วันศุกร์, มีนาคม 11, 2559

สามัญชน คนจริง เรื่องเล่า ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จากความทรงจำ 2 หลานชาย + หลัก'สิทธิมนุษยชน' ตามแนว... 'ดร.ป๋วย' + [คลิป] ป๋วยกับสังคมการเมืองไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน


ตอบโจทย์ สามัญชน คนจริง เรื่องเล่า ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จากความทรงจำ 2 หลานชาย ยงยุทธ ยุทธวงศ์ และ วรากรณ์ สามโกเศศ
Posted by ที่นี่ ThaiPBS on Wednesday, March 9, 2016

https://www.facebook.com/teeneethaipbs/videos/1081091205275915/


ooo


หลัก'สิทธิมนุษยชน' ตามแนว...'ดร.ป๋วย'




ในงาน"ฉลอง100ปีชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์" วันที่ 9 มี.ค.นี้ จะมีการอภิปรายทางวิชาการและเปิดตัวหนังสือ "ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน" โดยจะมีการนำเสนอบทความว่าด้วยเรื่อง "มองสิทธิมนุษยชนไทย ผ่านการ(ไม่)หาความจริงและการ(ไม่)รับผิด กรณีความรุนแรงโดยรัฐที่กระทำต่อขบวนการประชาธิปไตย" โดยเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว

บทความชิ้นนี้ผู้เขียนมุ่งที่จะสำรวจวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน ไทย โดยศึกษาจากความไม่คืบหน้าด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการค้นหาความจริงและกระบวนการรับผิด ในเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองหลายครั้ง นับตั้งแต่ 14 ต.ค.2516, 6 ต.ค.2519, 17-20 พ.ค.2535 และการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ในส่วนแรกได้อภิปรายถึงแนวคิดและบทบาทการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของ ดร.ป๋วย ที่ไม่ได้เป็นเพียงอุดมการณ์เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ได้ปฏิบัติจริงและมีบทบาทสำคัญในการยืนยันหลักการสิทธิและเสรีภาพ ที่เขาเรียกว่า"สันติประชาธรรม"

ดร.ป๋วย ได้นำเสนอแนวคิดผ่านงานเขียน และมีหนังสือหลายเล่มที่จุดประกายทางความคิดให้กับสังคม อย่างเช่น "ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ต.ค. 2519" ที่มีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง เนื้อหาระบุถึงเงื่อนไขทางการเมือง และตัวละคร ที่กระทำความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันเขาก็ยังเคลื่อนไหวบอกเล่าเรื่องราวทางการเมืองและมีท่าทีคัดค้านอำนาจรัฐบาลเผด็จการชัดเจน รวมถึงการผลักดันหลักการเรื่องสิทธิและเสรีภาพไว้ ในรัฐธรรมนูญ และผลักดันการศึกษาให้ ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการนำเอาหนังสือเล่มดังกล่าวไปใช้เป็นเอกสารสำคัญในการสืบพยาน เรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ของ คณะอนุกรรมการว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ คณะกรรมการวิเทศน์สัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เมื่อ 30 มิ.ย.2550 นอกเหนือไปจากความพยายามเปิดเผยความจริงแล้ว ยังมีบันทึกถึงการให้ความช่วยเหลือของ ดร.ป๋วย ต่อองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519

นรนิติ เศรษฐบุตร เล่าถึงจดหมายที่ ดร.ป๋วย ส่งถึงเขาจากประเทศอังกฤษในเดือน พ.ย.2516 ว่าเมื่อกลับมาเมืองไทย ดร.ป๋วย มีความตั้งใจจะตั้ง "สมาคมพิทักษ์ประชาธรรมไทย" เพื่อดูแลเสรีภาพพลเมือง การเลือกตั้ง และป้องกันไม่ให้มีการยึดอำนาจโดยใช้อาวุธ

รวมทั้งเมื่อกลับมาประเทศไทย ในเดือน ธ.ค.2516 ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งแรกๆ ของไทย ที่ตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักวิชาการ เพื่อทำหน้าที่ติดตามกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง และสิทธิของขบวนการแรงงาน

ส่วนหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 ที่ดร.ป๋วย ขณะที่ลี้ภัยในต่างประเทศ ยังคงให้การสนับสนุนกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (กศส.) ที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนมี.ค.2519 แต่ลดบทบาทไปหลังเหตุการณ์รุนแรงในปีเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกดำเนินคดีและถูกกักขังจากเหตุการณ์ทางการเมือง

พระไพศาล วิสาโล ผู้ปฏิบัติงานใน กศส.ขณะนั้น เล่าว่ากศส.ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและได้รับคำแนะนำจาก "มูลนิธิมิตรไทย" ที่ดร.ป๋วยร่วมกับ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ตั้งขึ้นในต่างประเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามของรัฐบาล โดยมีการติดต่อกันทางจดหมายโดยใช้ "นามแฝง" เพื่อความปลอดภัย

ดร.ป๋วย ยังได้นำข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กศส.รวบรวมไว้ประกอบคำให้การ เป็นพยานต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐด้วย ในบทความ"ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ต.ค. 2519" ดร.ป๋วย ลงท้ายบทความไว้ว่า "ใครเห็นแสงสว่างในอนาคตบ้างโปรดบอก" ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าคำถามเมื่อ 40 ปีก่อนของ ดร.ป๋วย เมื่อย้อนรอยประวัติศาสตร์ ผ่านหลายเหตุการณ์ทางการเมือง เรื่องของการรับผิดในกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ยังดูเป็นเรื่องที่เลือนราง การลอยนวลไม่ต้องรับผิดชอบจากการใช้ความรุนแรงปราบปรามขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยมีนัยสำคัญด้านวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนหลายประการ เพราะนอกจากจะเป็นการตอกย้ำกับสังคมว่ารัฐสามารถละเมิดประชาชนตามอำเภอใจโดยไม่ต้องรับผิดชอบ ยังสะท้อนถึงท่าทีของประชาสังคมไทยต่อ สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

เสียงเรียกร้องของประชาชนเพื่อมีการหาความจริงและนำไปสู่การรับผิด ยังคงเป็นเพียงเสียงที่จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และผู้มีมโนสำนึกกลุ่มเล็กๆสะท้อนว่าวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนของไทยยังไม่ได้หยั่งรากพอที่จะมีการออกมายืนยันสิทธิแทนผู้อื่น ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมดังที่ว่าจึงไม่สามารถทำได้เพียงการกำหนดรูปแบบเชิงสถาบัน...แต่ต้องเน้นสร้างวัฒนธรรมและวิธีคิดที่เห็นคุณค่าของมนุษย์อย่างเท่าเทียม !!!

'วัฒนธรรม สิทธิมนุษยชนของไทยยังไม่หยั่งรากพอที่จะมีการออกมายืนยันสิทธิแทนผู้อื่น'

จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559



Credit FB

สู่ 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์



ooo

[คลิป] ป๋วยกับสังคมการเมืองไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน สมชาย-จันจิรา-เบญจรัตน์


ที่มา ประชาไท
http://prachatai.org/journal/2016/03/64549

Thu, 2016-03-10

10 มี.ค. 2559 วิดีโอคลิปงานอภิปรายทางวิชาการและเปิดตัวหนังสือ "ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน" ในงานรำลึก 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ วันพุธที่ 9 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมศรีบูรพา มธ. ท่าพระจันทร์

ช่วงที่ 1: ป๋วยกับสังคมการเมืองไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน

(1) “กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ชื่อ ‘ป๋วย’” โดย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อ.นิฐิณี ทองแท้ โปรแกรมวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

(2) “สันติวิธีของป๋วย อึ๊งภากรณ์: ยุทธวิธี เป้าหมาย และความหวัง” โดย ดร.จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(3) “มองสิทธิมนุษยชนไทยผ่านการ(ไม่)หาความจริงและการ(ไม่)รับผิด: กรณีความรุนแรงโดยรัฐที่กระทำต่อขบวนการประชาธิปไตย” โดย ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการอิสระ ดำเนินการอภิปรายโดย ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์




ooo

ป๋วยกับสังคมการเมืองไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน #2 [9 มี.ค. 59 ]

https://www.youtube.com/watch?v=IF6vOIfZ4Zk

ช่วงที่ 2: ป๋วยกับสังคมเศรษฐกิจไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่า­น

https://youtu.be/IF6vOIfZ4Zk

(1) “เทคโนแครตกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย:
แนวทางปฏิบัตินิยมแบบ ‘แมวไม่ว่าสีอะไร ขอให้จับหนูได้ก็พอ’”
โดย รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(2) “เหลียวหลังแลหน้าการพัฒนาชนบทไทย: จากแนวทางบูรณะชนบทสู่มุมมองจาก ‘ตัวกลางในการพัฒนา’”
โดย ดร.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(3) “การศึกษากับการสร้างความเป็นพลเมืองในระบ­อบประชาธิปไตย: พัฒนาการและความท้าทายของสังคมไทย”
โดย ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
และ ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินการอภิปรายโดย ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ooo

"หนังสือช่วยให้คิด-คิดแล้วเป็นมนุษย์" - ป๋วย อึ๊งภากรณ์





ชวนอ่านหนังสือที่ระลึกในวาระ 100 ปี ชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 2 เล่ม

1. "ป๋วยกับสังคมไทยในวิกฤตเปลี่ยนผ่าน"

เนื้อหา:

(1) "เทคโนแครตกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย: แนวทางปฏิบัตินิยมแบบ ‘แมวไม่ว่าสีอะไร ขอให้จับหนูได้ก็พอ’" - อภิชาต สถิตนิรามัย

(2) "เหลียวหลังแลหน้าการพัฒนาชนบทไทย: จากแนวทางบูรณะชนบทสู่มุมมองจาก ‘ตัวกลางในการพัฒนา’" - ธร ปีติดล

(3) "การศึกษากับการสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: พัฒนาการและความท้าทายของสังคมไทย" - วัชรฤทัย บุญธินันท์

(4) "มองสิทธิมนุษยชนไทยผ่านการ(ไม่)หาความจริงและการ(ไม่)รับผิด: กรณีความรุนแรงโดยรัฐที่กระทำต่อขบวนการประชาธิปไตย" - เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว

(5) "สันติวิธีของป๋วย อึ๊งภากรณ์: ยุทธวิธี เป้าหมาย และความหวัง"
โดย จันจิรา สมบัติพูนศิริ

(6) "กรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่ชื่อ ‘ป๋วย’" - นิฐิณี ทองแท้ และสมชาย ปรีชาศิลปกุล

บรรณาธิการ: ประจักษ์ ก้องกีรติ ปกป้อง จันวิทย์

จัดพิมพ์: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

2. "ปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์"

เนื้อหา:

(1) "การพัฒนาที่ยั่งยืน: จากแนวคิดอาจารย์ป๋วยสู่ประสบการณ์ภาคธุรกิจ" - ชนินท์ ว่องกุศลกิจ

(2) "กำเนิดและอวสานของเศรษฐศาสตร์การเมือง: จากสหรัฐฯ ถึงสยามไทย" - ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

(3) "สิ่งแวดล้อมไทยกับการกระจายอำนาจ" - มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด

(4) "การเมืองภาคประชาชน ประชาธิปไตย และทางเลือกของการพัฒนา: บทเรียนจากวิกฤตการเมืองไทยในห้วงหนึ่งทศวรรษ" - ประภาส ปิ่นตบแต่ง

(5) "จะต่อสู้กับคอร์รัปชั่นอย่างไรดี?" - ผาสุก พงษ์ไพจิตร

(6) "การศึกษากับยาพิษแอบแฝง" - วรากรณ์ สามโกเศศ

(7) "ปฏิทินแห่งความรื่นรมย์: ชีวิตทางวัฒนธรรมของป๋วย อึ๊งภากรณ์" - สุชาติ สวัสดิ์ศรี

(8) "รัฐไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจ" - สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

(9) "ความเปลี่ยนแปลงในชนบท: การเคลื่อนเข้าสู่ประชาธิปไตย" - อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

(10) "เรื่องเล่าในบ้านอึ๊งภากรณ์" - จอน อึ๊งภากรณ์

บรรณาธิการ: ปกป้อง จันวิทย์

จัดพิมพ์: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

.....

หนังสือทั้งสองเล่มดูแลการผลิตโดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน


Credit 
Pokpong Junvith