ที่มา เวปพันทิป
โดย ทวดเอง
เราเคยมีรัฐบุรุษอาวุโสอย่าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่เป็นผู้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เป็นนายกฯถึง 3 สมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัฐกาลที่ 8 นับเป็นบุคคลที่ทำคุณงามความดี สร้างคุณประโยชน์นานัปการให้กับประเทศไทย
แต่แล้วรัฐบุรุษผู้นี้ก็ถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคตของรัฐกาลที่ 8 และต้องลี้ภัยการเมืองจนถึงแก่อสัญกรรมในต่างแดน หลังเกิดการรัฐประหาร
เราเคยมี ดร.ป๋วย อึ้งภากร ที่เป็นอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยวัย 43 ปี อยู่ในตำแหน่งถึง 12 ปีเศษ เป็นหนึ่งในสมาชิกขบวนการเสรีไทย ได้พยายามไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม
นอกจากนี้ ดร.ป๋วยยังได้รับการยกย่องจากนักวิชาการเยอรมันให้เป็น “บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ดร.ป๋วยยังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริหารสาธารณะในปี 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโก้ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2558
เช่นเคย ดร.ป๋วยถูกกล่าวหาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ที่คิดจะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตามด้วยการไล่ล่าจากฝ่ายตรงข้าม จนต้องหนีออกนอกประเทศ หลังเกิดรัฐประหาร แม้สุดท้าย ดร.ป๋วยได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด แต่ก็ถึงแก่กรรมที่กรุงลอนดอน
คุณชาติชาย ชุณหะวัณ นายกฯคนที่ 17 ของไทย มีผลงานที่โดดเด่น เช่น การประสานงานให้มีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จสีหนุ
นโยบายต่างประเทศที่มีชื่อเรียกกันจนแพร่หลายคือ นโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า”
โดย ทวดเอง
เราเคยมีรัฐบุรุษอาวุโสอย่าง ดร.ปรีดี พนมยงค์ ที่เป็นผู้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เป็นนายกฯถึง 3 สมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัฐกาลที่ 8 นับเป็นบุคคลที่ทำคุณงามความดี สร้างคุณประโยชน์นานัปการให้กับประเทศไทย
แต่แล้วรัฐบุรุษผู้นี้ก็ถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สวรรคตของรัฐกาลที่ 8 และต้องลี้ภัยการเมืองจนถึงแก่อสัญกรรมในต่างแดน หลังเกิดการรัฐประหาร
เราเคยมี ดร.ป๋วย อึ้งภากร ที่เป็นอดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยวัย 43 ปี อยู่ในตำแหน่งถึง 12 ปีเศษ เป็นหนึ่งในสมาชิกขบวนการเสรีไทย ได้พยายามไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม
นอกจากนี้ ดร.ป๋วยยังได้รับการยกย่องจากนักวิชาการเยอรมันให้เป็น “บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ดร.ป๋วยยังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริหารสาธารณะในปี 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโก้ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2558
เช่นเคย ดร.ป๋วยถูกกล่าวหาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนักศึกษาที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ที่คิดจะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตามด้วยการไล่ล่าจากฝ่ายตรงข้าม จนต้องหนีออกนอกประเทศ หลังเกิดรัฐประหาร แม้สุดท้าย ดร.ป๋วยได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด แต่ก็ถึงแก่กรรมที่กรุงลอนดอน
คุณชาติชาย ชุณหะวัณ นายกฯคนที่ 17 ของไทย มีผลงานที่โดดเด่น เช่น การประสานงานให้มีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของสมเด็จสีหนุ
นโยบายต่างประเทศที่มีชื่อเรียกกันจนแพร่หลายคือ นโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า”
อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ เช่น
โครงการโทรศัพท์พื้นฐาน 3 ล้านล้านเลขหมาย
โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ
ทำให้ตัวเลขความความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงนั้น ร้อนแรงถึงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี กระทั่งมีการคาดหมายโดยทั่วไปว่า ประเทศไทยจะเป็น “เสือตัวที่ 5” ต่อจากเสือเศรษฐกิจของเอเชียอย่างเกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์และไต้หวัน
แล้วนายกฯชาติชายก็ถูกโจมตีเรื่องการทุจริตหาผลประโยชน์ในโครงการลงทุนของรัฐ จนเกิดวาทกรรม “บุฟเฟ่คาบิเนต” และที่คุ้นๆจนถึงวันนี้ก็คือ “เผด็จการรัฐสภา” สุดท้ายน้าชาติก็เลยถูกยึดอำนาจการปกครองไปอีกคน
แล้วก็มาถึง ดร.ทักษิณ นายกฯคนที่ 23 ของประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินนโยบายต่างๆ
เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายใน 4 ปี
ริเริ่มระบบหลักประกันสุภาพถ้วนหน้าด้วยโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
ใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนด
ปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้น จนได้รับความนิยมอย่างสูง
เริ่มโครงกาพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งถนน การขนส่งมวลชน และสนามบินสุวรรณภูมิ
หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพี เหลือร้อยละ 41 ในเวลา 4 ปี
รวมถึงระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงก็ลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ มีคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่าง พ.ศ. 2544 และ 2549
ระดับนานาชาติก็ให้ความยอมรับ ศรัทธาในวิสัยทัศน์ และการบริหาร จนในยุคนั้น ไทยแทบจะเป็นเสือตัวที่ 5 อย่างเต็มภาคภูมิ
นอกจากนี้ยังมีผลงานอีกมากมายที่ทำให้คนไทยเกือบทั้งประเทศให้ความศรัทธา จนเป็นนายกฯคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งได้อยู่จนครบวาระ และยังเป็นนายกฯคนแรกที่ได้คะแนนอย่างถล่มทลายจนกลายเป็นนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งได้เป็นนายกฯสมัยที่สอง
แต่แล้วการพายเรือก็วนอยู่ในอ่างเหมือนเช่นเคย จากฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้ รวมกลุ่มกันสร้างวาทกรรม “กู้ชาติ” “เผด็จการรัฐสภา” “อยากเป็นประธานาธิบดี” “ผลประโยชน์ทับซ้อน” “ควบคุมสื่อ” และไม้ตายสุดท้ายก็คือการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร เพื่อประโยชน์ของตัวเองกับครอบครับ ดังนั้นก็วนกลับไปสู่การยึดอำนาจอีกครั้ง แล้วคุณทักษิณก็ต้องออกนอกประเทศตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้
เพียงแต่ครั้งนี้ไม่เหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา เพราะโลกกำลังเข้าสู่โลกแห่งดิจิตอล การรับข้อมูลข่าวสารไม่เพียงแค่ในเมือง แต่ตามชนบทก็ล้วนได้รับข้อมูลรวดเร็วพอกัน ดังนั้นการต่อสู้กันระหว่างความเชื่อกับความศรัทธา จึงยึดเยื้อกันมาถึงทุกวันนี้
สุดท้ายนายกฯทักษิณจะเป็นผู้บริสุทธิ์ไร้มลทินเหมือนสามท่านแรก หรือ จะเป็นอสูรร้ายที่เกาะกินประเทศตามข้อกล่าวหา คงต้องรอให้สถานการณ์เข้าสู่ปกติ กระบวนการยุติธรรมที่ไม่เอนเอียง
แต่ที่รอไม่ได้นั่นคือ ประชาธิปไตยครับ ซึ่งจากเหตุต่างๆที่ผ่านมา มันทำให้เห็นว่า ไม่ใช่เราไม่พร้อมจะมีประชาธิปไตย แต่เราถูกตัดตอนประชาธิปไตยต่างหากเล่า ดังนั้นถ้าจะให้ประเทศไทยพายเรือออกจากอ่างไปสู่โลกกว้าง จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยเป็นตัวนำทางครับ
และการปกป้องประชาธิปไตยที่ดีที่สุดก็คือ การปล่อยให้ประชาชนเรียนรู้ด้วยตัวเอง แล้วค่อยๆพัฒนาไปสู่ระดับสากล ไม่ใช่การตัดตอนแล้วร่างขึ้นใหม่หรอกนะครับ จะบอกให้
ปล.1 ต้องขอขอบคุณ วิกิพีเดีย ที่ช่วยเติมข้อมูลส่วนที่ขาดหายจากความทรงจำ มาเป็นข้อเขียนในวันนี้ครับ
ปล.2 ต้องขอบคุณคุณโจขิงแห่งราชดำเนิน ที่ติติงผมในเรื่องพายเรือในอ่าง จนทำให้เกิดบทความในวันนี้ครับ
...
การเมืองไทยนั้น มันอยู่ในกำมือของขุนศึกแม่ทัพ นักการเมือง กลุ่มธุรกิจ มาตลอด แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ ร่ำรวยกันถ้วนหน้า
"อำนาจนอกระบบ" ก็ยังคงสถานะ "กุมชะตา" ของการเมืองไทย อยู่เหมือนเดิม
และวันนี้ กำลังเดินย้อนกลับเข้าสู่วังวนเดิม หลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่ได้เห็น มันเพียงพอที่จะทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับเรื่องของประชาธิปไตยแบบไทยๆ เว้นเสียแต่พวกที่ยังงมโข่งอยู่แต่ในกะลาเท่านั้นแหละครับ ที่ยังเข้าใจว่า เรามีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง....
เราเสียนายกฯที่เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า
เราเสียนายกที่ทำประชาธิปไตย ที่สามารถกินได้ ประชาชนเชื่อมั่น ต่างชาติยอมรับ
เราเสียนายกที่แค่ทำกับข้าวออก ทีวี
และเราก็เสียนายกที่ทำตาม นโยบายที่หาเสียงไว้
ท่านเหล่านี้เป็นนายกที่มาจากเสียงสวนใหญ่ของประชาชนแทบทั่งสิ้น และ สุดท้ายก็ต้องมาเสียให้กับ อำนาจนอกระบบ อีกตามเคย
"พายเรือในอ่าง จนประเทศไทยไปไม่ถึงไหน" เป็นคำกล่าวที่ถูกต้องและเป็นจริงที่สุดครับ ท่านทวด