วันเสาร์, มีนาคม 19, 2559

บทความ "รัฐพันลึก" Thailand’s Deep State, royal power and the Constitutional Court (1997–2015) โดย Eugénie Mérieau อาจอธิบายการเมืองไทยในปัจจุบัน ได้ดีกว่า แนวคิด เครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (Network Monarchy) ของ Duncan McCargo




บทควาาม "รัฐพันลึก" โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร ที่ลงในมติชนรายวัน วันนี้
http://www.matichon.co.th/news/75082 (ถูกลบแล้ว)
ส่วนหนึ่งของบทความ

แม้แต่แนวคิดเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (Network Monarchy) ของ ศาสตราจารย์ ดันแคน แม็กคาโก ที่เคยดังระเบิด ก็ขาดพลัง แม็กคาโกเสนอว่า การเมืองไทยสมัยปี 2516-2544 ถูกกำหนดโดยเครือข่ายไม่เป็นทางการของชนชั้นนำ ได้แก่ ผู้นำฝ่ายกองทัพ ข้าราชการระดับสูง และวัง มีพลเอกสำคัญท่านหนึ่งเป็นแกน ประหนึ่งเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ เครือข่ายนี้ยังประกอบสร้างขึ้นใหม่ ให้มีความเป็นเสรีนิยมมากขึ้นเพื่อให้รับกับกระบวนการประชาธิปไตยหลังปี 2535

แต่แนวคิดเครือข่ายสถาบันกษัตริย์นี้ ใช้อธิบายการเมืองไทย นับจากรัฐประหารปี 2549 และ 2557 ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะเครือข่ายชนชั้นนำร่วมสมัยและฐานรากด้านสถาบันของพวกเขาได้ปรับแปรไป และมีความซับซ้อนมากขึ้นมาก (Eugenie Merieau, 2016)

ล่าสุด เออเจนี เมริโอ ได้ประยุกต์แนวคิด Deep State มาอธิบายปรากฏการณ์ในเมืองไทยร่วมสมัย ในบทความ ชื่อ Thailand Deep State, royal power and the Constitutional Court (1997-2015) พิมพ์ออนไลน์ใน Journal of Contemporary Asia, Special Issue, 2016 เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้เอง

ผู้เขียนขอแปล Deep State เป็นไทยว่า รัฐพันลึก ในลักษณะรัฐซ้อนรัฐ รัฐพันลึก “…เป็นอิสระ มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลำดับชั้นของตนเอง ขนานไปกับรัฐปกติ รัฐพันลึกมีกลไกรัฐทำงานด้านอุดมการณ์ เพื่อสร้างวาทกรรมว่าด้วยประชาธิปไตยอันพึงปรารถนา ที่สอดคล้องกับความต้องการของรัฐพันลึก….ก่นสร้างและจัดวางความคิดเห็น ทัศนคติสาธารณะ โดยใช้วิธีการต่างๆ รวมทั้งการสร้างสถานการณ์วิกฤต และภาวะฉุกเฉินเพื่อความมั่นคงของชาติ” (Eugenie Merieau, 2016 หน้า 2)

รัฐพันลึกเหมือนกับรัฐปกติ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว ภายในรัฐพันลึกก็มีมุ้งต่างๆ แก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ แต่มีข้อต่างคือ รัฐปกติมองเห็นด้วยตา แต่รัฐพันลึกแฝงหลบอยู่ลึกก้นบึ้ง และไม่ต้องรับผิดชอบกับการกระทำใดๆ จึงเป็นกรอบโครงแบบไม่เป็นทางการ ในการรักษาหรือคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ด้านสถาบันของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าประสงค์ร่วมกัน ทั้งผู้ที่อยู่ในรัฐปกติ และที่อยู่ในเครือข่ายนอกรัฐที่จะยึดโยงกันไว้ในการกระทำการ เพื่อเป้าประสงค์ในการรักษาผลประโยชน์ที่ว่านั้น

แนวคิดรัฐพันลึก มักถูกใช้อธิบายกลุ่มอำนาจที่ร่วมกันต่อต้านขบวนการประชาธิปไตย หรือการเมืองเปิดที่ประชาชนในวงกว้างมีส่วนร่วมสูง มักประกอบด้วยกลุ่มทหาร ตำรวจ ตุลาการ ที่มีตำแหน่งหน้าที่บริหารราชการในรัฐปกติอยู่แล้ว แต่ยังร่วมทำกิจกรรมแอบแฝงที่มีอำนาจเหนือรัฐปกติ โดยกระทำการแบบไม่เปิดเผย หรือทำแบบลับๆ รัฐพันลึกสามารถสร้างสถานการณ์ เพื่อสั่นคลอนรัฐปกติ หรือเพื่อนำไปสู่การรัฐประหาร ล้มล้างรัฐปกติ

แนวคิดรัฐพันลึกเคยถูกใช้อธิบายการเมืองสมัยสงครามเย็นในบางประเทศที่ CIA ของสหรัฐได้เข้าแทรกแซงเพื่อเปลี่ยนการเมืองด้วยความร่วมมือจากชนชั้นนำบางกลุ่มในพื้นที่ และใช้ในการอธิบายการเมืองที่ตุรกีเมื่อทศวรรษ 2460 สมัยมุสตาฟา เคมาล อาตาเติร์ก

อ่านบทความฉบับเต็ม

Thailand’s Deep State, royal power and the Constitutional Court (1997–2015)

http://www.tandfonline.com/…/…/10.1080/00472336.2016.1151917


ABSTRACT
This article challenges the network monarchy approach and advocates for the use of the concept of Deep State. The Deep State also has the monarchy as its keystone, but is far more institutionalised than the network monarchy accounts for. The institutionalised character of the anti-democratic alliance is best demonstrated by the recent use of courts to hamper the rise of electoral politics in a process called judicialisation of politics. This article uses exclusive material from the minutes of the 1997 and 2007 constitution-drafting assemblies to substantiate the claim that the Deep State used royalists’ attempts to make the Constitutional Court a surrogate king for purposes of its own self-interested hegemonic preservation.
...

Credit



Thanapol Eawsakul