วันเสาร์, มีนาคม 26, 2559

UNHCR Technical Note: Key human rights principles for the draft constitution of the Kingdom of Thailand (‘ยูเอ็น’แนะกรธ.ปรับปรุงร่างรธน.11ข้อ ย้ำผู้แทนต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน)




On 29 January 2016, the Constitutional Drafting Committee (CDC) made public the first draft of the new constitution seeking comments from the public and interested organizations. In light of the ongoing constitution drafting process, this technical note1 summarizes some key human rights principles that should be incorporated in the draft constitution to ensure its compliance with Thailand’s obligations under international human rights law.

To Read more--- click the following link:


http://bangkok.ohchr.org/news/press/thaiconstitution.pdf


ooo

‘ยูเอ็น’แนะกรธ.ปรับปรุงร่างรธน.11ข้อ ย้ำผู้แทนต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน




ที่มา มติชนออนไลน์
25 มี.ค. 59

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (โอเอชซีเอชอาร์) ออกแถลงการณ์ แนะคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ของไทยปรับปรุง 11 ข้อ

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกแถลงการณ์ทางวิชาการลงวันที่ 23 มีนาคม เสนอแนะข้อปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญของไทยรวม 11 ข้อ มีใจความโดยสรุปดังนี้

1.ความแตกต่างระหว่างพลเมืองและผู้ที่ไม่ใช่พลเมือง ในหัวข้อ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทย ควรปรับให้มีการรับประกันการปกป้องสิทธิทั้งของพลเมืองไทยและที่ไม่ใช่พลเมืองไทยโดยเท่าเทียมกัน

2.สิทธิความเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ มาตรา 27 ของร่างฉบับปัจจุบัน ควรเพิ่มการไม่เลือกปฏิบัติให้ครอบคลุมทั้งเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา รสนิยมทางเพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ ชาติพันธุ์ ภูมิหลังทางสังคม ทรัพย์สิน ลักษณะทางกายภาพหรือภาวะทางสุขภาพ อายุ สถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ภาวะทุพพลภาพ สถานภาพสมรส ชาติกำเนิด หรือสถานะอื่นๆ

3.สิทธิที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมทางอาญา ร่างมาตรา 28 และร่างมาตรา 29 ควรปรับปรุงให้ครอบคลุมสิทธิต่างๆ ตามข้อ 9 และข้อ 14 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์)

4.สิทธิความเป็นส่วนตัว ร่างมาตรา 32 ควรได้รับการปรับปรุงให้รวมบทบัญญัติที่รับประกันการคุ้มครองจากการเข้าแทรกแซงความเป็นส่วนตัวโดยพลการ

5.สิทธิในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี ร่างมาตรา 34 ควรรวมบทบัญญัติที่รับประกันให้มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง และรวมถึงการรับประกันสิทธิในการเสาะหาและรับข้อมูลสำคัญตามที่ระบุไว้ในข้อ 19 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

6.สิทธิในการชุมนุมโดยสงบและสิทธิในการรวมกลุ่ม ร่างมาตรา 42 วรรค 2 และมาตรา 44 วรรค 2 ควรปรับให้การจำกัดสิทธิในเรื่องดังกล่าวไม่เพียงต้อง “เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ” เท่านั้น แต่ต้องกระทำ “เท่าที่จำเป็น” ตามข้อ 21 และ 22 ของกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

7.สิทธิที่จะได้รับการเยียวยา ควรคงไว้ซึ่งมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

8.สิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ อาทิ สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้แทนของพลเมืองต้องมาจากการเลือกอย่างเสรีของประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่แท้จริงและจัดขึ้นตามวาระ สมาชิกของทั้งสองสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งต้องปกป้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง

9.สิทธิชุมชน ควรคงไว้ซึ่งมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญปี 2550

10.บทบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนผ่าน ควรตัดทิ้งร่างมาตรา 257 เพื่อไม่ให้อำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวยังคงมีอยู่ต่อไปหลังการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

11.กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลควรดำเนินการให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ครอบคลุมและเปิดกว้างให้มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ประชาชนชาวไทย ควรมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและการรวมกลุ่ม การจำกัดสิทธิประการใดที่ไม่สอดคล้องกับกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ควรยกเลิกโดยทันที