อรุณกิจ
32. เครือมาศ บำรุงสุข
33. เควินทร์ ลัดดาพงศ์ นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
34. คงกฤช ไตรยวงค์
35. คณา คณะเกษม
36. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
37. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
38. ครุศักดิ์ สุขช่วย
39. คอลิด มิดำ
40. คารินา โชติรวี

41. คำแหง วิสุทธางกูร สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
42. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร
43. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
44. ใจสิริ วรธรรมเนียม
45. เจนจิรา บัวขาว
46. เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี
47. จณิษฐ์ เฟื่องฟู มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
48. จอน อึ๊งภากรณ์
49. จักเรศ อิฐรัตน์

50. จักรกริช สังขมณี
51. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52. จารุนันท์ พันธชาติ
53. จิตติมา พลิคามิน
54. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
55. จิรภัทร อังศุมาลี
56. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์
57. จิราภรณ์ สมิธ
58. จีรนุช เปรมชัยพร
59. จีรพล เกตุจุมพล
60. จุฑามาศ ตั้งสันติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

61. เชษฐา พวงหัตถ์
62. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
63. เฉลิมพล โตสารเดช
64. ฉลอง สุนทราวาณิชย์
65. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
66. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
67. แชมุน ลี นักศึกษาปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
68. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
69. ชมพูนุท เฉลียวบุญ
70. ชลธิชา แจ้งเร็ว

71. ชลนภา อนุกูล เครือข่ายวิชาการเพื่อสังคมเป็นธรรม
72. ชลัท ศานติวรางคณา มหาวิทยาลัยมหิดล
73. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
74. ชัชชล อัตนากิตติ นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
76. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
77. ชัยพร สิงห์ดี
78. ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์
79. ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
80. ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

81. ชานันท์ ยอดหงษ์
82. ชำนาญ จันทร์เรือง
83. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
84. ซาฮารี เจ๊ะหลง จ. ปัตตานี
85. ญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล
86. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87. ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
88. ณรรธราวุธ เมืองสุข
89. ณรุจน์ วศินปิยมงคล รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
90. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์

91. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92. ดวงมน จิตร์จำนงค์
93. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
94. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
95. ดาราณี ทองศิริ ห้องเรียนเพศวิถีและสิทธิมนุษยชน ร้านหนังสือบูคู
96. ดารารัตน์ คำเป็ง
97. ดำนาย ประทานัง
98. ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
99. ถนอม ชาภักดี
100.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

101.ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
102.ทวีศักดิ์ เผือกสม
103.ทวีศักดิ์ ปิ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
104.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
105.ทอแสง เชาว์ชุติ
106.ทัศนัย เศรษฐเสรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
107.ทายาท เดชเสถียร นักทำหนังอิสระ
108.ทิชา ณ นคร
109.ธเนศ อาภรณ์​สุวรรณ
110.ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University

111.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
112.ธนาพล ลิ่มอภิชาต
113.ธนาวิ โชติประดิษฐ
114.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115.ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์
116.ธาริตา อินทะนาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
117.ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
118.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
119.ธีระพล อันมัย
120.เนตรนภิส วรศิริ

121.นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
122.นที สรวารี
123.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
124.นภิสา ไวฑูรเกียรติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
125.นราสิทธิ์ เสนาจันทร์
126.นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
127.นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
128.นฤมล ทับจุมพล
129.นวพล ลีนิน
130.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

131.นันฑกรณ์ อนุพันธ์
132.นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133.นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
134.นิธิ เอียวศรีวงศ์
135.นิรภัย สายธิไชย
136.นิอับดุลฆอร์ฟาร โตะมิง
137.นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ
138.เบญจมาศ บุญฤทธิ์
139.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
140.บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

141. บัณฑิต ไกรวิจิตร
142.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
143.บารมี ชัยรัตน์
144.บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
145.บุญเลิศ วิเศษปรีชา สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
146.บุญยืน สุขใหม่
147.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
148.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
149.ปฐม ตาคะนานันท์
150.ปฐมพร แก้วหนู

151.ปฐวี โชติอนันต์
152.ประไพ นุ้ยสุวรรณ
153.ประกายดาว คันธะวงศ์
154.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
155.ประภาพรรณ อุ่นอบ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
156.ประภาส ปิ่นตบแต่ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
157.ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
158.ปรัชญา โต๊ะอิแต
159.ปรัชญากรณ์ ลครพล นักศึกษาปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160.ปราโมทย์ ระวิน

161.ปราการ กลิ่นฟุ้ง
162.ปราชญ์ ปัญจคุณาธร, นักศึกษาปริญญาเอก University of Toronto
163.ปรารถนา เณรแย้ม
164.ปริวัตร สมบัติ
165.ปรีดา ทองชุมนุม นักกฎหมาย
166.ปฤณ เทพนรินทร์
167.ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
168.ปาริชาติ วลัยเสถียร ข้าราชการบำนาญ
169.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
170.ปุรินทร์ นาคสิงห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

171. แพร จิตติพลังศรี
172.ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
173.พกุล แองเกอร์
174.พงศธร ขยัน
175.พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
176.พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177.พนมกร โยทะสอน
178.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
179.พรเพ็ญ เจริญสมจิตร์
180.พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

181.พรณี เจริญสมจิตร์
182. พรพรรณ วรรณา
183.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184.พรสุข เกิดสว่าง
185.พฤหัส พหลกุลบุตร
186.พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
187.พสิษฐ์ วงษ์งามดี
188.พัชราภรณ์ หนังสือ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
189.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
190.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

191.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

192.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
193.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
194.พิพัฒน์ พสุธารชาติ
195.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
196.พิศาล แสงจันทร์ นักทำหนังอิสระ
197.พุทธ​พล มงคลวรวรรณ
198.พุทธณี กางกั้น
199. ฟารีดา จิราพันธุ์
200.ฟิตรา เจ๊ะโวะ

201.ภักดิ์กมล ศิริวัฒน์
202.ภัคจิรา กีรติวิบูลย์วงศ์
203.ภัควดี วีระภาสพงษ์
204.ภัทรพล ฉัตรชลาวิไล
205.ภัทรภร ภู่ทอง โครงการจดหมายเหตุคอมฟอร์ทวูเมน ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
206.ภัสสรา บุญญฤทธิ์
207.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
208. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
209.ภู กระดาษ นักเขียน
210.เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

211.มนตรา พงษ์นิล
212.มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
213. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
214.เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
215.ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
216.ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
217. เริงวิชญ์ นิลโคตร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
218.รจเรข วัฒนพาณิชย์ บุ๊ครีพับลิก
219.รจนา คำดีเกิด
220.รชฎ สาตราวุธ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

221.รชฏ นุเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
222.รพีพรรณ เจริญวงศ์
223.รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
224.รัฏฐกานต์ ดีพุ่ม
225.รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ อาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
226.รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
227. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228.รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
229.รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ศิลปากร
230.ลลิตา หาญวงษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

231.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี
232.ลักขณา ปันวิชัย
233.ลิดาพรรณ จันทร์พิมานสุข
234.เวียง-วชิระ บัวสนธ์
235.วรพจน์ พันธุ์พงศ์ นักเขียน สื่อมวลชน
236.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
237. วราภรณ์ เรืองศรี
238.วริตตา ศรีรัตนา
239.วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
240.วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

241. วัฒนชัย วินิจจะกูล
242.วัฒนา สุกัณศีล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
243. วิจักขณ์ พานิช
244.วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
245.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
246.วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
247.วิมลสิริ เหมทานนท์ มหาวิทยาลัยมหิดล
248.วิริยะ สว่างโชติ
249.วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
250.วีรชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

251.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
252.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
253.ศรัญญา ชินวรรธนวงศ์
254.ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
255.ศักดิ์ชัย ลุนลาพร
256.ศาสวัต บุญศรี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
257.ศิริจิต สุนันต๊ะ, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
258.ศิริพร เพ็งจันทร์
259.ศิวพล ชมภูพันธุ์
260.ศิววงศ์ สุขทวี

261.ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
262.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
263.เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
264.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
265.สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
266.สถิตย์ ลีลาถาวรชัย นักศึกษาปริญญาเอก University of Florida
267.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
268.สมฤทธิ์ ลือชัย
269.สมัคร์ กอเซ็ม
270.สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ

271.สร้อยมาศ รุ่งมณี
272.สรัช สินธุประมา นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
273.สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
274.สามชาย ศรีสันต์
275.สายทิพย์ วรรณาการ
276.สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
277.สิริกร ทองมาตร นักศึกษาปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
278.สุชาดา จักรพิสุทธิ์
279.สุชาดา ทวีสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
280.สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ

281.สุชาติ สวัสดิ์ศรี
282.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
283.สุดคนึง บูรณรัชดา
284.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
285.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
286.สุธิดา วิมุตติโกศล ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
287.สุปรียา หวังพัชรพล คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
288.สุภัทรา น. วรรณพิณ ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
289.สุมนมาลย์ สิงหะ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย
290.สุรชาติ บำรุงสุข

291.สุรพศ ทวีศักดิ์
292.สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล, นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
293.สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
294.สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
295.สุวัฒน์ ลิ้มสุวรรณ นักวิจัยอิสระ
296. สุวิมล รุ่งเจริญ
297.หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
298. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
299. เอกราช ซาบูร์
300.เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช

301.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
302.อโนชา สุวิชากรพงศ์
303.อดิศร เกิดมงคล
304.อนุชา วินทะไชย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
305.อนุพงษ์ จันทะแจ่ม (ประชาชน)
306.อนุสรณ์ ติปยานนท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
307.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
308.อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
309.อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
310.อภิญญา เวชยชัย ข้าราชการบำนาญ

311.อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
312.อรดี อินทร์คง
313.อรทัย อาจอ่ำ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
314.อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)
315.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
316.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
317.อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
318.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
319.อรอนงค์ หัตถโกศล
320.อรัญญา ศิริผล

321.อรุณี สัณฐิติวณิชย์
322.อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
323.อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
324.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
325.อัญชนา สุวรรณานนท์
326.อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
327.อับดุรเราะฮหมาน มูเก็ม PhD. Political science, Aligarh Muslim University, India
328.อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
329.อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
330.อาจินต์​ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยา​และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

331.อาทิตย์ ชูสกุลธนะชัย
332.อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
333.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
334.อิสราภรณ์ พิศสะอาด
335.อุเชนทร์ เชียงเสน หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
336.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
337.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์

รายชื่อนักวิชาการต่างประเทศ

1. Carlo Bonura, Department of Politics and International Studies
SOAS, University of London
2. Charles F. Keyes Professor Emeritus of Anthropology and International Studies. University of Washington
3. Claudio Sopranzetti, Oxford University
4. Kathleen Nicoletti. Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University. ฝากมาค่ะ
5. May Adadol Ingawanij, University of Westminster
6. Michael J Montesano. ISEAS-Yusof Ishak Institue. Singapore
7. Peter Vandergeest, Department of Geography, York University
8. Rachel Harrison, SOAS, University of London
9. Tyrell Haberkorn, Australian National University
10. Lars Laamann, Department of History, SOAS Professor Nadje Al-Ali, Centre for Gender Studies, SOAS

11. David Lunn, Department of South Asia, SOAS Dr Monik Charette, Department of Linguistics, SOAS
12. Mulaika Hijjas, Department of South East Asia, SOAS Dr Matthew Phillips, Aberystwyth University
13. Monik Charette, Department of Linguistics, SOAS
14. Matthew Phillips, Aberystwyth University

องค์กรระหว่างประเทศ

1. Focus on the Global South